ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
Classless Routing VS. Classful Routing (และ FLSM and VLSM)



บทความ CCNA นี้ ท่านจะได้รู้จักกับ Classful, Classless, FLSM, VLSM, Contiguous Network, Discontiguous Network, และ  Command "auto-summary" ใน RIP และ EIGRP ไปพร้อมๆ กัน เพราะมันเกี่ยวเนื่องกันทั้งหมดนะครับ 
ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆ ท่านนะครับ

Classful routing:
ในการประกาศ routing update ของ routing protocol กลุ่มที่เป็น classful routing จะประกาศแต่เฉพาะ network แต่จะไม่ประกาศ subnet mask ติดไปด้วยใน routing update ซึ่ง routing protocol กลุ่มที่เป็น classful routing จะเป็นพวกตระกูล distance vector โดยส่วนใหญ่ (นั่นก็คือ RIP version 1 และ IGRP [แต่ IGPR ไม่มีใช้งานแล้วในปัจจุบัน ดังนั้นใน CCNA และ CCNP จึงไม่พบ routing protocol นี้ในบทเรียน]

เมื่อมีการใช้งาน classful routing protocol แล้ว subnetwork ทั้งหมดของ major network เดียวกัน (Class A, B, หรือ C) จะต้องใช้ subnet mask เดียวกัน หรือ subnet mask  ที่เหมือนๆ กันทั้งหมดทุกๆ จุดใน network โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็น subnet mask ของ default major class (หมายถึง ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ /8 ของ Class A, /16 ของ Class B หรือ /24 ของ Class C)
หมายเหตุ การใช้ subnet mask แบบเดียวกันทั้ง network เราจะเรียกการใช้งานแบบนี้ว่า FLSM (Fixed-Length Subnet Masking)

ตัวอย่างของการกำหนด subnet ที่เป็นแบบ FLSM โดยใช้ Class B เป็นกรณีศึกษา
เราเลือกใช้ IP address space ของ Class B คือ 172.31.0.0/16

จากนั้นเราเริ่มกำหนด subnet ของ 172.31.0.0/16 เป็น /24 คือ
172.31.0.0/24 (172.31 = major network ของ Class B ส่วน .0 เป็น subnet)
- 172.31.1.0/24 (172.31 = major network ของ Class B ส่วน .1 เป็น subnet)
172.31.2.0/24 (172.31 = major network ของ Class B ส่วน .2 เป็น subnet)
172.31.3.0/24 (172.31 = major network ของ Class B ส่วน .3 เป็น subnet)
172.31.4.0/24 (172.31 = major network ของ Class B ส่วน .4 เป็น subnet)



สรุปคือ การใช้งาน classful routing จะต้องใช้งานคู่กับ FLSM เท่าน้้น 

เกิดคำถามว่า เพราะอะไร ทำไม classful routing จะต้องใช้งานร่วมกับ FLSM
จากข้อมูลข้างบนที่ว่า "classful routing จะประกาศแต่เฉพาะ network แต่จะไม่ประกาศ subnet mask ติดไปด้วยใน routing update
ดังนั้น router ที่รับ routing update จะใช้ subnet mask ของ interface ที่ได้รับ routing update เข้ามาในการกำหนดให้กับ network ที่อยู่ใน routing update ต่างๆ และใส่ network เหล่านี้พร้อมกับ subnet mask ของ interface ของมันลงไปใน routing table

Router ที่กำลัง run classful routing protocol จะทำการ summary route (หรือที่เรียกว่า route summarization) ข้าม network boundary (หรือ เขตแดนของ network) 
ดังนั้น การออกแบบ network ใน classful routing จะต้องออกแบบให้เป็นทั้ง FLSM และเป็น network แบบ Contiguous Network ดังรูปข้างล่าง



แล้วถ้าเราไม่ออกแบบ network ให้เป็นแบบ Contiguous (นั่นก็คือ network เป็นแบบ Discontiguous) ล่ะ จะเป็นยังไง? 
หาก network มีการใช้ classful routing protocol และ network ถูกออกแบบมาเป็นแบบ Discontiguous แล้ว 
ผลที่ตามมาคือ router ที่รับ route ที่ถูก summary มาทั้งสองด้าน อาจจะ forward IP packet ไปผิดด้านก็เป็นได้ ดังรูปข้างล่าง

Note: จากภาพข้างล่างเป็น Discontiguous Network ของ Class B 172.31.0.0/16 โดยมี Class C 192.168.1.0/24 มาขั้นอยู่ตรงกลาง


คำถามต่อมา คือ EIGRP และ RIPv2 ที่มี command "auto-summary" จะมาเกี่ยวข้องอะไรกับ Discontiguous Network ล่ะ

ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่า command "auto-summary" มันอยู่ตรงไหนใน RIPv2 กับ EIGRP

- สำหรับ EIGRP
!
router eigrp 100
 auto-summary
!

สำหรับ RIPv2 (แม้ไม่มี command "auto-summary" ให้เห็น แต่มันจะถูก enable โดย default)
!
router rip  
 version 2
!

ทั้ง EIGRP และ RIPv2 แม้ว่ามันจะเป็นตระกูล Classless routing (ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดต่อไป) ก็ตาม แต่โดย default แล้ว มันจะมี command "auto-summary
ซึ่งก็หมายความว่า "มันจะทำการ summary route (หรือที่เรียกว่า route summarization) ข้าม network boundary โดย default นั่นเอง" 
ซึ่ง ณ. จุดนี้ EIGRP และ RIPv2 ที่ enable command "auto-summary" จะไม่ต่างอะไรกับ Classful routing คือ ไม่สามารถรองรับการออกแบบ network ที่เป็นแบบ Discontiguous Network ได้

ดังนั้น หากเราต้องการให้ EIGRP และ RIPv2 รองรับ Discontiguous Network แล้ว เราจะต้องทำการ disable command "auto-summary" ด้วยการใส่ คำสั่ง "no" ไว้ข้างหน้า command ดังกล่าว ดังตัวอย่างข้างล่าง

สำหรับ EIGRP
!
router eigrp 100
 no auto-summary
!

สำหรับ RIPv2 
!
router rip  
 version 2
 no auto-summary
!

การใส่ command "no auto-summary" ให้กับ EIGRP และ RIPv2 ก็เพื่อที่จะเป็นการ disable feature "auto-summary" นั่นเอง และผลที่ได้ตามมาก็คือ router จะไม่ทำการ summary route ตรงจุดที่เป็น "network boundary" แต่จะประกาศ route ออกไปเป็นแบบ subnetnework แทน

Classful routing ถือว่าเป็น routing protocol ที่ล้าสมัยไปแล้วใน network ทุกวันนี้

Classless routing:
Classless routing protocol สามารถที่จะถูกเรียกได้ว่าเป็น protocol ที่เป็น second-generation เนื่องจากพวกมันถูกออกแบบมาให้จัดการกับปัญหาบางปัญหาที่เป็นข้อจำกัดของ classful routing protocol

ข้อจำกัดที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในสภาพแวดล้อมที่เป็นแบบ classful network ก็คือว่า subnet mask จะไม่ถูกแลกเปลี่ยนในระหว่างกระบวนการ การทำ routing update 
ดังนั้นความต้องการ subnet mask ที่เหมือนๆ กัน จะถูกใช้อยู่บน subnetwork ทั้งหมดที่อยู่ภายใน major network เดียวกัน (หรือที่เราเรียกว่า FLSM)

อีกข้อจำกัดหนึ่งของ classful routing ก็คือ ความจำเป็นในการ summary route อย่างอัตโนมัติให้เป็น หมายเลข network ที่เป็นแบบ classful ที่ major network boundary ทั้งหมด

สำหรับในสภาพแวดล้อมที่เป็นแบบ classless แล้วนั้น กระบวนการการทำ summarization จะถูกควบคุมแบบทำด้วยมือ หรือที่เรียกกันว่า ทำอย่าง manually และในการทำ route summarization นั้น เราสามารถที่จะเรียกใช้ ที่ตำแหน่ง bit ใด ๆ ภายใน address ก็ได้
เนื่องจาก route ที่เป็นแบบ subnet จะถูกแพร่ หรือถูก propagate ไปตลอดทั้ง routing domain ดังนั้นการทำ manual summarization อาจจะเป็นที่ต้องการในการช่วยรักษาขนาดของ routing table ไม่ให้มีขนาดที่ใหญ่มากจนเกินไป

นอกจากนั้นแล้ว classless routing ยังรองรับการออกแบบ network ที่เป็นแบบ VLSM (Variable-Length Subnet Masking) อีกด้วย

Network ที่ถูกออกแบบมา เป็นแบบ VLSM จะมี subnet mask ได้มากกว่าหนึ่ง prefix length ภายใน Class หนึ่ง Class (หมายถึง มี subnet mask เป็นแบบไหน อะไรก็ได้ ไม่ต้องเหมือนกันทั้ง network อย่าง FLSM)

ตัวอย่างของการกำหนด subnet ที่เป็นแบบ VLSM โดยใช้ Class B เป็นกรณีศึกษา
เราเลือกใช้ IP address space ของ Class B คือ 172.31.0.0/16

จากนั้นเราเริ่มกำหนด subnet ของ 172.31.0.0/16 เป็น /24 คือ
172.31.0.0/24 (172.31 = major network ของ Class B ส่วน .0 เป็น subnet)
- 172.31.1.0/27 (172.31 = major network ของ Class B ส่วน .1.0 เป็น subnet)
172.31.1.32/27 (172.31 = major network ของ Class B ส่วน .1.32 เป็น subnet)
172.31.1.64/30 (172.31 = major network ของ Class B ส่วน .1.64 เป็น subnet)
172.31.1.68/30 (172.31 = major network ของ Class B ส่วน .1.68 เป็น subnet)





Classless routing protocol ประกอบไปด้วย RIPv2, EIGRP, OSPF และ IS-IS

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Classful และ Classless ท่านสามารถเข้าไปอ่านได้ตาม link นี้ครับ


สำหรับ VDO เกี่ยวกับ FLSM และ VLSM ท่านสามารถเข้าไปชมได้ตาม link ข้างล่างครับ

CCNA kochaiwat Vol9-1 FLSM vs VLSM


เอาล่ะครับ จบเสียทีสำหรับงานเขียนนี้ ผมตั้งใจมานานมากว่าจะเขียนสิ่งเหล่านี้ ในที่สุดก็เขียนเสร็จเสียที ยังมีอีกมากมายที่อยากจะเขียน ยังไงก็คอยติดตามกันต่อไปเรื่อยๆ นะครับ

ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์
www.likecisco.bloggang.com




Create Date : 13 สิงหาคม 2557
Last Update : 10 กันยายน 2561 8:56:59 น. 8 comments
Counter : 18566 Pageviews.  
 
 
 
 
เยี่ยมครับพี่
 
 

โดย: Naivon IP: 115.87.106.245 วันที่: 15 สิงหาคม 2557 เวลา:22:04:45 น.  

 
 
 
@Naivon,
ขอบคุณมากครับ
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 17 สิงหาคม 2557 เวลา:20:35:12 น.  

 
 
 
กระจ่างเลย ขอบคุณมากๆครับ ^^
 
 

โดย: Drunza IP: 124.122.68.232 วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:21:23:03 น.  

 
 
 
ขอบพระคุณค๊าบบบบ @(^^)
 
 

โดย: bankki IP: 118.174.194.22 วันที่: 20 พฤษภาคม 2558 เวลา:14:35:52 น.  

 
 
 
อาจารย์อธิบายและยกตัวอย่างได้เข้าใจง่ายดีครับ
มีโอกาสจะลงเรียนกับอาจารย์โก้แน่นอนครับ
 
 

โดย: Kitti.Ch IP: 115.87.64.43 วันที่: 20 เมษายน 2559 เวลา:22:15:00 น.  

 
 
 
@Khun Kitti
ขอบคุณครับ ^^
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 21 เมษายน 2559 เวลา:20:59:59 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับ ลดความยากลงมา ทำให้เข้าใจ และอยากเรียนรุ้มากขึ้น
ขอบคุณมากครับ ขอบคุณจริงๆ
 
 

โดย: chanathip IP: 139.99.104.93 วันที่: 6 กันยายน 2561 เวลา:11:18:22 น.  

 
 
 
ขอบคุณบทความดีๆครับอาจารย์
 
 

โดย: Apiwat IP: 159.192.221.94 วันที่: 10 กรกฎาคม 2562 เวลา:9:28:01 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com