ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
 

หัวใจหลักในการเรียนรู้ Technology

หลักในการเรียนการสอนของผมคือ:


การเรียนรู้ technology อะไรก็ตาม "ในการคิด หรือวิเคราะห์ technology นั้น จงอย่าทำตัวเป็นคนที่มองไปที่ network diagram หรือภาพ เพราะเราจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างจากภาพนั้นๆ ซึ่งมันจะทำให้เราไม่เข้าใจระบบอย่างแท้จริง แต่ให้คิดว่าถ้าเราเป็นอุปกรณ์ตัวนั้นๆ แล้ว เราจะมีวิธีการในการเรียนรู้ information เหล่านั้นอย่างไร และเราจะเอา information เหล่านั้นมาใช้งานอย่างไร เพื่ออะไร เรา action กับ data packet ที่อยู่ในมือของเราอย่างไร"

ดั่งที่โบาณว่าไว้ "เอาใจอุปกรณ์ มาใส่ใจเรา" ^^

โก้-ชัยวัฒน์




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2558   
Last Update : 6 กรกฎาคม 2558 14:56:10 น.   
Counter : 1187 Pageviews.  


อธิบาย OSPF Stub Area, Totally Stubby Area, NSSA และ Totally NSSA อย่างง่ายๆ ก่อนครับ

ตอนนี้เรื่อง "อธิบาย OSPF Stub Area, Totally Stubby Area, NSSA และ Totally NSSA แบบสรุป"  ได้ถูกย้ายไป Blog Group ใหม่ตาม link ข้างล่างแล้วครับ:


//www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=02-06-2013&group=3&gblog=14


ขอบคุณครับ

โก้-ชัยวัฒน์




 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2554   
Last Update : 29 สิงหาคม 2558 10:40:31 น.   
Counter : 1171 Pageviews.  


02/10/2011 09:06 - ประชาสัมพันธ์ "CCNP-การ Control Route ข้ามระหว่าง Routing Protocol ที่แตกต่างกัน"

02/10/2011 09:06 - ประชาสัมพันธ์งานเขียนใหม่

"CCNP-การ Redistribute Route หรือการโยน Route ระหว่าง Routing Protocol คนละชนิดกัน"

เป็นเรื่องที่เกี่ยวกันการ Control Route ระหว่าง Routing Protocol ที่แตกต่างกัน ด้วย command "Redistribute" บน Cisco Router ครับ

๊URL ตามนี้เลยครับ

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=likecisco&month=30-09-2011&group=3&gblog=6

โก้-ชัยวัฒน์
(kochaiwat)




 

Create Date : 02 ตุลาคม 2554   
Last Update : 2 ตุลาคม 2554 9:12:24 น.   
Counter : 1259 Pageviews.  


กำลังเขียน IP address ตอนที่ 7 อยู่ครับ (มาอ่าน Draft กันเล่นๆ ไปก่อนนะครับ)

เนื่องจากมีน้องๆ ผู้ที่ติดตามอ่าน Blog ของผมอยู่ ขอให้ช่วยเขียนเรื่อง IP address ตอนที่ 7 ต่อ (แบบว่า Swap ไปเขียนเรื่องเกร็ดความรู้อย่างเมามันส์ไปหน่อย) และแน่นอนครับ เมื่อมีคนขอ เราก็จัดให้ครับ

แหะๆ ^^" จริงๆ ควรต้องกล่าวเรื่องนี้ก่อน แล้วจึงจะไปเขียน เรื่องการหา Subnet ต่อได้ แต่แอบไปเขียนเรื่อง Subnet ซะก่อนแล้วมาติดเรื่อง การคำนวณจำนวณของ Host ในหนึ่ง Network ID ซะงั้น เลยต้องมา Clear เรื่องนี้กับคนอ่านก่อนอ่ะครับ

หัวข้อ IP address ตอนที่ 7 ที่กำลังเขียนอยู่คือ

IP address ตอนที่ 7 - การคำนวณหาจำนวณของ Host ที่เป็นไปได้ในแต่ละ Network ID (+คำนวณหาจำนวน Network ของ Class)
========================
จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง IP address ตอนที่ 6 ผมแอบกล่าวถึงเรื่องของจำนวณ Host ในแต่ละ Class ดังนี้

- Class A จะมีจำนวนของ Host ที่เป็นไปได้ ในแต่ละ Network ID ของ Class A คือ 16,777,214 host (หรือ 16,777,214 host ต่อ 1 Network ID ของ Class A)
- Class ฺB จะมีจำนวนของ Host ที่เป็นไปได้ ในแต่ละ Network ID ของ Class B คือ 65,534 host (หรือ 65,534 host ต่อ 1 Network ID ของ Class B)
- Class C จะมีจำนวนของ Host ที่เป็นไปได้ ในแต่ละ Network ID ของ Class C คือ 254 host (หรือ 254 host ต่อ 1 Network ID ของ Class C)

แน่นอนครับ ก็ต้องเกิดคำถามต่อไปว่า "แล้วรู้ได้ไงว่า Class ไหนต้องมีจำนวณของ Host เป็นเท่าไหร่"

ที่มาที่ไปของคำตอบก็คือ ความน่าจะเป็นของเลขฐานสองทั้ง 32 bit ของ IP address นั่นเองครับ คือ

2^n (อ่านว่า "สองยกกำลัง n")

เมื่อ:
2 คือ ความเป็นไปได้ ไม่ 0 ก็ 1 ครับ (เลขฐานสองมีแค่ 0 หรือ 1 เท่านั้น)
n คือ จำนวนของ bit ที่เรากำลังพิจารณาอยู่ครับ

===========================
จะพยายามเขียนและ update ให้นะครับ




 

Create Date : 01 ตุลาคม 2554   
Last Update : 1 ตุลาคม 2554 19:12:57 น.   
Counter : 1689 Pageviews.  


25/09/2011 - Update: งานเขียนใหม่ / IP address-Advance ตอนที่ 1

ผมพยายามจะออกงานเขียนให้ต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้อ่านที่กำลังติดตามงานเขียนของผมอยู่ ไม่รู้สึกขาดตอน (แม้ชีวิตช่วงนี้อาจจะไม่ค่อยราบเรียบเท่าไหร่) ซึ่งผมยังไม่สามารถปล่อย Publish งานเขียนจริง ได้อย่างเป็นทางการเพราะต้องใช้เวลาเขียนและเกลาบทความ แต่เนื่องด้วยต้องการให้ผู้อ่านบางท่านที่กำลังติดตามอยู่ สามารถชมบทความตัวอย่าง (เหมือนหนังตัวอย่างเลย) ได้ จึงรบกวนพี่ๆ น้องๆ ที่กำลังติดตามอยู่ มาตามในหัวข้อประชาสัมพันธ์ นี้แทนนะครับ
ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์ (kochaiwat)


=========================================
IP address-Advance ตอนที่ 1 - การคำนวณ Network Id ระดับ Network Id ย่อย ด้วยเลขฐานสอง

จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง IP address ตอนที่ 1 - 6 ที่ท่านได้ติดตามมานั้น
เป็นการปูพื้นแบบเทคอนกรีตให้ครับ แต่นั่นก็ยังเป็นพื้นฐานนะครับ เพราะสิ่งที่เราจะเรียนเพิ่มเติมต่อไปนี้ เป็นการเรียนรู้ IP address ขั้นประยุกต์ ซึ่งจะยากขึ้นไปอีกขั้น แต่นี่ไม่ใช่การขู่เพื่อให้หมดกำลังใจนะครับ เพียงแค่ต้องการจะบอกว่า ตั้งใจอ่านดีๆ ครับ เนื่องจากหลายๆ คน จะงงกับ IP address ขั้นประยุกต์นี้ครับ แต่ไม่ต้องห่วงครับ ผมจะพยายามอธิบายให้ท่านทั้งหลายเท่าใจให้จงได้ครับ (หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น)

ความรู้พื้นฐานที่ท่านควรจะมีก่อนอ่านบทความนี้
1. Network ID และ Host ID คืออะไร ซึ่งท่านสามารถไปอ่านได้ในบทความก่อนๆ ที่ผมเขียนไปแล้วคือ
IP address ตอนที่ 1 - มารู้จัก IP address ในเชิงเปรียบเทียบกับการส่งจดหมายกัน
IP address ตอนที่ 2 - IP address ก็มีการแบ่งเป็นบ้านเลขที่และเมืองครับ

2. กาำรแปลง IP address จากเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสอง และการแปลง IP address จากเลขฐานสองเป็นฐานสิบ โดยลองดูได้จากบทความที่ผมเขียนไว้คือ
IP address ตอนที่ 4 -การแปลงเลขฐานสองกับฐานสิบสำหรับ IP address /ทำไม IP จึงมีค่าตั้งแต่ 0.0.0.0-255.255.255.255?

3. Subnet Mask คืออะไร? โดยลองดูได้จากบทความที่ผมเขียนไว้คือ
IP address ตอนที่ 5 - Subnet Mask คืออะไร ทำไมมี IP ต้องมี Subnet Mask? (Subnet Mask แบบพื้นฐาน)

หมายเหตุ Subnet Mask ขั้นประยุกต์ จะถูกกล่าวรวมอยู่ในหัวข้อ IP address-Advance ตอนใดตอนหนึ่งครับ

4. การแบ่ง Class ให้กับ IP address หรือการจัดกลุ่มให้กับ IP address เพื่อจะนำพาไปสู่การเริ่มต้นใช้ Subnet Mask ให้ตรงกับ IP address เบอร์นั้นๆ โดยลองดูได้จากบทความที่ผมเขียนไว้คือ
IP address ตอนที่ 3 - การแบ่ง Class ให้กับ IP address ขั้นพื้นฐาน (ก่อนครับ)
IP address ตอนที่ 6 - ลึกอีกนิดกับ Class ของ IP และ loopback address (127.0.0.1/localhost)

จากหัวข้อที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ถ้าท่านมีความรู้อยู่แล้ว หรือเคยอ่านแล้วและแม่นแล้วก็ข้ามไปได้เลยครับ
===================================

Update 19/09/2011 20:30

IP address-Advance ฉบับนายโก้-ชัยวัฒน์ (kochaiwat) คืออะไร?
IP address-Advance ฉบับนายโก้-ชัยวัฒน์ (kochaiwat) คือ การออกแบบและคำนวณ IP address ในเครือข่าย IP โดยมีการแบ่ง Network ID จาก ระดับ Class (Major Network) ให้เป็น Network ID ย่อยจากระดับ Class ลงไปอีก (เรียกว่า Subnet) เพื่อให้เป็นการใช้งาน IP address อย่างคุ้มค่าที่สุด

-Network ID ระดับ Class เรียกว่า Major Network
-Network ID ย่อย เรียกว่า Subnet (หรือ Sub Network)

======================================
Update 25/09/2011 00:29

ทำไมต้องทำ Network ID ระดับ Class (Major Network) ให้เป็น Network ID ระดับย่อย (Subnet)?

โดยปกติแล้ว Network ID 1 Network ID จะมีจำนวนของ Host ที่เป็นไปได้ ซึ่งอ้างอิงตาม Class ดังนี้
หมายเหตุ Host หมายถึง เครื่อง Computer ที่ใช้งานอยู่ภายใน Network ID นั้นๆ

Class A จะมีจำนวนของ Host ที่เป็นไปได้คือ 16,777,214 host
Class ฺB จะมีจำนวนของ Host ที่เป็นไปได้คือ 65,534 host
Class C จะมีจำนวนของ Host ที่เป็นไปได้คือ 254 host

หมายเหตุ สำหรับที่มา และวิธีคิดของจำนวน Host ในแต่ละ Class ผมขออนุญาติย้อนกลับไป update ใน IP address ตอนที่ 6 - ลึกอีกนิดกับ Class ของ IP และ loopback address (127.0.0.1/localhost) ทีหลังนะครับ (ลืมเรื่องนี้สนิทเลย แหะ แหะ)




 

Create Date : 17 กันยายน 2554   
Last Update : 28 กันยายน 2554 1:37:54 น.   
Counter : 5564 Pageviews.  



kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com