ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
 

การติดตั้ง IOS XRv บน VMware (ของแพงที่มีให้เล่นที่บ้านแล้ว)

การติดตั้ง IOS XRv บน VMware 

(ออกตัวก่อนว่าผมไม่ค่อยถนัด VMware เท่าไหร่นะครับ แต่พอรู้อยู่บ้าง ก็ style Engineer ครับ)
ข่าวดี! หลังจากที่หลายท่าน (รวมทั้งผม) ได้พยายามหา simulator ของ IOS XR มาเล่นบน PC นั้น บัดนี้ Cisco ได้ออก IOS XRv (v = Virtual) มาให้ใช้งานบน VMware แล้วครับ ซึ่งผมขอแนะนำการติดตั้ง IOS XRv บน VMware ดังนี้ครับ

Spec ของ PC คือ จะต้องเป็น Core i7 และ RAM 8 Gig

1. สิ่งที่จะต้องติดตั้งบนเครื่อง PC ของท่านก่อนเป็นอันดับแรก
- ติดตั้ง VMware Workstation หรือ VMware Server ก็ได้บน PC ของท่าน

ภาพที่ 1 แสดง VMware Workstation ที่ยังไม่ได้มีการติดตั้ง IOS XRv




2. ติดตั้ง "iosxrv-k9-demo-5.1.1_2.ova" บน VMware
-------------------------------------------------------------------------------
Note: ณ. ตอนที่เขียน IOS-XRv version ล่าสุดเป็น version 5.1.1 แต่ตอนนี้มี IOS-XRv version ใหม่แล้วนะครับ คือ 5.2.0 นะครับ โดยไป load ได้ที่ 4shared.coom ตาม link ข้างล่าง แต่ใน บทความนี้ผมขออนุญาติใช้ version 5.1.1 อธิบายไปตามเดิมนะครับ

//search.4shared.com/q/1/IOSXRv?view=ls

-------------------------------------------------------------------------------

ก่อนจะติดตั้ง "iosxrv-k9-demo-5.1.1_2.ova" บน VMware ท่านจะต้อง download file "iosxrv-k9-demo-5.1.1_2.ova" มาเก็บไว้ที่เครื่องของท่านเสียก่อน โดยสามารถ download file ดังกล่าวได้ตาม link ดังต่อไปนี้ครับ "//www.4shared.com/file/bvFZ3kQRce/iosxrv-k9-demo-511.htm"

2.1 ให้ทำการ double click file "iosxrv-k9-demo-5.1.1_2.ova" ที่ท่านได้ download มา จะขึ้นภาพ ดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2 แสดง Window: Import Virtual Machine


- ตั้งชื่อ VM สำหรับ IOS XRv ที่จะไปปรากฏใน VMware
- กำหนด path ที่จะสร้าง VM สำหรับ IOS XRv
- จากนั้น click ปุ่ม "Import" และจากนั้นจะขึ้น Window "" ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 แสดง process ของการ Import VM สำหรับ IOS XRv เข้าไปใน VMware



2.2 จากจบ process การ Import VM สำหรับ IOS XRv เข้าไปใน VMware แล้ว ให้ลองกลับไปดูที่ Window: "VMware Workstation" อีกครั้ง จะพบเชื่อ VM ที่เราเพิ่งสร้างขึ้นมา ซึ่งจากตัวอย่าง ชื่อ "XR_Router1" ดังภาพที่ 4

ภาพที่ 4 แสดง VMware Workstation หลังจากมีการติดตั้ง IOS XRv เรียบร้อยแล้




2.3 ทำการเพิ่ม Processor, Memory และ Serial Port (Console Port) ให้กับ VM IOS XR ที่เราสร้างขึ้นมา (XR_Router1)
2.3.1 ที่ Window: "VMware Workstation" ให้ click ขวาบน XR_Router1 แล้วเลือก Setting ดังภาพที่ 5

ภาพที่ 5 แสดงขั้นตอนการเข้าไป setting CPU, Memory และ add Serial Port (Console Port) ให้กับ XR_Router1



2.3.2 หลังจากทำ step 2.3.1 แล้ว จะเปิด Window: "Virtual Machine Settings" ขึ้นมาดังภาพที่ 6

ภาพที่ 6 แสดง Window: "Virtual Machine Settings"




2.4 ทำการ setting Processor, Memory และ Hard Disk โดยให้เป็นไปตามข้อมูลในภาพที่ 7

ภาพที่ 7 แสดงภาพ ตาราง VM Parameters



2.5 ทำการ Add Serial Port (Console Port) โดย 
2.5.1 Click ปุ่ม Add บน Window: "Virtual Machine Settings" เพื่อเปิด Window: "Add Hardware Wizard" ดังภาพที่ 8
2.5.2 Click เลือก Serial Port จากนั้น click ปุ่ม Next ดังภาพที่ 8

ภาพที่ 8 แสดง Window: "Add Hardware Wizard"



2.5.3 หลังจากทำ Step 2.5.2 (2) (click ปุ่ม Next >) แล้ว
- ให้เลือก "Output to named pipe" แล้ว click ปุ่ม "Next >" ดังภาพที่ 9

รูปที่ 9 แสดงการ set "Output to named pipe"



2.5.4 ใช้ค่า default คือ ".pipecom_1" ซึ่งหมายความว่า Serial Port นี้จะ map เข้ากับ Com1 และจากนั้น click ปุ่ม finish ดังภาพที่ 10

ภาพที่ 10 แสดงการ map Serial Port กับ Com1



2.5.5 ที่ Window: "Virtual Machine Settings" จะพบ Serial Port ภาพที่ 11 และให้ copy ".pipecom_1" ไว้ setting ใน Program PuTTY เพื่อ connect เข้ามายัง XR_Router1 ตัวนี้ในภายหลัง จากนั้น click ปุ่ม "OK"

ภาพที่ 11 แสดง Serial Port ใน Window: "Virtual Machine Settings"



2.6 ทำการ start XR_Router1 โดยการ click Power on this virtual machine ดังภาพที่ 12 และภาพที่ 13

ภาพที่ 12 แสดงการ start XR_Router1



ภาพที่ 13 แสดงการ start XR_Router1 (ต่อเนื่อง)



2.7 ทำการ run Program PuTTY 
- เลือก O Serial
- นำ Parameter ที่ copy เอาไว้ใน step 2.5.5 (ตามภาพที่ 11) คือ ".pipecom_1" มากรอกในช่อง Serial line 
- Click ปุ่ม Open ตามภาพที่ 14

ภาพที่ 14 แสดงการ set parameter บน Program "PuTTY"




Note: 

2.8 Window "PuTTY" จะ run IOS XRv ไปเรื่อยๆ ดังภาพที่ 15
จากตรงนี้ การ Boot จะเร็วสุดอยู่ที่ประมาณ 30 นาที ในกรณีที่ใช้ Core i7 แบบ 8 Core

ภาพที่ 15 แสดงการ Boot IOS XRv



2.9 IOS XR ในการติดตั้งครั้งแรก จะบังคับให้เรากำหนด Username/Password สำหรับ Root-System ดังภาพที่ 16

ภาพที่ 16 แสดงการกำหนด Username/Password สำหรับ Root-System บน IOS XRv



2.10 ทำการ Login Username/Password เข้าสู่ XR_Router1 ดังภาพที่ 17
(Username/Password จะใช้ที่เรากำหนด หรือจะใช้ cisco/cisco ก็ได้)

ภาพที่ 17 แสดงการ Login Username/Password ด้วย cisco/cisco



2.11 ทำการ show interface ที่ระบบกำหนดมาให้เองในเบื้องต้น ดังภาพที่ 18

ภาพที่ 18 แสดงการ show interface ที่ระบบกำหนดมาให้เองในเบื้องต้น




เอาละครับ จากนี้ไปท่านก็มี Router Platform ที่มีราคา 10 ล้าน up ไว้เล่นที่บ้านแล้วครับ

สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง XR_Router1 กับ XR_RouterX หรือแม้กระทั่งการ Integrate XR_Router บน VMware เข้ากับ GNS3 นั้น คงต้องรบกวนเล่นกันต่อนะครับ ผมคงหมดพลังในการทำคู่มือเพียงแค่นี้ครับ (เล่นอยู่ 2-3 วันนะครับ เพราะ Boot ทีนานมาก)

Credit คำแนะนำ เบื้องต้นในการติดตั้ง IOS XRv บน VMware จากคุณ Sanon Seetiensuk (CCIE) และคุณ Tee Pornthep (CCIE)

ปล. สำหรับท่านใดสนใจเรียน Basic Command และวิธีการ Implement ต่างๆ สำหรับ IOS XR นั้น ผมรับสอนให้ครับ โดยรายละเอียดตาม link ข้างล่างครับ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=06-03-2014&group=2&gblog=5

ขอบคุณครับ
kochaiwat




 

Create Date : 06 มีนาคม 2557   
Last Update : 8 มกราคม 2558 13:19:14 น.   
Counter : 8799 Pageviews.  


อธิบาย OSPF Stub Area, Totally Stubby Area, NSSA และ Totally NSSA แบบสรุป

ก่อนจะกล่าวถึงชนิดของ Area ต่างๆ ใน OSPF ผมขอปูพื้นสำหรับคำว่า LSA ในนิดนึงก่อนนะครับ

LSA (Link State Advertisement) ใน OSPF คืออะไร?
routing protocol แต่ละชนิดจะมีวิธีการ update route (subnet หรือ network id) ที่แตกต่างกันไป

สำหรับ OSPF แล้ว จะมีวิธีการ update route หรือการประกาศ route ผ่านทาง OSPF packet ที่มีชื่อว่า LSA ครับ โดย LSA จะมีด้วยกันหลายชนิด หรือหลาย type ซึ่งจะมีตั้งแต่ LSA type 1 ถึง LSA type 11 ดังภาพข้างล่างครับ


แต่จากประสบการณ์การทำงานของผมแล้ว LSA type ที่เราๆ ท่านๆ จะพบแน่ๆ ในชิวิตประจำวันกับ network ที่เป็น OSPF Domain สำหรับ IPv4 จะมีดังนี้คือ LSA type 1, 2, 3, 4, 5 และ 7 ครับ

ซึ่ง LSA ที่ผมจะกล่าวถึงในบทความนี้อย่างจริงๆ จังๆ นั้น ผมจะขอกล่าวถึงแค่ LSA type 3, 5, และ 7 เท่านั้นนะครับ เพราะ 3 type นี้จะเกี่ยวข้องกับชนิดของ OSPF Area ตามหัวข้อของบทความนี้ครับ

เอาล่ะ เรามาเริ่มเนื้อหาในหัวข้อนี้กัน
เวลามีการ redistribute route อื่นเข้ามาใน OSPF Domain ปกติจะเป็น LSA Type 5 (External route) ซึ่ง route ภายนอก OSPF Domain ตามหลักการของ OSPF แล้วจะตีความว่ามีจำนวน route มาก จึงมีการกำหนดชนิดของ Area ขึ้นมาคือ

- Stub Area เป็น Area ที่จะรับแต่ route ที่เป็น LSA type 3 (route จาก Area อื่น แต่เป็น route ที่อยู่ใน OSPF Domain เดียวกัน) แต่จะไม่รับ route ที่เป็น External route (route ใน LSA type 5) โดย ABR ของ Stub Area จะทำการแปลง External route ใน LSA type 5 ที่รับมาจาก Backbone Area (Area 0) ให้กลายเป็น Default route แล้วทำการประกาศ Default route นี้เข้าไปใน Stub Area ของตน

- Totally Stubby Area จะเป็น Area ที่คล้ายๆ Stub Area แต่จะไม่รับ route ทั้ง External route (LSA type 5) และ route ใน LSA type 3 ซึ่ง ABR ของ Totally Stubby Area จะเป็นผู้ที่ทำการแปลง route ที่ถูกประกาศมาใน LSA ทั้งสอง ที่รับมาจาก Backbone Area ให้กลายเป็น Default Route ทั้งหมด แล้วประกาศ Default route นี้เข้าไปใน Totally Stubby Area ของตน

- NSSA (Not So Stubby Area) เกิดมาจาก Stub Area มีข้อจำกัดเช่น ห้ามมี ASBR ใน Area (คือ ห้าม Stub Area รับ External Route หรือ LSA type 5) แต่เนื่องด้วยความจำเป็นบางอย่างจึงทำให้เราต้องทำ Stub Area แบบฝืนหลักการของ Stub Area ดังนั้น OSPF จึงมี Area อีกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นมาเพื่อลองรับเงื่อนไขนี้ นั่นก็คือ NSSA ซึ่งถ้าแปลเป็นไทยก็คือ ไม่ใช่ Stub Area ซะทีเดียว โดย NSSA จะคล้ายๆ กับ Stub Area แต่จะสามารถมี ASBR ภายใน NSSA Area ได้ โดย ASBR ที่อยู่ใน NSSA Area จะรับ external route เข้ามาจากการ redistribute external route จากภายนอก OSPF Domain เข้ามาใน NSSA Area และ ASBR จะทำการแปลง External route ให้กลายเป็น route ที่อยู่ใน LSA type 7 (เพราะ NSSA Area และ Stub Area ห้ามมี External route (LSA type 5) นั่นเอง) และจาก NSSA ที่มีหลักการคล้ายๆ กับ Stub Area คือห้ามมี LSA type 5 ดังนั้น ABR ของ NSSA area เมื่อรับ route จาก Backbone Area (Area0) เข้ามาจะรับแต่ route ใน LSA type 3 เท่านั้น ส่วน route ที่อยู่ใน LSA type 5 ที่เข้ามาจะถูกแปลงเป็น default route ด้วยการ configure อย่าง manual บน ABR แล้ว ABR จึงประกาศ Default route นี้เข้าไปใน NSSA area ของตนเอง

ตัวอย่างการ configure ให้ ABR ของ NSSA ประกาศ default route เข้าไปใน NSSA Area

router ospf 10
area 1 nssa default-information-originate

เมื่อ Area 1 = NSSA Area และ ABR จะประกาศ default route เข้าไปใน NSSA Area ด้วย command "default-information-originate"

Note: LSA type7 เมื่อถูกประกาศออกไปนอก NSSA area (ประกาศเข้าไปใน Backbone area (Area 0)) ABR ของ NSSA area จะทำการแปลง LSA type 7 นี้ให้กลายเป็น LSA type 5 ก่อน แล้วจึงประกาศเข้าไปใน Backbone Area เพราะ area อื่นๆ รู้จักแค่ LSA type 3 และ LSA type 5 ไม่รู้จัก LSA type 7
(LSA type 5 และ LSA type 7 เป็น LSA บรรทุก external route ทั้งคู่ แต่เนื่องด้วย NSSA เป็น area ที่ห้ามมี LSA type 5 มันจึงเล่นแร่แปรธาตุหนีมาใช้เป็น LSA type 7 นั่นเอง)

Note: สำหรับ "router ospf 10" นั้น 10 คือ OSPF process ID ถ้าใครอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ OSPF process ID ท่านสามารถเข้าไปอ่านได้ตาม link ข้างล่างครับ มี 4 ตอน แต่หากใครทราบอยู่แล้ว ก็ให้ข้ามไปได้เลยครับ

- OSPF process ID ตอนที่ 1
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=11-06-2011&group=3&gblog=1

- OSPF process ID ตอนที่ 2
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=19-06-2011&group=3&gblog=3

- OSPF process ID ตอนที่ 3
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=23-06-2011&group=3&gblog=4

- OSPF process ID ตอนที่ 4
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=01-07-2011&group=3&gblog=5


-Totally NSSA ก็คือ NSSA area ที่ไม่รับทั้ง route ที่อยู่ใน LSA type 3 และ LSA type 5 นั่นเอง ดังนั้น ABR ของ Totally NSSA area จะเป็นผู้ที่แปลงทั้ง route ที่อยู่ทั้งใน LSA type 3 และ LSA type 5 ให้กลายเป็น default route แล้วประกาศเข้าไปใน Totally NSSA ให้อย่างอัตโนมัติครับ ไม่ต้อง manual configure การประกาศ default route เหมือนอย่าง NSSA ธรรมดา

เปรียบเทียบ Stub area กับ NSSA area
ความเหมือนกันของ Stub area กับ NSSA area
- Area ทั้งสองแบบ เป็น area ที่รับมาแต่ LSA type 3 จาก Backbone area เท่านั้น แต่จะไม่รับ LSA type 5 จาก Backbone area โดย ABR จะเป็นผู้คัดกรองให้
- เหมาะกับ area ที่มี router รุ่นเล็กๆ หรือ router ที่มี performance ต่ำๆ 
ความแตกต่างกันของ Stub area กับ NSSA area
- Stub area ห้ามมี ASBR อยู่ในภายใน area แต่ NSSA area สามารถมี ASBR อยู่ใน area ได้
- Stub area จะไม่มี LSA type 7 แต่ NSSA area จะมี LSA type 7
- ABR ของ Stub area จะสร้าง หรือ generate default route แล้วประกาศเข้าสู่ area ของตนเองอย่างอัตโนมัติ แต่ ABR ของ NSSA area จะไม่สร้าง หรือ ไม่ generate default route อย่างอัตโนมัติเหมือนอย่าง Stub area แต่ network administrator จะต้องเป็นผู้ configure default route เองอย่าง manual


เปรียบเทียบ Totally Stubby area กับ Totally NSSA area
ความเหมือนกันของ Totally Stubby area กับ Totally NSSA area
- Area ทั้งสองแบบ เป็น area ที่ไม่รับทั้ง LSA type 3 และ LSA type 5 จาก Backbone area โดย ABR จะเป็นผู้คัดกรองให้
- เหมาะกับ area ที่มี router รุ่นเล็กๆ หรือ router ที่มี performance ต่ำๆ 
ความแตกต่างกันของ Totally Stubby area กับ Totally NSSA area
- Totally Stubby area ห้ามมี ASBR อยู่ในภายใน area แต่ Tatally NSSA area สามารถมี ASBR อยู่ใน area ได้
- Totally Stubby area จะไม่มี LSA type 7 แต่ Totally NSSA area จะมี LSA type 7

ถาม แล้วจะใช้ Stubby area, Totally Stubby, NSSA area และ Totally NSSA area นี้เมื่อไหร่? 
ตอบ ก็ใช้เมื่อ area นั้นๆ มีแต่ router รุ่นเล็กๆ ที่มี performance ต่ำๆ ครับ เช่น มี Memory หรือ RAM น้อย ไม่สามารถรองรับ route จำนวนมากได้ เพราะ area เหล่านี้จะทำการแปลง route จำนวนมากให้กลายเป็น Default route เพียง route เดียว ทำให้ไม่กิน Memory ของ router

และที่เน้นคือ area เหล่านี้ควรจะมีทางออกทางเดียว หรือมี ABR ตัวเดียวครับ เพราะ ABR จะเป็นผู้โยน Default route เข้าไปใน area ของมัน โดยท่านสามารถสังเกตประกอบได้จากภาพข้างล่าง

สำหรับภาพ OSPF LSA ที่จะสอน จะเป็นภาพในตำนานที่ผมได้สรุป และรวบรวมดังภาพข้างล่างครับ 

รูป OSPF LSA ในตำนานนี้ แม้จะทำให้เรารู้ว่า มันจะต้องเปลี่ยนจาก LSA type ไหน เป็น type ไหน แต่มันก็จะสร้างคำถามมากมายให้กับเราว่า:

- ทำไม routing update ของ OSPF ถึงต้องมีหลาย type แล้วแต่ละ type มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร
- ทำไมต้องกั้น type 1 กับ type 2 และส่งออกเป็น type 3 แทน
- ทำไมมี type 5 แล้วต้อง ผลิต type 4 ตามมาด้วย
- ทำไม field ที่ชื่อว่า  advertise router ID สำหรับ LSA บาง type จึงต้องเปลี่ยน Advertising Router ID เมื่อมีการประกาศข้าม ABR (มันเกี่ยวกับ metric)

สิ่งเหล่านี้มีคำตอบทั้งหมด แต่การจะหาเอกสารอ่านนั้นค่อนข้างยาก ผมจึงมีแผนว่า ถ้ามีเวลา จะเขียนเป้นหนังสือหนึ่งเล่ม เกี่ยวกับ OSPF โดยเฉพาะครับ แต่ยังไม่สามารถ confirm ได้ว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ เพราะงานเขียน มันก็คือ ศิลปะ แขนงหนึ่ง ต้องใช้ สติ และความปราณีต

เหตุใดเราจึงจำเป็นต้องรู้ และเข้าใจในเรื่องของ OSPF LSA type?
การ configure ให้มันใช้งานได้ ไม่ใช่เรื่องยาก หา configuration ตัวอย่างมาทำเป็น template ท่านก็จะสามารถ configure ให้มันทำงานได้แล้ว แต่เวลามีปัญหา แล้วตัวตรวจสอบ หรือวิเคราะห์ปัญหานี่สิ มันไม่ได้ง่ายอย่างที่เรา configure นั่นคือ หากท่านไม่มีความเข้าใจใน OSPF LSA type แล้ว ท่านก็ต้องตกอยู่ในสภาพวะ กังวล หาก "OSPF network มีการ failure"

Guide ให้หน่อย เพื่อเป็นแนวทางไปศึกษาเองเพิ่มเติมได้ง่ายครับ
LSA จะทำหน้าที่เป็น routing update ใน OSPF protocol โดย LSA แต่ละ type จะรับผิดชอบในการ update route แต่ละประเภทแตกต่างกันไป หากถ้าเราดู route ที่อยู่ใน routing table ก็จะพบ OSPF route ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท เช่น O,  O IA,  O E1, O E2, O N1, O N2 ซึ่งมันจะเกี่ยวข้องกับ LSA type ต่างๆ รวมไปถึงเรื่อง metric ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจ LSA แต่ละ type ก็เท่ากับว่า เราจะรู้ว่า route ที่หายไป น่าจะเกิดจาก LSA type ไหนมีปัญหา หรือไม่ได้ถูก update มา โดยเอาไปเทียบกับ network diagram ที่มีอยู่ และนำไปตรวจสอบเทียบกับ LSDB (Link-State Database) ต่อไป ก็จะสามารถคาดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรครับ


อย่างไรก็แล้วแต่ ผมจะสอนสิ่งเหล่านี้อย่างละเอียดในวิชา ROUTE ดัง link ข้างล่าง แต่หากท่านใดสนใจจะเรียนแต่ OSPF อย่างเดียวแบบ 2 วัน ซึ่งยังไม่เคยเปิดสอน ท่านก็สามารถลงชื่อแจ้งไว้ได้ครับ และเมื่อมีจำนวนคนมากพอ ผมจะเปิดสอนเฉพาะ OSPF อย่างเดียว 2 วัน ให้เป็นกรณีพิเศษครับ


สำหรับ Lab OSPF บน GNS3 ผมได้ทำเอาไว้ให้ท่านได้ download ตาม link ใต้ภาพนะครับ




ขอเชิญทุกท่านที่สนใจเข้าไป download Lab GNS3 ที่ผมได้ทำเอาไว้ได้เลยครับ มี pre-configuration ให้หมดแล้วทั้ง Normal Area, Stub Area, Totally Stub Area, NSSA Area และ Totally NSSA Area (ท่านต้องใช้ IOS 3745 นะครับ)


โก้-ชัยวัฒน์




 

Create Date : 02 มิถุนายน 2556   
Last Update : 30 สิงหาคม 2558 23:42:53 น.   
Counter : 21567 Pageviews.  


การ Recovery Password หรือการ Reset Password บน Cisco Switch ตระกูล 29XX

บางท่านอาจจะเคยเกิดปัญหาลืม enable password ของ Cisco Switch

ดังนั้นในบทความนี้จะแนะนำวิธีการ Recovery Password ของ Cisco Switch ตระกูล 29XX โดยให้ท่านทำตามทีละขั้นตอนดังนี้ครับ

1.    ให้ใช้ command “show ip interface brief” ตรวจสอบดูก่อนว่า Switch ตัวนี้ configure IP management ไว้บน Interface VLAN อะไร และ Interface VLAN นั้นๆ จะต้องอยู่ในสถานะ up/up เช่น

 

2.    ปิด และเปิด Switch จากนั้นให้กดปุ่ม “MODE” ดังรูป ค้างเอาไว้ แล้วให้รอจนกว่า Prompt จะขึ้นว่า “switch:”

 

 

3.    ให้พิมพ์ command “flash_init”

  

4.    ให้พิมพ์ command “load_helper”

5.    ให้พิมพ์ command “dir flash เพื่อตรวจสอบว่าใน flash มี file “config.text” อยู่หรือไม่

 ระวัง! จะต้องมี “:” ต่อท้ายคำว่า dir flash ด้วย ไม่อย่างงั้นจะขึ้น errors ว่า "unable to stat flash/: permission denied”  

ใน Flash ของ Switch จะเป็นที่เก็บ file หลักดังต่อไปนี้ 
   -       IOS ของ Switch จากตัวอย่างคือ file “c2950-i6k2l2q4-mz.121-
       22.
EA13.bin”
   -       File “startup-config” configuration (file ชื่อ “config.text”)
  
-       File VLAN Database (file ชื่อ “vlan.dat”)  
  
-       File “config.text” จะเป็น file ที่เก็บ startup configuration ของ Switch เช่น hostname, enable password ที่เราติดปัญหาอยู่ รวมถึง configuration ต่างๆ บน interface เช่น access mode (และเก็บว่า interface นี้เป็นสมาชิก VLAN อะไรอยู่ด้วย) หรือ trunk mode
  
-       เนื่องจาก file “config.text” เป็น file ที่เก็บ configuration “enable password” เอาไว้ ดังนั้นในการทำ Recovery Password บน Switch 29xx จะต้องนำ file นี้มาแก้ไข
  
-       File “vlan.dat” เป็น file ที่เก็บ VLAN ID ต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นมาเอง (ไม่รวม VLAN 1 ที่เป็น default VLAN ของ Switch) ถ้า Switch มือหนึ่งที่เพิ่งซื้อมา ไม่เคยมีการสร้าง VLAN เลย Switch จะไม่มี file “vlan.dat” นี้ แต่ถ้าเรามีการสร้าง VLAN ใดๆ ขึ้นมาแล้ว Switch จะทำการเก็บข้อมูลของ VLAN ID ไว้ใน file นี้
  
-       VTP นำ file “vlan.dat” มาพิจารณาในการทำ VLAN Synchronization

6.    ให้ทำการเปลี่ยนชื่อ file “config.text” ไปเป็นชื่อ “config.old”

 

 หมายเหตุ
ในช่วงที่ Switch reboot อยู่นั้น Switch จะไป load startup configuration โดยการไปค้นหา file ที่ชื่อว่า “config.text” ใน flash
    
-       หากมันพบ file ที่ชื่อ “config.text”  มันจะ load startup configuration จาก file ดังกล่าวเข้าสู่ RAM
    
-       หากมันไม่พบ file ที่ชื่อ “config.text”  มันจะ load factory default configuration หรือ configuration พื้นฐานจากโรงงาน (เป็น configuration เหมือนกับเพิ่งซื้อ Switch มือหนึ่งมาใหม่ๆ) เข้าสู่ RAM

7.    ให้ทำการ reboot Switch โดยใช้ command “boot” (หรืออาจจะปิด/เปิด Switch ก็ได้)

8. หลังจากที่ reboot Switch เสร็จแล้ว จะขึ้น "System Configuration Dialog" ให้เราพิมพ์ “no” และกด enter

หมายเหตุ
-       Switch ไม่พบ file ที่ชื่อ “config.text” ใน flash จึงทำการ load factory default configuration มาไว้ใน RAM ทำให้ Prompt ขึ้นมาเป็น “System Configuration Dialog”
-       “System Configuration Dialog” จะเป็นการ configure Switch แบบ ถาม-ตอบ ซึ่งถ้าเราตอบ yes แล้ว Switch จะถามเราว่าจะ configure hostname เป็นชื่ออะไร, ฯลฯ แต่กว่าจะ configure เสร็จ ใช้เวลานานกว่าเราใช้ command line ซะอีก ถ้าเผลอตอบ yes ก็ให้กดปุ่ม Ctrl + C

9.    ให้พิมพ์ “en” (คำเต็มคือ “enable”) เพื่อเข้าสู่ enable mode หรือ Privileged Mode

หมายเหตุ 
 -       จะเห็นว่าตอนนี้ท่านสามารถเข้าสู่ Privileged Mode (Mode #) ได้แล้ว และข้ามขั้นตอนของการถาม enable password มาแล้ว เพราะ factory default configuration จะไม่มี Password ใดๆ เลย
-    หาก “show running-config” ท่านจะไม่เห็น configuration เดิมๆ เพราะตอนนี้ Switch ได้ load factory default configuration เข้าสู่ RAM แต่ไม่ต้องตกใจครับ เพราะ startup configuration ยังอยู่ ให้ท่านดำเนินการขั้นตอนต่อไป แล้วจะทราบว่า configuration เดิมยังไม่หายไปไหนครับ

10. ให้ทำการเปลี่ยนชื่อ file “config.old” กลับมาเป็น file ชื่อ “config.text” เหมือนเดิม

11.    ให้ทำการ load startup configuration ใน file “config.text” มายัง RAM (load startup configuration มา merge กับ running configuration) และขอให้สังเกตชื่อของ Switch หลัง load เสร็จแล้ว ดังนี้ 
หมายเหตุ merge หมายถึง การนำเข้าไปผสม หรือเพิ่มเติมในส่วนที่ยังขาด หรือยังไม่มี แต่ไม่ใช่การ replace หรือการทับของเดิมทั้งหมดนะครับ

 ตอนนี้เราอยู่ที่ “Privileged Mode” อยู่แล้ว เราสามารถเข้าไปแก้ไข หรือลบ “enable password” ของเดิมได้แล้ว

12.    ให้ลบ Enable Password เดิมทิ้งไป

13.    ให้ใส่ Enable Password ใหม่ที่เราต้องการ เช่น cisco แต่ในชีวิตจริงไม่แนะนำ Password นี้นะครับ เพราะ Hacker จะเดาได้ง่าย มันเป็นพื้นฐานการ Hack Password คือจะ Hack จะชื่อของยี่ห้อ

14.    ให้ทำการตรวจสอบสถานะของ Interface VLAN ที่มีการ configure IP management เอาไว้ ว่ามีสถานะเป็นอย่างไร ซึ่งจากขั้นตอนที่ 1 ในตัวอย่างนี้ ใช้ Interface VLAN 1 เป็น VLAN Management  โดยการใช้ command "show ip interface brief"

ระวัง! เวลาทำ Password Recovery หลังจากที่ Switch ทำการ Reboot ด้วย factory default configuration แล้ว interface VLAN ที่เราจะใช้ในการ access/telnet เข้ามาหา Switch ตัวนี้จะถูก shutdown อยู่โดย default ซึ่งในขั้นตอนที่ 11 จะเป็นเพียงการนำ configuration จาก startup configuration มา merge กับ running configuration เท่านั้น ซึ่งการ merge จะเป็นเพียงการเสริม หรือเพิ่มเติมบางส่วนของ running configuration ด้วย startup configuration เท่านั้น ไม่ใช่การ replace หรือกับทับของเดิม (startup configuration ไม่สามารถ replace หรือทับ running configuration ได้)

ดังนั้น ในขณะที่ interface VLAN ใน running configuration ถูก shutdown อยู่ (interface VLAN 1) แม้ว่า interface VLAN เดียวกันใน startup configuration จะไม่ได้ถูก shutdown (no shutdown) ถึงท่านจะทำขั้นตอนที่ 11 ไปแล้วก็ตาม ท่านก็ยังคงต้องมา "no shutdown" interface VLAN ด้วยตัวท่านเองอีกครั้งครับ

  

 

15.    ให้ทำการ no shutdown interface vlan ที่มีการ configure IP management เอาไว้  

16.    ให้ทำการ save configuration 
 

เป็นอันเสร็จสิ้นการ reset หรือการ recovery password สำหรับ Cisco Switch ตระกูล 29XX ครับ

ขอบคุณครับ

โก้-ชัยวัฒน์




 

Create Date : 05 มกราคม 2556   
Last Update : 6 มกราคม 2556 11:28:26 น.   
Counter : 19160 Pageviews.  


อธิบาย Auto-Summary command ใน EIGRP และ RIPv2 อย่างง่ายๆ ก่อน

ปกติ auto-summary ใน eigrp (รวมถึง rip v2) จะไม่เกี่ยวข้องกับการ redistribute ครับ แต่มันจะไปเกี่ยวข้องกับ Classful (ซึ่งต้องระวัง discontiguous network และ VLSM เพราะจะมีผลทำให้การ learning route มีปัญหาได้) 

discontiguous เช่น

การออกแบบเป็น contiguous network: 10.1.1.0/24 ---- 10.1.2.0/24 ----- 10.100.1.0/24 -- (boundary) -- 20.1.1.0/24 --- 20.2.1.0/24 ซึ่งจะเห็นว่ามีการออกแบบ subnet ของ 10.0.0.0/8 ที่ต่อเนื่องกัน

การออกแบบเป็น discontiguous network: 10.1.1.0/24 --- 10.1.2.0/24 --(boundary) --- 20.1.1.0/24 ---20.2.1.0/24 ---(boundary) --- 10.100.1.0/24 --- 10.3.1.0/24

จะเห็นว่า 10.0.0.0/8 มีการใช้ subnet ที่ไม่ต่อเนื่องกัน มี net 20.x.x.x เข้ามาแทรก จะเกิดปัญหาในการทำ routing update ซึ่งจะกล่าวต่อไป

คือ router ที่เป็น boundary [อยู่ระหว่าง network ที่ไม่ต่อเนื่องกัน (ในมุมมองของ class)] และ run eigrp หรือ rip ที่มีการใช้ auto-summary จะทำการ summary route ให้ตาม class ก่อนที่จะประกาศออกไปให้กับ route ตัวอื่นๆ ครับ ทำให้เราจะไม่เห็น subnet ย่อยต่างๆ แต่จะเห็นเป็น major net (network ตาม class) แทน

สิ่งที่ต้องระวัง หากมีการใช้ auto-summary ใน eigrp และ rip v2 คือ ถ้าใช้ VLSM หรือมีการออกแบบ subnet ใน class นั้นแบบไม่ต่อเนื่องกัน (discontiguous) แล้วจะเกิดผลเสียคือ จะเกิดการทำ summary route มาจากสองทาง เช่น

10.1.1.0/24 --- 10.1.2.0/24 --(boundary) --- 20.1.1.0/24 ---20.2.1.0/24 ---(boundary) --- 10.100.1.0/24 --- 10.3.1.0/24

router ตรงกลางที่อยู่ใน net 20.x.x.x จะได้รับการประกาศ route 10.0.0.0/8 มาสองทางครับ ทำให้เวลามี traffic จะวิ่งไป net 10.1.1.0/24 แล้ว router ตัวกลางจะงงไม่รู้จะ forward traffic ไปทางไหน ซ้ายก็ไป 10.0.0.0/8 ได้ ขวาก็ไป 10.0.0.0/8 ได้ครับ

ผมจะสอนและเน้นย้ำกับคนที่มาเรียนกับผมเสมอว่า เวลาเราใช้ eigrp หรือ ripv2 แล้ว ให้ใส่คำสั่ง no auto-summary ไว้ด้วยเสมอ จึงจะทำให้ eigrp และ ripv2 รองรับ VLSM และ discontiguous ได้อย่างแท้จริงครับ เพราะ auto-summary มันเป็น default command ใน eigrp และ ripv2 ครับ

หากมีเวลา ผมจะมาปรับปรุง หรือเขียนใหม่ให้ละเอียด พร้อมยกตัวอย่างที่ชัดเจนกว่านี้นะครับ

ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์




 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2554   
Last Update : 20 มกราคม 2559 0:34:15 น.   
Counter : 14589 Pageviews.  


Option ของการ Redistribute Route เข้าสู่ OSPF Domain (เน้น OSPF External Route Type 1 และ 2)


เนื่องจากช่วงนี้วุ่นๆ เลยขออนุญาติเขียนบทความสั้นๆ ง่ายๆ แต่น่าจะมีประโยชน์กับหลายๆ คนนะครับ

บทความนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความการ Redistribute Route ที่ผมเคยเขียนไว้แล้ว ตาม URL ข้างล่างนี้ครับ ท่านสามารถลองไปอ่านดูก่อนได้ครับ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=30-09-2011&group=3&gblog=6

สำหรับตัวอย่าง Command การ Redistribute Route จาก Routing Protocol ใดๆ เข้าสู่ OSPF Domain นั้น ผมขอยกตัวอย่างการดูด Route จาก EIGRP AS 100 เข้าสู่ OSPF Process id 1 ดังนี้ครับ

Router(config)# router ospf 1
Router(config-router)# redistribute eigrp 100
(ดูด Route ที่อยู่ใน EIGRP AS 100 เข้าสู่ OSPF process id 1)

หากจบ command ที่ "redistribute eigrp 100" แสดงว่า เรายอมรับ Option การดูด Route จาก EIGRP AS 100 เข้าสู่ OSPF Process 1 แบบ Default นั่นคือ

- Subnets จะไม่ถูก Redistribute เข้าสู่ OSPF Domain โดย default
- Default metric = 20
- Default metric type = 2 (E2 หรือ O E2)


หากเราต้องการ:
1. ให้ Route ที่ถูกดูดมาจาก EIGRP AS 100 ถูกโยนเข้าไปใน OSPF Domain โดยอนุญาติให้มีการดูด route ที่เป็นแบบ Subnet เข้ามาใน OSPF domain ได้ ให้ใส่ Option: subnets
Note หากไม่ใส่ Option subnets แล้ว จะมีเฉพาะเพียงแค่ route ที่เป็น major network เท่านั้นที่จะถูกดูดเข้ามา OSPF domain ได้
2. ให้ Route ที่ถูกดูดมาจาก EIGRP AS 100 มีค่า metric (OSPF Cost) ตั้งต้นคือ 10 (ไม่ใช่ 20 ตามค่า default) ให้ใส่ Option: metric 10
3. ให้ Route ที่ถูกดูดมาจาก EIGRP AS 100 ถูกโยนเข้าไปใน OSPF Domain ด้วย OSPF External Route Type 1 (ไม่ใช่ Type 2 หรือ O E2 โดย default) ให้ใส่ Option: metric-type 1

เราสามารถ configure ใหม่ได้ดังนี้ครับ

Router(config)# router ospf 1
Router(config-router)# redistribute eigrp 100 subnets metric 10 metric-type 1

ในการ Redistribute Route ใดๆ จากนอก OSPF Domain เข้ามายัง OSPF Domain โดย Default แล้ว ASBR จะทำการส่ง OSPF routing update แบบ OSPF External Route Teyp 2 (O E2)

ถาม: นอกจาก O E2 แล้วยังมีอย่างอื่นอีกไหม
ตอบ นอกจาก O E2 แล้วยังมี O E1 อีกครับ สามารถอธิบายได้ดังนี้ครับ (ผมขออธิบาย O E2 ก่อนเพราะเป็นค่า Default แล้วค่อยยก O E1 มาอธิบาย จะได้เห็นความแตกต่างครับ)

E2 (default): Type O E2 (OSPF External Route Type 2)
- OSPF External Route Type 2 จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่า Metric (OSPF Cost) ตลอดเส้นทางที่มันทำ Routing Update
- เราจะใช้ type นี้ก็ต่อเมื่อ OSPF Domain ของเรามีการต่อกับ ASBR เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่ advertise external route เข้ามาใน OSPF Domain แม้ "O E2 จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ค่า Metric (OSPF Cost) ตลอดเส้นทางที่มันทำ Routing Update" แต่เรายังคงใช้ O E2 ได้ เพราะเรามีทางออกไปยัง Network ปลายทาง (Destination Network) ที่อยู่นอก OSPF Domain เพียงทางออกเดียวเท่านั้น (มี ASBR เพียงตัวเดียว)

E1: Type O E1 (OSPF External Route Type 1)
- OSPF External Route Type 1 จะมีการเปลี่ยนแปลง หรือ Upate Metric (OSPF Cost) ตลอดเส้นทางที่มันทำ Routing Update
-เราจะใช้ type นี้ก็ต่อเมื่อ OSPF Domain ของเรามีการต่อกับ ASBR มากกว่าหนึ่งตัว ที่ advertise external route เดียวกัน เข้ามาใน OSPF Domain และเพราะว่า "OSPF External Route Type 1 จะมีการเปลี่ยนแปลง หรือ Upate Metric (OSPF Cost) ตลอดเส้นทางที่มันทำ Routing Update" ดังนั้น การใช้ OSPF External Type 1 นี้ จะสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหา suboptimal routing (หรือการ route เส้นทางที่ไม่เหมาะสม) ไปยัง Network ปลายทางที่อยู่นอก OSPF Domain ได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า OSPF สามารถเลือกส่ง Traffic ออกไปยัง Network ปลายทางที่อยู่นอก OSPF Domain ผ่าน ASBR ตัวที่เหมาะสมที่สุดโดยพิจาณาจาก OSPF Cost ที่ดีที่สุดได้นั่นเอง

หมายเหตุ สำหรับ OSPF Network จะเรียก Router ที่ทำการ Redistribute Route ว่าเป็น ASBR

ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์




 

Create Date : 23 ตุลาคม 2554   
Last Update : 20 มกราคม 2559 0:34:47 น.   
Counter : 9513 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com