ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
 

OSPF process id บน Cisco router ตอนที่ 1: ตอน 1 router 1 OSPF process id

บทความนี้จะเหมาะสำหรับคนที่พอมีความรู้ หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการ configure OSPF บน Cisco router มาบ้างครับ แต่อย่างไรก็ตามหากยังไม่เคยทำแต่สนใจศึกษาไว้ก่อนก็ดีนะครับ

เกร็ดความรู้ก่อนการ configure routing
ก่อนอื่นขออธิบายก่อนครับว่าการ configure routing ในความหมายที่แท้จริงก็คือ การ enable routing protocol หรือการทำให้ routing protocol ตัวนั้นๆ ในเราท์เตอร์ (router) สามารถใช้งานได้ หรือพร้อมใช้งานนั่นเอง

แล้วไอ้เจ้าเราท์ติ้งโปรโตคอล (routing protocol) คืออะไรล่ะ
routing protocol คือ ภาษา หรือ protocol ที่จะทำให้ router ทุกตัวในเครือข่าย (network) สามารถที่จะเรียนรู้ หรือแลกเปลี่ยน IP subnet กันได้ ท้ายสุด router ทุกตัวจะรู้จัก IP subnet ทั้งหมดที่มีใช้งานอยู่ในเครือข่าย และสามารถนำส่ง (forward) IP packet (หรือจดหมาย) ไปยังปลายทางได้ทั้งหมด

routing protocol มีให้เลือกมากมายหลายตัวดังนี้
- RIPv1 (เป็น Standard มีใช้ในทุกยี่ห้อ / แต่ขึ้นกับรุ่นด้วยนะครับ)
- RIPv2 (เป็น Standard มีใช้ในทุกยี่ห้อ / แต่ขึ้นกับรุ่นด้วยนะครับ)
- OSPF (เป็น Standard มีใช้ในทุกยี่ห้อ / แต่ขึ้นกับรุ่นด้วยนะครับ)
- EIGRP (มีใช้ในเฉพาะอุปกรณ์ยี่ห้อ Cisco ครับ เพราะ Cisco เป็นคนคิดขึ้นมาเอง)
- IS-IS (เป็น Standard มีใช้ในทุกยี่ห้อ / แต่ขึ้นกับรุ่นด้วยนะครับ)
- BGP (เป็น Standard มีใช้ในทุกยี่ห้อ / แต่ขึ้นกับรุ่นด้วยนะครับ)

หมายเหตุ สำหรับเกร็ดความรู้ย่อยในเรื่องของ routing protocol คืออะไรนั้น ผมขอไม่ลงลึกมากนะครับ แค่อยากให้เห็นคอนเซ๊พท์ (concept) หรือหลักการเบื้องต้นเท่านั้น (แต่อาจจะทำหัวข้อนี้ในบทความต่างหากอีกทีหนึ่งนะครับ)

ความรู้พื้นฐานที่ควรจะมี เพื่อที่จะอ่านบทความข้างล่างได้อย่างเข้าใจมากขึ้น
ก่อนเราจะเข้าเรื่องของ OSPF process id กัน เราควรจะมีพื้นฐานของการ configure routing ทั่วๆ ไป บน Cisco router มาบ้างนะครับ เพราะในหัวข้อนี้ไม่อาจจะกล่าวถึงรายละเอียดทุกเรื่องได้ทั้งหมดครับ จะเน้นแต่เรื่อง OSPF process id เป็นหลัก (ส่วนเรื่องการอธิบายแบบเต็มรูปแบบ จะมีแน่ครับ แต่คงไม่ใช่ในบทความนี้ครับ)

ขั้นที่แรก เรามารู้จักการ configure routing หรือการ enable routing protocol บน router ทุกๆ ตัวที่อยู่ภายในเครือข่ายแบบ 1 เครือข่าย 1 routing protocol กันก่อนครับ

สำหรับในขั้นตอนนี้ผมจะขอยกตัวอย่างการ configure routing protocol OSPF ซึ่งในตัวอย่างและภาพที่แสดงอยู่ข้างล่างจะเป็นเครือข่ายแบบ หนึ่งเครือข่าย-หนึ่ง routing protocol เท่านั้น (ในความเป็นจริงแล้วในหนึ่งเครือข่ายสามารถมีได้หลาย routing protocol ครับ)

ตัวอย่างการ configure routing protocol OSPF ทั้งเครือข่าย (router ทุกตัวในเครือข่าย enable แต่ routing protocol OSPF เท่านั้น)

หมายเหตุ สำหรับรูปที่เห็นอยู่อาจจะเล็กเกินไป ให้คลิกที่รูปแล้วเปิด window ให้เต็มหน้าจอ จะเห็นภาพได้ชัดเจนครับ



จากรูปเราจะเห็นได้ว่ามี router อยู่ 3 ตัว คือ R1, R2 และ R3 โดย router แต่ละตัวจะมีการ configure routing protocol เพียง routing protocol เดียวคือ OSPF เท่านั้น ตามหลักของการ configure routing protocol OSPF ดังนี้

command: router ospf และตามด้วย process id

หมายเหตุ รายละเอียดอื่นๆ ของการ configure routeing protocol OSPF ผมขอละเอาไว้ในหัวข้อนี้นะครับ แต่จะไปอธิบายแบบเต็มรูปแบบอีกทีหนึ่งครับ

ซึ่งจากรูปข้างบน จะเห็นว่า router แต่ละตัวจะมีการ configure OSPF process id เพียง process id เดียวเท่านั้น (จริงๆ แล้ว router 1 ตัว สามารถมี ospf process id มากกว่า 1 process id ได้ครับ ซึ่งจะขออธิบายในตอนหลังๆ ครับ) โดย
- router R1 จะใช้ OSPF process id 100
- router R2 จะใช้ OSPF process id 200
- router R3 จะใช้ OSPF process id 300

จะเห็นได้ว่า router R1, R2 และ R3 แม้จะใช้ process id แตกต่างกันก็จริง แต่เมื่อใช้ command show ip route บน router ทั้ง 3 ตัว จะพบว่า router ทั้ง 3 ตัวยังคงทำงานเป็นปกติ คือสามารถ เรียนรู้ route หรือ subnet ซึ่งกันและกันได้ทั้งหมด

ให้สังเกตว่า router แต่ละตัวจะรู้จัก subnet เหมือนกันทั้ง 3 ตัว และ router แต่ละตัวจะรู้จัก subnet ทั้งหมดที่เรามีอยู่ในภาพ

ดังนั้นจากรูป จึงสรุปได้ว่า
หาก router แต่ละตัวในเครือมีการใช้งาน OSPF process id เพียง 1 process แล้ว แม้ router ทุกตัวในเครือข่ายจะมี process id ที่ไม่เหมือนกันก็ตาม มันก็ยังสามารถแลกเปลี่ยน route (subnet) หรือเรียนรู้ route (subnet) ซึ่งกันและกันได้

เกิดคำถามต่อว่า
ในเมื่อ OSPF process id ไม่มีผลต่อการเรียนรู้ route หรือ subnet แล้ว Cisco จะบังคับให้เราใส่ process id ในตอนที่เรา configure routing OSPF (command: router ospf ตามด้วย process id) ลงไปในทำไม

ตอบ
OSPF process id จริงๆ แล้วไม่มีผลต่อการแลกเปลียน route หรือ subnet เพราะในระหว่างที่มันทำการแลกเปลี่ยน หรือเรียนรู้ route หรือ subnet กันนั้น มันไม่ได้เอาค่า process id แลกเปลี่ยนกันด้วย จึงไม่มีผลต่อการเรียนรู้ route แต่ OSPF process id จะมีผลกับตัวของมันเอง คือเอาไว้ใช้ในตัวเองเท่านั้น

เกิดคำถามต่อมา
แล้ว OSPF process id เอามาใช้ในตัวเองยังไงล่ะ อันนี้ยาวครับ ผมจะเอาไปอธิบายในตอนต่อไปนะครับ รับรองว่ามันส์ครับ อธิบายให้เข้าใจและเห็นภาพได้แน่นอน (โปรดติดตามตอนต่อไป)

ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์




 

Create Date : 11 มิถุนายน 2554   
Last Update : 20 มกราคม 2559 0:39:05 น.   
Counter : 14037 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com