.....ภาษาตระกูลไท เป็นวัฒนธรรมของคนไท สมควรจะเผยแพร่ให้โลกรู้จักอย่างทั่วถึง มากกว่าจะเก็บไว้สอนกันอย่างเร้นลับ ในมหาวิทยาลัย แล้วก็ปล่อยให้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา.....
Group Blog
 
All Blogs
 

เพลงไทคำตี้ จากอินเดีย

ปัจจุบัน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าและติดต่อกันได้รวดเร็วมากขึ้น เปิดโอกาสให้ เพลงและวิดิโอ ของภาษาตระกูลไท ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก ในรัฐอรุณาจัลประเทศและรัฐอัสสัมของอินเดีย ได้ออกมาสู่โลกภายนอกมากขึ้น

เท่าที่ได้ฟังแล้ว เพลงเหล่านี้ น่าจะเป็นภาษาไทคำตี้ ในอินเดีย แม้เสียงอาจจะต่างไปบ้าง แต่ ศัพท์ส่วนใหญ่คล้ายภาษาไทคำตี้ ในรัฐกะฉิ่นกับภาคสะไกง์ ของพม่า และภาษาไทมาว ไทเหนือ ไทใหญ่ ที่เดิมน่าจะเป็น ภาษาเดียวกัน

ถ้าแปลเพลงไหนได้ ก็จะแปลให้ ถ้าแปลไม่ได้ ก็จะสรุปเนื้อหาให้ ผมได้นำเพลงเหล่านี้ มาประกอบเข้ากับคลิปวิดิโอ การแสดงของชาวไทคำตี้ ในงาน Brahmaputra Darshan Festival เมืองเทซู รัฐอรุณาจัลประเทศ ของอินเดีย เมื่อเดือน มกราคม ๒๕๔๖ ซึ่งเป็นงานการแสดงทางวัฒนธรรมของชาวไทคำตี้และชาวกะฉิ่น(จิงป่อ) ที่อาศัยอยู่ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย




เพลงที่ ๑
มาช่วยกันสร้างบ้านเมือง




หรือ อีก version หนึ่ง





เพลงที่ ๒
ไปอยู่ที่ไหน ก็อย่าลืมเรียน ลืมพูดภาษาไท






เพลงที่ ๓
สาวไทคำตี้
(มีแต่เสียงเพลง ไม่มีตัวหนังสือประกอบ)



หรือ อีก version หนึ่ง แปลเป็นภาษาไทใหญ่ และ อัีงกฤษ



และ version นี้ ใช้อักษรไทพ่าเก เขียนเทียบเสียงไทคำตี้






อักษรไทพ่าเก เขียนเทียบเสียงไทคำตี้







เพลงที่ ๔
เครือไตขึ้นใหญ่ใหม่สูง






เพลงที่ ๕
ดวงตาเธอ (โห่ย ตา มอื)





เพลงที่ ๖
นางอ่อน (เทียบเสียงเป็นภาษาไทใหญ่)





นักวิชาการออสเตรเลีย ได้ไปค้นคว้าภาษาไท ในอินเดีย จนเขียนเป็นตำราได้แล้ว













 

Create Date : 01 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 1 ธันวาคม 2554 11:31:02 น.
Counter : 2464 Pageviews.  

ไทคำตี้ ในอินเดีย

เมื่อ ๑๔ ก.พ.๕๒ ผู้เขียน (เจ้าคำเสอ/เจ้าคำเสือ) ได้เดินทางไปยังเมืองโคฮาตี รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ตามคำเชิญของ เจ้าปุสปะ โกกอย แห่งสมาคมไทอาหม เพื่อเข้าร่วมสัมมนาเรื่องชนเผ่าไท ระหว่าง ๑๕ - ๑๗ ก.พ.๕๒ เมื่อไปถึง ทราบว่า การสัมมนานั้นงดไป จึงได้เที่ยวอยู่ในเมือง โคฮาตี ๒ วัน แต่ไม่พบคนเผ่าไทสักคน ไม่ว่าจะเป็น ไทอาหม, ไทผาแก่ (พ่าเก), ไทคำยาง, ไทตุรง, ไทอ้ายต้อน หรือ ไทโนรา



โชคดี ที่ พระไท รูปหนึ่งแห่งวัดครูบาบุญชุ่ม พุทธคยา ได้ติดต่อให้ พระสุริยะ ชนเผ่าติคาก อยู่บ้านน้ำป้อง รัฐอรุณาจัลประเทศ มาช่วยเหลือ ผู้เขียนจึงได้เดินทางไปถึง บ้านน้ำซาย ในเขต อ.โลหิต รัฐอรุณาจัลประเทศ


เจ้าจิ่งนุ น้ำส้ม ซึ่งเป็นเชื้อสายเจ้าฟ้าไทคำตี้ ได้มารับไปที่เรือนของท่าน และพาไปพบ เจ้าน้า เมิง ผู้เป็นมนตรีฝ่ายศึกษาธิการ แห่งรัฐอรุณาจัลประเทศ เจ้าน้า เมิง กับ นาง สาติ เมิง ภรรยา ต้อนรับผู้เขียนเป็นอย่างดีเหมือนพี่น้อง ผู้เขียนเคยพบเจ้าน้า เมิง แล้ว เมื่อคราวไปสัมมนาเรื่องชนเผ่าไท ที่เมืองรุ่ยลี่ (เมืองมาว) แคว้นใต้คง ประเทศจีน ยังจำกันได้เป็นอย่างดี


ในรัฐอรุณาจัลประเทศ ไทคำตี้ มีมาก ไทคำยาง มีน้อย ไทเผ่าอื่น เช่น ไทผาแก่, ไทอ้ายต้อน, ไทตุรง นั้น ไม่มีแล้ว หมู่บ้านที่ชาวไทคำตี้ อยู่มากที่สุดนั้น เป็น บ้านน้ำซาย และบ้านจองคำ ใน อำเภอโลหิต


ไทคำตี้ นั้น ส่วนมากสามารถพูดได้ ๓ ภาษา คือ ไทคำตี้, อัสสัม และอังกฤษ บรรพบุรุษไทคำตี้ มาจากถิ่นคำตี้ ในพื้นที่เมืองก๋อง และ เมืองปู่ต้าว ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตรัฐกะฉิ่น ของพม่า


ภาษาไทคำตี้ พูดสำเนียงเหมือน ไทมาว มีคำพม่าปะปนอยู่มาก แต่คนไทคำตี้ ไม่รู้ว่า เป็นคำพม่า


ผู้ชายมีคำนำหน้าว่า “เจ้า” (ไทใหญ่ ว่า – จาย) ผู้หญิงใช้ “นาง” (เหมือนไทใหญ่) คนไทคำตี้ มีนามสกุล เรียกว่า "พัน" (พันธุ์) พอเห็นคนแปลกหน้า ก็จะถามว่า มาจากไหน นามสกุลอะไร เป็นต้น

เท่าที่ทราบ มี นามสกุล น้ำส้ม, เมิง, หว้านปุ่ง (บ้านปุ่ง), เสอ (เสือ) และ เมิงมาว (เมืองมาว) เข้าใจว่า ไทคำตี้ ในอินเดีย เพิ่งจะมาใช้นามสกุล เมื่อมาได้รับธรรมเนียมของชาวอัสสัม ที่มีนามสกุล


ผู้เขียน มีชื่อ-นามสกุล ว่า “ปืนคำ พยัคฆวงศ์” หากบอกไปทั้งหมด คนไทคำตี้ก็จะไม่เข้าใจ ผู้เขียนจึงบอกว่า พัน “เสอ” ก็เป็นที่เข้าใจกันดี (ต่อมาเมื่อ ๒๓ ก.พ.๕๒ ผู้เขียนได้พบกับ ดร.โส สาสนานันตะ ชาวไทผาแก่ ที่มหาวิทยาลัยนิวนาลันทา ได้พูดกันถึงเรื่องนี้ ท่านบอกว่า ให้ใช้ชื่อ “เจ้าคำเสอ” เสียเลย ผู้เขียนก็ยินดีที่จะใช้ชื่อนี้ต่อไป)



การแต่งกาย มักใช้สีขาว ผู้หญิง นิยมมีผ้าคล้องคอเหมือนอย่างพม่า ผู้ชาย นิยมนุ่งโสร่ง อย่างพม่าเหมือนกัน แต่เรียกว่า “ผ้าอ่อน” ส่วนมากไทคำตี้ จะเรียกตัวเองว่า เป็น ไทเวสาลี


ไทคำตี้ ก็เป็นเครือเจ้าขุนลู ขุนลาย เมืองฮิ เมืองฮำ เหมือนไทมาว ไทอาหม แต่ ไทคำตี้ อพยพจาก ต้าแหลต (ปัจจุบันอยู่ในรัฐกะฉิ่น เขตพม่า) เข้าไปอยู่ที่ บ้านน้ำซาย บ้านจองคำ ริมฝั่งแม่น้ำตี้แฮง เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ แล้วจึงกระจายไปอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตี้หลาว (พรหมบุตร) ปัจจุบันอยู่ในรัฐอรุณาจัลประเทศ และรัฐอัสสัม(ตอนเหนือ) เดิม อยู่ในความปกครองของ เจ้าฟ้าไทอาหม (ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อน) ต่อมา ชาวไทคำตี้ ได้ยึดดินแดนนี้ จากไทอาหม และตั้งเจ้าฟ้าไทคำตี้ ขึ้นมาปกครองแทน

เมื่อปี ๒๕๓๐ อินเดียได้แยกแคว้นอัสสัม เป็น ๗ รัฐ คือ อัสสัม, อรุณาจัลประเทศ, นาคาแลนด์, มณีปุระ, มิโซรัม, ตรีปุระ และ เมฆาลัย

รัฐอรุณาจัลประเทศ มีเมืองเอก คือ เมือง อิฎานคร สถิติปี ๒๕๔๒ ทั้งรัฐมีประชากร ๑.๐๑ ล้านคน มีชนเผ่าต่าง ๆ ประมาณ ๖๐ ชนเผ่า ชนเผ่าไท มีประมาณ ๖ หมื่นคน





หมายเหตุ –
ชื่อบุคคลหรือสถานที่ ในข้อเขียนนี้ บางคำใช้ตาม อ.บรรจบ พันธุเมธา บางคำถอดเสียงมาจากต้นฉบับภาษาไทใหญ่ จึงอาจสะกดหรือออกเสียงต่างไปจากข้อเขียนของท่านอื่นได้




 

Create Date : 30 เมษายน 2552    
Last Update : 20 กรกฎาคม 2552 17:02:08 น.
Counter : 8908 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

นายช่างปลูกเรือน
Location :
กาญจนบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




ไม่สงวนลิขสิทธิ์

เพื่อเปิดกว้างการศึกษาและเผยแพร่ภาษาตระกูลไท

ข้อมูล "ในส่วนที่ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น"
ยินดีให้ ลอกเลียน, ทำซ้ำ, เพิ่มเติม, แก้ไขเปลี่ยนแปลง
หรือนำไปใช้

โดยไม่ต้องขออนุญาต หรืออ้างถึงใด ๆ ทั้งสิ้น


Copyleft
Friends' blogs
[Add นายช่างปลูกเรือน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.