การตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชาย

การตรวจน้ำอสุจิ
การตรวจน้ำอสุจินั้นเป็นวิธีการตรวจหลักในการวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชาย ตัวอย่างของน้ำอสุจิที่เก็บได้จะถูกนำไปตรวจหาค่าต่างๆมากมายในห้องปฏิบัติการ ค่าต่างๆเหล่านี้จะช่วยบอกได้ว่าน้ำอสุจินั้นมีความปกติอย่างไรได้ อย่างไรก็ตามยังเป็นการยากที่จะบอกค่าสูงสุดของค่าของการตรวจต่างๆได้อย่างแน่ชัด เนื่องจากผู้ชายจำนวนหนึ่งซึ่งมีค่าการตรวจต่างๆค่อนข้างต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ยังสามารถมีบุตรได้และมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้เป็นจำนวนมาก
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่ามาตรฐานต่ำสุดที่จะยอมรับได้ว่าอสุจิปกติเอาไว้ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ชายที่ตรวจค่าอสุจิได้ต่ำกว่าที่กำหนดไว้จะไม่สามารถมีบุตรได้ เนื่องจากค่าต่างๆดังกล่าวได้ถูกกำหนดไว้เป็นแนวทางเท่านั้น อย่างไรก็ตามผลการตรวจแสดงให้เห็นว่ายิ่งมีผลการตรวจผิดปกติมากเท่าใด โอกาสที่จะมีบุตรได้ด้วยวิธีธรรมชาติก็ยิ่งยากมากขึ้น และไม่มีค่าที่บอกว่าผลการตรวจจะต้องต่ำกว่าเท่าใดจึงจะไม่สามารถมีบุตรได้ ยกเว้นในกรณีที่ไม่มีตัวอสุจิในน้ำอสุจิที่หลั่งออกมาเลย หรืออสุจิที่หลั่งออกมาได้ตายแล้วทั้งหมด
ในการหลั่งอสุจิออกมาแต่ละครั้งจะมีปริมาตรประมาณ 2 – 6 มิลลิลิตร และมักมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH ปกติอยู่ระหว่าง 7.2 – 8.5 ความเข้มข้นของตัวอสุจิในน้ำอสุจิปกติแล้วควรจะมีมากกว่า 20 ล้านตัว / 1 มิลลิลิตร หากมีความเข้มข้นต่ำกว่านี้แล้วมักพบว่าอัตราการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติก็จะมีแนวโน้มที่จะลดลงด้วย ประมาณ 50%ของตัวอสุจิในการหลั่งออกมาแต่ละครั้งควรจะสามารถเคลื่อนไหวว่ายไปข้างหน้าได้ องการอนามัยโลกได้แบ่งประเภทรูปแบบของการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิออกเป็น 4 ประเภทคือ a, b, c, และ d แบบ a เป็นการเคลื่อนไหวแบบที่ต้องการมากที่สุด และในการหลั่งอสุจิออกมาแต่ละครั้งควรมีตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวเช่นนี้มากกว่า 25% จึงจะถือว่าปกติ การเคลื่อนไหวแบบ a นั้นคือการเคลื่อนไหวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่แบบ b นั้นคือมีการเคลื่อนไหวไปข้างหน้าได้อย่างช้าๆ แบบ c คือมีการเคลื่อนไหวได้แต่ไม่ว่ายไปข้างหน้า และแบบ d คือไม่มีการเคลื่อนไหวเลย
บ่อยครั้งที่ค่าการตรวจต่างๆของน้ำอสุจิจากผู้ชายคนเดียวกันมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่อาจต้องมีการตรวจอสุจิมากกว่าหนึ่งครั้ง ในช่วงเวลาที่ห่างกัน 2 – 3 สัปดาห์หรือเป็นเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ตรวจครั้งแรกแล้วพบว่าผลการตรวจต่ำกว่ามาตรฐาน เพื่อที่จะทดสอบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของค่าต่างๆ เป็นบางครั้งคราวหรือถาวร แต่โดยส่วนมากแล้วผู้ที่มีผลการตรวจต่ำกว่ามาตรฐานในการกรวจครั้งแรก มักไม่ได้ผลที่แตกต่างหรือดีกว่าครั้งแรกมากในการตรวจครั้งที่สอง แม้ว่าความเจ็บป่วย หรือมีไข้ในระหว่างการผลิตอสุจิในรอบ 74 วัน ก่อนหน้าที่จะทำการตรวจนั้นจะได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว ในบางรายผลการตรวจอสุจิที่ต่ำกว่ามาตรฐานซึ่งเกิดจากการใช้ยาที่เป็นพิษต่ออัณฑะจะดีขึ้นภายในเวลาหลายเดือนจนถึงเป็นปีภายหลังการหยุดใช้ยานั้นแล้ว



Create Date : 05 กรกฎาคม 2553
Last Update : 5 กรกฎาคม 2553 16:25:35 น. 0 comments
Counter : 716 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

Nomadus
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ประวัติการศึกษา
-ปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์บัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1992 - 1996
-Certificate of Workshop on Professional Counseling, National University Hospital, Singapore, April 2000
-Certificate of CGFNS Certification Program, the Commission on Graduates of Foreign Nursing School, Philadelphia, Pennsylvania, United States of America, September 2003

ประวัติการทำงาน
2006 – ปัจจุบัน Managing Director, Fertility Center Co.,Ltd
1999 - 2005 Blastocyst Center, Infertility Counselor: ให้คำปรึกษาแก่คู่สมรสเกี่ยวกับการรักษาภาวะมีบุตรยาก และอนามัย การเจริญพันธุ์
1996 - 1999 Newborn Intensive Care Unit, Incharged Nurse: ดูแลทารกแรกเกิดอาการปกติ และทารกแรกเกิดอาการวิกฤตในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด และให้คำแนะนำปรึกษาในการเลี้ยงดูทารกแก่บิดามารดา
[Add Nomadus's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com