นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ภาษี AEC ที่เหลือ ศูนย์

เกี่ยวกับเรื่องของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นก็มีเนื้อหาสาระที่เข้มข้นและเข้าใกล้ประชาชนคนไทยอย่างเราๆมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะในไม่อีกกี่ปีข้างหน้าคือปี2558นี้ก็ถือว่าเต็มตัวเต็มยศในเรื่อง AEC (ASEAN ECONOMICS COMMUNITY) กันแล้ว ความจริงเราได้เริ่มมาตรการภาษีมาตั้งแต่ปี2553 แล้วโดยมีเพียง 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์และบรูไน ส่วนอีกสี่ประเทศคือ ลาว กัมพูชา พม่าและเวียดนามนั้นได้ตามมาติดๆในภายหลัง หนำซ้ำยังมีอีก 6 ประเทศที่จะขอเข้าร่วมด้วยอย่างจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งทั้งสินค้า แรงงาน ทุนฯลฯ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร เรื่องของเกษตรกรหรือประชาชนคนทั่วไปก็มักจะได้ยินได้ฟังมากขึ้นบ่อยขึ้น ถี่ขึ้น แต่อาจเป็นในแง่มุมที่ตื้นเขิน ความหมายลึกๆเชื่อว่าคงจะน้อยมากที่จะมีโอกาสทราบได้ว่ามีผลกระทบที่เป็นทั้งผลดีและผลเสียแก่ตนเองหรือส่วนรวมว่าจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นคงจะไม่มากโดยเฉพาะตาสี ยายสา ลุงมา ตามีที่อยู่ตามหัวไร่ปลายนายิ่งไม่ต้องพูดถึงคงได้ยินแต่เจ้าหน้าที่ของรัฐพูดให้ฟังอยู่บ้างเป็นครั้งคราวเมื่อมีโอกาสได้เข้าร่วมอบรมสัมมนาจากเกษตรตำบลเกษตรอำเภอ หรือหน่วยงานส่งเสริมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ความจริงผลกระทบด้านการค้าการขายเกี่ยวกับการเกษตรเราประสบพบเจอตั้งแต่ครั้งที่ทำFTA (Free Trade Area) กับจีนแล้ว คือเมื่อลดภาษีนำเข้าหอมกระเทียมจากจีนเหลือศูนย์ทำให้ประชาชนคนไทยที่ไม่นิยมกระเทียมจีนก็ค่อยๆรู้จักรสชาติมากขึ้นเรื่อยๆด้วยราคาที่ถูกกว่า ประหยัดกว่า ปรกติกระเทียมจีนอาจจะต้องเสียภาษีนำเข้า 70 - 80เปอร์เซ็นต์สมมุติเดิมกระเทียมในประเทศไทยอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 100 บาทแต่ถ้านำเข้าจากจีนอาจจะต้องเสีย 70 บาท + ค่าภาษีอีก 80 บาท + ค่าจัดการอีก 10บาท บวกพ่อค้าคนกลางอีก 10 บาท รวมเป็น 170 บาทจึงทำให้กระเทียมจีนแพงกว่ากระเทียมไทยมากถึง 70 บาทจึงทำให้ไม่มีใครที่จะนำเข้ามาจำหน่าย แต่หลังจากตกลงเรื่อง FTA ภาษีที่เคยเสียก็ไม่ต้องเสียพ่อค้าสามารถนำเข้ากระเทียมจากจีนได้ในราคา 70 บาท ถูกกว่ากระเทียมไทยถึง 30 บาทถึงแม้จะมีค่าบริหารจัดการบ้างก็ยังถือว่าถูกกว่าของไทยทำให้เกษตรกรที่ปลูกหอมกระเทียมขายไม่ออก ราคาตกต่ำต้องนำมาเทกองเกลื่อนกลาดเต็มถนน

พอจะนึกภาพออกอยู่บ้างแล้วนะครับว่า นี่ขนาดเพียงเรื่อง FTA ยังส่งผลกระทบทำให้ทั้งหอมกระเทียมลิ้นจี่ ลำไย ทางภาคเหนือราคาร่วงพราวกราวรูดได้อย่างรวดเร็วเมื่อหันกลับมามองเรื่อง AEC ก็ให้ลองคูณผลกระทบเพิ่มขึ้นไปอีกสัก 100 หรือ200 เท่าดูแล้วกันครับเพราะประเทศไทยเราแทบจะไม่มีสินค้าประเภทอ่อนไหวที่สำคัญและปกป้องพี่น้องเกษตรกรไทยเหมือนญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย (สินค้าข้าวยังคงมีเพดานภาษีไม่ปล่อยให้เป็นศูนย์ร้อยเปอร์เซ็นต์)โดยยอมให้สินค้าเกษตรกรรมทุกๆ อย่างปล่อยลอยตัวไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์อย่างสิ้นเชิงตามยถากรรมหนทางเดียวที่พี่น้องเราชาวเกษตรกรจะช่วยตัวเองได้คือการผลิตอย่างประณีตรัดเข็มขัดประหยัดค่าใช้จ่ายทำให้ต้นทุนลด ผลผลิตเพิ่มจึงจะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในกระแสโลกาภิวัตน์ที่เชี่ยวกรากนี้อันนี้ก็เป็นมุมมองแบบง่ายๆให้พี่น้องเกษตรกรได้ทราบพอหอมปากหอมคอกันนะครับสงสัยและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็โทรศัพท์ติดต่อขอข้อมูลมาได้ที่ 081-313-7559ครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิ www.thaigreenagro.com




Create Date : 08 ตุลาคม 2555
Last Update : 8 ตุลาคม 2555 17:23:56 น. 0 comments
Counter : 853 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]