<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 

01/06 : Lord Jim (1965)


Lord Jim (1965 Film)




ที่ 01/06 : Lord Jim (1965)
บ้านตำหนักหางดง นครแห่งหนองควาย เชียงใหม่
From A_somjai
To "DJ - เดช "
Date 19-27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
Subject ท่านผู้หาญกล้า รึว่า ....ไอ้หน้าขลาดเขลา... “How do you end a bad dream?”

เรื่องเล่า Lord Jim ของ โจเซฟ คอนราด แบ่งเนื้อหาสำคัญออกเป็นสองส่วน
ส่วน/ภาคแรก เน้นไปที่การผิดพลาดบนยานพาหนะ(เรือ Patna) ของจิม และผลร้ายที่ตามมาจากการกระทำผิดพลาดนั้น

ในหนัง Lord Jim (1965) เมื่อพระเอกอยู่ในวัยหนุ่ม ก็พบกับวิกฤตเรือ Patna
ต้นเรือ Jim ร่วมกับกัปตันเรือและลูกเรือคนอื่น ๆ ของ Patna กระโดดลงเรื่อเล็กละทิ้งเรือใหญ่และผู้โดยสารหนีเอาตัวรอด
เมื่อลอยเรือเล็กหนีตายกันอยู่กลางทะเล กัปตัน Brown บอกกับต้นเรือหนุ่มจิมที่กำลังซึมเศร้า เหงา มึนงง ด้วยละอายใจต่อการกระทำของตนเองและพรรคพวก ว่า .... “Hey, you! It’s a lucky thing we jump! You understand?” จิมได้แต่เหม่อลอยไม่ตอบสนองต่อคำพูดนั้น

เมื่อจิมตัดสินใจนำเรื่องราวการกระทำผิดพลาดของตนครั้งนั้น เข้าสู่กระบวนการ สารภาพความจริงต่อสาธารณะ และได้รับการตัดสินโทษแล้ว Marlow, a sea captain ได้ตำหนิจิมว่า .... เธอทำเช่นนี้ ได้อย่างไร ...ในการสารภาพความจริงที่น่ารังเกียจ น่าขยะแขยง น่าสะอิดสะเอียด น่าชิงชัง ...เธอได้ทำการสารภาพความจริงต่อสาธารณะก่อนที่เงื่อนงำทั้งหมดมันจะแจ่มชัดออกมา ... ถ้าเธอตกอยู่ในสภาพที่เบื่อหน่ายชีวิตอันน่าละอายของตัวเอง ....”Why did you run, hide, ทำไมเธอไม่แล่น ลี้ หนี คลาน เลื้อยหลบลงไป.... crawl 20 feet underground.

มาร์โลว์อ้างเหตุผล ที่กล่าวกับจิมรุนแรงเช่นนั้นว่า......
“Where you belong? Do you realize what you’ve done here today?
Do you know what you’ve done?
เธอ เป็นส่วนหนึ่งของพวกเรา (ชาวเรือเดินทะเล - a sea man)
ความอัปยศอันน่าอดสูของเธอส่องสะท้อน(กลับสู่ตัวตน)ของพวกเราด้วย
เธอผลักให้พวกเราตกที่นั่งลำบาก ต้องเจ็บปวด ทรมาน ยากจะปัดเป่าความเสื่อมเสียเกียรติในครั้งนี้!
Don’t you understand that”
Jim ตอบว่า: Yes, I understand.



จิมเข้าใจแล้ว
และจิมก็เริ่มต้นชีวิตใหม่ของตนด้วยการ...วิ่ง....แล่น ลี้ หนี คลาน เลื้อยหลบลงไป.... crawl 20 feet underground แล้ว
นี้ก็คือจุดเริ่มต้น ส่วน/ภาคหลังของนิยายเรื่อง Lord Jim ของ โจเซฟ คอนราด
ภาคหลังนี้เป็นเรื่องราวการผจญภัยเมื่อจิมได้ลุกขึ้นยืนหยัดอีกครั้ง
และภาคหลังนี้ กล่าวถึงเรื่องเล่าลือกันถึงผลสุดท้าย(ตอนจบ)ของตัวเขาในเมือง(ชื่อสมมติเรียกว่า) Patusan ,
ซึ่งเข้าใจกันว่า Patusan เป็นดินแดนหมู่เกาะแห่งหนึ่งของชาวอินโดนีเชียน

ผู้ดู ผู้ชม ผู้อ่าน ผู้ฟังหากคิดเรื่องนี้อย่างถี่ถ้วน ก็จะได้ข้อคิดว่า.....
“เมื่อภัยอันเกิดจากความผิดพลาดของเราเองมาถึงตัวแล้ว... คนเราควรจะหนีหน้า หรือว่าจะหันหน้าสู้กับมันดี”


....แม้ในยามวิกฤติถึงระดับมีภัยมาใกล้ตัวให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้นั้น
บางทีคนเราก็คิดไปในแง่ดีว่า.... อาจมีปาฏิหาริย์--- อัศะ-จอ-รอ-หัน-การันต์-ยอ เกิดขึ้นมาปัดเป่าภยันตรายให้ลุล่วงไปด้วยดีก็เป็นได้

เรื่องเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นได้ ไม่เว้นแม้แต่คนที่ถูกยกย่องเทิดทูลจากผู้อื่นว่า เป็น คนดี,
ด้วยเหตุที่มนุษย์เรามักเชื่อไปในทำนองว่า คนดีผีคุ้ม
แน่นอน.... เรื่องราวบนวิถีโคจรตอนเที่ยงวันแห่งชีวิตของอดีตต้นเรือจิม บนแผ่นดิน Patusan ย่อมคาดได้ว่า.....
เขาควรจะเป็นคนที่ต้องเชื่ออะไร ๆ เช่นนั้นด้วยเหมือนกัน

ก็ทำไมชายหนุ่มอย่างจิมจะไม่เชื่ออย่างนั้นล่ะ?
ในเมื่อใคร ๆ ต่างก็เชื่อว่า... พระเจ้าอยู่ข้างคนดี และเขาเป็นคนดี
เขาเย่อมป็นคนดี ไม่มีใครที่ได้ดูส่วนหลังของหนังเรื่องนี้แล้ว (หรืออ่านหนังสือนิยายเรื่องนี้)ปฏิเสธได้ ....
เห็นได้จากการที่ชนชาวพื้นเมืองบอกด้วยคำพูดและพฤติกรรมที่ปฏิบัติต่อคนดีอย่างเขาว่า.....
.... God go with you….Tuan Jim.
A Tuan is a man of bravery, a man to respect, a lord.
Yes. “Lord Jim.”

อ้า..... พระเจ้าย่อมอยู่ข้างคนดี วีรบุรุษ ผู้กล้าหาญเสมอไป, กระนั้นหรือ?
ตลอดเส้นทางที่ผ่านพบ ฯพณฯ “Tuan Jim - Lord Jim” ผู้คนชาวประชาทั้งหลายต่างเคารพนบไหว้ นอบน้อมถ่อมตน
สามัญชนล้วนลดตนลงก้มกราบกราน แซ่ซ้องสรรเสริญยกย่องเชิดชู ...ฯพณฯ “Tuan Jim - Lord Jim” อยู่มิขาดปาก

ในเรื่องนี้ สไตน์ ผู้สูงวัยนายของ จิม พูดแดกดันเด็กหนุ่มคราวลูกของตนว่า:
“I know you, master. You don’t expect to die. You expect a miracle.
Already, you hear the cheering.
Already, you hear…..การปรบมือแสดงความชื่นชมก่อนการสิ้นลมหายใจ…. the applause before the dead.”

แต่ทว่า เจ้ารู้ตัวบ้างไหม ฯพณฯ “Tuan Jim - Lord Jim” เอ๋ย......
“Your kinds of hero need victims.
เป็นใครก็ย่อมชอบให้ผู้อื่นชื่นชม เคารพนับถือ ...เพราะเขาหรือเจ้าได้ประโยชน์
เมื่อตัวเจ้าเป็นผู้ได้เปรียบ ตัวเจ้าเป็นผู้กอบโกยผลดี เจ้ามีกำไรจากความรู้สึกสิ้นหวังหมดหวังของพวกเขา(คนพื้นเมือง)เหล่านั้น ....
You profit by their despair.
แล้วใครกันล่ะที่จะต้องตกเป็นเหยื่อ .....And who will be the victim this time?”

ต่อคำถามของ สไตน์นายจ้างชราแก่จิม...ลูกน้องผู้ที่เขารักผูกพันประดุจบุตรชายของตนเอง
จิม ตอบว่า .....”ยามนี้ ....ผมจะยอมรับว่าตนเองตกเป็นเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย เป็นผู้ประสบภัย เป็นผู้ต้องรับเคราะห์กรรมของผมเองครับ”
Stein: ดังนั้น เธอจึงอยากให้อะไร ๆ ในโลกนี้ มันเข้าที่เข้าทางอย่างเหมาะเจาะ สะอาดบริสุทธิ์ เป็นระเบียบเรียบร้อย ละซีพ่อ?
Tuan Jim: “Yes.”

Stein: (ช่างเป็น)การจัดการ(ปัญหาได้โดย)บริสุทธิ์ ครบถ้วน สมบูรณ์แบบ เพื่อมนุษย์ผู้ไม่บริสุทธิ์ ไม่สมประกอบ ไม่สมบูรณ์แบบ บนโลก(สังคม)มนุษย์ซึ่งไม่บริสุทธิ์ ไม่ครบถ้วน ไม่สมบูรณ์แบบ เสียนี่กระไร ...(ว้าว !) ….Perfect conduct for the imperfect man in his imperfect world.
Tuan Jim: “That’s right..”
Stein: การจบแบบ...ฉับไว ใสสะอาด
Tuan Jim: “Yes.”


ดูเหมือนว่าชายชราจนปัญญาจะเกลี้ยกล่อมคนหนุ่มเสียแล้ว
หวังหนึ่งอาจพึ่งพาได้ของสไตน์ .........หล่อน.... ----ผู้หญิงของจิม---

Stein พูดกับผู้หญิงของจิมว่า : Perhaps there is no best way …แต่ที่แน่ ๆ ไม่ใช่ทางที่ผัวของเธอจะเลือกเดิน ...ทำอะไรก็ทำเสียเต๊อะอีหล้าเหย!... “Take him and run."



(แล้วความรู้ภาษาอังกฤษแบบอสรพิษ ๆ fish ๆ มัจฉา ๆ ของข้าพเจ้าก็สามารถนำพาผู้เล่าและผู้ฟัง มาถึงหัวใจ...ของเรื่องเล่าตอนนี้ ในทัศนะของข้าพเจ้าจนได้)







และแล้ว Lord Jim ก็ตั้งคำถามสรุปบทเรียนจากประสบการณ์ที่ตนเองเคยได้รับมาว่า ....
Someone else said that: “Run,” he said. “Hide.”
เจ้าจงแล่น ลี้ หนี คลาน เลื้อยหลบลึกลงไป 20 ฟุต .... อยู่ในรูใต้พื้นดิน และไม่ต้องปรากฏตัวออกมาให้ใครเขาเห็นอีก ....

(แต่มันยังมีมีคำถามว่า..... แล้วไง?)
"How?
ก็จะทำยังไงล่ะ?
ให้เจ้าหนีไปหลบลี้อยู่กับหินก้อนมหึมาขนาดเท่าเรือ Patna ที่พันผูกมัดถ่วงอยู่รอบ ๆ คอเจ้าอย่างนั้นหรือ?"



ท้ายที่สุด Lord Jim ตั้งคำถามให้กับตนเองและเราทุกคนว่า……
*** ”HOW DO YOU END A BAD DREAM?” ****


------------------ดูหนัง ฟังกระดูก Lord Jim (1965) จบบริบูรณ์------------


















A note to folk
งานเขียนของ Joseph Conrad มีเรื่องราวและคำคม ที่ครอบคลุมประเด็นแง่มุมทางปัญญาต่าง ๆ ทางจิตวิทยาบุคคลกับกลุ่มสังคมมนุษย์ กินลึกลงไปในด้านศาสนาและปรัชญามากมาย ดังนั้นถ้าจะ ดูหนัง ฟังกระดูก Lord Jim (1965) ต่อไปอีก ก็คงจะได้การบ่น...เล่า...ที่ยาวมาก ข้าพเจ้าจึงขอยุติไว้เพียงเท่านี้ ส่วนท่านที่สนใจกว้างขวาง ก็ต้องไปต่อยอด เสาะหาหนังสือมาอ่านหรือหาหนังมาดูกันเอง ตามอัธยาศัยครับ

ขอฝาก The Quotations Page ของหนัง Lord Jim (1965) ว่าด้วย “How do you end a bad dream?” ไว้เป็นของแถม ดังนี้

1. The dream is not bad and not good. Not a vice and not a virtue.
2. The dream exits, like the Earth, like the sea.
3. The dream is you. To end the dream, you must, to the destructive element, submit yourself and fight with hands and feet. Fight to make the deep, deep sea keep you up, alive.
4. You must look at yourself as you are. You must face the truth.

และ

5. I’ve been a so-called coward and a so-called hero. And there’s not the thickness of a sheet of paper between them. May be cowards and heroes are just ordinary man, who for a split second, do something out of the ordinary. That’s all..
6. You’re like a father to me. Please ….. Don’t save me. [Help me, Papa.] … “HELP ME DO WHAT I HAVE TO DO.” … [We both know what that is.]




Lord Jim (1965 Film)

















เพลง โชคมนุษย์
คำร้อง - ทำนอง พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

โลกมนุษย์นี้ไม่มีที่แน่นอน
ประเดี๋ยวเย็นประเดี๋ยวร้อนช่างแปรผัน
โชคหมุนเวียนเปลี่ยนไปได้ทุกทุกวัน
สารพันหาอะไรไม่ยั่งยืน

ชีวิตเหมือนเรือน้อยล่องลอยอยู่
ต้องต่อสู้แรงลมประสมคลื่น
ต้องทนทานหวานสู้อมขมสู้กลืน
ต้องจำฝืนสู้ภัยไปทุกวัน

เป็นการง่ายยิ้มได้ไม่ต้องฝืน
เมื่อชีพชื่นเหมือนบรรเลงเพลงสวรรค์
แต่คนที่ควรชมนิยมกัน
ต้องใจมั่นยิ้มได้เมื่อภัยมา

เพลงโชคมนุษย์ เป็น ๑ ใน ๑๐ เพลงประกอบละครเรื่อง มหาเทวี ที่แต่งเมื่อปี ๒๔๘๑ โดยเพลงอื่น ๆ ประกอบด้วย เลือดไทย ถิ่นไทย นครเชียงใหม่ หอมหวาน สิ้นสวาท สู้อมิตร มหาเทวี แหล่งไทย และ คำหอม อนึ่งเพลงในชุดนี้อัดเป็นแผ่นเสียงครั้งแรกโดยห้าง ต.เง็กชวน ตรากระต่าย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ภาพยนตร์เรื่องโชคมนุษย์ก็ได้เข้าฉายเป็นครั้งแรก (อ้างอิง Link)

------------------ดูหนัง ฟังกระดูก ในรูปของการเล่าแบบใหม่ จะกลับมาเล่าที่นี้อีกหลายรอบ เร็ว ๆ นี้-------------------




 

Create Date : 27 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2553 10:35:22 น.
Counter : 2323 Pageviews.  

01/05 : Lord Jim (1965)


Lord Jim
By Resclassic2




ที่ 01/05 : Lord Jim (1965)
บ้านตำหนักหางดง นครแห่งหนองควาย เชียงใหม่
from A_somjai
to "DJ - เดช "
date 15-21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
Subject การ: เชื่อ-ถือ- คำมั่นสัญญา

ส่งข่าวก่อน:
1. ผมได้รับแผ่นหนัง Apocalypse Now (1979) กับ Hearts of Darkness: FMA (1991) พร้อมทั้ง Burma VJ (2008) แล้วด้วยความขอบคุณและดีใจมากครับ เห็นอ้ายเดชว่าเรื่องเมืองพม่าบางตอนมีฉากเชียงใหม่ด้วย แต่ต้องเก็บไว้ดูหลังจากกลับจากอีสานบ้านเกิดก่อน จากนั้นจึงจะทยอยดูหนัง ฟังกระดูก พร้อม ๆ กันไปกับหนังเกี่ยวกับเขมร(แดง), ทบทวนหนังจากมองโกเลีย, และหนังเรื่องของ Rwandas อีกรอบ ก็จะได้ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงไปในโลกปัจจุบันในภูมิภาคเขตประเทศอินโดจีนซึ่งมีไทยเรารวมอยู่นี้พร้อมกันไปด้วย... งานคงหนักพอดูแหละ ---- แต่ว่าก็สนุกดี ตนเองจะได้ฝึกนึกคิดไปด้วย (คงจะต้องรีบยุติ ฟังกระดูกลอร์ดจิม เอาไว้ได้แล้ว---- จบตอนนี้แล้ว ต่ออีกตอนหน้าก็โอเค.แล้ว)
2. เรื่องขัดข้องการโพสต์รูปภาพในส่วนของคอมเมนต์บนบล็อกแก๊งนี้ จะทำได้ต้องสมัครสมาชิกเว็บพันทิปเขาก่อนนั้น ถ้าหากอ้ายไม่อยากสมัครฯ ก็ส่งเมลพร้อม Attachments .. photo File มาที่ผมก็ได้ จะโพสต์ให้ครับ
3. อนึ่ง ที่ต้องขอบคุณมาก ๆ ก็ แผ่นฝึกเรียนดนตรี Bottleneck Slide Guitar ทั้ง 2 แผ่น, นี่กำลังเก็บตั้งซื้อกีต้าร์ชนิดนี้อยู่ ไปเลียบ ๆ เคียง ๆ ดูที่ร้าน (M.I.W) แถวถนนช้างคลาน เขาว่ามาตัวละตั้ง 12,000.- บาท (แหนะ..... ก็บ้านเราไม่มีใครเขาทำขาย แล้วเครื่องดนตรีนำเขาจากต่างประเทศ รัฐบาลเราก็ดันไปเก็บภาษีเขาแพงอีกตะหาก นี่เนาะ ... ไม่ทราบว่าพวกกระทรวงวัฒนธรรมจะเข้าใจประเด็นนี้รึเปล่า .. ไม่เก็ต....ก็ช่างหัวมันเต๊อะ)

ขอให้รักษาสุขภาพ และหวังว่าอ้ายเดชคงฟื้นตัวได้สมบูรณ์เร็วขึ้น นะครับ

ด้วยระลึกถึงและนับถือเสมอ
A_somjai







01/05 : Lord Jim (1965)
ตอนนี้ว่าด้วย “การ: เชื่อ-ถือ- เชื่อมั่น-คำมั่นสัญญา”

ตอนที่แล้วคือ 01/04 : Lord Jim (1965) นั้น ทิ้งท้ายไว้อย่างนี้

หัวหน้าชราผิวเหลือชาวพื้นเมือง กล่าวคำพูดสุดท้ายในคราวนั้นกับ ชายชราผิวขาวชาวตะวันตกนามว่า Stein เจ้าของ(ตัวแทน)บริษัทขนส่งสินค้าทางเรือ ...ผู้เป็นนายจ้างเจ้านายของ Jim ว่า: “In the morning if I find him still here ….by his own word … he owes the law … his life.”

ประโยคสะเด็ดน้ำนี้ มีคำสำคัญ 2 สองคำ ได้แก่ Word กับ law หรือ the law
เสียงกระดูกของคำหลัง ว่า law นั้น บล็อกนี้ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนมากแล้วในตอนที่ผ่านมา
(หากว่าใครยังไม่ได้ยิน ก็ต้องกลับไปเงี่ยหูฟังกันเอาเองนะขอรับ...ว่า -- อันว่า กฎหมาย law หรือ the law นั้น มันมีกำเนิดของสี หรือ ความแตกต่างของสี เข้ามาเกี่ยวข้องกับการบังคบใช้แก่ผู้คนในสังคมนั้น ๆ ด้วยหรือไม่? ---แล้วเรื่องนี้มันเกี่ยวอะไรกับบ้านเมืองเราในห่วงเวลาที่เรามีชีวิตอยู่นี้ด้วยรึเปล่า ข้าพเจ้าก็มิทราบได้ ---ใครไม่เชื่อตาม ก็ไม่ว่ากัน)


ส่วนวันนี้เราจะมากลับไปเริ่มเข้าลึกเข้าดึกกันที่คำแรกก่อน - Word - โดยเราจะฟังจากเสียงกระดูกลอร์ดจิมตีกัน มันจะเกิดเสียงดัง...ว่าอย่างไรบ้าง

(--แล้วเรื่องนี้ มันจะเกี่ยวอะไรกับบ้านเมืองเรา ที่เห็นและเป็นอยู่ช่วงนี้ว่า... เหล่าชนชั้นสูงชั้นนำต่างเสนอหน้าออกมาพูดมาประชาสัมพันธ์เน้นไปที่ ความเชื่อถือ....เชื่อมั่น.... ร่วมสร้างความเชื่อมั่นเพื่อก้าวเดินไป...ให้เกิดความมั่นคงขึ้นแก่เราและประเทศของเรา... อยู่เต็มหน้าสื่อโฆษณาทุกรูปแบบเกลื่อนไปหมด ... จนอดสงสัยไม่ได้ว่าหรือว่าประเทศเรา—สังคมไทยเรา กำลังเผชิญหน้ากับ วิกฤตการณ์ความเชื่อถือ-ชื่อมั่นในการนำของพวกเขาเหล่านั้นไปมากจน.... ไม่รู้ว่าจะเรียกคืน “ความ....เชื่อ-ถือ-มั่น” กลับมาได้อีกหรือไม่ประการใดนั้น ข้าพเจ้าก็มิทราบอีกแหละ ... 555 ...ข้าฯ ฟู้ภาษานักการเมืองเป็นกะเขาด้วยแฮะ --- (ฟู้ เป็นภาษาเขียนพบในจารึกโบราณของล้านนา, ผมเข้าใจเองว่า ฟู้=เว้า+อู้+พูด,) ---)


การเชื่อ ความเชื่อ การเชื่อถือ ความเชื่อถือ ความเชื่อมั่นของคน ๆ หนึ่ง หรือหลาย ๆ คนต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือสิ่งใด ๆ นั้นเกี่ยวข้องกับนามธรรม เพราะมันเป็นเรื่องเนื่องกันกับความนึกคิด คาดหวังของบุคคลหรือกลุ่มคนว่า สิ่ง(สมมติหรือสัญลักษณ์)นั้นเป็นความจริง หรือเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงตามที่เขาเชื่อ(หรือมีคนบอกให้เขาชื่อถือตาม)นั้น

แต่เอาเต๊อะ ... หากว่าคนเราเชื่อ_ถืออะไรมาก ๆ จนเกินเหตุมันก็ทำให้เกิดเรื่องยุ่ง, ไม่เชื่อถือ_ไม่เชื่อมั่นอะไรเลย เรื่องมันก็ยิ่งยุ่งไปกันใหญ่ (คือกันแหละเนาะ)

และในทางกลับกัน .... ฝ่ายคนหรือสิ่งอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความเชื่อ_แห่งการเชื่อถือ ความเชื่อมั่นนั้น หากว่า มีคนเขาเชื่อ-ถือมาก ๆ ก็ยิ่งยุ่งทั้งเขาทั้งเรา, และ/หรือ หากว่า มีคนเขาไม่เชื่อ-ไม่ถือ-ไม่มั่นด้วยแล้ว-เอาเสียเลย นั้น... อาจหมายถึงมีจำนวนคนที่เชื่อถือสิ่งนั้นมีอยู่น้อยคน(ลง) หรือ มีคนจำนวนมากเชื่อถือสิ่งนั้นว่าเป็นจริงน้อยมาก ---ก็ยิ่งยุ่ง(ตายหะ--แม่นบ่)

ผิดกันแต่ ไอ้ที่ว่ายุ่ง ๆ นั้น
มันจะยุ่งดี หรือ ยุ่งร้าย
ก็ต้องค่อยไปว่ากันเป็น กรณี ๆ ไป


เรื่องเล่าของเรากำลังนี้คือ ดูหนัง ฟังกระดูก Lord Jim (1965)
ไปดู ไปฟัง กันเลย ป๊ะ.....

-1.
แม้ในวันวัยนักศึกษาของหนุ่มนายจิม มันก็ชัดเจนว่าหนุ่มจิมเป็นบุคคลผู้เชื่อถือได้ ...Jim was the sort of man you would trust. เอาเป็นว่า...แม้เราจะดูและฟังจากหนังไม่ค่อยชัด...เพราะข้อจำกัดด้านความรู้รอบตัวของเราเอง แต่ในฉากสิ้นสุดการสารภาพความจริงต่อสาธารณะ (A public confession) ของเจ้าหน้าที่ประจำเรือ SS PATNA แล้ว เจ้าหน้าที่หรือกรรมการตัดสินได้ประทับความ... Cancelled ... ยกเลิก ใบรับรองการศึกษาหรือว่าใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเดินเรือของพระเอกจิมด้วย

ในใบรับรองคุณวุฒินั้นมีข้อความโต ๆ เขียนว่า .... First Mate ... ( ว๊าว .. first mate แปลว่า a merchant ship's officer next in rank below the captain, also first officer หยิบจาก Webster's New World College Dictionary , ส่วนพจนานุกรมไทย บอกว่า รองผู้บัญชาการเรือ (รองกัปตัน) นั้นเขาเรียกว่า ต้นเรือ ครับ)

....แล้วขอแถมอีกอย่างหนึ่ง ชื่อฉายาหรือนามแฝงของจิม อย่างเป็นทางการภายใต้สังกัดบริษัท(พาณิชยนาวี)นั้น ปรากฏอยู่ในตอนท้าย ๆ เรื่อง อ่านออกเสียงโดยศาสตราจารย์สไตน์ เป็นข้อความในจดหมายจากบริษัทแม่ส่งมาจากอัมสเตอร์ดัมว่า .... “Jim, alias, James, Burke to represent us in Patusan is deniet.” เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เชี่ยวชาญ(นักศึกษา)งานเขียนของโจเซฟ คอนราด บอกว่านวนิยาย Lord Jim นั้น "The second part of the novel is based in some part on the life of James Brooke, the first Rajah of Sarawak. Brooke was an Indian-born English adventurer who in the 1840s managed to gain power and set up an independent state in Sarawak, on the island of Borneo. Some critics, however, think that the fictional Patusan is to be found not in Borneo but in Sumatra."



James, The Rajah of Sarawak (born James Brooke; 29 April 1803 – 11 June 1868) was the first White Rajah of Sarawak. อ้างตาม Lord Jim From Wikipedia, the free encyclopedia)





ข้อสังเกตอีกอย่างคือ จิมไม่ยอมบอกชื่อจริง ภายหลังถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพแล้วจึงต้องใช้นามแฝง และอีกอย่างคือ จิมจะไม่แต่งเครื่องแบบนายเรือ-ต้นเรืออีกเลย จนกระทั่งฉากท้ายเรื่อง ดังภาพนี้





(หากใครอยากรู้ว่าทำไมจิมจึงแต่งเครื่องแบบอีก ก็ต้องไปหาแผ่นหนังเรื่องนี้มาดูแล้วล่ะ)




0.
ต้นเรือจิม รนรานไต่บันไดขึ้นมาบนท้องเรือ……..
…… หัวหน้าชาวมุสลิมนักแสวงบุญ ผู้โดยสารบนเรือ สีหน้าแตกตื่นวิตกกังวล เปิดปากถามรองผู้บังคับการเรือ Patna ว่า: “พวกเราตกอยู่ในอันตรายรึ?”
ต้นเรือ Jim: Only if you panic. You must let me free the lifeboat.
หัวหน้านักแสวงบุญ: “ทำไมละ, แล้วคุณจะได้(ละ)ทิ้ง(หน้าที่) (ลอยแพ) พวกเราซีนะ?”
ต้นเรือ Jim: You believe that?
หัวหน้านักแสวงบุญ: “No.” …. (ตระโกนบอก คนอื่น ๆ ) “ปล่อยให้เขาผ่านไป, ปล่อยให้เขาผ่านไป”


1.
(ฉากภายนอกห้อง) เสียงไต่สวนดังจากห้อง การสารภาพความจริงต่อสาธารณะ (A public confession) ของเจ้าหน้าที่ประจำเรือ SS PATNA
กรรมการ: what changed your mind?
( ภายในห้อง) หัวหน้านักแสวงบุญ: “เขาได้ทำไปแล้ว”
กรรมการ: How?
หัวหน้านักแสวงบุญ: “He gave his word. I trusted him.”

• ก็เช่นเดียวกับที่อ้างถึงคำพูดของหัวหน้าชาวพื้นเมืองกล่าวกับสไตน์นายจ้างหัวหน้าของจิม ที่พูดว่า ….. by his own word … he owes the law … his life.”, word ในประเด็นที่กล่าวถึงอยู่นี้ จึงมีความหมายชัดเจน ....แปลว่า a promise, affirmation, or assurance: to give a person one's word คำพูดนี้คือคำมั่นสัญญา นั้นเอง


2.
การพบเจรจากันเพียงลำพังเพื่อตกลงสงบศึกระหว่าง ลอร์ด จิม ฝ่ายพระเอก กับ กัปตัน ฝ่ายผู้ร้าย
กัปตัน ฝ่ายผู้ร้าย: “...... Really, my lord, you don’t have the moral right to spend their lives. Besides, what would you gain by our dead?”
ลอร์ด จิม ฝ่ายพระเอก: ก็ต้องเป็นอย่างนั้น, การตายของพวกแก

กัปตัน ฝ่ายผู้ร้าย: “แก .... ปากมึงมันช่างเต็มไปด้วยกลิ่นเหม็นเน่า ....สาบส่าศีลธรรมเคร่งครัด...ซะไม่มี... ถุย... Hypocrite!..คนเสแสร้ง...ไอ้คนหน้าไหว้หลังหลอก มือถือสากปากถือศีล คนลวงโลกเอ้ย!” / “Have you said one word touched with Christian charity and pity? แกมันคนใจซื่อมือสะอาดบริสุทธิ์นักรึไง, ชีวิตของแก่มันไม่มีอะไรน่าเคลือบแคลง น่าสงสัย เลยหรือไง, ไม่มีอะไรที่รู้สึกผิด น่าละอายเลยรึไงวะ? ” …/…. “... นี่คือทางเลือก ..Let us go, be rid of us, or fight and be damned ….เลือก!”


เมื่อลอร์ด จิม ฝ่ายพระเอก ตัดสินใจให้คำมั่นสัญญาต่อกันแล้ว กัปตัน ฝ่ายผู้ร้ายพูดว่า: Yes. You’re white, clean though. “In the name of God Almighty himself, I trust you”

เมื่อกลับมาพูดกับคนฝ่ายตน, กัปตัน ฝ่ายผู้ร้ายพูดถึงลอร์ด จิมว่า: “เขาจะเชื่อใจ ให้ความเชื่อถือ...ไว้วางใจ ...มีความไว้เนื้อเชื่อใจเรา เพื่อพิสูจน์ว่าพวกเราก็สามารถเชื่อใจ ให้ความเชื่อถือ...ไว้วางใจ ...มีความไว้เนื้อเชื่อใจเขาได้เช่นกัน .... He’ll trust us to prove that we can trust him.”


กล่าวด้านฝ่ายพระเอกนั้น ข้าราชการกรมเมืองก็ถาม ตวน หรือ ลอร์ด จิม ว่า: “You trust there word?” คำตอบของลอร์ด จิมคือ “ใช่”
นายห้างสไตน์ ถามจิมว่าคำสัญญาข้อตกลงต่อกันนั้น เกี่ยวข้องกับการติดค้างต่อกันแต่หนหลังหรือไม่ ความว่า: … What is he to you or you to him? เธอไม่มีอะไรต้องยอมมัน
ลอร์ด จิม: “เรื่องนี้ ตัวผมยินยอมเองครับ, ไม่ใช่มัน”
สไตน์: “Word. Even for the cleanest mouth, words are a poor security. …คำมั่นสัญญาต่างก็มากับความด้อยหลักประกันความมั่นใจไร้กังวลด้านความปลอดภัย”

ในที่สุดพระเอก ลอร์ด จิม ก็ให้คำมั่นสัญญาต่อกลุ่มหัวหน้าชาวพื้นเมือง: “ตกลง....ถ้ามีคนผู้ใดผู้หนึ่งในหมู่พวกเราแม้แต่เพียงคนเดียว ต้องสูญเสียชีวิต..ต้องตายลงไป ..because of what I ask. ...ด้วยเหตุแห่งคำขอร้องของข้า I’ll forfeit my own life....ข้าฯ จะชดใช้คืนด้วยชีวิตของข้าเอง”

3.
หัวหน้าเผ่าคนพื้นเมืองชาวตะวันออกแห่ง Patusan ประคองกอดศพลูกชายสุดแสนรักของตน ด้วยอาการเศร้าโศกสีหน้าสุดแสนอาลัย...

Stein ชายชราผิวขาวชาวตะวันตก, เจ้าของบริษัทขนส่งสินค้าทางเรือ ...เจ้านายของจิม, เดินเข้ามาในห้อง ....สไตน์นั่งลงข้าง ๆ หัวหน้า

Stein: Sometime, from a good intention come evil, if God wills it so.

หัวหน้าชาวพื้นเมือง: This was not done by the hard of God.
Stein: Not by Jim.
หัวหน้าชาวพื้นเมือง: มือของคน คนนี้ ไม่ขาวสะอาดอีกต่อไปแล้ว

Stein: การตัดสินของท่าน เจือปนไปด้วยพิษความโกรธของบิดาผู้สูญเสียบุตร
หัวหน้าชาวพื้นเมือง: เป็นพ่อคนเสียก่อน, ค่อยมาตัดสินโทษความโกรธของพ่อ

Stein: แต่กฎหมายนั้น ปราศจากความโกรธ. บุตรของท่านได้ตายไปพร้อมกับความโกรธกระนั้นรึ?
………
หัวหน้าชรากล่าวคำพูดสุดท้ายในคราวนั้นกับ Stein ว่า: “In the morning if I find him still here ….by his own word … he owes the law … his life.”




(เก็บความจากการดูหนัง ฟังกระดูก Lord Jim มาเรียงร้อยเล่าใหม่ ....โดย a_somjai / Based on บทภาพยนตร์ Lord Jim (1965) )









 

Create Date : 21 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2553 10:50:23 น.
Counter : 757 Pageviews.  

01/04 : Lord Jim (1965)


Lord Jim
By jovisala47














ที่ 01/04 : Lord Jim (1965)
บ้านตำหนักหางดง นครแห่งหนองควาย เชียงใหม่
from A_somjai
to "DJ - เดช "
date 12-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
Subject ฝันร้ายหรือว่ากฎหมาย มีหลายสี?

ส่งข่าวก่อน:
1. Lord Jim (1965) คงจะต้องรีบยุติ ฟังกระดูกท่านนักเขียนคอนราด ไว้ก่อน (กะว่าจะใส่หนัก ๆ อีก 2 ตอน) ต้นฉบับก็เตรียมไว้แล้ว ส่วนประเด็นหนัก ๆ อื่น ๆ ที่โผล่มาในการดูหนัง ฟังกระดูกเรื่องเล่าของนักเขียนท่านนี้ ก็จะพยายามค่อย ๆ นำแซมไปเรื่อย ๆ ตามโอกาสอันควร ละกัน

2. ดูหนัง ฟังกระดูก ชุดต่อไป กะว่าจะเขียนเรื่องไม่เครียด แต่ออกเสียดสีหนัก ๆ หน่อย ๆ ดีก่าาาา เพราะผมเคยพล็อตเรื่องไว้ในใจ ตอนรีไทร์ออกจากงาน (2549) มาฟิตร่างกายระยะแรก ๆ ด้วยการเดินหั่นแหลก เช่น บางเช้าผมออกเดินจากดอยสุเทพ-ขุนช่างเคี่ยน แล้วเดินย้อนกลับมาหน้าพระธาตุ ขับรถลงมาเมือง ถึงเวลาประมาณ 4 โมงเย็น ได้ทำมาสองสามครั้ง คราวหนึ่งมีพวกนักท่องเที่ยวชาวปักษ์ใต้ ทักทายพูดคุยกันแล้ว เขาถามผมว่า "พี่เดินแก้บนเหรอครับ .... 555", และ บางวันเคยเดินเท้าจากโป่งแยงไปกลับถึงบ้านผานกกก เป็นต้น

ช่วงฟิตเดินท่องเดินทนหนแรก ๆ นั้น เลยพลอยมือพลอยเท้า ก้าวเดินไปก็คิดนึกไป มีอยู่หลายวันนึกถึงอีตา Forrest gump เอามาก ๆ บางเวลาก็นึกถึงงานแปลเรื่อง "ที่เห็นและเป็นอยู่ ;– Being there (1971) written by Jerzy Kosiński เรื่องนี้เมื่อเป็นหนังข้อมูลที่ค้นได้เขาว่า Being There is a 1979 American comedy-drama film directed by Hal Ashby (ผมยังไม่ได้ดู) กับแนวเสียดสีอีกเรื่องชื่อไทยว่า แผ่นดินนี้เราจอง (ได้อ่านพ๊อกเก็ตบุ๊ค แปล ชื่อภาษาอังกฤษ จำไม่ได้แล้ว อ้า --- ค้นเจอแล้ว คือ แผ่นดินนี้เราจอง งานแปลของ เทศภักดิ์ นิยมเหตุ มาจาก Pioneer, Go Home! is a satirical novel by Richard P. Powell, first published in 1959. หนังสือฉบับแปลดีมาก ได้อ่านตั้งกะเรียนอยู่ปี 2 แหนะ, เล่มนั้นก็หายไปไหนแล้วก็ไม่รู้ … ข้อมูลล่าสุดบอกว่า มีพิมพ์ครั้งใหม่แล้ว เลขหนังสือ ISBN 974-321-649-9 สำนักพิมพ์มติชน (๒๕๔๒) ๒๑๐ บาท ๓๓๕ หน้า)

3. แล้วบางครั้งหนัง The Truman Show (1998) ก็ผุดขึ้นมาหยอกล้อกับความบ้าบิ่นของตัวเราเอง.... ก็เลยนึกอยากเขียนเรื่องอะไรของเราเอง จากบทสนทนากับตนเองขณะ "เดินออกกำลัง และได้มองเห็นภาพและเสียงกระดูกลั่นก้องออกมาจากข้างทาง ประสานเสียงกับเสียงกระดูกเส้นเอ็นของเราขบกัน ...บ้าง คงมันดี" สำนวนนี้คิดได้ไงว่ะ?



ก็เลยมีเรื่องรบกวนโยมพี่เดช จนต้องขอรบกวนอีกตามเคย ..555 ไว้ดังต่อไปนี้ (ภาษาราชการ ก็ยังพอไหวอยู่เด้)

4. Forrest Gump is a 1994 American comedy-drama film based on the 1986 novel of the same name by Winston Groom.นั้นผมมีแล้ว
แต่....The Truman Show (1998) ยังไม่มี หากอ้ายเดชมี ก็รบกวนส่งให้อาตมาภาพ (ฮา) อีกสักเตื้อเต๊อะเนาะ ส่วนเรื่องอื่น ๆ ที่ว่ามานั้น หากหามาสู่กันดู สู่กันฟังได้ก็ดี ... อิอิ


ด้วยระลึกถึงและนับถือเสมอ
A_somjai






มาต่อเข้าเรื่องราวที่เราได้จาก การดูหนัง ฟังกระดูก Lord Jim (1965) กันเลย
ชื่อตอนนี้ว่า “ฝันร้ายหรือว่ากฎหมาย มีหลายสี?”

คนเราไม่ว่าหนุ่มหรือแก่ ก็ทำผิดพลาดกันได้
การกระทำอันเกิดจากความผิดพลาดนั้น หากส่งผลร้ายแต่เฉพาะส่วนตัวผู้กระทำแล้ว แม้จะหนักหนาสาหัสปานใด เราก็คงจะปล่อยให้เรื่องมันแล้ว ๆ ไปได้
แต่การคิด การตัดสินใจ การกระทำของคนเรา นั้นไม่อาจเป็นอย่างที่ว่ามานี้ ไปเสียทั้งหมดได้ดอก
ก็รู้ ๆ กันอยู่ว่าคนเราจะอยู่เพียงลำพัง ไม่ข้องเกี่ยวกับผู้คนอื่น ๆ นอกเหนือตัวเรา.... ย่อมเป็นไปไม่ได้
เขาจึงว่า.... คน... มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
….บุคคล...ปัจเจกบุคคลใด ๆ ย่อมต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนที่มีผลกระทบต่อบุคคลผู้อื่นด้วย

-------- เมื่อคนเราตกอยู่ในสถานการณ์ตึงสุดแห่งอันตราย... ความกลัวตาย (ว่าจะไม่มีชีวิตได้เป็นได้อยู่อีกต่อไป) ทำให้คนเราตัดสินใจกระทำในสิ่งที่น่าประณามหยามเหยียด น่าสาปแช่งชิงชัง ดังเช่นการละทิ้งการปฏิบัติหน้าที่ของ(พนักงาน, เจ้าหน้าที่) นักเดินเรือนามว่า ..... Jim …..ทุรชนจิม?
…. ฝันร้ายของ นาย.เรื่อหนุ่ม.. จิม


-1.
ราตรีหนึ่ง ท่ามกลางท้องทะเลมหาสมุทร ฟ้ามืดมิด...พายุโหมกระหน่ำ คลื่นน้ำกระแทกรุนแรงโถมใส่เรื่อ SS Patna ที่บรรทุกลูกเรือพร้อมคนโดยสารเป็นผู้แสวงบุญชาวมุสลิม 800 ชีวิต เดินทางมุ่งสู่นครเมกกะ
แล้วเจ้าหน้าที่...นายเรือจิม... ก็พบว่า…..ห้องเครื่องเรือมีปัญหาชำรุด ผนัง(กาบ)แตกหักเสียหาย น้ำทะเลไหลทะลักเข้าท้องเรืออย่างรวดเร็ว
ลูกเรือห้องเครื่องกระหืดกระหอบบอกเจ้าหน้าที่จิมด้วยเสียงหวาดหวั่น....ว่า: “There’s no time, clear thinking, sir.”
สถานการณ์คับขัน ในความมืด โดยลำพัง อย่างนี้....ยามนี้เป็นใคร.....ใครก็ไม่อาจคาดการณ์อะไรได้
There in the dark, alone with the unexpected. Jim was finally infected with the other man’s terror. His imagination made him see what he feared to see.

0.
เจ้าหน้าที่จิม รนรานไต่บันไดขึ้นมาบนท้องเรือ……..
…… หัวหน้าชาวมุสลิมนักแสวงบุญ ผู้โดยสารบนเรือ สีหน้าแตกตื่นวิตกกังวล เปิดปากถามเจ้าหน้าที่จิมว่า: “Are we in danger?”
เจ้าหน้าที่ Jim: Only if you panic. You must let me free the lifeboat.
หัวหน้านักแสวงบุญ: “ทำไมละ, แล้วคุณจะได้(ละ)ทิ้ง(หน้าที่) (ลอยแพ) พวกเราซีนะ?”
เจ้าหน้าที่ Jim: ท่านเชื่ออย่างนั้นรึ?
หัวหน้านักแสวงบุญ: “ไม่” …. (ตระโกนบอก คนอื่น ๆ ) “Let him pass, Let him pass.”







1.
การสารภาพความจริงต่อสาธารณะ (A public confession) ของเจ้าหน้าที่ประจำเรือ SS PATNA

Charles Marlow เป็นหนึ่งในกรรมการไต่สวนครั้งนี้ด้วย (คงเป็นเพราะว่า กับตันมาร์โลว์ เป็นผู้การเรือที่รับผิดชอบต่อ การรับจิมเข้าทำงานอาชีพชาวเรือ บนเรือในรับผิดชอบของเขา และนำจิมมาสู่ทะเลตะวันออกเป็นครั้งแรก แล้วปล่อยให้จิมลงรักษาอาการบาดเจ็บบริเวณขา ณ โรงพยาบาลบนเกาะชวา ต่อมาจิมก็ได้ทำงานบนเรื่อ SS PATNA จนเกิดเรื่อง “ฝันร้าย” นี้ขึ้น)

หนึ่งในกรรมการ: “ท่านคือผู้กู้เรือนี้ ให้รอดพ้นภัย (salvage) จากการล่มจมทะเล ใช่หรือไม่?” / “ท่านพูดได้ไหมว่า ...the ship was in danger of sinking?”

คำให้การของ The French officer: “ขอรับท่าน. Possibly, when we towed her in.”

มาร์โลว์ (พูดแทรกขึ้นมา) : “That is not the point.” / “Danger is never the barometer of an officer’s conduct. Will you admit, lieutenant that his behavior was the unmitigated, inexcusable act of coward?”

The French officer: มันไม่ใช่เรื่องที่กระผมจะไปกล่าวหา ผู้ใดว่าเป็นคนขี้ขลาดตาขาวได้ดอกขอรับ
มาร์โลว์: “ก็การกระทำแบบนั้น มันไม่ได้บ่งบอกถึงความกล้าหาญสักน้อยนิดเลย แม่นบ่?”

The French officer: ในสงคราม, ต่อหน้าผู้คนอื่น ๆ, เป็นใครก็ถูกคาดหวังให้เขามีความกล้าหาญ. กิจการสงครามอยากให้เป็นเช่นนั้น

มาร์โลว์: “At sea, we’re always at war with the elements. Officers are expected to go down with the ship. Honour demands it.”
The French officer: ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่? การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล? ขอรับ


มาร์โลว์: Very well. The law demands it.
The French officer: What law? Where’s such law written?

มาร์โลว์: ในหมู่อารยชนผู้เจริญแล้ว, there’s such a thing as the unwritten law.
The French officer: ความคิดแบบนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยพวกบริษัทประกันฯ ตะหากเล่า. มันเป็นสิ่งจำเป็นเพราะว่า... if even one crewmen ...หากว่าพวกลูกเรือยังยืนหยัดอยู่บนเรือแล้ว …. the ship can not be claimed as salvage.

กรรมการ Charles Marlow: Then loyalty. What about loyalty?
The French officer ผู้ให้ปากคำ: เรื่องทำนองนั้น, มันเป็นความซื่อตรง ความศรัทธา ความภักดีต่อเรือที่จมอยู่ใต้พื้นดิน ....but when ship changed to steam, perhaps men changed too.


Marlow: เป็นคุณ.... ท่านจะทำอย่างเดียวกันกับที่เขาได้กระทำลงไปแล้วงั้นรึ .... Could you do what he did?
ผู้การเรือชาวฝรั่งเศส : ใครจะไปทราบได้ละขอรับ? Under certain conditions fear will come to any man, It’s always there, waiting for us.

กรรมการ: ความกลัว. ----- Thank you very much, lieutenant.










2.
Lord Jim บอกให้ลูกชายหัวหน้าชนพื้นเมืองชาวตะวันออกแห่งเมือง Patusan ปล่อยพวกคนร้าย: “Let him go away.”

ลูกชายหัวหน้า: Why? Those men broke the law. Now they must answer to the law.”

ข้าราชการกรมเมือง Patusan ยืนยันความจริงข้อนี้: That law is the oldest of our land. The law of survival ….. Death for death.

Lord Jim ตอบว่า: There’s more than one kind of law.
ข้าราชการกรมเมือง: Which kind? Your prevail law? Colonial justice? Or is if perhaps your Christian conscience?

Lord Jim: บางที

ข้าราชการกรมเมือง: บางที. คุณธรรม ศีลธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคุณ อาจเป็นสิ่งที่มีสีผิวพรรณ(คนขาว)ของคุณ (เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย) ...Your conscience is coloured by your skin.










3.
หัวหน้าเผ่าคนพื้นเมืองชาวตะวันออกแห่ง Patusan ประคองกอดศพลูกชายสุดแสนรักของตน ด้วยอาการเศร้าโศกสีหน้าสุดแสนอาลัย...

Stein ชายชราผิวขาวชาวตะวันตก, เจ้าของบริษัทขนส่งสินค้าทางเรือ ...เจ้านายของจิม, เดินเข้ามาในห้อง ....สไตน์นั่งลงข้าง ๆ หัวหน้า

Stein: Sometime, from a good intention come evil, if God wills it so.

หัวหน้าชาวพื้นเมือง: This was not done by the hard of God.
Stein: Not by Jim.
หัวหน้าชาวพื้นเมือง: มือของคน คนนี้ ไม่ขาวสะอาดอีกต่อไปแล้ว

Stein: การตัดสินของท่าน เจือปนไปด้วยพิษความโกรธของบิดาผู้สูญเสียบุตร
หัวหน้าชาวพื้นเมือง: เป็นพ่อคนเสียก่อน, ค่อยมาตัดสินโทษความโกรธของพ่อ

Stein: แต่กฎหมายนั้น ปราศจากความโกรธ. บุตรของท่านได้ตายไปพร้อมกับความโกรธกระนั้นรึ?
……….


หัวหน้าชรากล่าวคำพูดสุดท้ายในคราวนั้นกับ Stein ว่า: “In the morning if I find him still here ….by his own word … he owes the law … his life.”




(เก็บความจากการดูหนัง ฟังกระดูก Lord Jim มาเรียงร้อยเล่าใหม่ ....โดย a_somjai / Based on บทภาพยนตร์ Lord Jim (1965) )




 

Create Date : 18 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2553 21:12:08 น.
Counter : 586 Pageviews.  

01/03 : Lord Jim (1965)


Joseph Conrad By GregPC




ที่ 01/03 : Lord Jim (1965)
บ้านตำหนักหางดง นครแห่งหนองควาย เชียงใหม่
from A_somjai
to "DJ - เดช "
วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
Subject ความฝันกับความจริงเมื่อวัยหนุ่ม



ตอบจดหมายก่อนละกัน
1. หนังแผ่นที่ส่งมาได้รับทุกเรื่องครับ จะค่อย ๆ ดูไป, เรื่องชาวมองโลเลีย ทั้งหมา และคน ที่ถูกทอดทิ้ง สนุกมาก ได้เห็นตัวอย่างมิติทางสังคมที่(ล่มสลาย)เปลี่ยนแปลงจากกลุ่มครอบครัว(ขยาย)ของชนเผ่าแบบหัวหน้าฝูง(สัตว์เลี้ยง) ถูกผลักไสเข้าไปสู่ "ครอบครัวเดี่ยว" ตัวใครตัวมันในสังคมเมืองของโลกสมัยใหม่ กันทั้งหมดทั้งสิ้นทั่วโลก (ปลายปี 2553/2010 นี้จะรอดูเมืองพม่า หลังเลือกตั้งทั่วไป และย้ายเมืองหลวงใหม่แล้ว ว่าสังคมชาวชนคนในปกครองพม่าจะปรับเข้าสู่โลกยุคตัวใครตัวมันนี้อย่างไรกัน) -- ให้คิดถึงหนัง (เคยได้ดูทางช่อง 7) mongolian ping pong จัง

2.เพ้อเจ้อเรื่อง ลอร์ด จิม ของโจเซฟ คอนราด ไป ๆ มาๆ ผมค่อยเพิ่งรู้ว่าเรื่อง Heart of Darkness ของ โจเซฟ คอนราด เป็นแบบให้ Francis Ford Coppola's -inspired film, Apocalypse Now. (1979 ) และเขายังได้ผลิตงานอ้างอิงจนได้รับรางวัลอีก ชื่อ Hearts of Darkness: A Filmmaker's Apocalypse, คิดว่าถ้าผมได้ดู Apocalypse Now อีกรอบ(หลังจากดูแล้วตอนเรียนจบ ออกทำงานหากินด้วยลำแข้งตนเองได้สักปีสองปีกระมัง) ก็คงจะขยายงาน ฟังกระดูกโจเซฟ คอนราด ผ่านบล็อกดูหนัง ลอร์ด จิม นี้ ได้พื้นที่ความคิดกว้างออกไปได้อีกโขเชียวแหละ อะไร ๆ ที่เขาว่าอะไร ๆ กันนักกันหนานั้นนะ คนแก่อย่างเราจะลองค้นหาดู (ฮา)










คราวนี้กลับมาว่าเรื่องของคนวัยหนุ่มยุค ศ. ต. 19 ก็ในวัยหนุ่มของโจเซฟ คอนราด มองผ่านร่าง นายเรือจิม ในหนังปี 1965 นั้นแหละ ทว่าในหนังเขากล่าวเอาเพียงย่นย่อเพียง 4 นาที (เพราะคนสร้างเล็งเห็นแล้วว่า หัวใจของเรื่องไม่ได้อยู่ที่ประเด็นการไล่ล่าความฝันของคนวัยหนุ่ม) เราคนวัยแก่จึงต้องกลับไปอ่านไต๋คนแต่งกันที่เรื่องสั้นของเขาซื่อ "Youth" โดยต้องทำความเข้าใจใหม่ อาศัยอ้างอิงเอาจากงานแปลสำนวนภาษาไทยของ อรจิรา โกลากุล ที่ได้ ว. สุพันธ์ บรรณาธิการต้นฉบับให้ (ที่เว็บต์ “www.wanakam.com - วรรณกรรม WANAKAM World Classics in Thai”) ในชื่อว่า "วัยหนุ่ม" เสียอีกแหนะ (เกิดเป็นคนไทย นี่ ก็เหนื่อยเนาะ!)


คอนราดเขียนเรื่องสั้น "Youth - วัยหนุ่ม" ในรูปแบบการเล่าอัตชีวประวัติ เมื่อปี ค.ศ. 1898 แล้วก็ตีพิมพ์รวมเรื่องสั้นชื่อชุด Youth, a Narrative, and Two Other Stories ในปี 1902 ในรวมเรื่องสั้นชุดนี้ มีเรื่องดัง ๆ ของนักประพันธ์ท่านนี้รวมอยู่ด้วย (เราต้องกล่าวไว้ เพราะมันจะเกี่ยวของกับ ดูหนัง ฟังกระดูก ที่จะคุยถึงกันในภายหน้า ...ก็หวังว่ายังงั้นล่ะ) ได้แก่ Heart of Darkness and The End of the Tether, ซึ่งทุกเรื่องที่กล่าวมานี้คอนราดล้วนเขียนเล่าเรื่องผ่านปากคำของชายชราจัดเจน นามว่า Charles Marlow ทั้งสิ้น (ก็อย่างที่เคยเขียนไว้ที่บล็อกตอนที่ผ่านมาอ้างถึงเรื่อง Heart of Darkness, Lord Jim and Chance ที่ตัวข้าพเจ้าเองก็ยังไม่เคยอ่านผ่านสายตามาเลยนั้นแหละ 555)

เรื่องสั้น "Youth - วัยหนุ่ม" เป็นการเล่าเรื่องเฉพาะเจาะลึกลงรายละเอียด “การเดินทางสู่ตะวันออก(เอเชีย)ของชายหนุ่มผู้หนึ่ง - a young man's first journey to the East เรื่องของเรื่องก็คือถ้าเชื่อตามเจ้าของบล็อกนี้ว่า เรื่องเมื่อวัยหนุ่มของ Charles Marlow คนเล่าในนิยาย ก็คือ เรื่องบทสนทนากับตนเอง (ระหว่างตอนวัยหนุ่มกับตอนวัยผ่านมาแล้ว)ของคนแต่งเรื่องนาม Joseph Conrad นั้นเอง

เราได้อะไรจาก การมองดู ความฝันกับความจริงของคนวัยหนุ่ม หรือ ความฝันกับความจริงเมื่อวัยหนุ่ม ผ่านเรื่องสั้น "Youth - วัยหนุ่ม" บ้าง?

คำตอบที่ดีที่สุด จริงที่สุด ก็คือ คุณต้องตามลิงค์ไปอ่านเรื่องสั้นเรื่องนี้ ด้วยตัวของคุณเอง – แม่นบ่!

และต่อไปนี้....คือความเห็นของข้าพเจ้าว่าด้วย .. ความฝันกับความจริงเมื่อวัยหนุ่ม ทบทวนจากบทสนทนากับตนเอง เมื่อดูหนัง Lord Jim (1965) เปรียบเทียบจาก เรื่องสั้น "Youth - วัยหนุ่ม" โดยได้อาศัยอ้างอิงการคิดในงานเขียนของคนอื่นบ้าง (มากหรือน้อย ก็ยังดีกว่าคิดอยู่คนเดียวละเนอะ)

“เรื่องนี้จะเกิดขึ้นที่ไหนไม่ได้นอกจากในอังกฤษ เพราะเราอาจกล่าวได้ว่าในประเทศอังกฤษ ผู้คนและท้องทะเลแทรกซึมเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ท้องทะเลล่วงล้ำเข้าสู่ชีวิตของคน และคนส่วนใหญ่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับท้องทะเลไม่มากก็น้อย ไม่ว่าด้วยวิถีแห่งความเพลิดเพลิน การเดินทาง หรือการทำมาหาเลี้ยงชีพก็ตามที”

มาร์โลว์ ... เล่าเรื่องราว หรือถ้าเรียกให้ถูกคือบันทึกเหตุการณ์การเดินทางครั้งหนึ่ง
“ก็จริงอยู่ ฉันได้เห็นทะเลตะวันออกมาบ้าง แต่ที่ฉันจำได้ดีที่สุดคือการเดินทางไปที่นั่นครั้งแรก พวกคุณก็รู้ว่ามีการเดินทางบางเที่ยวที่เหมือนถูกส่งมาเพื่อให้เราได้ประจักษ์ความหมายของชีวิต ราวกับมันเป็นสัญลักษณ์ของการดำรงอยู่ เราต่อสู้ ตรากตรำทำงานถวายหัว เหนื่อยสายตัวแทบขาด ยอมอุทิศชีวิตเพื่อให้งานบางอย่างสำเร็จลง แต่กลับทำไม่ได้ ไม่ใช่ความผิดของเราเลยนะ เพียงแต่ในสถานการณ์แบบนั้นเราไม่สามารถทำอะไรได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยิ่งใหญ่หรือเล็กน้อยเพียงใด เราทำอะไรไม่ได้เลยแม้สักอย่างเดียว….

“โดยรวมแล้วมันเป็นการเดินทางที่น่าจดจำทีเดียว เป็นการเดินเรือไปตะวันออกครั้งแรกของฉัน และเป็นครั้งแรกที่ฉันอยู่ในฐานะรองต้นหน เป็นการคุมเรือครั้งแรกของกัปตันด้วย ….’ [วัยหนุ่ม, แปล, อ้างตามลิงค์]

ระหว่าง ซูเอซ และ ทะเลจีน มีคนไร้ชื่อเสียงเรียงนามจำนวนมาก ที่รอดชีวิตและตายดับไปโดยไม่มีผู้ใดรู้เห็น

ต่อไปนี้ คือเรื่องราวของหนึ่งในคนไร้ชื่อเสียงเรียงนามดังว่านั้น:
ชายผู้ควรจะถูกแขวนนามไว้ในทำเนียบทุรบุรุษสุดชั่ว หรือ เป็นผู้ควรถูกแขวนนามไว้ในทำเนียบวีรบุรุษสุดแสนดี แห่งชายหาดและท่าเรือ (กันแน่)
... ไม่มีไผจะควรค่าแก่การเชิดชูและสาปแช่ง มากไปกว่า ...(ชายผู้นี้อีกแล้ว) ....

Lord Jim (1965)
Base on the novel of Joseph Conrad
Story editor: Arthur Knight
Written for the screen and direted by Richard Brooks



เมื่อต้นเรื่อง Jim ก็คือ นายจิม ที่ยังไม่ได้เป็นท่าน Lord)อะไรที่ไหนกับเขาดอก (ลอร์ด หมายถึงอะไรค่อยไปถกกันข้างหน้านู้น) ในเรื่องก็ไม่ได้บอกเกี่ยวกับนามสกุล และพื้นเพครอบครัวของเขา รู้แต่ว่าพระเอกหนุ่มจิม - Jim (Peter O'Toole) ในหนังหล่อมาก เป็นชาวอังกฤษ เหมือนกับมาร์โลว์ หนังเล่าว่าหนุ่มจิมมีชีวิตอยู่ในช่วง ยุคสมัยพระราชินีวิคตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรขยายอาณานิคมไปกับการค้าและการพาณิชย์โดยทางเรือ

สรุปง่าย ๆ ก็คือ ความฝันและความจริงที่คนหนุ่มอังกฤษยุค ศ.ต. 19 ต้องเป็นและอยากเป็นก็คือการเข้ารับการศึกษาฝึกอบรมเพื่อเข้าสู่วิชาชีพคนเดินเรือ เพื่อจะได้ออกเดินทางท่องโลกกว้าง และประสบความสำเร็จในชีวิต

.ภาพยนตร์ Lord Jim (1965) เอ่ยถึง “ความฝัน ส่วนตั๊ว ส่วนตัว ของคนในวัยหนุ่ม” อย่างจิมว่า มันก็เป็นเหมือนแบบเดียวกันกับ “ความฝัน ส่วนตั๊ว ส่วนตัว ของคนในวัยหนุ่ม” ของเราทุกคนนั้นแหละ (พวกผู้สูงวัย ก็ลองทบทวนดูนะ ... ส่วนมากจะลืม ๆ กันไปหมดแล้วมั้ง ... ถึงชอบห้ามเด็กหนุ่มสาวลูกหลานทำนู้นนี่ แก่แล้วก็กลัวไปโหมดดดดดดดด ....)

คำสำคัญที่เราจะหยิบยกจากบทภาพยนตร์เรื่องนี้ ขึ้นมาพิจารณากัน ประกอบบทสนทนา(กับเรื่องราวของตัวตนของเราเอง)ในยามนี้ ได้แก่ ... “Private Dream” , “life” และนามธรรมที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับการมีอยู่ เป็นอยู่ แห่งความฝันส่วนตัวและความจริงแห่งชีวิต ดังกล่าวทั้งคู่นั้น ได้แก่ “trust”, “believe” และ (“fear”) ... ขออภัย...ที่ยังไม่แปลความหมาย เดี๋ยวเขียนไป อ่านไป เล่าไปก็หลุดมาแจ้ง ๆ แดงแจ๋เองน่า!

เอาเป็นว่า ... ถ้าใครได้อ่านเรื่องสั้น "Youth - วัยหนุ่ม" หรือได้ดูหนัง Lord Jim (1965) แล้วละก็
คุณควรจะได้ยินเสียงกระดูกของ Joseph Conrad และ Richard Brooks ดังลั่น เปรี๊ยะ ๆ ออกมาจากข้างในหูของคุณเลยทีเดียวเชียว
ความเชื่อถือ ความเชื่อมั่น เป็นนามธรรมที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับการมีอยู่ เป็นอยู่ แห่งความฝันส่วนตัวและความจริงแห่ง่ชีวิตของคนเราทุกคน
และ “ความหวาดกลัว / ความกลัว” ก็เป็นศัตรูของการดำรงอยู่ของคุณทั้งในวัยหนุ่มและแม้แต่วัยชรา....

ทั้ง เรื่องสั้น "Youth - วัยหนุ่ม" หรือหนัง Lord Jim (1965) บอกเราว่า ...
---- ความกลัวตาย (ว่าจะไม่มีชีวิตได้เป็นได้อยู่อีกต่อไป) ทำให้คนเราต้องทำในสิ่งที่น่าประณามหยามเหยียด น่าสาปแช่ง ดังทุรชน ดังเช่นการละทิ้งการปฏิบัติหน้าที่

...... ความกล้าเชื่อถือมั่นคงต่อความฝันและความเป็นจริงในชีวิต ทำให้คนเราได้รับการยกย่องเทิดทูลเชิญชู เทียบเท่าวีรชน

นาย จิม - JIM ได้รับการประณามมีผิดบาปติดตัวติดจิตใจไปตราบชั่วชีวิต ก็เพราะในวัยหนุ่มเขาได้เลือกเดินทางตามเหตุประการแรก

นาย จิม - JIM ได้รับการยกย่องเชิดชูให้เป็น 'Tuan' – LORD ก็ด้วยเหตุในวัยหนุ่มที่ผ่านประสบการณ์ได้บทเรียนแรกแล้ว เขาจึงเลือกเดินทางตามเหตุประการหลัง

“ฉันได้รู้จักความน่าหลงใหลของตะวันออกนับแต่นั้นมา ได้เห็นชายฝั่งอันลึกลับ ผืนน้ำนิ่ง แผ่นดินของชนชาติผิวสีน้ำตาล ที่ซึ่งเทพเนเมซิสผู้จองล้างจองผลาญคนทำผิดพรางตัวรอ คอยติดตาม และรุกไล่ทันชนชาติผู้พิชิตมากมาย ชนชาติซึ่งภาคภูมิใจในปัญญา ในความรู้ ความแข็งแกร่งของตน แต่สำหรับฉันแล้ว ตะวันออกทั้งหมดได้ถูกบรรจุลงในภาพเมื่อครั้งยังเป็นหนุ่ม ทั้งหมดรวมอยู่ในชั่วขณะนั้นเมื่อฉันเบิกตาของคนหนุ่มขึ้นมองภาพนั้น ฉันได้พบดินแดนนี้ด้วยการต่อสู้ปลุกปล้ำกับท้องทะเล ฉันยังหนุ่ม และฉันเห็นมันมองกลับมาที่ตัวฉัน และนี่คือทั้งหมดที่เหลืออยู่ ชั่วขณะเดียวเท่านั้น ชั่วขณะแห่งความแข็งแกร่ง การผจญภัย ความรุ่งโรจน์ ชั่วขณะแห่งวัยหนุ่ม...แสงแดดวาบลงบนชายฝั่งน่าอัศจรรย์ ช่วงเวลาที่ควรจดจำ ช่วงเวลาสำหรับการทอดถอนใจ และลาก่อน ราตรี ลาก่อน...”

....
“อา วันวานแสนหวาน วันวานแสนหวาน วัยหนุ่มและท้องทะเล ความรุ่งโรจน์และท้องทะเล ทะเลอันยอดเยี่ยมเข้มแข็ง ทะเลที่เค็มขมขื่น และอาจกระซิบบอกเรา ขู่คำรามใส่เรา และกระชากลมหายใจไปจากเรา”

.....
“ความยอดเยี่ยมทั้งหมดนี้ คงเป็นเพราะท้องทะเลนะ ฉันว่า เพราะท้องทะเลแท้ๆ ทีเดียว หรือแค่เพราะความเยาว์วัย ใครจะบอกได้ล่ะ แต่พวกคุณที่นี่ พวกคุณทุกคนได้บางสิ่งบางอย่างจากชีวิต เงินทอง ความรัก หรืออะไรก็ตามที่คนเราหาได้บนฝั่ง แต่ไหนลองบอกฉันทีซิว่า นั่นไม่ใช่ช่วงเวลาที่เยี่ยมที่สุดหรือ เวลาที่เราเป็นหนุ่มอยู่ในท้องทะเล เป็นหนุ่มและไม่มีสิ่งใด เราอยู่บนทะเลซึ่งไม่ได้ให้อะไรแก่เรา นอกจากจะกระแทกใส่แรงๆ เท่านั้น และบางครั้งมันอาจจะให้โอกาสเราได้รู้ถึงความเข้มแข็งของตัวเอง ก็เท่านั้นแหละ แล้วพวกคุณจะไปเสียดายอะไรล่ะ”

และเราทุกคน ..... ใบหน้าของเราซึ่งมีริ้วรอยเหี่ยวย่น ใบหน้าที่มีร่องรอยของความเหนื่อยยาก ความหลอกลวง ความสำเร็จ และความรัก ทว่าดวงตาเหนื่อยอ่อนของเรายังคงมองหา เรามองหาอยู่เสมอ มองหาอย่างร้อนรนด้วยหวังจะค้นพบบางสิ่งจากชีวิต ซึ่งในขณะที่เรารอคอยอยู่มันก็ได้จากไปแล้ว ผ่านไปโดยที่เราไม่เห็น ในชั่วลมหายใจเดียว ในชั่วพริบตาเดียว จากไปพร้อมกับความหนุ่มแน่น พร้อมกับพละกำลัง พร้อมกับภาพลวงตาอันเพ้อฝัน
[วัยหนุ่ม, แปล, อ้างตามลิงค์]


เอาแค่นี้ก่อนละกัน
ยังจะให้เล่า เรื่องความฝันวัยหนุ่มบนท้องทะเลแห่งชีวิตจริงที่เต็มไปด้วยมรสุม(พายุ)อันโหดหินไร้น้ำใจ ต่อไปอีกไหม?
คนฟังคนอ่าน บอกหน่อยก็ดี


ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ
A_somaji






 

Create Date : 10 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2553 20:50:43 น.
Counter : 988 Pageviews.  

01/02 : Lord Jim (1965)


The Joseph Conrad
ถ่ายภาพ By richarddigitalphotos






ที่ 01/02 : Lord Jim (1965)
บ้านตำหนักหางดง นครแห่งหนองควาย เชียงใหม่
from A_somjai
to "DJ - เดช "
วันที่ 1-3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
Subject ความฝันกับความจริงของคนวัยหนุ่ม

(อ้ายเดชและผม) ก็เป็นเรี่องปกติอย่างที่อ้ายเดชจ่ม(บ่น)มาในจดหมายสองสามฉบับลงเดือนตุลาคม ผ่านมาแล้วนั้น คือว่าคนวัยห้าสิบขึ้นอย่างเรา มักมีปัญหาเรื่องสุขภาพไม่ค่อยดีบ้าง ขี้หลงขี้ลืม คิดหน้าลืมหลังบ้าง อยากทำสิ่งที่เคยอยากจะทำให้ได้ในวัยหนุ่มแต่ก็ยังไม่ได้ทำเพราะสังขารไม่อำนวยบ้าง (ก็อย่างเช่น อยากเล่นกีตาร์ในสไตล์ที่ชื่นชอบกับบางเพลง แต่ก็ยังทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำเพราะนิ้วไม่ไปตามใจปรารถนาเสียแล้ว และการเขียนแต่งเรื่องต่าง ๆ ก็เขียนไปลืมไป เป็นต้น) แต่ก็ดีใจที่อ้ายบอกว่า จะกลับมาฟื้นร่างกายด้วยการออกกำลัง อันนี้ผมขอสนับสนุนและให้กำลังใจ เพราะเป็นสิ่งที่ผมทำมาได้ 2-3 ปีแล้ว ปรากฏว่า ...ก็ได้งานดนตรีและงานเขียนบล็อกนี้ออกมาอย่างที่เห็นไง (ไม่ได้โม้)

ที่เกริ่นเรื่องมาดังกล่าวข้างต้นนั้น นอกจากการเข้าร่วม...ก๊วนลูกช้างแก่...ขอบ่นด้วยคนแล้ว* คนเขียนยังมีเจตนาเฉพาะด้วย นั้นคือการนำเข้าสู่ความต่อเนื่องของ “ดูหนัง ฟังกระดูก Lord Jim (film 1965)”

เมื่อต้นเรื่อง Jim ก็คือ นายจิม ที่ยังไม่ได้เป็นท่าน Lord อะไรที่ไหนกับเขาดอกในเรื่องก็ไม่ได้บอกเกี่ยวกับนามสกุล และพื้นเพครอบครัวของเขา รู้แต่ว่าพระเอกหนุ่มจิม - Jim (Peter O'Toole) ในหนังหล่อมาก เป็นชาวอังกฤษ หนังเล่าว่าหนุ่มจิมมีชีวิตอยู่ในช่วง ยุคสมัยพระราชินีวิคตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรขยายอาณานิคมไปกับการค้าและการพาณิชย์โดยทางเรือ และจิมก็ได้รับการฝึกฝนจนเข้าสู่งานลูกเรือพาณิชนาวี ได้เดินทางออกทะเลมาตะวันออกกับเรือลำหนึ่ง ระหว่างทางเขาได้รับบาดเจ็บจึงได้ถูกปล่อยตัวลงไปรักษาที่โรงพยาบาลบน “ชวา – Java” (อินโดนีเชีย) แล้วเขาก็ได้งานใหม่กับเรือลำใหม่ ซึ่งจะเกิดเรื่องเป็นวิกฤตการณ์สำคัญต่อชีวิตของหนุ่มนายเรือจิมพระเอกของเรา อันเป็นปมประเด็นปัญหาของเรื่อง Lord Jim นวนิยายบทประพันธ์ของ Joseph Conrad –โจเซฟ คอนราด

วันนี้เราจะยังไม่กล่าวเดินเรื่องราวตอนต่อไป หากทว่าผมจะขอพูดถึง “ความฝันกับความจริงของคนวัยหนุ่ม” เสียก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้พวกเรา “คนวัยแก่” ผู้ได้ผ่านช่วงชีวิต “วัยหนุ่ม” มาแล้ว ได้ทบทวนเปรียบเทียบกับเรื่องราวของตัวเราเองดูบ้าง (...เอาน่า... มันต้องมีประโยชน์อยู่... ไม่เสียเวลาดอก)

Joseph Conrad –โจเซฟ คอนราด มีวิธีเขียนนิยายเรื่องยาวและเรื่องสั้นเป็นชุด เรื่องที่โด่งดังอย่างเช่น Heart of Darkness, Lord Jim, Chance และ"Youth" ต่างก็ใช้วิธีการนำเสนอในรูปเรื่องเล่าแบบมุขปาฐะ (oral tales) ผ่านปากของ Charles Marlow หรือ Marlow ทั้งสิ้น

ผมเคยเขียนไว้ที่ a_somjai’s blog (ชีวิตคือบทสนทนากับตนเองของคนบ้า) แบบบ้า ๆ ว่า..
“คนที่ยังไม่ตายนั้น ย่อมพูดกับตัวเองอยู่ตลอดเวลา แม้แต่เวลาหลับ ก็อย่างเราฝันไปนั่นไงครับ

ใช้ภาษาให้สูงขึ้นหน่อยก็ต้องว่ามนุษย์เราพูดคุยสนทนากับตัวเองอยู่เสมอ
ในลักษณะการบอกกล่าว สอบถาม โต้ตอบ ต่อเติม ร้อยเรียง จัดวาง ผูก ลาก โยง
และถึงกับตัดต่อแต่งเติม ให้เป็นเรืองเป็นราวขึ้นมาอยู่ทุกเมื่อ

หากจะยกชูภาษาให้สูงขึ้นไปอีกก็ได้ครับว่า-- ชีวิตคน ๆ หนึ่ง ไม่ว่าจะมองภาพรวมจากช่วงชีวิตในอายุขัยทั้งหมด หรือตัดภาพเหตุการณ์ชีวิตออกเป็นช่วง ๆ สั้นหรือยาวเท่าใดก็ตาม นับเป็นกระบวนการแห่งการเล่าเรื่อง กระบวนการแห่งนาฏกรรม และ/หรือกระบวนการแห่งวรรณกรรมนั่นเอง
………………….


“หากการเล่าเรื่องเป็นวรรณกรรมดังว่ามานี้แล้ว ---
ชีวิตคนหนึ่ง ๆ ก็ย่อมเป็นวรรณกรรมชุดใหญ่ได้ชุดหนึ่งทีเดียว
เมื่อนาฏกรรมชีวิตคือชุดของบทสนทนากับตนเอง
วรรณกรรมจะเป็นอะไรอื่นที่วิเศษวิโสไปกว่า---ต้นฉบับของชุดบทสนทนากับตนเองของผู้เล่า ผู้เขียน ผู้ประพันธ์ และผู้สร้าง อย่างที่มันเป็นอยู่นั้นได้อีกเล่าครับ?

และเมื่อมีการผลิตซ้ำต้นฉบับออกมาเผยแพร่สู่บุคคลอื่น(แม้แต่คนเดียว แถมซ้ำยังอาจเป็นการเผยแพร่สู่คนคนเดียวกันกับเจ้าของต้นฉบับเดิมเองนั้นก็ไม่มีข้อยกเว้น)

แล้ววรรณกรรมจะเป็นอะไรอื่นที่ต่ำต้อยไปกว่า….ต้นฉบับของชุดบทสนทนากับตนเองของผู้ดู ผู้ชม ผู้อ่าน ผู้ฟัง ผู้เสพและผู้วิจารณ์ อย่างที่มันจะต้องเป็นอยู่ได้เพียงเท่านั้นเอง

แล้วยังจะอะไรกันนักกันหนาอยู่อีกเล่า?
ท่าน___คนไม่บ้าทั้งหลาย!”

ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เราจะค้นคว้าไปเพื่อยืนยันว่า โจเซฟ คอนราด ได้เล่าเรื่องพูดคุยกับตนเองผ่านปากคำของพาณิชนาวีชรานามว่า Marlow ใส่ไว้ในพล็อตนวนิยายและเรื่องสั้นที่เขาเล่าไว้เป็นชุด ๆ เสมอ เมื่อลองไปค้นดูประวัติของนักเขียนเอกของอังกฤษท่านนี้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อแล้วหละครับ



Joseph Conrad By GregPC


โจเซฟ คอนราด - Joseph Conrad (born Józef Teodor Konrad Korzeniowski; 3 December 1857 – 3 August 1924)

เกิดที่ Berdyczów (เดิมอยู่ในเขต? ประเทศโปแลนด์, ปัจจุบัน? Berdychiv, อยู่ในเขต Ukraine ยูเครน) ต่อมาย้ายไปอยู่กับลุงที่สวิตเซอร์แลนด์ แต่หลังจากนั้นไม่นานได้เริ่มต้นอาชีพชาวเรื่อ (กะลาสี ลูกเรือ นายเรือ - a seaman) กับบริษัทเดินเรือพาณิชย์แห่งฝรั่งเศส (ตอนอายุ 16 ปี) และเข้าทำงานบริษัทเดินเรือพาณิชย์ของอังกฤษในเวลาต่อมา แล้วเขาก็ได้เป็นกัปตันเรือของตนเองในที่สุด

Joseph Conrad จึงเป็นนักเขียนอังกฤษเชื้อสายโปลิช (a Polish British novelist), เขามีวัยเยาว์กับครอบครัวชาวโปแลนด์ซึ่งได้รับการส่งเสริมการอ่านภาษา Polish และ French อย่างมาก จากพ่อผู้เป็นนักเขียนในแนวการเมือง (จึงถูกทางการจับตัว เป็นเหตุให้ลูกชายต้องย้ายไปอยู่กับลุง ดังกล่าว) ภายหลังได้เข้าทำงานบนเรือของบริษัทเดินเรือพาณิชย์อังกฤษ …แล้วก็เลยได้เรียนภาษาอังกฤษ แบบว่า.... “Crucially for his future career, he "began to learn English from East Coast chaps, each built to last for ever and coloured like a Christmas card." กระทั้งต่อมาเขาได้รับสัญชาติอังกฤษ

จนตอนอายุ 36 ปี (ค.ศ.1894) คอนราดเลิกออกทะเล และตั้งหลักปักฐานในอังกฤษ แล้วเริ่มต้นอาชีพการประพันธ์ รุ่งขึ้นปี ค.ศ.1895 นิยายเกี่ยวกับตะวันออก(เอเชีย)เรื่องแรกชื่อ Almayer's Folly, ตัวละครยุคศตวรรษที่ 19 ท้องเรื่องเดินอยู่ในเขตอ่าวบอร์เนียว (Borneo) ก็ได้รับการตีพิมพ์ ในนามปากกา "Joseph Conrad"; และ/หรือ "Konrad"

ว่ากันรวบ ๆ คอนราด ... “Conrad served a total of sixteen years in the merchant navy” เรื่องเขาเล่าไว้ในบทประพันธ์ต่าง ๆ จึงกล่าวได้ว่าเป็นดอกผลของประสบการณ์สิบหกปีกับงานพานิชนาวี นับตั้งแต่วัยหนุ่มจนถึงวัยกลางคนของตนเอง

ตัวตนคนหนุ่มของ Joseph Conrad ผ่านพระเอก Jim ในหนัง Lord Jim (film 1965) เล่าไว้รวบ ๆ สั้นเพียง 4-5 นาที ดังนั้นถ้าหากเราจะลงลึกไปตามหา บทสนทนาเรื่องวัยหนุ่มของคนเล่าเรื่อง ก็ต้องนี้เลยครับ เรื่องสั้นอันโด่งดังเรื่องหนึ่งของคอนราด ชื่อ "Youth - วัยหนุ่ม"

เราจะนำ "Youth - วัยหนุ่ม" มาเสริมการเล่าเรื่อง “ดูหนัง ฟังกระดูก Lord Jim (film 1965)” ในตอนนี้กันพอเป็นกระสาย

"Youth - วัยหนุ่ม" เริ่มต้นเรื่องเล่า การเดินทางไปสู่ตะวันออก(ทวีปเอเชีย)ครั้งแรกในฐานะรองต้นหนเรือ ของพ่อค้าวานิชยกิจทางทะเลผู้จัดเจน ชายชรานามว่า Marlow เมื่อตอนเขาอายุได้ 22 ปี แล้วชายหนุ่มก็ได้พบความจริงของความฝัน อันเกี่ยวข้องกับ "น้ำ" เมื่อต้องกรำงานหนักบนเรือท่ามกลางท้องทะเลมหาสมุทรอันสุดหยั่งนั้น มันจะขะไหนหนาด ป๊าตติโธ ต่อมนุษย์กระจิริดเรานี้ประมาณใด

เห็นทีเราจะต้องกลับมาว่าเรื่อง ความฝันกับความจริงของคนวัยหนุ่ม กันอีกในคราวหน้าเสียแล้ว (เพราะคนสูงวัยเจ้าของบล็อกผู้เล่าเรื่องซ้อนเรื่องอยู่นี้ เริ่มเหนื่อยแล้ว)

อ้ายเดช และ/หรือ ใครที่สนใจอยากรู้ อยากเล่า อยากสนทนากับตนเองก่อนก็ตามลิงค์ไปอ่าน "Youth - วัยหนุ่ม" สำนวนภาษาไทย อรจิรา โกลากุล แปล, ว. สุพันธ์ บรรณาธิการต้นฉบับ ได้ที่เว็บไซต์ “www.wanakam.com - วรรณกรรม WANAKAM World Classics in Thai” เป็นการบ้านเผื่อได้อะไรมาคุยกัน

ขอบคุณที่ตามมาอ่านเรื่องเล่าของผมครับ
ผมเอง (a_somjai)






A note to folk

* (อ้อ! ขยายหมายเหตุ ....ก๊วนลูกช้างแก่... บอกคนอ่านท่านอื่นสักหน่อยว่า...เราเป็นลูกช้าง.. จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน เรียนคณะเดียวกัน แต่อยู่ต่างสาขาวิชากัน รหัสรุ่น...174xxx แต่สมัยเรียนไม่เคยคบหากันเลย แปลกไหม?)


- การบ้านของเรา ข้อมูลอ้างอิงเพิ่อเติม

//en.wikipedia.org/wiki/Lord_Jim_%281965_film%29

//en.wikipedia.org/wiki/Joseph_Conrad

//en.wikipedia.org/wiki/Youth_%28Conrad_story%29

//www.wanakam.com/title.asp ขอแนะนำคอหนังสือว่า ที่นี่เขามีแปลวรรณกรมระดับโลก(ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้น)ให้อ่านฟรีกัน มากโขทีเดียว




 

Create Date : 03 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2553 8:38:02 น.
Counter : 1153 Pageviews.  

1  2  

a_somjai
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add a_somjai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.