<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 

01/01 : Lord Jim (1965)






from A_somjai
บ้านตำหนักหางดง นครแห่งหนองควาย เชียงใหม่

to "DJ - เดช "
date ตุลาคม 2553/2010
subject ชวนอ่านเรื่อง ดูหนัง ฟังกระดูก


ก็ขอบคูณอีกครั้ง สำหรับ หนังแผ่น Lord Jim (1965), กับ Africanguitar ... (1995)
แล้วก็ตามมาด้วย ชาวนาขะแมร์ - rice people (1994), กับ Doc's guitar ... (1990)
และหวังว่า คงจะมี หนังแผ่นตามมาให้ได้ดูอีก 555

หลังจากได้รับ Lord Jim (1965) สองวัน ก็ได้ดูรอบแรกไปแล้วหละ
จนถึงตอนจบก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า อ้ายเดช ไม่ใช่คนแรกที่บอกผมเรื่องว่ามีบางฉากในหนังเรื่องนี้ เหมือนกับหนังสือ(งานศพล้านนา)ที่ผมเขียนไว้ (ปราสาทนกหัสดีลิงค์)

จำได้คลับคล้ายว่า...ก็ราว ๆ เดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้เอง คนแรกที่บอกผมเรื่องนี้ เขาทำงานอยู่มติชนรายวัน เป็นเขยเชียงรายประมาณนั้น ปัจจุบันเขาอยู่กับครอบครัวที่เชียงใหม่ บ้านเรานี้แหละ แต่เราก็ไม่ได้ใส่ใจอะไร (เพราะฤทธิ์เบียร์กับการสนทนาสัพเพเหระของเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ผองพวก ๆ พัดพาไปไกล)

กลับมา Lord Jim (1965) คือว่า ฉากสุดท้ายเป็นงานศพของลูกชายหัวหน้าชาวพื้นเมืองกับพระเอก- ลอร์ด จิม จะมีขนวนแห่และการตั้งเมรุ ไม้ปราสาทศพ ที่ประกอบขบวนหุ่นด้วยหมาดำ กับ นกอะไรก็ไม่ทราบทำท่าทางกำลังทะยานบินขึ้นนั้น ผมคิดว่าคนสร้างคงสร้างตามความเชื่อแบบอียิบและฝรั่งโบราณละกระมัง เขาไม่ได้ศึกษามาจากหนังสือของผมแน่นอน เพราะ เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นแล้วเมื่อตอน ผมอายุ 11 ขวบเอง (ผมเกิด 1954)


[----------------------------------update: 20-11-2553/2010-----
อ้ายเดชส่งภาพนี้ มาทางอีเมลเพราะโพสต์ลงคอมเมนต์ไม่ได้เนื่องจากไม่ได้เป็นสมาชิกเว็บไซต์พันทิบ อ้ายก็คงดักเอามาจากภาพยนตร์ Lord Jim (1965),




ผมจึงขอบันทึกความรู้เพิ่มเติมจากความเข้าใจของผมเอง ดังนี้

---------------------แจ้งให้ทราป--------------------------------------

****อนุสนธิจากการต้นคว้า UPDATE ข้อมูลสาระความรู้ต่าง ๆ เพิ่มเติม ว่าด้วย "ประเพณีชีวิตวัฒนธรรมงานศพของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ได้ลงลึกและกินขอบเขตกว้างขวางมากพอดู จึงขอยกไปโพสต์ไว้ในหมวด a Note 2 Folk เรื่อง เนื่องกับ ดูหนัง ฟังกระดูก Lord Jim (1965) ว่าด้วย วัฒนธรรมงานศพ

**** ผู้สนใจแท้ ๆ ก็ออกกำลังติดตามค้นหาอ่านกันหน่อยเด้อครับ****

----------------updated: 22-11-2553/2010 เวลา 04:08 AM. --------]






ส่วนข้อมูลที่เขานำมาสร้างฉากและเรื่องการทำศพแบบชาวพุทธในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ลาว-ไท-เขมร-มอญ-มลายู)ยุคเก่านั้น คงเกี่ยวข้องกับ The crew and cast of the film was joined by Cambodian translator Dith Pran, who was a liaison between Cambodians and the filmmakers and stars. Later he left the country after the 1975 Communist takeover and his own imprisonment, which were told in the 1984 film The Killing Fields with Haing S. Ngor as Pran. ไม่มากก็น้อยแหละ!

อ้ายเดช มีแผ่นหนัง ทุ่งสังหาร เปล่า? ส่งมาให้ดูหน่อยเด๊ะ คิดถึงเพลง Imagine ของ John Lennon อะ

อ้อ! ความจริง ในท้องเรื่องของนวนิยาย Lord Jim นั้น บ้านเมืองเผ่าชนสำคัญในท้องเรื่องเป็นชาวมุสลิมในอินโดนีเชีย อีกตะหาก (ค่อยกลับมาว่ากันภายหลัง ---ดู updated ก่อนหน้านี้ ในข้อ 1. บันทึกเพิ่มเติมไว้แล้ว รายละเอียดลองถามหาคำว่า "Patusan", From Wikipedia, the free encyclopedia ดู รับรองว่าได้เรื่องแน่) แต่ในหนังเรื่องนี้ถ่ายทำในเขมร เมื่อดูไปดูมาบางคราจึงเห็นเป็นวิถีชีวิตสังคมแบบชาวไทยใหญ่/ไต/ลื้อ ในประเทศพม่าและจีนตอนใต้บ้าง (คิดว่าข้อมูลอ้างอิงการศึกษาทางวัฒนธรรมของชาวอังกฤษ เกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์ในพม่า ยุคอาณานิคม คงมีมากโข ผู้สร้างก็เลยทำออกมาปน ๆ กับเขมรด้วย แต่ดูแล้วก็สนุกดี)

แล้วผมก็เลยเถิด คิดไปว่าจะเขียนถึง Lord Jim ลง Blog ของผมเลยดีไหม?
ต้นฉบับนี้จึงได้คลอดออกมา (ปั่นตั้งกะ 9 โมงเช้า นี้ก็จะบ่ายโมงแล้ว, แต่ไม่อยากกินข้าวกลางวันแฮะ)

เอาเป็นว่า จะขอเริ่มตั้งต้นความสำคัญของเรื่องนี้ มุ่งไปที่พระเอกตัวจริงคือ Joseph Conrad นักเขียนชาวอังกฤษเจ้าของเรื่องเล่านี้ก็แล้วกัน เพราะในทรรศนะของผมแล้ว Joseph Conrad ตะหาก ที่นำเราเข้าสู่ประเด็นต่าง ๆ ของปัญหา “ปัจเจกมนุษย์และสังคมส่วนรวม” ที่ปรากฏในท้องเรื่องเล่านี้

ตอนแรกผมจะเริ่ม posting ลงไม่เกินต้นเดือนหน้า (อิ อิ อ้ายเดช หาเรื่องให้ผมทำจนได้ แต่ก็ดีกว่าเล่นดนตรีแบบบ้านบ้านอย่างเดียว แหละเนาะ), เอาเป็นว่า รูปร่างเรื่องเล่าบนบล็อก จะออกมาว่ากันคร่าว ๆ เหมือนกลุ่มบล็อกย่อยของ a_somjai ที่เล่าเรื่องลูกสาว (ปี 2550-2551) อ้าย DJ ลองเปิดดูละกัน ผิดกันแต่คราวนี้คนเล่าเรื่องคือเจ้าของบล็อกทำหน้าที่ storyteller เสียเอง

ก็จะพยาม ๆ เล่าไปเรื่อย ๆ ตัดต่อความคิดของตนเองไป ไม่จำกัดแต่เรื่องของ ลอร์ด จิม และโจเซพ คอนราด ดอกนะ, และก็คงไม่เพียงแต่เรื่องหนังภาพยนตร์ เพราะตัวหนังนั้นเกี่ยวข้องกับวงการวรรณกรรม ดนตรี เครื่องแต่งกาย บริบททางสังคมและเทคโนโลยี่ อื่น ๆ อีกด้วย ก็เลยตั้งชื่อ บล็อกย่อยเปิดใหม่นี้ว่า “ดูหนัง ฝ้งกระดูก” เอ่อ... “ดูหนัง ฟังกระดูก” ให้มันรู้แล้วรู้แรดเสียเลย (ใครจะทำไม? อิ อิ)

แล้วเมื่อความบ้าของคนเรากลับฟื้นตื่นคืนชีพมาแล้วละก็ ...คอยดูว่าผมจะพยามยามเล่าติดต่อกัน เป็นรายวัน หรือรายสะดวก 2-3 วัน ได้ก่อ?

คนที่เป็นแฟนเพลง บลูส์แบบบ้านบ้าน ตัวจริง (555) อย่างท่าน DJ ก็ติดตามอ่านเอาตามสะดวกเต๊อะเน้อ ส่วนว่าจะยาวจะสั้นฉันใด ก็ให้คอยดูละกัน


วันนี้ ขอเริ่มบท ออกแขก อย่างนี้

ลอร์ด จิม / Lord Jim เป็นนวนิยาย เขียนโดย โจเซพ คอนราด - Joseph Conrad ต้นฉบับเขียนติดต่อเป็นตอน ๆ ลงในนิตยสาร Blackwood's Magazine ลงตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่าง October 1899 ถึ่ง November 1900. แม้ปีนี้ 2010 แล้วหนังสือนี้ก็แต่งมา 100+ ปีแล้ว แหละเนาะ (ใครสนใจก็ตามไปที่ en.wikipedia.org/wiki/Lord_Jim)



Lord Jim (1965 film) poster


Lord Jim (1965 film) poster ฝากไว้ที่นี้



ดู ๆ หนังเรื่องนี้แล้ว ผมคิดได้อย่างรวบ ๆ ว่า Joseph Conrad เขียนเล่าเรื่องแบบถกปัญหาทางปรัชญาทั้งนั้นแหละ ดังที่ผู้รู้(เรื่องนักเขียนนิยายท่านนี้)สรุปไว้รวม ๆ ว่า “He wrote stories and novels, predominantly with a nautical or seaboard setting, that depict trials of the human spirit by the demands of duty and honour.”

อย่างเรา ๆ ชาวไทย ผู้ห่างไกลนวนิยายคลาสสิกระดับโลก (ด้วยข้อด้อยด้านภาษาปะกิต) ก็ต้องมาว่ากันใหม่ผ่านสายตาและการนำเสนอเรื่องราวในรูปภาพยนตร์ ผ่านงานของ ทีมงานสร้างหนัง Lord Jim (1965) , (โปรดทราบด้วยว่า ก่อนหน้านี้มีคนสร้างเป็นหนังเงียบมาก่อนแล้ว คือ Lord Jim (1925 film) โดย Victor Fleming)

อ้อ... มีฉบับแปลภาษาไทยด้วย (แต่เราไม่เคยอ่านดอกนะ) ลอร์ด จิม / LORD JIM พิมพ์ครั้งที่: 1 (เห็นในเน็ต ตอนนี้ ดูเหมือนว่ามีพิมพ์ซ้ำแล้ว ไม่แน่ใจ?) พิมพ์เมื่อ: เมษายน 2539, 152 หน้า, น้ำหนัก: 360 กรัม กระดาษปอนด์, ปกแข็ง, ผู้เขียน: โจเซฟ คอนราด, แปลโดย: วาสิษฐ บุนนาค, สำนักพิมพ์: สมิต


updated: 2012/07/12





กลับมาว่า Lord Jim (1965) หนังที่กล่าวถึงอยู่นี้ อำนวยการสร้างและกำกับโดย Richard Brooks

Richard Brooks เปิดเรื่องด้วยเสียงคนเล่าเรื่องให้ดำเนินไปว่า …..

Joseph Conrad wrote "If you want to know the age of the Earth, look upon the sea in the storm."

But what storm can fully reveal the heart of the man.


แล้วพายุอันใดเล่า? ที่เปี่ยมพลังถึงขั้นสามารถเปิดเผยก้นบึ้งแห่งความเร้นลับสุดยอดของหัวใจมนุษย์ (ที่เขา และ/หรือคุณ ไม่เคยหยั่งรู้มาก่อน)


(โปรดติดตามอ่าน ฉบับหน้า – 5 55)




สวัสดีมีสุขภาพแข็งแรงเน้ออ้าย DJ เน้อ
A_somjai




 

Create Date : 29 ตุลาคม 2553    
Last Update : 12 กรกฎาคม 2555 2:46:09 น.
Counter : 1627 Pageviews.  

1  2  

a_somjai
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add a_somjai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.