ยินดีต้อนรับสู่ club.bloggang.com
...magazine online โดยหนุ่มสาวชาว =Neo=







คู่มือทำธุรกิจส่วนตัว

เวลาเห็นใครเปิดร้านขายดิบขายดี มีลูกค้าเข้าร้านไม่ขาด
มีลูกค้ารอคิวใช้บริการเพียบ เป็นใครก็อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองแบบนี้บ้าง
แต่ความจริงแล้วก่อนที่คุณจะทำอะไรจริงๆ มันไม่ใช่ภาพฝัน
ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่เห็นเลยนะ
มาดูสิว่ากว่าจะมีธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง
Step 1: ถามตัวเอง...
“แน่ใจนะว่าอยากทำธุรกิจส่วนตัว”
เริ่มต้นด้วยความฝัน มองหาความจริง
และดูความพร้อมของคุณให้ดี
แล้วจะรู้ว่าคุณเหมาะจะทำธุรกิจส่วนตัวแค่ไหน
ความฝันของคุณ...
1.
ที่ที่คุณนั่งทำงานประจำคือ.....ออฟฟิศ / ร้านกาแฟเก๋ / บ้านบรรยากาศสบาย
/  ร้านอาหาร
2. คุณเห็นตัวเองกำลังทำงาน...คนเดียว / ทำงานเป็นทีม /
มีผู้ช่วยส่วนตัว / มีพนักงานล้นหลาม
3.
แรงผลักดันที่ทำให้คุณอยากมาทำงานทุกวันคือ...เงิน / อิสระ / อำนาจ /
การเรียนรู้และความท้าทาย
4.
คุณว่าเวลาที่ทำงานที่ดีที่สุดคือ...9.00-17.00 น. /  8.00-18.00 น. /
7.00-22.00 น./ 10.00-15.00 น. / อื่นๆ ระบุ...
5.
คุณว่าจำนวนวันทำงานที่ดีควรเป็น...เสาร์-อาทิตย์ / จันทร์-ศุกร์ /
อังคาร-พฤหัสบดี  / อื่นๆ
ความจริงของคุณ...






















































 จริงๆ
แล้วคุณเป็นคนแบบไหนกันแน่




B 

1. งานในฝันของคุณเป็นประเภท
ขอแค่มีธุรกิจเล็กๆ ของตัวเองก็พอ
 
ร่วมงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น
 
2. การจัดระเบียบชีวิตของคุณ
ยุ่งแค่ไหนคุณก็จัดการได้
 
ทำอะไรผิดพลาดคลาดเคลื่อนตลอด
 
3. ก่อนจะทำอะไรทุกครั้งคุณ...
 
ศึกษาและวางแผนอย่างรอบคอบ
 
คิดอยากทำอะไรก็ทำเลยทันที
 
4. คุณเป็นคนประเภท
 
ไม่ค่อยอยากมีเรื่องกับใคร
 
อารมณ์ร้อน มีเรื่องก็ลุยทันที
 
5. เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นคุณ
 
ถ้าตัดสินใจแล้วก็มั่นใจทุกครั้
 
ลังเลแล้วลังเลอีก ต้องหาคนช่วย
 
6. คุณกล้าเสี่ยงแค่ไหน
 
ถ้าโอกาสดีเข้ามาก็ขอจะขอเสี่ยงดู
ขอไม่เสี่ยงดีกว่าไม่ว่ากรณีไหน
 
7. คุณชอบทำงานแบบ
ลุยงานเต็มที่ ดึกดื่นก็ไม่บ่น
 
ชอบทำงานรูทีนเป็นเวลามากกว่า  
 
8. ถ้ามีคู่แข่ง
 
รู้สึกท้าทาย อยากทำอะไรให้ดีขึ้น
 
ไม่ชอบแข่งกับใคร ทำงานเรื่อยเปื่อย
 
9. ถ้าคุณต้องเป็นหัวหน้า
 
ดีสิจะได้มีเรื่องให้เรียนรู้อีกมาก 
 
ไม่ดีกว่าเพราะต้องรับผิดชอบมาก
 
10. จะเกิดอะไรขึ้นถ้าสถานะการเงินของคุณไม่แน่นอน  พอจะมีเงินเก็บอยู่  ยังไม่เดือนร้อนมากนัก  รายได้แบบเดือนชนเดือน แย่แน่ๆ
ถ้ารายได้ไม่เหมือนเดิม  
ถ้าคำตอบส่วนใหญ่ของคุณเป็น
A แปลว่าคุณมีคุณสมบัติเข้าข่ายทำธุรกิจส่วนตัวได้ 
แต่ถ้าคำตอบส่วนใหญ่เป็น B
แปลว่าถ้าคุณคิดจะทำธุรกิจส่วนตัวก็เสี่ยงอยู่เหมือนกัน

ความพร้อมของคุณ

1. คุณมีเงินทุนมากแค่ไหน 
ถ้าไม่พอกำลังมองหาลู่ทางเก็บเงินเพิ่มอยู่รึเปล่า

2. คุณมีเวลาให้กับธุรกิจที่จะทำเท่าไหร่

3. คุณมีไอเดียในหัวเรียบร้อย 
และศึกษาธุรกิจที่ทำมาอย่างดีแล้วรึยัง
4. คุณเจอทำเลดีๆ
แล้วรึยัง
5. คุณทำงานคนเดียวหรือมีเพื่อนร่วมทีมด้วย

6. ประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาช่วยในการทำธุรกิจของคุณแค่ไหน

7. คุณทำวิจัยการตลาดรึยัง
คราวนี้หยิบทุกคำตอบของคุณมารวมกัน
แล้วลองดูสิว่าคุณได้อะไรจากการถามตัวเองบ้าง
- ถ้าคุณมีทั้งความฝัน
ความจริง ความพร้อม =
คุณมีคุณสมบัติเข้าข่ายเจ้าของธุรกิจส่วนตัว
- ถ้าคุณมีแค่ความฝัน
ความจริง = คงต้องใช้เวลาเตรียมความพร้อมอีกหน่อย
คุณก็ทำธุรกิจได้
- ถ้าคุณมีแค่ความฝัน = คุณอยากทำธุรกิจจริงๆ
ขอเป็นหุ้นส่วนเล็กๆ
กับเพื่อนแทนจะดีกว่า
 
Step2:
ธุรกิจอะไรที่เหมาะกับคุณที่สุด 

ปัญหาต่อมาหลังจากรู้แล้วว่าคุณต้องทำธุรกิจแน่ก็คือ “แล้วจะทำอะไรดีล่ะ”
ลองดู 3 ธุรกิจนี้เป็นหลักเข้าไว้

1. ธุรกิจที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน  ไม่ซ้ำใครแน่นอน

2. ธุรกิจตามกระแส ช่วงนี้ฮิตอะไรกันก็เปิดตามๆ
กันไป
3. ธุรกิจที่เคยมีแล้ว
แต่ยังมีช่องว่างทางการตลาดเหลืออยู่
10
วิธีเลือกธุรกิจให้เหมาะกับตัวเอง
1. ดูจากงานอดิเรกของคุณ 
ทำแล้วมีความสุขทุกที หรือใครเห็นก็อยากได้ เช่น ภาพวาด เย็บกระเป๋า
ร้อยลูกปัด
2. ดูสิว่าคุณถนัดอะไรมากที่สุดในการทำงานที่ผ่านมา
แล้วดึงข้อดีของคุณมาเป็นจุดแข็งในการทำธุรกิจ เช่น คุณมีไอเดียเก๋เสมอ
ลองเปิดบริษัทออกาไนเซอร์ หรือชอบเจอพูดคุยกับคน
อาจะเปิดบริษัทพีอาร์
3. คุณรู้จักกับคนที่มีความสามารถ เช่น
ไปเจอคนทำขนมสูตรโบราณหายาก ก็ลองชวนเขาทำธุรกิจกับคุณดูสิ 

4. คุณมีโอกาสไปต่างบ้านต่างเมืองบ่อยๆ  เวลาเห็นอะไรดีๆ
ก็ลองติดต่อเข้ามาขายที่เมืองไทยบ้าง
5. คุณคือกูรูที่เพื่อนๆ
ยกให้  เช่น คุณแต่งตัวเก่งและมีคุณแม่เป็นช่างตัดเสื้อฝีมือดี
อาจเปิดร้านเสื้อสไตล์ตัวเอง  

6. คุณมีธุรกิจของครอบครัวเป็นพื้นฐาน
ลองหยิบมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าของคุณได้นะ
7. คุณเห็นอะไรบางอย่างขาดอยู่
เช่น คอนโดแถวบ้านคุณยังขาดร้านซักแห้ง  และใครๆ ก็บ่นว่าอยากให้มี

8. คุณเพิ่งได้ทำเลดีมาจากเพื่อนสนิท  ลองดูสิว่าคนละแวก
นั้นชอบอะไร ยังขาดอะไรอยู่บ้างมั้ย
9. ดูจากความชอบส่วนตัว เช่น
คุณชอบอยู่กับธรรมชาติ  อาจเปิดร้านต้นไม้ สัตว์เลี้ยง
จะได้มีความสุข
10. ดูว่าใครคือลูกค้าของคุณ  เช่นวัยรุ่น
ก็ลองดูว่าวัยรุ่นต้องการอะไร แล้วผสมกับความชอบของคุณเข้าไป

 
Step3: ในโลกธุรกิจยังมีอะไรอีกที่คุณต้องรู้

นอกจากความชอบ ความฝันแล้ว
ในโลกธุรกิจยังมีอีกหลายเรื่องที่คุณต้องรู้ 
ถึงแม้จะไม่ถนัดเลยก็ตาม
นักกฎหมาย :
จะเป็นที่ปรึกษาให้คุณได้ทั้งในเรื่องของจดทะเบียนบริษัท 
การจดลิขสิทธิ์  เช่น ถ้าคุณได้ทำเลดี
ก่อนเซ็นลองให้นักกฎหมายตรวจสอบสัญญาให้ดีก่อน
ไม่งั้นคุณอาจเสียเปรียบได้ง่ายๆ
นักบัญชี: ช่วยคุณเรื่องการเงิน
ทั้งการทำบัญชี การเสียภาษีประจำปี การคืนภาษี
ธนาคาร:
ไว้สำหรับปรึกษาเมื่อคุณคิดจะกู้เงินเพิ่ม รวมทั้งการเปิดบัญชีต่างๆ
สำหรับทำธุรกิจต่างๆ ด้วย
นักวางแผนการตลาด:
เมื่อคุณมีไอเดียแต่ไม่รู้ว่าจะทำยังไงถึงจะให้สินค้าหรือบริการของคุณอยู่รอด

ฝ่ายคอมพิวเตอร์: กรณีที่คุณต้องการพึ่งเทคโนโลยีนการทำงาน เช่น ระบบแลน
อินเต อร์เน็ต อีเมล์บริษัท
สถาปนิกและอินทีเรีย:
ช่วยคุณตรวจสอบโครงสร้างตึก ระบบไฟ
ระบบน้ำที่เพียงพอกับความต้องการในออฟฟิศของคุณ
ส่วนอินทีเรียจะช่วยคุณจัดการเรื่องการตกแต่งภายในตึก

นอกจากนี้คงต้องดูว่าธุรกิจของคุณเกี่ยวข้องเกี่ยวหน่วยงานไหนเป็นพิเศษ
เช่น ถ้าคุณต้องการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
ลองหาข้อมูลจากกรมศุลกากรเกี่ยวกับภาษีการนำเข้าก่อน
จะได้รู้ว่าเมื่อรวมภาษีแล้วคุ้มราคารึเปล่า
ค่าใช้จ่ายที่คุณต้องรู้
1. เงินลงทุนก้อนแรก
ส่วนใหญ่จะหมดไปกับค่าตกแต่งสถานที่ ค่าเช่าหรือเซ้งสถานที่ ค่าเซ็ทอัพระบบ
อย่าง ค่าหมายเลขโทรศัพท์, ระบบไฟ แอร์ คอมพิวเตอร์ 
มีค่าใช้จ่ายด้านการตลาด เช่นการโฆษณา การทำพีอาร์ โปรโมชั่นแจกแถม
ค่าจ้างที่ปรึกษาเฉพาะด้าน ค่าเปิดบริษัท ค่าสินทรัพย์ในออฟฟิศ เช่น โต๊ะ
เก้าอี้ ค่าอุปกรณ์พิเศษ เช่น เครื่องบดกาแฟ  ค่าภาษี

2. เงินลงทุนหมุนเวียนสำหรับทุกเดือน 
ส่วนใหญ่จะเป็นเงินเดือนของคุณ ค่าใช้จ่ายของพนักงาน
เงินหมุนเวียนสำหรับผลิตสินค้าเพิ่ม ค่าเช่าร้าน ค่าขนส่ง ค่าที่ปรึกษา
ดอกเบี้ยเงินกู้
Step4:
ทำงานคนเดียวหรือหาเพื่อนร่วมทีมดีล่ะ?

ถ้าทำคนเดียวคุณก็ต้องคิดเองทุกอย่าง แต่ก็คล่องตัวดี
ทุกอย่างตัดสินใจเองหมด แต่ถ้าคิดจะมีเพื่อนทำด้วยล่ะก็ แนะนำ

1. ถ้าอยากทำธุรกิจกับเพื่อน 
ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกคนที่เคยร่วมงานกันมาก่อน
จะได้เห็นการทำงานที่ผ่านมา
2. เป็นเพื่อนที่มีเป้าหมายในการทำธุรกิจเหมือนกัน
เช่น
สนใจกับความสนุกในการมากกว่าตัวเลขของรายได้
3. ต้องแยกแยะเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกันได้
ไม่อย่างนั้นจะทำให้ธุรกิจของคุณไปไม่รอดแน่
4. มีความรับผิดชอบสูง 
เพราะธุรกิจส่วนตัวไม่มีกฎเกณฑ์อะไรมาบังคับ
นอกจากคุณต้องคอยบังคับตัวเอง
“ถ้าเลือกได้ขอทำงานคนเดียวดีกว่า”
นิว,
26 ปี ฟรีแลนซ์
พอดีเพื่อนนิวกำลังจะเปิดบริษัทออกาไนเซอร์ 
เขาก็ชวนเราไปทำตำแหน่งครีเอทีฟซึ่งเป็นงานที่เราถนัด
รู้สึกว่างานนี้ต้องเวิร์คแน่ๆ เลย  เราก็ทุ่มเทเต็มที่
ทำทุกอย่างตั้งแต่สัญญาเช่าสำนักงาน จ้างคนเซ็ทระบบคอมพิวเตอร์ ระบบไฟ
ซื้อโต๊ะทำงาน ทำงานวันแรกรู้สึกภูมิใจมากๆ  แรกๆ
ก็ทำใจสบายใจดีแต่พอหลังๆ
เริ่มรู้สึกว่าเค้าเห็นเงินสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่ง 
ส่วนเราอยากทำงานให้สนุกและออกมาดีที่สุด 
ทำให้เราเริ่มไม่พอใจกันและกัน
ผ่านไปปีกว่าเรื่องเงินก็ทำให้เราลาออกและเลิกคบเพื่อคนนี้ไปด้วย 
แล้วก็ออกมาทำงานฟรีแลนซ์คนเดียว
มีความสุขมากกว่าเยอะ”    
Tips
ทำงานคนเดียว

1. ต้องเป็นคนตรงต่อเวลา  ทั้งเดทไลน์
เวลานัดหมาย เวลาทำงาน
2. ต้องมุ่งมั่นตั้งใจ
อย่าทำงานแบบสบายเกินไป ต้องรับผิดชอบงานให้มาก

3. เมื่องานลงตัวแล้วค่อยหาคนมาทำงานแทนในตำแหน่งที่คุณควบคุมได้
4. มองโลกด้วยหลักเหตุและผล 
บางครั้งก็ต้องมองโลกแง่ร้ายบ้าง เช่น นึกถึงปัญหาแล้วหาทางแก้ไว้ก่อน

5. ถ้าดูท่าทางไม่ดี อย่ายื้อต่อไป
คนเดียวถอนตัวง่ายกว่า
“ทำงานกับเพื่อนเวิร์คกว่าเยอะ”
“เอ็นเป็นเพื่อนกับโรสมาตั้งแต่มหาวิทยาลัยแล้ว 
ทำงานกลุ่มด้วยกันก็บ่อย ตอนทำงานเดี่ยวเราก็ช่วยกันตลอด
ตอนเรียนจบก็ทำงานที่เดียวกัน ทำไปได้ 2 ปีก็รู้สึกว่าอยากเปิดร้านของตัวเอง
มาลงตัวที่ร้านเสื้อยืดทำเองเพราะเราสองคนชอบประดิษฐ์อยู่แล้ว 
เวลาเจออะไรเก๋ๆ ก็จะหยิบมาติดโน่นติดนี่ตลอด  แล้วก็เริ่มไปดูทำเลกัน
แต่มันแพง เราก็เลยไปลองขายที่ตลาดนัดดูก่อน ลงทุนไม่ต้องสูงมาก 
ก็ค่อยๆ ดูไป  วันไหนติดธุระก็ผลัดกันไปขาย
ถึงเงินมันจะไม่ได้มากมายอะไร แต่เราก็รู้สึกว่าสนุกดี
แล้วก็เก็บไว้เป็นทุนเปิดร้านวันข้างหน้า
แล้วก็มาคิดว่าดีนะที่มีเพื่อนช่วยกัน ไม่งั้นคงเลิกทำไปแล้ว
อีกอย่างเราคุยกันรู้เรื่อง คิดอะไรเหมือนกัน ทำงานด้วยแล้วสบายใจ” 


Tips
ทำงานกับเพื่อน
1. เปิดใจคุยกันให้เคลียร์ ชอบ ไม่ชอบอะไร
ต่อให้เรื่องเล็กแค่ไหนก็ต้องบอก จะได้ไม่มีเรื่องคาใจระหว่างกัน

2. อย่ามัวเกรงใจกัน เวลาประชุมเถียงกันได้เต็มด้วยเหตุผล 
ออกมาจากห้องทำงานแล้วยังเป็นเพื่อนเหมือนเดิม
3. ต้องเข้าใจว่า
ทุกคนในทีมย่อมมองหาสิ่งที่ดีที่สุดอยู่ 
4. กำหนดระยะเวลา
และทำให้ได้อย่างจริงจัง
5. คอยให้กำลังใจกันอยู่เสมอ 

6. เมื่อมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบแล้ว 
ต้องไว้ใจซึ่งกันและกัน
Step5: วางแผนธุรกิจในฝัน (จริงๆ
จังๆ)
การวางแผนเป็นเรื่องสำคัญมาก 
มันก็เหมือนคู่มือที่ทำให้เรารู้ว่าทิศทางการทำธุรกิจของเราจะเป็นไปในทางไหน 
ถ้าไม่มีเลยก็เหมือนคนเดินสะเปะสะปะ  ไปโน่นมานี่แบบไร้จุดหมาย
อาจจะถึงเส้นชัยได้แต่ก็ช้ากว่าคนอื่นไม่รู้กี่เท่า
วางแผนธุรกิจ
(Business Plan) ต้องมีอะไรบ้าง?
- ข้อสรุป 
มีตั้งแต่จุดประสงค์  ทิศทางของบริษัท นโยบายของบริษัท เช่น
หัวใจสำคัญอยู่ที่การบริการ วันที่เริ่มก่อตั้ง ผู้ร่วมทุน จำนวนพนักงาน
สถานที่ตั้ง จุดเด่นของสินค้าหรือบริการ ผู้ร่วมทุน เช่นบริษัทต่างชาติ
หรือผู้ลงทุนรายย่อย
- การวิเคราะห์การตลาด  ดูภาพรวมของธุรกิจ
กลุ่มเป้าหมาย  วิเคราะห์คู่แข่ง 
- ประเภทของบริษัท
อธิบายธุรกิจของคุณ และจุดแข็งที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ  เช่น
ทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญมากว่า 20 ปี เครื่องไม้เครื่องมือทันสมัย 
ได้รับการฝึกอบรบอย่างจริงจัง
- โครงสร้างบริษัท 
ดูว่ามีตำแหน่งอะไรบ้าง ใครคือผู้บริหารสูงสุด
ความรับผิดชอบของแต่ละคน
- กล ยุทธ์ด้านการตลาดและการขาย 
เป็นวิธีการที่จะทำให้คุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
และเป็นไปตามระบบ  ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่าย
หรือเพิ่มยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด คุณจะใช้กลยุทธ์อะไรบ้าง
และแต่ละกลยุทธ์ช่วยส่งเสริมยอดขายยังไง
- โปรดักส์ไลน์สำหรับสินค้าหรือบริการ
ดูว่าคุณจะมีสินค้าหรือบริการมากน้อยแค่ไหน กำลังผลิตเพียงพอรึเปล่า
ความทั้งระยะเวลาในการผลิต
และการออกสินค้าใหม่ในแต่ละช่วงเวลาด้วย 
- เงินทุนเพิ่มเติม
ในกรณีที่คุณกำลังมองหาผู้ร่วมทุน  นี่จะเป็นภาพคร่าวๆ
ให้เห็นว่าใครที่คุณอยากร่วมงานด้วย 
และจะทำอย่างไรเขาเหล่านั้นถึงจะสนใจร่วมทุนกับคุณ
- ระบบการเงิน
เป็นการวางแผนการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ช่วงปีแรกของการลงทุน
การเงินภายใน 3 ปี  บวกลบคูณหารกับรายได้ที่คุณคาดว่าจะได้รับ
รายจ่ายแต่ละเดือน เงินสดที่ต้องใช้
Step6:
ธุรกิจในฝันอยู่แค่เอื้อม
เรามีตัวอย่าง 4
ธุรกิจฝีมือคนไทยที่กำลังก้าวหน้าเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ
เรียกว่าประสบความสำเร็จในจุดหนึ่งแล้ว  และอีก 2 ธุรกิจมือใหม่เอี่ยม
พวกเธอจะมาเล่าให้ฟังว่า ก่อนจะมาเป็นธุรกิจอย่างที่ฝัน
ต้องฝ่าฟันอะไรมาบ้าง  
Only Sugar
Profile
- เริ่มต้นจาก 3 คน
แบ่งหน้าที่ชัดเจนและไม่ก้าวก่าย
ตอนนี้มีพนักงานหลายสิบคน
- คอนเซปต์สีชมพูทั้งร้าน
- เงินทุนเริ่มต้น...หลักแสนบาท
- เปิดมาแล้ว
3 ปีเต็ม มีร้านที่จตุจักร เคาน์เตอร์ที่เอ็มโพเรียม สยามพารากอน
ช้อปใหญ่ที่เกษรพลาซ่า เซ็นทรัลเวิร์ล

Only Sugar
ร้านขายของเก๋ๆ สีชมพู 
ผุสดี อัคคชาติกุล (แหม่ม)
หนึ่งในสามของหุ้นส่วนร้าน
เริ่มต้นจาก...ทำเลดี
แหม่มมีร้านตกแต่งบ้านที่จตุจักรมาเป็น
10 ปี พอได้ทำเลใหม่ที่ดี ทุกอย่างก็เลยเกิดขึ้น “เสียดายพื้นด้วย
แล้วช่วงนั้นธุรกิจก็เงียบๆ เลยคุยกับคุณไก่ (ผู้ร่วมหุ้น)
เค้าก็คิดคอนเซปต์เป็นร้านสีชมพู เพราะเราทั้งคู่ก็ชอบสีนี้
เพื่อนก็ท้วงว่ากล้ามากแต่เราคิดว่ามันเป็นธุรกิจที่สองของทั้งคู่
เลยทำแบบไม่คิดมาก อยากสนุก เรื่องเงินมาเป็นที่สอง
แล้วยังไม่มีร้านแบบนี้เปิดที่ไหน ก็รู้สึกท้าทาย ยิ่งมีทีมเวิร์ค 3 คน
คุณไก่คิดคอนเซปต์ คุณกฤตเตรียมงานให้สมบูรณ์ เราดูเรื่องบุคคลกับการเงิน
คือแบ่งหน้าที่ชัดเจน ทีมเรารักกัน
มันเป็นพลังให้ทุกคนอยู่กันเหมือนครอบครัวเดียวกันหมด”
เรียนผิดเรียนถูกด้วยตัวเอง
ถึงเตรียมตัวดีแค่ไหนก็ยังพลาดได้“แรกๆ
60-70 เปอร์เซนต์เป็นของทำเอง ที่เหลืออิมพอร์ต
ต้องเดินทางหาของต่างประเทศกัน 3 คน 
บางชิ้นเราสามคนมองว่าใช่ร้อยเปอร์เซนต์  สั่งออร์เดอร์ไว้แล้ว
แต่ขายไม่ได้เลยก็มี  เราก็ต้องปรับรูปแบบใหม่ 
ก็เอาตัวรอดผ่านไปด้วยดี  อย่างพอขาดคนเราก็หาเพิ่ม 
หรือบางสาขาก็มีเพื่อนๆ ต่างชาติสนใจ 
พอเราแพลนเสร็จเค้าก็ยกให้เราทำ  มีห้างฯ
เข้ามาติดต่อให้เราไปลงสินค้า 
ก็ถือว่าเราค่อนข้างโชคดี”
เน้นคุณภาพมาก่อน
ผ่านไป 3
ปีแล้วร้านนี้ยังขายดีไม่หยุด  “ฟังดูเหมือนทำง่าย
แต่เวลาคิดโปรดักส์แต่ละชิ้น เวลาเดินทางไม่ง่ายเลย
สินค้าบางชิ้นทิ้งไปเป็นล็อตก็มี
ต้องจ่ายเพิ่มเราก็ยอมเพราะอยากให้ของออกมาสวย เดินทางกัน 3-4 วันเข่าจะหลุด
แทบไม่ได้ของกลับมาก็มี คือทุกชิ้นเราเลือกมาอย่างดีแล้ว”
ถึงตอนนี้ธุรกิจจะโตขึ้นมากแต่เธอบอกว่าจะหยุดขยายร้านแล้ว
“เราจะทำให้ทุกร้านแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น  ช่วยกันดูลุคดูเทรนด์ของร้าน
ช่วยกันเติมของ 
เพราะทุกอย่างก็เริ่มลงตัว”
อยากทำธุรกิจแบบนี้
1. ใจพร้อมต้องมาก่อน
แล้วค่อยดูความพร้อมด้านเงินทุน และควรเริ่มต้นจากเล็กๆ
ไปก่อน
2. เลือกทำเลที่ดี
ถึงค่าเช่าจะแพงหน่อยแต่ถ้าได้ทำเลดีก็ยอม
3. ต้องใช้พรสวรรค์ในการเลือกสินค้าด้วย

4. สายป่านต้องยาว
เพราะยิ่งมีของขายมากก็ยิ่งต้องมีสต๊อกเยอะมาก 

5. มีเพื่อนร่วมหุ้นจะช่วยเติมมุมมองที่คิดไม่ถึง แต่อย่ามากเกินไป
จะทำให้สรุปงานยาก 
6. ถ้ามีปัญหาอย่าแก้คนเดียว
ต้องช่วยกันระดมความคิด อย่าคิดว่าเป็นปัญหาของตัวเอง
Sabai-arom
Profile
- เริ่มต้นแค่ 2 คน ตอนนี้มีพนักงานรวม 10
คน
- คอนเซปต์คือ
ขายความเป็นไทย
- เงินทุนเริ่มต้น...สองล้าน
- ธุรกิจเติบโตมาแล้วกว่า
2 ปี มีเคาน์เตอร์ในร้าน Boots และส่งออกกว่า 10
ประเทศแล้ว
Sabai-arom บิวตี้โปรดักส์ไทยแท้
ศศธรณ์ ณ
สงขลา (โหน่ง) และ วันทนีย์ ภาสุรกุล (ปู)
สองสาวผู้ก่อตั้ง
เริ่มต้นจาก...อยากทำงานอิสระ
โหน่งกับปูทำงานการตลาดมาก่อน
แต่เพราะความอิสระทำให้ทั้งคู่คิดอยากทำธุรกิจของตัวเอง
สุดท้ายทั้งคู่ก็มาลงตัวที่ผลิตภัณฑ์บิวตี้ไทยแท้ “เราชอบอะไรไทยๆ
แล้วเพื่อนโหน่งก็ชอบสมุนไพร เลยได้ไอเดียโอท้อปอินเตอร์
จะใช้ส่วนผสมที่เป็นธรรมชาติที่สุด” ทั้งที่ทำงานมานาน
แต่พอมาทำธุรกิจจริงแทบไม่รู้อะไรเลย  “จริงๆ เรารู้แค่ 5 เปอร์เซ็นต์
ที่เหลือต้องเรียนรู้ใหม่ มีเรื่อง สต๊อก โรงงาน จัดซื้อ ฯลฯ
แล้วทุกอย่างสำคัญเท่ากัน ก็ต้องเรียนรู้ ปรับตัวตลอด ตอนทำใหม่ๆ
ก็เครียดเรื่องเงินหมุนเวียนอีก”


ถึงเวลาต้องเสี่ยงก็ยอม
ทั้งคู่ตั้งเป้าไปที่การส่งออก
เลยต้องไปออกงานแฟร์บ่อยๆ 
“เราไม่มีวันรู้เลยว่าจะได้เงินจากงานแฟร์นี้เท่าไหร่ 
ทุกอย่างต้องคาดเดา ต้องใช้หลายทักษะ เรียนรู้เร็ว มีแต่ใจอย่างเดียวไม่ได้
ต้องรู้ความต้องการในตลาด เปิดตัวที่งานบิค 60 ชิ้น
เวลาทำจริงทิ้งไปครึ่งเลย  แพ็คเก็จกิ้งไม่ได้ ส่วนผสมไม่เวิร์ค 
ใช้เวลา 6 เดือนกว่าจะส่งออกได้จริง แรกๆ ก็ฝันหวานเพราะแจกนามบัตรไปเยอะ
แต่ตอนนี้เรียนรู้แล้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่เราจะขาย”  


เป้าหมายอยู่ที่...ดีกว่าเดิม
ทุกอย่างต้องใช้เวลา
“ตอนนั้นไม่ได้หวังตัวเลข  แต่โชคดีว่ามันโตขึ้นทุกเดือน
ตอนนี้ก็น่าจะคุ้มทุนแล้วนะ แต่ทำงานมา 2 ปียังไม่ได้ปันผลเลย
ทุนก็ยังอยู่ในนั้น แต่ตอนนี้มันเป็นต้นไม้ที่มีรากแล้ว
แต่จะแผ่กิ่งก้านสาขาได้แค่ไหนก็ยังต้องดูต่อไป” 
ธุรกิจส่วนตัวไม่ได้ทำให้ทั้งคู่ได้เงินมากกว่าเดิม แต่ก็สุขใจ
“เราใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง  ยังอยากทำงานทุกวัน เครียดน้อยลง
สบายใจมากขึ้น แล้วจุดมุ่งหมายของเราขอแค่ปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว
มีคนชอบสินค้าก็ดีใจแล้ว ใหม่ๆ คิดว่าต้องรวย
แต่ทุกวันนี้ขอแค่ให้ทุกคนในองค์กรมีความสุขก็พอ” 

อยากทำธุรกิจแบบนี้
1. ตอบคำถามตัวเองดีๆ
ว่าพร้อมที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตจริงๆ รึเปล่า รายได้ไม่แน่นอน องค์กรเล็ก
ไม่มีเจ้านายช่วย
2. ไม่ใช่แค่ตามเทรนด์อย่างเดียว 
ต้องรักและเงินทุนพร้อมด้วย (ทั้งเงินลงทุนเริ่มต้น
เงินทุนหมุนเวียน)
3. ต้องเข้าใจปัจจัยที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจ
พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ รู้จักยืดหยุ่นและพร้อมแก้ไขเมื่อผิดพลาด

4. ทีมงานคู่คิดเป็นสิ่งที่สำคัญ หุ้นส่วนก็เหมือนคู่แต่งงาน
ต้องเข้าใจกันมากๆ และต้องมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน
5. ต้องมองโลกแง่ดี
เชื่อมั่นศรัทธา จริงใจในธุรกิจที่ทำ

6. จำไว้ว่าความสำเร็จไม่ได้วัดกันที่เงินอย่างเดียว 

Profile
- เริ่มต้นจากคน 3 คน
ตอนนี้มีทีมบริหาร 12 คน พนักงานขายอีก 20 กว่าคน
- คอนเซปต์คือ
ชุดชั้นในเจ้าแรกที่มีคาแรกเตอร์  
- เงินทุนเริ่มต้น..แสนต้นๆ 
- มีขายในฮ่องกง
ไต้หวัน เกาหลี
รวมทั้งเว็บไซต์และได้เดินในแฟชั่นโชว์บางกอกแฟชั่นวีคปีนี้ด้วย
ชุดชั้นในแฟชั่น

จัญจุดา ธนาลงกรณ์ (เปิ้ล) และ ภาสิรี โชคชัยวรรัตน์
(นิด) 
สองในสามของทีมบริหาร

เริ่มต้นจาก...มีธุรกิจส่งออกชุดชั้นในมาก่อนแล้ว
เปิ้ลทำธุรกิจส่งออกชุดชั้นในมาก่อน
เวลามีแบบเก๋ๆ ก็ฝากเพื่อนจนทุกคนถามว่าทำไมไม่มีแบบนี้ในเมืองไทยบ้าง
“สองในสามทำงานวงการชุดชั้นใน มันก็เลยเป็นลู่ทางที่เป็นไปได้ที่สุด
ก็มาลงตัวที่ 3 คน เราคุยภาษาเดียวกันและทำงานกันมานาน 
ก็แบ่งหน้าที่ตามความชอบของแต่ละคน แล้วก็มองหาช่องว่างการตลาด วางแผนธุรกิจ
ไปดูแนวโน้มจัดร้านที่ฝรั่งเศส 
ก็มาได้เป็นคอนเซปต์ชุดชั้นในตามคาแรกเตอร์ของผู้หญิง 4 แบบ
ที่สะท้อนความเป็นตัวเอง”   

ศึกษาอย่างดีเพื่อให้พลาดน้อยที่สุด
ทุกคนต้องศึกษาอย่างหนักเพราะธุรกิจนี้ยังไม่เคยมีมาก่อน
“เราทำวิจัยการตลาด ดูจากพื้นที่ร้านน่าจะขาย 20 แบบ ก็ให้ดีไซเนอร์ออกแบบ
บางทีวาดมา 50 เลือกแค่หนึ่งก็มี เพราะต้องสวย ดูวัตถุดิบว่าผลิตได้
และเข้ากับสรีระของคนไทย  ซึ่งเป็นขั้นตอนที่พิถีพิถันมาก
จะเชิญสมาชิกมา  2-3 ครั้งก่อนจะวางขายจริง แรกๆ ทำแบบละ 50 ตัว
เพราะไม่รู้ว่าขายได้รึเปล่า บางชิ้นเป็นแฟชั่นที่เร็วเกินไป
อย่างกางเกงในเอวต่ำ ผ่านไป 6 เดือนถึงจะขายได้ก็มี”    

คิดว่าทุกคนคือเจ้าของบริษัท
ถึงจะดูว่าเสี่ยง
แต่เพราะความรักทำให้ทุกผ่านไปได้
“นโยบายของเราก็คือทุกคนเป็นเจ้าของบริษัทนี้  เราทำงานกันเต็มที่ กลับ
4-5 ทุ่มทุกวัน 5 โมงเย็นเพิ่งกินข้าวกลางวัน แต่ก็มีความสุข
ถามว่ากลัวล้มเหลวมั้ยก็คงกลัว แต่มันเป็นของเราเองทำแล้วมีความสุข  3
ปีแล้วทุกคนยังสนุก สำคัญอยู่ตรงที่เราต้องพูดคุยและทำความเข้าใจกัน
อะไรรับได้ไม่ได้ก็บอก ธุรกิจตัวเองก็เหมือนกับคนรัก
เราไม่พร้อมเห็นคนรักล้มป่วยต่อหน้า เราก็ต้องทำทุกอย่างให้ออกมาดีที่สุด”

อยากทำธุรกิจแบบนี้
1. เริ่มต้นธุรกิจจากสิ่งที่ถนัดที่สุด
ดูกำลังเงิน สมอง และทีมว่าพร้อมมั้ย 
แล้วเขียนสิ่งที่ฝันให้ออกมาเป็นจริง
2. วางแผนและทำวิจัยอย่างดี
ใส่ใจทุกขั้นตอนเพื่อให้คุณภาพของสินค้าออกมาดีที่สุด

3. โลเคชั่นร้านก็สำคัญ
เพราะจะเป็นตัวบอกกลุ่มลูกค้า
4. ถ้าเป็นธุรกิจที่ตามเทรนด์
การวางแผนธุรกิจปีที่แล้วอาจไม่เหมือนปี้นี้

5. ทีมงานต้องคุยภาษาเดียวกัน รักและทุ่มเทให้งานเท่าๆ กัน

6. ทุกอย่างต้องใช้เวลา อย่าหวังผลวันเดียว
และอย่าหยุดนิ่งเมื่อประสบความสำเร็จแล้ว
DVN
Profile

- เริ่มต้นจาก 5-6 คน ถึงตอนนี้มีพนักงาน 100
กว่าคนแล้ว
- คอนเซปต์คือ...เป็นสปาที่ถูกต้องตามมาตรฐาน 
- เงินทุนเริ่มต้น..หลักล้านบาท
- ผ่านมา
3 ปี เปิดสปามาแล้ว 4 สาขา เริ่มขายผลิตภัณฑ์สปา
และกำลังจากขยายไปสู่ต่างประเทศ
dvn International
สปาที่ใส่ใจถึงที่สุด

กฤษณา เรืองศรี (แอนนา) และลักษณ์สุรีย์
เดชฤกษ์ปาน (อ้อ)
สองในหกทีมผู้บริหาร
เริ่มจาก...ถนัดงานบริการกันมาก่อน
แอนนาเคยเปิดร้านนวดให้คนต่างชาติมาก่อน
1 ปี ทดลองสปามาแล้วทั่วโลก เธอเลยมองหาธุรกิจที่โตขึ้น “เราทำงานที่สวิสแอร์
ก็มีกลุ่มเพื่อนที่รู้จักเป็นสิบปี
ที่นี่ก็เลยเป็นเวทีให้เราเรียนรู้กันค่อนข้างเยอะ
ก่อนทำธุรกิจเราก็ดูกันมานาน จนวันนึงก็คุยกันทุกคน เริ่มจาก 4
คนที่ถนัดคนละอย่าง บอกว่าต้องทำงานหนักนะ แต่ทุกคนก็ยินดี แรกๆ
ก็ปรับตัวคุยกันเรื่องเนื้องานมากขึ้น ทะเลาะกันก็เยอะ
แต่ร้อยเปอร์เซนต์ทุกคนไฟท์เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด
คอนเซปต์เราต้องการประกาศว่าสปาของแท้มีอยู่จริง หลังจากนั้นก็ดูสตางค์
แล้วทุกอย่างก็ค่อยๆ โตขึ้นตามกำลัง  ค่อยๆ ปรับตัวไปด้วย” 

ใช้เวลาศึกษาปีกว่าถึงจะเปิดจริ

ทีมนี้ใช้เวลาศึกษากันแบบจริงจังมาก
“ทุกคนก็ทำการบ้านของตัวเอง 
ใช้เวลาเป็นปีกว่าจะเปิดเพราะเราต้องการเป็นอินเตอร์เนชั่นแนล
กว่าจะเปิดทั้งท้อ ทั้งทะเลาะ ก็ต้องช่วยกันให้กำลังใจ 
แล้วเราก็ช่วยกันทุกอย่าง เพราะเชื่อว่าเราจะสนุกและมีความสุขกับมัน 
การเปิดสปาแต่ละสาขาก็เหมือนงานศิลปะ ไม่ใช่แค่มีตังค์อย่างเดียว 
แต่ทุกที่เรามีความรักใส่ลงไปด้วย 
วันแรกที่เปิดก็แรกตารางบินกันสุดเหวี่ยง มีขรุขระเล็กน้อย
ถึงตอนนี้ก็ยังไม่คิดว่าจะมีวันไหนที่ลงตัว”   

ทุกอย่างต้องชัดเจน
สำคัญที่เป้าหมายเดียวกัน
“เป็นธุรกิจที่รักเหมือนลูก ถ้าไม่เกิดจากความรักคงไม่ก้าวมาถึงตอนนี้
แล้วเวลาทำงานต้องแฟร์  คุยกันตรงๆ ทำงานแบบโปร่งใส
ทุกคนรู้ฐานะการเงินเสมอ เรามีผู้เชี่ยวชาญดูแลเรื่องนี้ให้
แล้วก็วางแผนอย่างดี มีแผน 5 ปี กับปีต่อปี ดูปัจจัยแวดล้อมประกอบ”
หลังเปิดได้ 1 ปีเกือบทั้งทีมก็ลาออกจากงานประจำ “ลูกค้าเพิ่มเป็นวันละ 50-60
คน เลยคุยกับทีมว่า กรุณาลาออก กรุณามีความเสี่ยงร่วมกัน
(หัวเราะ)”ยกเว้นแต่อ้อที่ยังเป็นแอร์ฯ อยู่
แต่เธอก็จะมีข้อมูลและคอนเนคชั่นดีๆ มาอัพเดทเสมอ 
ตอนนี้ทุกอย่างกำลังไปได้สวย เปิดสปามาแล้ว 4
ที่และเพิ่งวางขายผลิตภัณฑ์ที่ขอบอกว่าต้องผ่านวิจัยจากลูกค้ากว่าหนึ่งแสนราย
ด้วยเหตุผลเดียวเพื่อความพอใจลูกค้าเป็นหลัก

อยากทำธุรกิจแบบนี้
1. สปาเป็นงานละเอียดอ่อน
ต้องใส่ใจมากโดยเฉพาะความต้องการของลูกค้า
และทีมงานต้องรักงานบริการ
2. การวางแผนอย่างดี 
จะทำให้ธุรกิจปลอดภัยและมั่นคงขึ้น 
โดยเฉพาะการเตรียมแผนสำหรับเหตุการณ์แย่ๆ

3. เวลาทำงานอาจทะเลาะกันแต่ต้องด้วยเหตุผล
นอกเวลางานยังเป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม

4. เริ่มต้นต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง
แล้วจะรู้ว่าลูกค้าชอบไม่ชอบอะไร
5. ทุกคนคือสมาชิกในครอบครัว

6. อย่าเหลิง
ต้องพัฒนาตัวเองไม่หยุด
7. สนใจธุรกิจไหนลองเป็นลูกน้องเขาสั่งสมประสบการณ์ไปก่อน
ร้านของแฮนด์เมด
เปิดได้ 6 เดือน

ก้อย...สกาวรัตน์ พุกลมทวน  30 ปี ร้าน
She’ll by Koy ยูเนี่ยน มอลล์

ก้อยเคยเป็นกราฟฟิคดีไซเนอร์บริษัทเอเจนซี่มาก่อน
ตอนยุคฟองสบู่แตกก็เลยออกมารับงานฟรีแลนซ์ ว่างๆ ก็ทำของแฮนด์เมดไปขายบ้าง
พอได้ทำเลที่เพิ่งเปิดใหม่ คิดว่าโอกาสมาไม่บ่อย เจ็บตัวก็คงไม่เท่าไหร่
เลยลองทำดู 
เริ่มต้น: เราเรียนศิลปะมาก็ชอบวาดรูป
แต่จะมานั่งวาดไม่ได้เราไม่ใช่ศิลปิน ก็เลยดัดแปลงเป็นของที่ใช้งานได้ 
ภาพวาดติดช็อตโน้ต  แขนวนพวงกุญแจ ต่างหู เข็มกลัด ทำแค่ 5 ชิ้นก่อน
แล้วค่อยดูฟีดแบค
เงินทุน: เริ่มต้น 50,000 บาท
รวมสินค้าและวัตถุดิบหมุนเวียน รวมค่าเช่าอีก 15,000 บาทต่อเดือน

ลงมือ:  มีเวลาแค่ 2-3 อาทิตย์ก่อนเปิดร้าน ก็วางแผน ตกแต่งร้าน
ดูสินค้าที่จะเอามาลง
ทั้งแฮนด์เมดและบางอย่างที่ซื้อมาแล้วเอามาปรับให้มีเอกลักษณ์ของร้าน ทำบัญชี
วางแพลนรายเดือน วางแผนการใช้เงิน คิดโปรโมชั่น
ปัญหา:
ต้องเพิ่มเงินทุนมากขึ้น บางชิ้นขายไม่ออกก็เงินจม
ต้องดัดแปลงหรือลดราคา 
แนะนำ: ก่อนทำน่าดูความพร้อมของตัวเอง
ศึกษาตลาดก่อน เพราะคนทำอะไรเองมากขึ้น ต้องมีจุดเด่น ไม่ซ้ำใคร
ความจริงที่ต้องรู้: ทำงานเอเจนซี่วันเดียวเท่ากับรายได้ที่นี่ทั้งเดือน
ก็ต้องหางานพิเศษเพิ่ม ถึงเหนื่อยแต่ก็มีสุขมาก 

ร้านเบเกอรี่  เปิดได้ 4 เดือน
นก...นันทิดา
ปัญญาบารมี, 26 ปี ร้าน Sweet Sin ที่สยามสแควร์ ซอย 5

นกทำงานกราฟฟิคมาและทำขนมขายมาก่อน แต่ฝันอยากเปิดเบเกอรี่มานาน
เลยไปฝึกงานที่โรงแรมโอเรียลเต็น 1 ปี
เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนทำเบเกอรี่ที่เบลเยี่ยมอีก 6 เดือน
กลับมาทำงานเบเกอรี่ให้มั่นใจ  ก่อนจะเปิดร้านของตัวเอง
เริ่มต้น:
หลังจากหาประสบการณ์มาแล้ว ก็ซื้อหนังสือฮาวทูมาอ่าน ลองคิดต้นทุน
หาสูตรขนมใหม่ หาทำเลที่เหมาะ
เงินทุน: หลักแสนกลางๆ
เพราะเน้นวัตถุดิบและตกแต่งร้านที่ดี รวมค่าเช่าที่และค่ามัดจำล่วงหน้า 3
เดือน
ลงมือ: หลังจากได้ทำเลแล้ว ก็ลองคิดงบดุล
ดูว่าต้องมีโปรดักส์อะไรบ้างให้คุ้มทุน ดูกลุ่มลูกค้า
ศึกษาคู่แข่งทั้งเรื่องโปรดักส์และราคา ตกแต่งร้าน ภายใน 2-3
เดือนก็รีบเปิดเพราะต้องจ่ายค่าเช่า
ปัญหา: บางอย่างก็เกิดการควบคุม
อย่างแต่งร้านเสร็จเพิ่งรู้ว่าไฟตึกไม่พอ แรกๆ ประมาณขายมาขายไม่ถูก
ก็ต้องแจกบ้างทิ้งบ้างถ้าเหลือ แล้วถ้าเป็นช่วงห้างลดราคา เด็กสอบ
ก็มีผลกับร้านด้วย
แนะนำ: ทำธุรกิจก็เหมือนมีแฟน ถ้ารักยังไงก็อยู่ได้
แต่ถ้าไม่รักนิดเ ดียวก็ทนไม่ได้แล้ว ส่วนเรื่องสัญญาเช่าที่ 
อย่าหน้ามืดตามัวรีบเซ็นสัญญา ถ้ายังไม่ถูกใจจริงๆ
ก็รอไปก่อนดีกว่า
ความจริงที่ต้องรู้:
นกเลิกคิดว่ามันสวยงามไปนานแล้วตั้งแต่ตอนไปฝึกงาน
แต่ถามตัวเองต่อก็รู้ว่ายังชอบเหมือนเดิม เปิดร้านแรกๆ
ก็ทำให้รู้ว่ามีอีกหลายเรื่องที่เราคิดไม่ถึง เป็นเรื่องเล็กๆ
เช่นประตูที่ลูกค้าไม่รู้ว่าเลื่อนหรือผลัก
Step7:
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
แหล่งหาความรู้เรื่อง SME
- หนังสือ
“เปิดร้านไม่ยากอย่างที่คิด” ที่รวมวิธีเปิด 15 ร้านฮิตๆ อย่าง ร้านดอกไม้
ซักรีด ขายหนังสือ เพ้นท์เล็บ
อ่านดูแล้วจะได้รู้ว่าของจริงเขาทำยังไงกัน
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2547-5050 หรือสายด่วน 1570
www.dip.go.th
 
ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ที่เป็นแหล่งข่าวสาร และงานบริการต่างๆ 
www.itforsme.com
 

รวมความรู้ด้านอี-คอมเมิร์ซ  คอร์สฝึกอบรม
และความรู้ด้านการตลาด
www.smethai.biz
 

ให้บริการอีเมล์เพื่อการทำธุรกิจ เนื้อที่ประมาณ 20 เมกกะไบต์
www.smethai.com
 

บริการสร้างร้านค้าออนไลน์ 
www.thaisme.com
 
ข้อมูลทำธุรกิจ
รวมทั้งวิธีแก้ไขเมื่อเจอปัญหา แนะนำแหล่งเงินทุน
และคอร์สฝึกอบรม
www.smethai.net
 

สำหรับให้คำปรึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ SME
www.sfac.co.th
 

สำหรับให้บริการปรึกษาด้านการเงิน การปรับโครงสร้างหนี้
ประสานงานกับสถานบันการเงินเพื่อระดมทุน
www.siamsme.net
 

เป็นสื่อกลางที่รวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการ SME
มีเว็บบอร์ดไว้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน
www.fsa.or.th
 

รวบรวมความรู้ในการทำกิจการแฟรนไชส์และSME
Create Date : 19 ธันวาคม 2551
Last Update : 19 ธันวาคม 2551 0:37:44 น. 2 comments
Counter : 3252 Pageviews.

 
หากมีเวลาก็เข้าไปบล๊อกผมนะครับ เกี่ยวกับทางด้านการพัฒนาตนเอง การสร้างธุรกิจ และ สาระความรู้อื่นๆอีกมากมาย...


โดย: wbj วันที่: 20 ธันวาคม 2551 เวลา:16:52:42 น.  

 
ยาวแต่แน่นไปด้วยสาระ
ขอบคุณครับ


โดย: Mr.ใหม่_01 วันที่: 11 มิถุนายน 2552 เวลา:23:57:51 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

=Neo=
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add =Neo='s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.