ยินดีต้อนรับสู่ club.bloggang.com
...magazine online โดยหนุ่มสาวชาว =Neo=
วิธีเลือกซื้อแหวนเพชร


เคล็ดลับการซื้อแหวนเพชร


๑.       เมื่อท่านผู้อ่านดูเพชรไม่เป็นเลยจึงควรที่จะซื้อกับผู้ขายที่เชื่อถือได้ หรือมีการแนะนำผ่านกันมาว่า ไว้ใจได้และขายเพชรที่มีคุณภาพดี


๒.     ขนาดของเพชรไม่ว่าเม็ดเล็กหรือเม็ดใหญ่ ไม่ใช่อุปสรรคหรือปัญหาสำคัญ ฉะนั้นท่านจะซื้อแหวนที่ประดับเพชรเม็ดเล็กนิดเดียวน้ำหนักแค่ ๑๐ สตางค์  หรือร่ำรวยมีเงินทองมากมายจะซื้อเพชรขนาดใหญ่เม็ดละ ๑๐ กะรัต ก็ตามแต่สำหรับ  “ความหมายทางใจ”  แล้วย่อมไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย



๓.     สมมุติว่าท่านมีเงินงบประมาณในการซื้อแหวนเพชรอยู่จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท  แต่ไม่ทราบว่าจะซื้อแหวนเพชรที่พอจะดูดีหรือไม่  เรื่องนี้ก็เช่นกันว่าจำนวนเงินย่อมไม่เป็นอุปสรรคเหมือนกับขนาดของเพชร เงินจำนวนนี้ท่านสามารถซื้อเพชรเดี่ยวหนึ่งเม็ด ที่มีน้ำหนักประมาณ ๓๐ สตางค์  และมีคุณภาพดีได้ในราคาประมาณ ๒๒,๐๐๐ – ๒๕,๐๐๐ บาท  ส่วนจำนวนเงินที่เหลือจะจ่ายให้เป็นค่าเรือนแหวนหรืออาจจะได้เพชรเม็ดเล็ก ๆ  ขนาด ๕ สตางค์  อีก ๒ เม็ด เพื่อประดับประดาบ่าแหวนได้อีกด้วย


๔.     ถ้าท่านอยากจะทราบหรือมั่นใจว่าเงินที่ท่านจ่ายให้ผู้ขายนั้นจะได้สินค้าที่มีคุณภาพอย่างไรท่านก็สามารถให้ผู้ขายเขียนใบรับรองระบุรายละเอียดของแหวนวงที่ท่านซื้อได้ เช่น 



-          เบลเยียมคัตขนาด ๑๐ สตางค์ จำนวน ๑๐ เม็ด 


-          เพชรรัสเชียนคัตขนาด ๕๕ สตางค์ ๑ เม็ด


-          ตัวเรือนแหวนทำด้วยทองคำ ๙๐ %  น้ำหนัก ๑๐ กรัม 


ฯลฯ



                ถ้าท่านซื้อเพชรขนาดใหญ่ น้ำหนัก ๕๐ สตางค์  (ครึ่งกะรัต)  ขึ้นไป  ท่านอาจขอให้ทางร้านหรือผู้ขายเพชรนำเพชรเม็ดที่ท่านตกลงใจซื้อไปให้สถาบันอัญมณีหรือห้องแล็บต่าง ๆ  ตรวจสอบคุณภาพ เพื่อออกใบรับรองก็ได้


                แต่ถ้าเป็นเพชรเม็ดเล็ก ให้ผู้ขายเขียนใบรับรองให้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว


 


น้ำหนักเพชรเทียบขนาดเป็นมิลลิเมตร



                กระผมเชื่อว่าท่านผุ้อ่านจำนวนมากจะไม่ทราบเลยว่า เพชรขนาด ๒ สตางค์ ๑๐ สตางค์ ๕๐ สตราค์ หรือ ๑ กะรัต  มีขนาดใหญ่เท่าไร  ยกเว้นแต่ท่านเป็นแฟนเพชรพลอยมานาน


                กระผมจึงขอแนะนำ ตารางขนาดเพชร ให้ท่านได้นำไปเสริมสร้างจินตนาการแหวนเพชรวงงามของท่านได้อย่างใกล้เคียงกับความจริงได้มากที่สุด


                และท่านจะกระจ่างทั้งขนาดเพชร  ราคาเพชร ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจเลือกซื้อเพชร หรือแหวนเพชรวงสำคัญในชีวิตของท่านได้อย่างง่ายดายและสบายใจเป็นที่สุดครับ


 


๑ กะรัต (๑๐๐ สตางค์)
                 จากตารางขนาดเพชร ท่านจะทราบว่า  เพชรน้ำหนัก ๕๐ สตางค์ (๐.๕๐ กะรัต)  จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ ๕.๒ มิลลิเมตร



                ท่านลองเอาไม้บรรทัดมาวัดความยาวแล้ววาดวงกลมลงกระดาษ ให้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง = ๕.๒ มิลลิเมตรนะคับ


                คราวนี้จะตกแต่งด้วยเพชรเม็ดเล็กเม็ดน้อยอย่างไรก็ดูจากตารางขนาดเพชรได้เช่นเดิม และลองวาดลงกระดาษให้ครบทุกเม็ดทุกขนาด


                เมื่อวาดครบครันครบตามขนาดตามรูปแบบแล้วท่านก็จะทราบว่าจะได้แหวนเพชรขนาดใหญ่เพียงใด  น้ำหนักนรวมเท่าไร และราคาประมาณเท่าไรด้วย


                ด้วยหลักเกณฑ์ไม่ยากทั้งหลายทั้งปวงนี้ท่านก็จะสบายใจว่า การตัดสินใจของท่านในการซื้อเพชรนั้น เป็นการตัดสินใจอย่างมีมาตรฐาน มีคุณภาพ ไม่ได้ซื้อเพราะเชื่อคนขายแต่เพียงอย่างเดียว


                ซึ่งจะเป็นการให้คุณค่าทางจิตใจ ความภูมิใจแก่ผู้เป็นเจ้าของแหวนเพชรตลอดไป



 


วิธีเลือกเพชรงามล้ำค่า


                มาตราฐานในการเลือกสรรเพชรให้ได้คุณภาพดีนั้นมีหลักใหญ่ ๆ  อยู่ ๔ และการกันคือ


๑.       ความบริสุทธิ์ของเนื้อเพชร (CLARITY)  เพชรที่ดีต้องมีเนื้อสะอาด ใสบริสุทธิ์ ไม่มีตำหนิใด ๆ  ให้เห็นด้วยตาเปล่าหรือเมื่องส่องดูด้วยกล้องขยายกำลังขนาด ๑๐ เท่า และควรจะต้องดูด้วยผู้เชี่ยวชาญ


เพราะผู้ที่ไม่มีความชำนาญจะไม่สามารถบอกได้ว่า สิ่งที่เห็นในเนื้อเพชรนั้นใช่ตำหนิหรือไม่ นอกจากว่าตำหนินั้นค่อนข้างใหญ่ เห็นชัดเจน ใครที่ใช้กล้องขาส่องดูก็ย่อมจะรู้ได้ไม่ยาก



เพชรยิ่งบริสุทธิ์เท่าใดก็ย่อมจะงดงามมากเท่านั้น และแน่นอนว่าราคาก็สูงตามคูณภาพและคุณค่าไปด้วย


เมื่อนำเพชรไปให้นักอัญมณีตรวจสอบด้วยเครื่องมือตรวจสอบที่ทันสมัย ผลการตรวจสอบเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของเนื้อเพชรจะระบุดังต่อไปนี้ประการหนึ่ง ได้แก่


FL (FLAWLESS) คือเพชรปราศจากตำหนิ


IF (INTERNALLY FLAWLESS) เพชรปราศจากตำหนิภายใน มีรอยเล็กน้อยบนผิวหน้าเท่านั้น


VVS1-VVS2  (VERY VERY SMALL INCLUSIONS)  เพชรมีรอยตำหนิน้อยมาก ๆ


VS1- VS2  (VERY SMALL INCLUSIONS)  เพชรมีรอยตำหนิน้อยมาก



                SI1-SI2  (SMALL INCLUSIONS)  เพชรมีรอยตำหนิน้อย


                I1-I2 - I3 (IMPERFECT) เพชรมีรอยตำหนิที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า


                คุณภาพเพชรชนิด FL จัดว่ามีคุณภาพที่ดีที่สุด ราคาสูงที่สุด ในขณะที่เพชรชนิด I1-I3 มีคุณภาพด้อยที่สุดและราคาถูกกว่ากันมาก


๒.     สี (COLOUR)  เพชรที่สวยที่สุดจะต้องไม่มีสีใด ๆ  ซึ่งเรียกกันว่า “ไร้สี” (COLOURLESS)  เพราะเมื่อแสงผ่านเพชรที่ไร้สีก็จะเปล่งประกายสะท้อนออกมาเป็นสีรุ้งงดงามเป็นที่สุดเพชรที่ไร้สีราคาจึงแพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับเพชรที่มีสีเหลืองอ่อน ๆ           



               หมายเหตุ  - ตารางสีจากสถาบันอัญมณีศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริการ (G.I.A.)


     - คนไทยนิยมเรียก “สี” เพชรเป็นเปอร์เซ็นต์


                คำว่า “สี” เพชร นี้ ในตลาดการค้าบ้านเราจะนิยมพูดกันว่า “น้ำ” เช่น เพชรน้ำ ๙๖% เพชรน้ำ ๙๘% ซึ่งที่ถูกต้องควรจะใช้คำว่า “สี”  ตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบสีเพชร


                และความนิยมสีเพชรในบ้านเรานั้น ส่วนใหญ่จะนิยมซื้อหากันตั้งแต่ระดับ J ขึ้นไป (๙๔%) และแต่ละระดับสีจะมีราคาต่อกะรัตห่างกันมาก เช่น


                เพชร ระดับ G จะถูกว่าเพชรระดับ F มาก หรือ เพชรระดับ K จะถูกกว่าเพชรระดับ J         มาก



                เมื่อนำเพชรไปให้นักอัญมณีตรวจสอบ ผลการตรวจสอบในใบรับรองก็จะต้องระบุระดับสีของเพชรออกมาระดับใดระดับหนึ่ง เช่น


                COLOUR = E


                ส่วนการที่เราอยากจะทราบว่าระดับสีกี่เปอร์เซ็นต์นั้น ก็ลองเทียบดูกันเองจากตารางสีนี้นะคะ  ซึ่งคำตอบของ E ก็คือ ๙๙% นั่นเอง


                ส่วนท่านที่ชอบเพชรสีสันอย่างเหลืองอ่อนก็โชคดีไปอีกแบบ เพราะราคาจะถูกกว่าเพชรกลุ่มเกือบไร้สีหรือไร้สีมากค่ะ


๓.     การเจียระไน (CUT)  เพชรส่วนใหญ่จะได้รับการเจียระไนมีเหลี่ยม ๕๘ เหลี่ยม ซึ่งนับเป็นมาตรฐานของการเจียระไนเพชรกลม (เรียกว่าทรงกลมเหลี่ยมเกสร)  สามารถทำให้เพชรเปล่งประกายระยิบระยับได้มากที่สุด



ปกติส่วนก้นของเพชรควรจะมีความหนาเป็น ๒ เท่าของหน้าเพชร เพราะแสงจะสะท้อนจากเหลี่ยมหนึ่งไปยังอีกเหลี่ยมหนึ่งแล้วสะท้อนแสง (REFLEX) ขึ้นสู่ส่วนหน้าของเพชรเม็ดนั้น ทำให้ดูมีประกายระยิบระยับสวยงามจับตามาก


ส่วนเพชรที่มีก้นลึกเกินไปหรือตื้นเกินไป แสงก็จะสะท้อนหายไปทิศตรงกันข้าม หรือแสงลอดหายไปทางส่วนก้นเพชรทำให้ไม่เกิดการสะท้อนแสงขึ้นหน้าเพชรและขาดความงดงาม


แน่นอนว่าเพชรที่มีสัดส่วนได้มาตรฐาน ต้องมีราคาสูงกว่าเพชรที่ขาดสัดส่วนที่มีอย่างแน่นอน

















น้ำหนักของเพชรจะวัดเป็นกะรัต หนึ่งกะรัตแบ่งออกเป็น 100 สตางค์ดังนั้นเพชรขนาด 0.75 กะรัตจึงมีน้ำหนักเท่ากับ 75 สตางค์ ขนาดกะรัตเป็นตัวตัดสินมูลค่าของเพชรที่เด่นชัดที่สุด แต่สิ่งที่ควรระลึกไว้เสมอก็คือเพชรสองเม็ดที่มีขนาดกะรัตเท่ากันอาจมีมูลค่าแตกต่างกันอย่างมากก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเจียระไน สีและความสะอาด

0.50ct
5.2mm

0.75ct
5.8mm

1.00ct
6.5mm

1.50ct
7.4mm

2.00ct
8.2mm























    

    เพชรจะมีสีธรรมชาติหลากหลายเฉดมีตั้งแต่ขาวใสไร้สีซึ่งหายากและมีค่าที่สุดไปถึงสีเหลืองจางๆ โดยมีเฉด
สีอ่อนแก่ระหว่างกลางมากมายเพชรยิ่งมีสีน้อยเท่าไรยิ่งอำนวยให้แสงสีขาวสามารถ วิ่งผ่านเนื้อภายในได้สะดวกและจะสะท้อนประกายไฟสีรุ้งบนผิวหน้าเพชรได้สวยงามมากขึ้นเท่านั้น

ฉะนั้นการแยกสีเพชรสีขาวกับเพชรที่ติดเหลืองเล็กน้อยซึ่งมีผลกระทบต่อราคา ทางสถาบัน GIA จึงได้กำหนดมาตรฐานการเทียบสีเพชรไว้ ซึ่งการเทียบสีเพชรโดยสายตามนุษย์ไม่สามารถแยกความละเอียดสีขาวและสีขาวติดเหลืองเล็กน้อยออกมากได้ จึงต้องเทียบสีกับ Master Stone โดยนักอัญมณีศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น



จาก Scale จะพบว่าสีจะเรียบลำดับจากสี D ไปจนถึง Z โดยแบ่งเฉดสีตามช่วงดังนี้
D-F Colorless (ขาวบริสุทธิ์)
G-J Near Colorless (ขาวติดเหลืองจางมากๆ)
K-M Faint Yellow (ขาวติดเหลืองจางๆ)










    
มีหลายคนเข้าใจสับสน ระหว่างการเจียระไนกับรูปทรงของเพชรอันที่จริงการเจียระไน เพชรจะหมายถึงการจัดวางหน้าเหลี่ยมต่างๆของเพชร ดังนั้นเมื่อกล่าวว่าเพชรเจียระไนดี ไม่ว่าจะเป็นรูปใดจะหมายถึงฝีมือการเจียระไนเหลี่ยม ที่ถูกต้องได้สัดส่วนของช่างเจียระไนฝีมือเอก ทั้งนี้เพราะเพชรที่เจียระไนดีจะมีการเล่นแสงได้อย่างแพรวพราวระยิบระยับจับตาและทวีค่ายิ่งขึ้น และทำให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจ ฉะนั้นการเจียระไนเพชรที่ได ้สัดส่วนที่ดีจึงมีความสำคัญมาก

การเจียระไนเพชรมีรูปแบบต่างๆกัน แต่โดยทั่วไปเพชรจะนิยมเจียระไนเป็นรูปทรงกลม เพชรทรงกลมมักนิยมเจียระไนเป็นเหลี่ยม Round Brilliant Cut หรือเหลี่ยมเกสร เนื่องจากเพชรที่เจียระไนแบบนี้จะมีการกระจายแสงที่สมบูรณ์แบบมาก โดยมีเหลี่ยมมากถึง 58 เหลี่ยมต่อเพชรหนึ่งเม็ด



















ในการพิจารณาว่าเพชรเม็ดนั้นเจียระไนดีหรือไม่นั้นต้องพิจารณาจาก 3 องค์ประกอบ
 
1. ขนาดเทเบิล(Table Size) ที่ใหญ่หรือเล็กเกินไปจะมีผลต่อการกระจายแสงของเพชร
 
2. มุมคราวน์(Crown Height) ที่มีความสูงไม่สมดุลกับมุมสะท้อนแสงจะมีส่วนทำให้การกระจายแสงลดน้อย
 
3. ความลึกพาวิเลี่ยน(Pavilion Dept) ที่มีการเจียระไนที่ดี แสงจะสะท้อนขึ้นทุกมุม ทำให้การ กระจายแสงดีแต่ถ้า เจียระไนบางเกินไปแสงจะทะลุออกด้านล่างหรือถ้าหนาเกินไปจะทำให้ไม่มีแสงสะท้อนทำให้เพชรจะดูมืด (Nail Head)
 
ซึ่งค่าทั้งหมดจะถูกตรวจสอบโดยนักอัญมณีศาสตร์และบันทึกผลที่ได้ลงใน Certificates ซึ่งผลที่ได้ทั้งหมดจะนำมาสรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายต่อบุคคลทั่วไป โดยจะเรียงลำดับจาก เจียระไนดีมาก (Very Good), เจียระไนดี(Good), เจียระไนพอใช้(Fair)









    
 
เพชรส่วนมากจะมีริ้วรอยตำหนิเล็กน้อย จึงเปรียบเสมือนลายนิ้วมือธรรมชาติสรรสร้างเอกลักษณ์ของเพชรแต่ละเม็ด กระนั้นก็มิได้ทำให้เพชรด้อยความงาม หรือลดความแข็งแกร่งลงแต่อย่างใด แต่ทว่ายิ่งมีริ้วรอยน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งจะทำให้แสงผ่านมากขึ้น ทำให้เพชรทอประกายเจิดจ้าระยิบระยับขึ้น เพชรจึงเหนือกว่าอัญมณีอื่นใดเพราะสามารถทอประกายแสงได้สุกใสงดงามที่สุด วิธีพิจารณาความสะอาดของเนื้อเพชร ต้องใช้กล้องขยาย 10 เท่าและตรวจสอบโดยนักอัญมณีศาสตร์เท่านั้น



























GIA Image Description
IF (Internally Flawless) หมายถึงเพชรที่สะอาดที่สุด คือ ไม่มีรอยตำหนิใดๆ
VVS1-VVS2
(Very Very Slightly Inclusions)
หมายถึงเพชรที่มีตำหนิน้อยมากๆ ซึ่งยากมากๆ แก่การมองเห็นภายใต้กล้องขยาย 10 เท่า
VS1-Vs2
(Very Slightly Inclusions)
หมายถึงเพชรที่มีตำหนิน้อย ซึ่งยากแก่การมองเห็นภายใต้กล้องขยาย 10 เท่า
SI1-SI2 (Slightly Inclusion หมายถึงเพชรที่มีตำหนิ ซึ่งจะเห็นตำหนิได้ง่ายภายใต้กล้องขยาย 10 เท่า และอาจเห็นได้ด้วยตาเปล่าในบางเม็ด


Create Date : 11 เมษายน 2554
Last Update : 11 เมษายน 2554 4:35:15 น. 1 comments
Counter : 1859 Pageviews.


 
ยังไม่มีซักเม็ดให้ทดลองส่อง smile รอหาคนบริจาคอยู่


โดย: DiaMond (Phetcharat-N ) วันที่: 11 เมษายน 2554 เวลา:11:14:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

=Neo=
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add =Neo='s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.