A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 
การเมืองเรื่องของศัตรู บทเรียนจากพญาลิไท (ตติยบท)

วันเสาร์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสเข้าร่วมเดินขบวนครั้งใหญ่
ร่วมกับ พธม. และเพื่อนของผม เพื่อนที่เป็นทั้งคนกู้ชาติ
และให้ผมกู้เงินในคราวเดียวกัน ดังนั้นทุกการเรียกหา
ผมจึงมักปฏิเสธว่า"ไม่ว่าง"ได้ยาก เพราะคราวใดที่ผม
จะเอ่ยปากปฎิเสธอย่างกระอ้อมกระแอ้ม เพื่อนคนนี้
มักจะเกริ่นเรื่องเงินที่ยืมไปทุกคร่า

แต่อย่างน้อย การเดินร่วมชุมนุมบนท้องถนนโดยเริ่ม
ต้นจากสะพานมัฆวานฯ ไปสู่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
จากนั้นมุ่งสู่อีกหนึ่งวัตถุประสงค์ คือ วัดพระแก้ว เพื่อนท่านนี้ชี้ทางสว่าง
ในการคิดเชิงบวกอีกแง่มุมหนึ่ง แง่มุมที่ผมเองเคยคิดแต่ไม่เคยได้มีโอกาสทำ โอกาสนั่น คือ
การเที่ยวเขตพระนคร เพียงแต่ครั้งนี้ กรุ๊ปทัวร์อาจจะเป็นกลุ่มใหญ่ไปหน่อย
และไม่ได้เดินเลียบถนนเบียดเสียดร้านค้าริมทางอย่างทุละทุเล ด้วยการเดินทางครั้งนี้ คือ ท้องถนน

สำหรับการเดินร่วมชุมนุมเรือนแสนครั้งนี้ ผมเองไม่แปลกใจที่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
จะถูกเป็นที่หมายแรก ความหมายในเชิงสัญลักษณ์การเมือง
การปกครองเป็นสิ่งสะท้อนในสายตาเวทีโลกและเวทีผ่านสื่อสารมวลชน
เพียงแต่สถานที่ถัดต่อมา คือ วัดพระแก้ว นั่น ทำให้ผมตั้งคำถามในใจแบบ
ตั้งข้อสงสัยว่า สัญลักษณ์เชิงสถาบันอย่างศาสนากับการเมืองยังเป็นเรื่องที่
แยกออกจากกันได้ยากจนถึงปัจจุบันเลยรึ? เรื่องเช่นนี้ยังมีความจำเป็นในแง่มิติใด?
ถึงหลายปากจะบอกว่าแก้มนต์ดำ......!! แต่แง่ปัจจัยเชิงศาสนาก็ยังเป็นข้อกังวลลึกๆ
อย่างที่สมัยพญาลิไทได้รับผลกระทบจากนโยบายที่สร้างศัตรู
ทั้งจากเจตนาและไม่เจตนาก็ตาม



อย่างที่เคยกล่าว ศาสนากับการเมืองในยุคสมัยสุโขทัย เป็นเรื่องที่ชาวบ้าน
เขาไม่ได้มองสายตาแบบแบ่งแยกจำพวกที่ว่า สีแดง คือ ชาติ สีขาว คือ ศาสนา
สีน้ำเงิน คือ สถาบันกษัตริย์ โลกทัศน์ของคนยุคสมัยนั้น เป็นสายตาแบบองค์รวม
ที่เห็นความสัมพันธ์แบบลำดับขั้น (Vertical Hierarchy)
เพียงแต่การดำเนินวิเทโศบายแบบศาสนากับการเมืองของพญาลิไท จึงเป็น
การเมืองความสัมพันธ์เชิงการฑูตและสถาปนาความชอบธรรมอำนาจส่วนตนให้แข็งแกร่งมากขึ้น

แต่ ทว่ากันจริงๆแล้ว ชีวิตนับแต่เริ่มต้นของพระองค์นั้น ก็เผชิญศึกสายเลือดต้นตระกูลแคว้นสุโขทัย ๒ ตระกูล คือ ตระกูลศรีนาวนำถุม และ ตระกูลศรีอินทราทิตย์ ตระกูลแรกนั่นคือผู้สถาปนาสุโขทัยและศรีสัชนาลัย หากใครเคยจำ"เจ้าศรีศรัทธา"ที่ผมเคยเล่าไว้ได้ ท่านผู้นี้คือ ผู้อยู่ยุคคนร่วมสมัยกับพญาลิไท ท่านผู้นี้เป็นบุตร"พระยาคำแหงพระราม" ซึ่งตอนนั้นครองแคว้น สรลวงสองแคว แถบลุ่มแม่น้ำน่าน ว่ากันว่าท่านผู้นี้เป็นบุตรชายเลื่องชื่อนาม"พ่อขุนผาเมือง"

สิ่งที่ท่านเจ้าศรีศรัทธา สร้างคุณูปาการต่อคนยุคปัจจุบัน คือ จารึกวัดศรีชุม
ที่บอกเล่าประวัติฯสุโขทัย อีกด้านหนึ่งให้เห็นภาพและวิถีชีวิตที่กว้างขึ้นกว่า
จารึก พ่อขุนรามคำแหง แต่กว้างอย่างไรเสียก็ไม่เคยกล่าวถึงพญาลิไทแม้เพียงสักคำ!!..การเน้นภูมิ ลำเนา"สรหลวงสองแคว"เขตพื้นที่ของบิดาและตน ก่อนออกบวช โดยไม่กล่าวถึงเขตขอบขัณฑสีมาของแคว้นสุโขทัยศรีสัชนาลัยแห่งตระกูลศรีอิน ทราทิตย์ ยอ่มน่าแสดงถึงเขตพื้นที่อิสระนอกอำนาจการปกครองอย่างที่เคยเป็นมา

ครันจะเสวยอำนาจเป็นกษัตริย์ผู้ครองนครสุโขทัย บทที่ว่าการระดมพลจากเมืองศรีสัชนาลัยเข้าฟันถึงประตูเมือง
สะท้อนเหตุการแย่งชิงจากหลายกลุ่มอำนาจที่ขัดแย้งกันภายใน เท่ากับว่าทุกคนในตอนนั้นพร้อมจะเป็นศัตรูต่อกันและกัน
ส่วน กลุ่มอำนาจตอนนั้นจะเป็นกลุ่มอำนาจจากตระกูลใดไม่ได้ เพราะมีการแข่งบารมีเพียงสองกลุ่มตระกูลเท่านั้น เพียงแต่ไม่มีปรากฎในจารึกตอนใดจะได้มากล่าว จากการขยายแผ่อิทธิพลจากเดิมที่ลดทอนลงนับแต่สมัยพ่อขุนรามฯ บารมีที่ล้ำไปสู่แม่น้ำป่าสัก เมืองราดเมืองลุ่ม และแม่น้ำน่านบางส่วน หลังจากกระจุกอยู่เพียงเขตพื้นที่ตอนในสุโขทัยและบางส่วนตอนล่าง จึงนำมาซึ่งศึกสงครามกับตระกูลที่ใหญ่กว่ามาก(รุ่นใหม่ไฟแรง)อย่างกรุง ศรีอยุธยา ....



ตอนที่พญาลิไทเสวยราชย์กรุงสุโขทัย ปีพ.ศ. ๑๘๙๐ พระเจ้าอู่ทองก็ กำลังครองเมืองในกรุงอโยธยา (ชื่อเรียกแรกสมัยอยุธยาตอนต้น) การขยายของเขตอำนาจของกรุงสุโขทัยในมือของพญาลิไทไปกระทบอาณาเขตปกครองของ พระเจ้าอู่ทองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากเรื่องพื้นที่แล้ว บารมีสายสัมพันธ์กับกลุ่มสายตระกูลสุพรรณภูมิ (อันเป็นศาสตร์การควบคุมและขยายขอบเขตที่ชาญฉลาดของคนสมัยก่อน) เพียงแต่เมื่อพระเจ้าอู่ทองแต่งงานผูกเครือญาติกับลูกสาวเมืองสุพรรณบุรีของ ขุนหลวงพ่องั่ว ความเป็นใหญ่ในพื้นที่จึงคาบเกี่ยวเจ้าพระยาตอนกลางกับพญาลิไทที่ส่งน้องสาว ไปแต่งงานกับขุนหลวงพ่องั่วในคราววาระเดียวกัน (ขุนหลวงพ่องั่วจึงกดดันพระราเมศวรที่จะเป็นใหญ่ในอยุธยาเช่นกัน) จนเมื่อพระเจ้าอู่ทองยกทัพยึดเมืองเหนือที่มั่นสำคัญ อย่างสองแคว เท่ากับตัดมือตัดเท้าพญาลิไทไปในตัว ตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยจึงหนีไม่พ้นตัวกลาง อย่าง ขุนหลวงพ่องั่ว การยึดเมืองสองแคว
ในหนังสือชินมาลีปกรณ์ เล่าว่า "ครั้นนั้นเกิดข้าวยากหมากแพงทำนาไม่ได้ผลที่เมืองสองแคว ทหารอยุธยาปลอมตัวเป็นพ่อค้าเอาข้าวขึ้นมาขาย แล้วยึดเมืองทันที" จนต้องบวชขอบิณฑบาตรเมืองสองแคว ส่วนความสำคัญของเมืองนี้ ทำไมจึงสำคัญเยี่ยงนั้น ขอไม่บอกเก็บไว้เล่าตอนต่อไป (ฮาๆ)

ไม่เพียงเท่านั้น ในร่วมสมัยเดียวกันเขตพื้นที่ตอนเหนือที่พญาลิไทขยายอิทธิพล ก็เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างวุ่นวาย อาทิ ท้าวฟ้างุ้มจาก แคว้นล้านช้าง ได้รับการหนุนจากกษัตริย์กัมพูชาถึงขั้นยกลูกสาวเป็นมเหสีครองเขตละแวกลุ่ม น้ำโขงตอนบน อีสานจึงเป็นเขตเปราะบางทางอำนาจ ที่คอยกั้นขวางการขยายบารมีของพระองค์อีกช่องทาง
แม้แต่เรื่องลัทธิทางศาสนาในช่วงนั้น วัฒนธรรมแนวคิดแบบพุทธมหายานเป็นชองแบ่งที่เชื่อมแนวคิดเถรวาท
แบบที่พญาลิไทศรัทธา++++

แต่กลุ่มอำนาจใดก็ไม่หนักหนาเท่ากับ ภารกิจทางศาสนาที่พระองค์เป็น
เสมือนผู้อุปถัมภ์เผยแพร่พุทธศาสนาควบคู่ไปกับการขยายอิทธิพลทาง
การเมืองทั้งในนามและสายอุปถัมภ์ระหว่างฝ่ายแคว้นต่อแคว้น
แม้แต่หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ กลุ่มอำนาจภายในก็กลับมาแย่งชิงราชบัลลังก์
ที่พระองค์สร้างมากับมือ จนเจ้าเมืองศรีอยุธยาคนใหม่แต่รู้กันทั้งสองแคว้น
อย่าง ขุนหลวงพ่องั่วตกยกทัพมาตีเข้าปราบปรามให้เกิดความสงบ
ดังนั้นศาสนาในสภาวะทางสถาบันหลักที่มีผลตัวแปรการขับเคลื่อนเป้าหมายทางการเมือง
ผมจึงไม่รู้ว่า จะเป็นในส่วนที่พี่งทางจิตใจ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือองค์ประกอบหลักขององค์อธิปัตย์ดี
แต่ข่าวบ้านเมืองสมัยนี้คงต้องติดตามการเมืองเพื่อทราบถึงความเป็นไปของบ้านเมือง
จากนั้นค่อยเข้าห้องพระทำจิตสงบตามด้วยเผยเมตตาให้สัตว์โลกทั้งหลายเป็นไปตามกรรมก็เท่านั้นเอง.....



Create Date : 23 สิงหาคม 2551
Last Update : 3 กันยายน 2551 23:44:55 น. 2 comments
Counter : 1573 Pageviews.

 
ความขัดแย่งนี้เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัยเลยนะคะ
รอดูอยู่ว่ายุคสมัยนี้จะแก้ปัญหากันยังงัย



โดย: PS-pani วันที่: 27 สิงหาคม 2551 เวลา:23:38:49 น.  

 
ดีค่ะ มาแอบอ่านอีกแระ
เห็นใจผู้หญิงสมัยก่อนจัง
โดนยกให้เจ้าเมืองนั้น นี้ เพื่อบั่นทอนอำนาจ อาจต้องโดนโขกสับ ฆ่าให้ตาย เวลาที่เขาโกรธเกลียดกันอีก


โดย: จันทร์ไพลิน วันที่: 30 สิงหาคม 2551 เวลา:6:00:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.