Group Blog
 
All blogs
 
176. วัดพระศรีมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี

อยู่ในตำบลรั้วใหญ่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ถนนสมภารคงแยกจากถนนมาลัยแมน ไปประมาณ 300 เมตร

ในสมัยก่อนเป็นศูนย์กลางของเมืองสุพรรณภูมิ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง มีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี ปรางค์องค์ประธาน เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2456 ชาวบ้านลักลอบขุดค้นหาทรัพย์สินจนทรุดโทรมไปมาก พระพิมพ์ผงสุพรรณบุรีที่โด่งดังมาก อันเป็นหนึ่งใน “เบญจภาคี” ก็ได้ไปจากกรุในองค์พระปรางค์นี้ และพระเครื่องที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ที่นอกเหนือจากพระผงสุพรรณ เช่น พระกำแพงศอก พระมเหศวร พระสุพรรณยอดโถ พระสุพรรณหลังผาน ตลอดจนพระเนื้อชินต่างๆ ซึ่งปัจจุบันหายากนักโบราณคดีหลายท่านให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นศิลปะการก่อสร้างในสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ เพราะหลักฐานการก่อสร้าง เป็นการก่ออิฐไม่ถือปูน ซึ่งเป็นวิธีการเก่าแก่ก่อนสมัยอยุธยา

พระผงสุพรรณ มีแหล่งกำเนิดจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อเป็นเนื้อ ดินเผาละเอียด ปราศจากเม็ดแร่ มีหลายสี เช่น สีแดง สีเขียว สีดำ และสีมอย(ดำจางๆคล้ายผงธูป) พระผงสุพรรณพิมพ์ที่นิยมในวงการมีอยู่ 3 พิมพ์ ด้วยกันคือ พิมพ์หน้าแก่ , พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม

พระผงสุพรรณได้ปรากฏหลักฐานว่าขุดพบที่พระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมื่อปี พ.ศ.2456 โดยท่านพระยาสุนทรบุรี เจ้าเมืองสุพรรณในขณะนั้นได้สั่งให้มีการเปิดกรุ อย่างเป็นทางการ เพราะปรากฏว่ามีคนร้ายลักลอบขุดพระปรางค์องค์ใหญ่ อยู่บ่อยครั้งซึ่งได้ พบพระบูชาและพระเครื่องมากมายหลายพิมพ์ แม้แต่พระทองคำก็มีไม่น้อย นอกจากนี้ยังพบแผ่นลานเงิน แผ่นลานทองซึ่งได้บันทึกจารหลักฐานไว้ทำให้ชนรุ่นหลังได้ทราบว่า ในปี พ.ศ.1890 สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่1 ทรงมีศรัทธาในพระบรมพุทธศาสนา ได้ทรงอัญเชิญพระมหาเถร- ปิยะทัสสีสารีบุตร ให้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระฤาษีทิวาลัยเป็นประธาน ฝ่ายฤาษี ร่วมกันสร้าง พระพุทธปฏิมากร เพื่อเป็นการสืบศาสนา พระผงสุพรรณเป็นพระเครื่องสกุลสูงเปรียบได้ว่าเป็นพระ ชั้นกษัตริย์ ของเมืองสุพรรณบุรี พุทธลักษณะเป็นพระสี่เหลี่ยมทรงชะลูดจนดูเกือบจะเป็น สามเหลี่ยมตัดปลาย มีบางองค์ถูกถูกตัดปลายออกสองด้านจนกลายเป็นห้าเหลี่ยมก็มี องค์พระนั่ง ปางมารวิชัยประทับบนฐานชั้นเดียวพระพักตร์แตกต่างกันออกไปตามพิมพ์ ด้านหลังปรากฏลาย นิ้วมือแบบ" ตัดหวาย "ทุกองค์ เป็นศิลปะแบบอู่ทอง

พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา จำลองพุทธลักษณะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน ลักษณะการปางมารวิชัย แบ่งแยกแม่พิมพ์ได้เป็นพิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม (สมัยโบราณเรียกพิมพ์หน้าหนู) องค์พระประทับนั่ง ปางมารวิชัย บนฐานเชียงชั้นเดียว พระเกศคล้ายฝาละมี มีกระจังหน้า พระพักตร์เคร่งขรึม พระนาสิกหนาใหญ่ พระอุระหนา ส่วนพระการทอดเรียว แสดงออกถึงศิลปะสกุลช่างอู่ทองที่เน้นความละม้ายคล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ เมื่อพบพิมพ์พระ ๓ ประเภท จึงเรียกชื่อตามลักษณะพระพักตร์และตามศิลปะสกุลช่าง แห่งพระพุทธรูปที่พระพักตร์เหี่ยวย่นเหมือนคนแก่ เรียกว่า พิมพ์หน้าแก่ ที่พระพักตร์อิ่มเอิบเรียวเล็ก ปราศจากรอยเหี่ยวย่น เรียกว่าพิมพ์หน้าหนุ่ม

พระผงสุพรรณนั้นปรากฏตามจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างว่า “..พระฤๅษีทั้งสี่ตนจึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย พระฤๅษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกันทำพิธี เป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำ ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสี ศรีสารีบุตรคือ เป็นใหญ่ เป็นประธานในที่นั้น ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ ๓ เดือน แล้วท่านให้เอาไปประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูม



















Create Date : 28 กันยายน 2556
Last Update : 12 กรกฎาคม 2560 23:26:43 น. 0 comments
Counter : 906 Pageviews.

เหมียวสินธร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add เหมียวสินธร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.