Group Blog
 
All blogs
 

341. วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน (วัดบ้านเด่น) จ.เชียงใหม่

ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

แต่เดิมนั้น วัดแห่งนี้เพียงเพียงวัดเล็กๆในหมู่บ้านเท่านั้น แต่ด้วยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อ ครูบาเทือง นาถสีโล เกจิดังแห่งภาคเหนือที่จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ จึงพัฒนาจากวัดเล็กๆให้มีความใหญ่โตสวยงาม ทรงคุณค่าในงานนพุทธศิลป์ถิ่นล้านนา

ชื่อวัดแต่ก่อนชื่อวัดเด่นเฉยๆ ไม่มีต้นโพธิ์สักต้น แต่พอครูบามาอยู่ก็มีต้นโพธิ์ขึ้นมาให้เห็น แล้วต้นโพธิ์คนทางเมืองเหนือเขาเรียก “เก๊าสะหลี” ก็เห็นว่าชื่อมันเป็นมงคลดีก็เอามาตั้งเป็นสิริแก่วัดและที่ตั้งวัดแห่งนี้อยู่ในเขตเมืองเก่าสมัยโบราณที่ชื่อว่าเมืองแกน ก็เลยได้ชื่อวัดนี้มา

รูปแบบการก่อสร้างนั้น เป็นแบบล้านนาประยุกต์ ที่ผสมผสานกับแนวคิดของครูบาเทืองเอง ที่ครูบาเรียกว่า “แนวสถาปนึก” คือคิดจะใส่อะไจะทำอะไรก็ทำ และต้องมีความมั่นคง ครูบาเทืองต้องการให้เป็นการผสมผสานระหว่างวัดบ้านกับวัดป่า เพราะมีความเชื่อที่ว่าศาสนาอยู่ได้เพราะปฏิบัติ การแบ่งแยกไม่ใช่เรื่องสำคัญ โดยยึดหลักการสร้างตามบุญ คงเพราะการสร้างตามบุญนี่เอง ที่ทำให้จนกระทั่งทุกวันนี้ วัดเด่นฯจึงมีขนาดสิ่งปลูกสร้างใหญ่และยังคงสร้างไม่แล้วเสร็จในหลายๆส่วน













































































 

Create Date : 12 มกราคม 2557    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2560 18:05:52 น.
Counter : 2784 Pageviews.  

342. วัดศรีเกิด จ.เชียงใหม่

ถ.ราชดำเนิน ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ประวัติ พระเจ้าแข้งคม หรือ พระป่าตาลน้อย วัดศรีเกิด จ.เชียงใหม่
พระเจ้าแข้งคม เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ ปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ขัดสมาธิราบ วัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 94 นิ้ว สูง 112 นิ้ว น้ำหนัก 3,960 กิโลกรัม องค์พระมีลักษณะเด่น คือ พระชงฆ์ (หน้าแข้ง) เป็นสันคมเห็นได้ชัด ผู้คนจึงพากันเรียกขานตามสำเนียงพื้นเมือง ว่า พระเจ้าแค่งคมหรือพระเจ้าแข่งคม หรือพระเจ้าแข้งคมแทน

พระเจ้าแข้งคม หล่อขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช ทำการหล่อ ณ วัดตาลวันมหาวิหาร (วัดป่าตาล) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ปัจจุบัน คือ บริเวณหลังโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ) นอกเมือง โดยพระเจ้าติโลกราชมีพระประสงค์ให้เป็นพระพุทธรูปแบบลวปุระ เมื่อหล่อเสร็จทรงบรรจุพระธาตุ 500 องค์แล้วขนานนามว่า พระป่าตาลน้อยประดิษฐานอยู่ที่วัดป่าตาลมาเป็นเวลาถึง 316 ปี

ในปี พ.ศ.2342 วัดป่าตาลได้กลายเป็นวัดร้างชำรุดทรุดโทรมเป็นที่น่าเศร้าใจ เจ้าเมืองเชียงใหม่ขณะนั้น คือ พระเจ้ากาวิละ จึงให้เชิญพระป่าตาลน้อยมายังวัดศรีเกิดโดยสร้างวิหารขึ้นประดิษฐานสืบมาจนปัจจุบัน

















 

Create Date : 12 มกราคม 2557    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2560 18:11:00 น.
Counter : 1550 Pageviews.  

343. วัดทุงยู จ.เชียงใหม่

ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ตามประวัติเล่าขานบอกว่า วัดทุงยู สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2019 เดิมชื่อ วัดตุงยู โดยคำว่า “ทุยยู” ปรากฏในวรรณกรรมและกฎหมายโบราณ อันหมายถึง ร่มที่เป็นเครื่องประดับยศเจ้านาย

วัดทุงยู เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายกันครับ มีการพบชื่อในโครงนิราศหริภุญไชย ซึ่งเขียนประมาณ พ.ศ. 2060 บอกว่า วัดทุงยูได้รับการบูรณะ และฟื้นฟูจากเจ้าหลวงเชียงใหม่สืบต่อมาดังปรากฏ

จากนั้น พ.ศ. 2452 เจ้าอินทรวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8 โปรดสร้างฉัตรพระเจดีย์ วิหารมีโก่งคิ้วเป็นรูปโค้งไม่มีรวงผึ้ง หน้าบันประดับปูนปั้นลวดลายเครือเถาประดับกระจกอังวะ เจดีย์มีลักษณะทรงกลม ตั้งบนเรือนธาตุฐานสี่เหลี่ยม มีการบูรณะโดยเป็นเป็นรูปแบบอิทธิพลทรงพม่า ส่วนอุโบสถขนาดเล็กกรุด้วยหินอ่อน

นอกจากนี้ ด้านในพระวิหาร ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงลวดลายเกี่ยวกับความเชื่อทางพุทธศาสนากันมากมาย ซึ่งหากใครมีความรู้เรื่องพุทธศาสนาหน่อย ประเภทตอนเรียนมัธยมได้เกรด 4 วิชานี้คงกระจ่างในเรื่องราวๆ ต่างๆ ผ่านลวดลายได้เป็นอย่างดี





















 

Create Date : 12 มกราคม 2557    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2560 18:14:53 น.
Counter : 919 Pageviews.  

344. วัดชัยพระเกียรติ จ.เชียงใหม่

ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

วัดชัยพระเกียรติ เดิมชื่อวัดชัยผาเกียรติ์

สิ่งก่อสร้างภายในวัดปัจจุบันเป็นของใหม่ทั้งหมด น่าจะเป็นเพราะโบราณสถานโบราณวัตถุภายในวัดผุพังไป จึงมีการบูรณะหรือมีการ รื้อปลูก สร้างกันขึ้นมาใหม่

อย่างไรก็ตามวัดชัยพระเกียรติ ก็ยังมีหลักฐานว่าเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยโบราณ ยุคราชวงศ์มังรายตอนกลาง เท่าที่หลักฐานการค้นพบ ปรากฏชื่อของวัดชัยผาเกียรติ์ในโคลงนิราศหริภัญไชย

จากประวัติของวัดที่ปรากฏ ในหลักศิลาจารึกหน้าพระวิหารที่สร้างขึ้นใหม่ ระบุว่าวัดชัยพระเกียรติเป็นพระอารามของนครเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล สมัย พระเมกุฏิวิสุทธิวงค์ กษัตริย์เชียงใหม่จะทรงทำนุบำรุงวัดนี้มาจนถึงเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ลำดับ สุดท้ายของราชวงศ์มังราย

ส่วนการสร้างพระประธานในวิหารนั้น พระมหาจิรประภา กษัตริย์ราชวงศ์มังรายลำดับที่ 15 ทรงสร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสาวรีย์ถวายแด่สมเด็จพระชัยราชาธิราชกษัตริย์ในวงศ์สุวรรณภูมิ ซึ่งปกครองกรุงศรีอยุธยาระหว่างพุทธศักราช 2081 -2088 น้ำหนักทองที่หล่อ พระพุทธรูปองค์นี้มีอยู่ 5 ตื้อ 1 ตื้อ เท่ากับ 10 โกฏิ น้ำหนักทอง 5 ตื้อ จึงเท่ากับ 50 โกฏิ จึงเรียกพระนามว่า “พระเจ้าห้าตื้อ” ที่ฐานของพระพุทธรุปด้านหน้า เป็นอักษรพม่าส่วนด้านหลังของพระพุทธรูป เป็นอักษรพื้นเมืองเชียงใหม่ แสดงให้เห็นสมัยนั้นพม่ามีอิทธิพลควบคุมล้านนามาก





















 

Create Date : 12 มกราคม 2557    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2560 18:18:09 น.
Counter : 1136 Pageviews.  

345. วัดพันเตา จ.เชียงใหม่

ตั้งอยู่บนถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ติดกับวัดเจดีย์หลวง

วัดพันเตา เดิมเป็นพื้นที่ในเขตวัดเจดีย์หลวง โดยเป็นเขตสังฆาวาสรวมทั้งเป็นพื้นที่ตั้งเตาหลอม ในการหล่อพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในวัดเจดีย์หลวงแต่โบราณ ต่อมาภายหลังได้สร้างเป็นวัดพันเตา โดยอยู่ในยุคใกล้เคียงกับวัดเจดีย์ หลวงในรัชสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ (องค์ที่ 7) ปี พ.ศ. 2418 ได้มีพระราชศรัทธาในการสร้างพระวิหารโดยการรื้อหอคำ (ที่ประทับ) ของพระเจ้ามโหตรประเทศ (องค์ที่ 5) ซึ่งเป็นเรือนไม้สักทั้งหลัง ถวายให้แก่วัดพันเตาเพื่อเป็นพระวิหารหอคำหลวง

สำหรับศาสนสถานและปูชนียวัตถุภายในวัดพันเตา ประกอบด้วย พระวิหารหอคำหลวง เดิมเป็น หอคำโบราณ สร้างจากไม้สักทั้งหลังมีสภาพสมบูรณ์และสวยงามที่สุดของเชียงใหม่ รายละเอียดวิจิตรงดงามด้วยงานจำหลักไม้ตามแบบฝีมือช่างหลวง ภาย ในประดิษฐาน พระเจ้าปันเต้า พระพุทธรูปศิลปะล้านนา ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหาร พระพักตร์อิ่มเอิบเมตตา นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ประธาน ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหารหอคำหลวง เป็นเจดีย์ทรงระฆัง บนฐานแปดเหลี่ยม และมีเจดีย์รายล้อมอยู่โดยรอบ























 

Create Date : 12 มกราคม 2557    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2560 18:21:11 น.
Counter : 1728 Pageviews.  

1  2  

เหมียวสินธร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add เหมียวสินธร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.