Group Blog
 
All blogs
 

331. วัดไหล่หินหลวง จ.ลำปาง

ตั้งอยู่ที่ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จ.ลำปาง

วัดเสลารัตนปัพพตาราม (วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน) มีพระวิหารเก่าแก่ฝีมือช่างเชียงตุงเป็นศิลปะแบบล้านนาไทย ประดับลวดลายงดงามทั้งหลัง โดยเฉพาะส่วนหน้าบัน และซุ้มประตูที่มีการก่ออิฐถือปูนประดับรูปปั้นสัตว์ศิลปะล้านนาแท้

ภายในวิหารนอกจากจะมีพระประธานแล้วยังมี รูปปั้นพระมหาเกสระปัญโญภิกขุขนาดเท่าตัวจริงซึ่งปั้นด้วยฝีมือของท่านเอง พระเจดีย์ของวัดไหล่หินก่อสร้างแบบศิลปะล้านนาที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คันทวยที่โรงธรรมเป็นแบบล้านนา คือเป็นรูปคล้ายแผ่นไม้สามเหลี่ยมขนาดใหญ่แล้วฉลุลายให้โปร่งลอยตัวเป็นรูปต่าง ๆ กันออกไป เช่น รูปนาค รูปหนุมาน รูปลายเครือเถา

นอกจากนั้นทางวัดได้จัด หอพิพิธภัณฑ์โบราณล้านนาวัดไหล่หิน เป็นที่เก็บหอพระแก้ว ซุ้มพระพิมพ์ อาวุธโบราณ และที่โรงธรรมมีใบลานเก่าแก่ของล้านนาไทยมีอายุเกินกว่า 500 ปี จาร (การใช้เหล็กแหลมเขียน) เป็นภาษาบาลีด้วยอักษรไตเหนือ

วัดไหล่หินหลวง จากเว็บ oknation.net
วัดไหล่หินหลวง จากเว็บ lampang.go.th
วัดไหล่หินหลวง จากเว็บ touronthai.com



























 

Create Date : 02 ธันวาคม 2556    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2560 6:38:36 น.
Counter : 2940 Pageviews.  

332. วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จ.เชียงใหม่

ตั้งอยู่บนยอด ดอยสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร

เป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ในวัดมีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูน วัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นวัดสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างตามแบบศิลปะล้านนา

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้โปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ



















 

Create Date : 02 ธันวาคม 2556    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2560 6:41:28 น.
Counter : 1711 Pageviews.  

333. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่

ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร

วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสน รู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง"

พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิ สูง 79 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 63 เซนติเมตร เป็นศิลปะแบบลังกา ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีป ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.700 ต่อมา เจ้านครศรีธรรมราชได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่เมืองกำแพงเพชรและเชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. 2205 ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง 105 ปี เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ชาวเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่ เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ. 2338

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ



















 

Create Date : 02 ธันวาคม 2556    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2560 17:21:51 น.
Counter : 650 Pageviews.  

334. วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่

ตั้งอยู่บนถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

วัดสวนดอกในอดีตนั้นป็นสวนดอกไม้ (ต้นพยอม) ของเจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชวงศ์เม็งราย โดยในปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) พระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น "พระอารามหลวง" เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ "พระมหาเถระสุมน" ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนา และสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐาน "พระบรมสารีริกธาตุ" 1 ใน 2 องค์ ที่ "พระมหาเถระสุมน" อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ ใน วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร)

พ.ศ. 2429 ในสมัย ราชวงศ์เม็งราย วัดสวนดอก มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากสิ้น ราชวงศ์เม็งราย บ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจพม่า ทั้งเกิดจลาจลวุ่นวาย วัดนี้จึงกลายสภาพเป็นวัดร้างไป วัดสวนดอก ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง ในรัชสมัย พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่ง ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) และได้รับการทำนุบำรุงจาก เจ้านายฝ่ายเหนือ และประชาชนเชียงใหม่มาโดยตลอด

วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2450 พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ พระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน และต่อมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2475 เป็นการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระวิหารโดย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา

พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1914 ในรัชกาลของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "พระอารามหลวง" โดยโปรดเกล้าให้สร้าง "พระเจดีย์ทรงลังกา" ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระสุมนได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 ซึ่งแต่เดิมมีเจดีย์แบบสุโขทัย (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) อยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระเจดีย์ใหญ่ แต่ได้ปรักหักพังลง พระเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ

พระเจ้าเก้าตื้อในพระอุโบสถวัดสวนดอกพระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง ('ตื้อ" เป็นคำในภาษาไทยเหนือ แปลว่า หนักพันชั่ง) พระญาเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2047 "พระเจ้าเก้าตื้อ" เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง 8 ศอก หรือ 3 เมตร สูง 4.70 เมตร เพื่อเป็นพระองค์ประธานใน วัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์เป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า "วัดเก้าตื้อ" แทน ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ในปี พ.ศ. 2475 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา

พระพุทธปฏิมาค่าคิง (เท่าพระวรกาย) เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา พ.ศ. 1916 หล่อด้วยทองสำริด ขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา หน้าตักกว้างสองเมตร สูงสองเมตรครึ่ง เรียกชื่อตามภาษาถิ่นล้านนาว่า “พระเจ้าค่าคิง”

กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2450 โดยพระดำริใน พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ซึ่งทรงเห็นว่าทำเลที่ตั้งของวัดสวนดอกกว้างขวาง จึงโปรดให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิของ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ พระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน ณ ที่นี่ รวมทั้งได้ประทานทรัพย์ให้การทำนุบำรุงมาโดยตลอดพระชนม์ชีพ หลังจาก พระราชชายา เจ้าดารารัศมี สิ้นพระชนม์ ได้มีการแบ่งพระอัฐิของพระองค์มาประดิษฐานไว้ ณ กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่งนี้ (อีกส่วนหนึ่งแบ่งประดิษฐานไว้ใน สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร) ปัจจุบัน กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่งนี้ ได้ถูกจดทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ

















 

Create Date : 02 ธันวาคม 2556    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2560 17:24:35 น.
Counter : 741 Pageviews.  

335. วัดปันเสา จ.เชียงใหม่

ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของวัดแสนตาห้อย (ด้านหลังคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

เป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งในสมัยราชวงศ์มังราย มีร่องรอยโบราณคดีที่เห็นได้จากภายนอก คือเจดีย์ทรงกลมแบบเชียงใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย ประกอบด้วยฐานเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมประมาณ สามชั้น รองรับด้วยฐานบัวย่อเก็จลูกแก้ว ถัดขึ้นไปเป็นหน้ากระดานกลมประมาณ ๓ ชั้น รองรับมาลัยเถาที่เป็นแบบบัวคว่ำหน้ากระดาน ๓ ชั้น แบบสุโขทัย องค์ระฆังใหญ่ที่บังลังก์เป็นสี่เหลี่ยมยอกเป็นปล้องไฉนแบบสุโขทัย

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ฝ่ายวิชาการ สำนักงานโบราณคดีแลพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่ กรมศิลปากร ได้ขุดค้นทางโบราณคดี เบื้องต้นพบว่าเจดีย์วัดนี้มีการสร้างซ้อนกัน ๒ ชุด เจดีย์องค์เดิมที่อยู่ด้านในมีสัณฐานประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อเก็จ และถัดขึ้นไปเป็นฐานเขียงแปดเหลี่ยมย่อเด็จและฐานบัวคว่ำบัวหงายแปดเหลี่ยม ตามลำดับ ลักษณะด้านแปลนส่วนล่างคล้ายเจดีย์อิทธิพลพุกาม ส่วนลักษณะแปดเลี่ยมอิทธิพลหริภุญชัย ส่วนที่เป็นย่อเก็จหายไป มีพัฒนาการเป็นรูปแบบทรงแปดเหลี่ยมอิทธิพลทราวดี (เช่น เจดีย์แปดเหลี่ยมเวียงท่ากาน และที่วัดกุมกามที่ปราม เวียงกุมกาม)















 

Create Date : 02 ธันวาคม 2556    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2560 17:27:07 น.
Counter : 1086 Pageviews.  

1  2  

เหมียวสินธร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add เหมียวสินธร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.