Group Blog
 
All blogs
 

141. วัดศาลากุน จ.นนทบุรี

ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีท้องที่หมู่ ๓ บ้านเกาะศาลากุน การเดินทางไปยังวัดนี้ ถ้าหากข้ามเรือที่ท่าวัดกลางเกร็ด เมื่อขึ้นที่ท่าเกาะเกร็ด จะมีถนนไปถึงวัดนี้ได้ ระยะทางประมาณ ๑,๔๐๐ เมตร

กล่าวกันว่าวัดนี้เป็นวัดเก่าเช่นกัน เดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำ เนื่องจากดินริมแม่น้ำงอกขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันนี้จึงอยู่เกือบกลางเกาะเกร็ด โบราณสถานของวัดล้วนสร้างขึ้นใหม่ คืออุโบสถลักษณะทรงโบราณ ๒ ชั้น ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ เจดีย์และกุฏิสงฆ์ และยังมีโบราณวัตถุเก่า เช่น โต๊ะหมู่บูชาขนาดใหญ่ประดับมุก เครื่องแก้วเจียระไน และหีบศพประดับมุก









 

Create Date : 28 กันยายน 2556    
Last Update : 12 กรกฎาคม 2560 19:10:00 น.
Counter : 2351 Pageviews.  

142. วัดเสาธงทอง จ.นนทบุรี

ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเกร็ด

เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อ วัดสวนหมาก ศิลปสมัยอยุธยา ที่มีเจดีย์ ย่อมุมสิบสองขนาดใหญ่อยู่หลังโบสถ์ เป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในเขตอำเภอปากเกร็ด ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ มีเจดีย์องค์เล็กเป็นเจดีย์ บริวารโดยรอบอีก 2 ชั้น ด้านข้างโบสถ์มีเจดีย์องค์ใหญ่อีก 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังกลมอีกองค์หนึ่งมีรูปแปลกมีฐานเหลี่ยม องค์ระฆังทำเป็นทรงกลมสูง ภายในโบสถ์มีลายเพดานสวยงามมาก เป็นลายทองเขียนลาย กรวยเชิงอย่างงามพระประธานเป็นพระปางมารวิชัย ปูนปั้น ขนาดใหญ่องค์หนึ่งในจังหวัดนนทบุรี คนมอญเรียก วัดนี้ว่า "เพ๊ยะอาล๊าต" ในสมัยอยุธยาเรียกว่า "วัดสวนหมาก"











 

Create Date : 28 กันยายน 2556    
Last Update : 12 กรกฎาคม 2560 19:14:38 น.
Counter : 636 Pageviews.  

143. วัดไผ่ล้อม จ.นนทบุรี

ตั้งอยู่บนเกาะเกร็ด ด้านทิศเหนือของเกาะเกร็ด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

เป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อาจจะเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่งบนเกาะเกร็ด แต่ได้เป็นวัดร้างไปตั้งแต่ พ.ศ. 2308 เพราพม่าเข้าตีและยึดเมืองนนทบุรี จากนั้นเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้เมื่อ พ.ศ. 2310 จึงไม่มีพระสงฆ์และชาวบ้านดูแลวัด พ.ศ. 2317 ได้มีคนมอญมาบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ วัดไผ่ล้อมถึงมีพระสงฆ์อยู่ประจำวัดสืบมา แต่วัดคงมีสภาพทรุดโทรมมากเพราะมีชาวบ้านไม่มาก ประกอบกับวัดถูกทิ้งร้างมานาน ต่อมาอำแดงแตนได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ อุโบสถ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2446 ที่ตั้งวัดไผ่ล้อมอยู่กลางระหว่าง วัดมอญอีก 2 วัด คือวัดปรมัยยิกาวาสและวัดเสาธงทอง คนมอญจึงเรียกวัดไผ่ล้อมในภาษามอญว่า เภี่ยะโต้ แปลว่าวัดกลาง การตั้งอยู่ระหว่างวัดดังที่กล่าว ประกอบกับมีชุมชนใกล้วัดจนเกือบจะเป็นวัดร้าง พ.ศ. 2527 พระปลัดวันชัย วายาโม ศิษย์พระราชอุดมมงคลหรือหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม อำเภอสังขละ จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ได้ร่วมกับชาวบ้านพัฒนาวัดไผ่ล้อมจนมีสภาพดี ประกอบกับเกาะเกร็ด ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมมอญที่สำคัญ วัดไผ่ล้อมจึงมีนักท่องเที่ยวมาทำบุญที่วัดมาก วัดไผ่ล้อมเดิมเป็นวัดที่สังกัดคณะสงฆ์รามัญนิกาย ปัจจุบันสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

อุโบสถ เป็นอาคารทรงโรง หลังคาลด 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูนขนาด 5 ห้อง กว้าง 7เมตร ยาว 20 เมตร มีลักษณะรูปทรงและสัดส่วนงดงามมาก อุโบสถหันหน้าไปทางทิศเหนือทางแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นคตินิยมในการสร้างพระอุโบสถรุ่นโบราณ ที่ถือแม่น้ำเป็นหลักไม่ได้ถือทิศตะวันออกเป็นหลักเช่นที่ถือปฏิบัติกัน ในสมัยหลัง หน้าบันไม้จำหลักลายดอกพุดตานใบเทศ ปิดทองประดับกระจกคันทวยไม้จำหลักปิดทองประดับกระจก เป็นคันทวยที่งามอ่อนช้อยมาก ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เป็นไม้ปิดทองประดับกระจกทั้งหมดรวมทั้งหน้าบันปีกนกจำหลักลายใบเทศปิดทองประดับกระจกเช่นกัน ซึ่งเป็นการบูรณะในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 4 ด้านหน้าและด้านหลังมีมุขคลุมชานชาลาทั้งสองด้านเสารับมุขก่ออิฐถือปูน เป็นเสาเหลี่ยมย่อมุม บัวหัวเสา บัวจงกลปูนปั้น รูปทรงงามปิดทอง ประดับ กระจก ประตูด้านหน้าและด้านหลังด้านละสองประตูซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่างเดิมเป็นซุ้มเรือนแก้วปูนปั้นปิดทองประดับกระจก แต่ปัจจุบันเป็นปูนรูปทรงไม่งามเหมือนของเดิมผนังหุ้มกลองด้านหน้าระหว่างประตูทั้งสอง มีมณฑปปูนปั้นประดิษฐานพระพุทธรูป ผนังมณฑปด้านขวาและซ้ายของพระพุทธรูปเขียนภาพพระสาวกยืนพนมมือถวายสักการะด้านละหนึ่งรูปมณฑปนี้ได้ทำใหม่ภาพเขียนดังกล่าวนี้จึงไม่มีให้เห็นในปัจจุบัน เพราผุพังถูกกะเทาะทิ้งและโบกปูนทับใหม่ พระอุโบสถหลังนี้ถึงจะมีการปรับปรุงซ่อมแซมไปบ้าง แต่ยังคงเห็นความงามของพระอุโบสถหลังนี้ได้และเป็นพระอุโบสถที่มีความงามหลังหนึ่ง เช่นเดียวกับพระอุโบสถวัดฉิมพลีสุทธาวาส

เสมา รอบพระอุโบสถเป็นเสมาขนาดเล็กอยู่ในซุ้มเสมาทั้งหมด

กำแพงแก้ว ของเดิมก่ออิฐถือปูนเป็นกำแพงเตี้ยแบบกำแพงบัวหลังเจียด แต่ชำรุดมาก ได้สร้างกำแพงคอนกรีตขนาดสูง และมีซุ้มประตูกำแพงแก้วทั้งด้านหน้าและด้านหลังอุโบสถ

พระเจดีย์คู่หน้าพระอุโบสถ ด้านหน้าอุโบสถมีเจดีย์แบบมอญ 2 องค์ องค์ระฆังมีรูปทรงกลมคล้ายบาตรคว่ำมีลายปูนปั้นปิดลายใบเทศ ประดับรอบองค์ระฆังอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมมีปลียอดแบบเจดีย์มอญทั่วไปมีการบูรณะสมัยรัชกาลที่ 3

พระธาตุรามัญเจดีย์ ด้านหลังอุโบสถเดิมมีพระธาตุรามัญเจดีย์ขนาดใหญ่แต่ชำรุดปรักหักพัง ทางวัดได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ครอบองค์เจดีย์เดิม เมื่อ พ.ศ.? 2530 เป็นเจดีย์มอญที่มีความงดงาม องค์พระเจดีย์ประดิษฐานอยู่บนฐานใหญ่ รอบฐานในทิศทั้งแปด มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัดแบบมอญ ทั้ง 8 ทิศ กำแพงแก้วล้อมรอบพระธาตุรามัญเจดีย์ ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีซุ้มประตูแบบมอญทั้งสองด้าน

หอระฆัง ตั้งอยู่หลังพระธาตุรามัญเจดีย์อยู่ระหว่างศาลาการเปรียญ และศาลาบำเพ็ญบุญและที่พักสงฆ์เป็นสถาปัตยกรรมแบบมอญ ทรงจัตุรมุขยอดเป็นแบบยอดเจดีย์มอญ

ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยสองชั้น แต่หน้าบันศาลาการเปรียญปั้นเป็นรูปมนุษย์สีหะ ซึ่งเป็นคติความเชื่อของคนมอญ วัดมอญจะนิยมทำรูปมนุษย์สีหะ มียันต์อักขระมอญ บันไดขึ้นศาลาด้านหน้าทำหลังคาคลุมลดชั้นตลอดตั้งแต่เชิงบันไดขึ้นไปตามแบบวัดมอญ

ศาลาบำเพ็ญบุญและที่พักสงฆ์ เป็นอาคารขนาดเดียวกับศาลาการเปรียญ สร้างในแนวเดียวกัน และมีหน้าบันคล้ายกันกล่าวคือมีรูปมนุษย์สีหะและยันต์อักขระมอญ เป็นอาคารอเนกประสงค์ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และที่พักสงฆ์ ด้านหน้ามีบันไดขึ้นแลหลังคาลดชั้นคลุมบันไดเช่นเดียวกับบันไดขึ้นศาลาการเปรียญ

หอสวดมนต์และหมู่กุฏิของเดิม ด้านทิศตะวันตกของอุโบสถเป็นที่ตั้งหอสวดมนต์และหมู่กุฏิเก่า เป็นอาคารไม้ทั้งหมดมีหอสวดมนต์อยู่ตรงกลาง ทรงศาลาโถง ประดิษฐานพระพุทธรูปและเป็นที่พระสงฆ์มารวมสวดมนต์อยู่ตรงกลาง ทรงศาลาโถง ประดิษฐานพระพุทธรูปและเป็นที่พระสงฆ์มารวมสวดมนต์ทำวัตรเช้า และทำวัตรเย็น ทั้งเป็นสถานที่ฉันภัตตาหารของพระภิกษุสามเณรในวัดด้วย

หอระฆังเก่า เป็นหอระฆังเครื่องไม้ทั้งหมด หลังคาจัตุรมุขหน้าบันจำหลักลายก้านขด และรูปเสมากลางหน้าบันมีความสวยงาม ทั้งหอสวดมนต์ หมู่กุฏิ และหอระฆังอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมาก แต่ยังเห็นความอลังการของสถาปัตยกรรมโบราณเหล่านี้ได้











 

Create Date : 28 กันยายน 2556    
Last Update : 12 กรกฎาคม 2560 19:28:20 น.
Counter : 969 Pageviews.  

144. วัดพระประสพ จ.สุราษฎร์ธานี

หมู่ 1 ต.ทุ่ง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี


























 

Create Date : 28 กันยายน 2556    
Last Update : 12 กรกฎาคม 2560 19:35:42 น.
Counter : 1376 Pageviews.  

145. วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จ.สุราษฎร์ธานี

เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนรักษ์นรกิจ หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พระบรมธาตุไชยา เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็น 1 ใน 3 ของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้ ได้แก่
1. พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
2. เจดีย์พระมหาธาตุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช
3. พระพุทธไสยาสน์ในถ้ำคูหาภิมุข บริเวณวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา

จากคำบอกเล่าของชาวเมืองไชยาได้มีตำนานที่เล่าขานเกี่ยวกับเจดีย์พระบรมธาตุไชยาว่า ครั้งหนึ่งมีพี่น้องชาวอินเดียสองคนชื่อ ปะหมอ กับปะหมัน ทั้งสองเดินทางโดยเรือใบเข้ามาถึง เมืองไชยา ได้พาบริวารขึ้นบกที่บ้านนาค่ายตรงวัดหน้าเมือง ในตำบลเลเม็ด เจ้าเมืองมอบให้ปะหมอ ซึ่งเป็นนายช่างมีความเชี่ยวชาญการก่อสร้าง สร้างเจดีย์พระบรมธาตุไชยา ครั้นเสร็จก็ตัดมือตัดเท้า เสีย เพื่อมิให้ปะหมอไปสร้างเจดีย์ที่งดงามเช่นนี้ให้ผู้ใดอีก ปะหมอทนบาดพิษบาดแผลไม่ได้ ถึงแก่ความตาย เจ้าเมืองได้หล่อรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรไว้ เป็นเครื่องหมายแทนตัวปะหมอ ส่วนน้องชายที่ชื่อปะหมันได้ไปครองเกาะพัดหมัน และตึงรากอยู่ที่นั้นจนกระทั่งสิ้นชีวิต สถานที่ตั้งบ้านเรือนของปะหมันนั้นเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง มีนาล้อมเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เศษ สมัยโบราณที่นี่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาก คณะมโนราห์ที่เดินทางผ่านจะต้องหยุดไหว้รำร้องถวายมือ คณะใดไม่เคารพคนในคณะจะชัก หรือเกิดเหตุขัดข้องต่างๆ ถ้าใครไปตั้งคอกเลี้ยวหมูในบริเวณดังกล่าวหมูจะตายหมดทั้งคอก

เจดีย์พระบรมธาตุไชยาเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยองค์เดียวที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 ไม่ปรากฎประวัติการสร้างและผู้สร้าง เข้าใจว่าสร้างในขณะที่เมืองไชยาสมัยศรีวิชัยกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุด

หลักฐานที่ยืนยันถึงอาณาจักรศรีวิชัยอายุไม่ต่ำกว่า 1200 ปี จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ใช้ภาพของ เจดีย์พระบรมธาตุนี้เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัด และเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำกอง และผ้าพันคอลูกเสือด้วย ซึ่งถือกันว่าถ้าใครไปเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี หากไม่ได้ไปนมัสการ พระบรมธาตุไชยาแล้วก็เหมือนกับยังไปไม่ถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ส่วนทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมนั้น มีลักษณะเป็นเจดีย์องค์เดียว ในปัจจุบันที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด โดยองค์เจดีย์พระบรมธาตุมีความสูงจากฐานใต้ดินถึงยอด 24 เมตร ตั้งอยู่ บนฐาน สี่เหลี่ยมสูงย่อเก็จ ขนาดฐานวัดจากทิศตะวันตกยาว 13 เมตร ฐานนี้สร้างก่อนสมัยที่ พระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสโส) จะบูรณะ ตั้งอยู่บนผิวดินซึ่งมีระดับต่ำกว่าพื้นดินปัจจุบัน ทางวัดได้ขุด บริเวณโดยรอบ ฐานเป็นเสมือนสระกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 60-70 เซนติเมตร เพื่อให้ฐานเดิม ปัจจุบันมีน้ำขังอยู่รอบฐานตลอดปี บางปีในหน้าแล้งรอบๆ ฐานเจดีย์พระบรมธาตุ จะแห้ง มีตาน้ำพุ ขึ้นมา ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถแก้โรคภัยต่างๆ ได้ ต่อมาทางวัด ได้ใช้ปูนซีเมนต์ ปิดตาน้ำเสีย

โดยองค์เจดีย์พระบรมธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขย่อ มุขด้านหน้าหรือมุขด้านตะวันออก เปิดมีบันไดขึ้นสำหรับให้ประชาชนเข้าไปนมัสการพระพุทธรูปภายในเจดีย์ เมื่อเข้าไปภายใน จะเห็นองค์พระเจดีย์หลวง เห็นผนังก่ออิฐแบบไม่สอปูนลด หลั่นกันขึ้นไปถึงยอดมุข อีกสามด้าน ทึบทั้งหมด ที่มุมฐานทักษิณมีเจดีย์ทิศหรือเจดีย์บริวารตั้งซ้อนอยู่ด้วย หลังคาทำเป็น 3 ชั้นลดหลั่น กันขึ้นไป แต่ละชั้นประดับรูปวงโค้งขนาดเล็กและสถูปจำลองรวม 24 องค์ เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอด ซึ่งได้รับการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 5 เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ยอดเจดีย์ที่เดิมหักลงมาถึงคอ ระฆัง ทำให้เห็นลวดลายละเอียดเสียหายมาก รวมทั้งฐานเจดีย์ที่จมอยู่ใต้ดินได้ขุดดินโดยรอบฐาน พระเจดีย์ และทำลายรากไม้ในบริเวณนั้นแล้ว ก่ออิฐถือปูนตลอดเพื่อให้เห็นฐานเดิมของเจดีย์ อีกทั้งลวดลายประดับเจดีย์ ได้มีการสร้างเพิ่มเติมใหม่ด้วยปูนปั้นเกือบทั้งหมด เป็นลายปั้นใหม่ ตามความคิดของผู้บูรณะ มิได้อาศัยหลักทางโบราณคดี รวมถึงลานระหว่างเจดีย์และพระระเบียง เปลี่ยนจากอิฐหน้าวัวเป็นกระเบื้องซีเมนต์ จนถึงในรัชกาลปัจจุบัน พ.ศ.2521-2522 ได้รับการ บูรณะปฎิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้ง โดยการบูรณะในครั้งนี้เป็นการซ่อมแซมของเก่าที่มีอยู่เดิมให้คง สภาพดี เพื่อไว้เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของชาติสืบต่อไป





















 

Create Date : 28 กันยายน 2556    
Last Update : 12 กรกฎาคม 2560 19:42:18 น.
Counter : 766 Pageviews.  

1  2  

เหมียวสินธร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add เหมียวสินธร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.