ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
MPLS-TE: เปรียบเทียบ SPF (OSPF/ISIS) กับ CSPF (OSPF-TE/ISIS-TE)



Note and Shared: MPLS-TE
MPLS-TE คือ การควบคุม Traffic (Traffic Engineering) บนพื้นฐานของ Technology MPLS
ข้อมูลก่อนการอ่านบทความ: - OSPF และ ISIS ธรรมดา จะใช้วิธีการคำนวณ the best path บนพื้นฐานของ algorithm แบบ SPF (Shortest Path First) - OSPF-TE และ ISIS-TE จะใช้วิธีการคำนวณ the best path บนพื้นฐานของ algorithm แบบ CSPC (Constraint-Based SPF) Note: OSPF-TE และ ISIS-TE คือ Link-State routing protocol ที่เพิ่มขีดความสามารถให้รองรับ TE หรือ Traffic Engineering ได้ คำถาม: แล้ว SPF กับ CSPF มันต่างกันยังไง แล้วมันมาช่วย MPSL-TE อย่างไร หรือมาช่วยในการของการทำ Traffic Engineering อย่างไรล่ะ หม่ะ!!!! เราไปเริ่มอ่านบทความข้างล่างกันเลยดีกว่า
Dynamic Routing พื้นฐานอย่าง OSPF และ ISIS จะทำการคำนวณเลือก the best path อย่างอัตโนมัติ โดยการใช้ SPF (Shortest Path First) Algorithm แบบธรรมดา ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิด congestion หรือความแออัด ขึ้นในบางจุด (บาง hop) ของการรับส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง แล้วเพราะอะไรล่ะ?
SPF (Shortest Path First) Algorithm แบบพื้นฐาน (SPF แบบธรรมดา) SPF จะคำนวณ the best path จากต้นทางไปยังปลายทางบนพื้นฐานของค่า Cost ที่น้อยที่สุด โดยไม่สน Bandwidth Requirement (ไม่สนใจความต้องการ Bandwidth) ของการใช้งานจากต้นทางไปยังปลายทาง และไม่สนใจว่า Bandwidth ระหว่างทางถูกจองไปแล้วเท่าไหร่ และมีเหลืออยู่เท่าไหร่
ในกรณีของ SPF แล้ว จะไม่สนใจเลยว่า Bandwidth ระหว่างทางจะมีเพียงพอที่จะรองรับความต้องการ Bandwidth จากต้นทางไปยังปลายทางหรือไม่ (SPF จะคำนวณ the best path โดยไม่สนใจ Available Bandwidth (Bandwidth ที่มีเหลือ) ระหว่างทาง) นั่นก็คือ การคำนวณ the best path ของ SPF จะสนใจแต่เพียงค่า cost เพียงอย่างเดียว (the best path ของ SPF จะสนใจเส้นทางที่มีค่า cost รวมจากต้นทางไปยังปลายทางที่น้อยที่สุดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น)
ผลจากการคำนวณเลือก the best path ของ SPF ที่สนใจแต่เพียงค่า cost เพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือ อาจจะทำให้เกิด congestion หรือเกิดความแออัดของการรับส่งข้อมูลในบางจุด หรือบาง hop ของ path ได้
แต่สำหรับ CSPF (Constraint-Based SPF) แล้ว CSPF จะเป็นการคำนวณ SPF เพื่อหา the best path ที่อยู่บนพื้นฐาน requirement หรืออยู่บนพื้นฐานของข้อจำกัดในการคำนวณ best path (อยู่บนพื้นฐานของ constraint) เช่น ต้นทางต้องการสร้างเส้นทางจากต้นทางไปยังปลายทางโดยมีเงื่อนไข หรือ requirement ของ Bandwidth อยู่ที่ 50 Mbps แล้ว CSPF จะทำการคำนวณหาเส้นทางว่า:
1. เส้นทางไหนบ้างที่มี Bandwidth ระหว่างทาง จากต้นทางไปยังปลายทางที่เพียงพอต่อความต้องการนี้ โดยเส้นทางไหนที่มี Available Bandwidth หรือ Bandwidth ที่เหลืออยู่ ที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการนี้จะถูกตัดทิ้งไปจากการถูกเลือกเป็น Best Path สำหรับ CSPF ซึ่งหากเส้นทางที่มี Bandwidth เหลือเพียงพอต่อความต้องการ มีมากกว่า 1 เส้นทางแล้ว ให้พิจารณาข้อต่อไป
2. หลังจากได้เส้นทางจากข้อ 1 แล้ว (กรณีมีเส้นทางมากกว่า 1 เส้นทาง) CSPF จะมาพิจารณาต่อว่า เส้นทางที่เหลือจากข้อ 1 นั้น มีเส้นทางไหนบ้างที่มีค่า cost รวมจากต้นทางไปยังปลายทางที่น้อยที่สุด ซึ่งเส้นทางที่มีค่า cost รวมจากต้นทางไปยังปลายทางที่น้อยที่สุดในข้อ 2 นี้ จะถูกเลือกเป็น Best Path
สำหรับ MPLS-TE แล้ว Constraint (เงื่อนไข/ข้อจำกัด)
ในการคำนวณ the best path บน CSPF ในความเป็นจริงแล้ว จะไม่ได้มีแค่ Bandwidth แต่จะมีอีกเยอะแยะมากมาย ไม่่ว่าจะเป็น การเลือก media และอื่นๆ เป็นต้น

มาทำโจทย์ MPLS-TE กันหน่อย
แจ้งก่อนทำโจทย์: ภาพ 1 กับภาพ 2 จริงๆ แล้วเป็นภาพเดียวกันนะครับ แต่ภาพสอง ผมจะระบุ Available Bandwidth (หรือ Bandwidth ที่เหลืออยู่) ให้ เพื่อความง่ายในการคิด
คำถามคือ:

คำถามที่ 1: ถ้า Router ทุกๆ ตัวในภาพใช้ Algorithm แบบ SPF ในการคำนวณ the best path แล้ว Source X (SX) บน Router RX จะมีเส้นทาง (path) หรือท่อที่มีความต้องการ Bandwidth 300 Mbps ไปยัง Destination Y (DY) ผ่าน Router R1 บน Path ใด (Path P1 หรือ P2 หรือ P3 หรือ P4)? และเพราะอะไร?

คำถามที่ 2: ถ้า Router ทุกๆ ตัวในภาพใช้ Algorithm CSPF ในการคำนวณ the best path แล้ว Source X (SX) บน Router RX จะมีเส้นทาง (path) หรือท่อที่มีความต้องการ Bandwidth 300 Mbps ไปยัง Destination Y (DY) ผ่าน Router R1 บน Path ใด (Path P1 หรือ P2 หรือ P3 หรือ P4)? และเพราะอะไร?




เฉลยคำตอบนะครับ:

คำถามที่ 1: ถ้า Router ทุกๆ ตัวในภาพใช้ Algorithm แบบ SPF ในการคำนวณ the best path แล้ว Source X (SX) บน Router RX จะมีเส้นทาง (path) หรือท่อที่มีความต้องการ Bandwidth 300 Mbps ไปยัง Destination Y (DY) ผ่าน Router R1 บน Path ใด (Path P1 หรือ P2 หรือ P3 หรือ P4)? และเพราะอะไร?

คำตอบคือ: Source X (SX) บน Router RX จะมีเส้นทาง (Path) ที่มีความต้องการ Bandwidth 300 Mbps ไปยัง Destination Y (DY) ผ่าน Router R1 บน Path P1 (RX-R1-RY) เพราะเส้นทางนี้ เป็นเส้นทางที่มีค่า Cost รวมกันที่น้อยที่สุด คือ Cost รวมเท่ากับ 20 โดยไม่สนใจ Available Bandwidth ว่าจะมีเหลือเพียงพอต่อความต้องการของ SX ไปยัง DY หรือไม่ (SX ไปยัง DY ต้องการ 300 Mbps) ซึ่งมีความเสี่ยงทำให้เกิด Congestion ได้สำหรับการเลือก the best path บนพื้นฐานของ SPF

=======================================

คำถามที่ 2: ถ้า Router ทุกๆ ตัวในภาพใช้ Algorithm CSPF ในการคำนวณ the best path แล้ว Source X (SX) บน Router RX จะมีเส้นทาง (path) หรือท่อที่มีความต้องการ Bandwidth 300 Mbps ไปยัง Destination Y (DY) ผ่าน Router R1 บน Path ใด (Path P1 หรือ P2 หรือ P3 หรือ P4)? และเพราะอะไร?
คำตอบคือ: Source X (SX) บน Router RX จะมีเส้นทาง (path) หรือท่อที่มีความต้องการ Bandwidth 300 Mbps ไปยัง Destination Y (DY) ผ่าน Router R1 บน Path P3 (RX-R1-R4-R3-RY) โดยมีขั้นตอนการเลือก the best path ดังนี้
Step 1: RX จะทำการตรวจสอบเส้นทางทั้งหมดที่เป็นไปได้ทุกๆ เส้นทาง จากตัวมันเองไปยัง RY โดยพิจารณาจาก Available Bandwidth (หรือ Bandwidth ที่เหลือเพียงพอต่อความต้องการ) บนเส้นทางทั้งหมด ว่าเส้นทางไหนบ้างที่มี Bandwidth เหลือเพียงพอต่อความต้องการ เป็นอันดับแรก โดยถ้าอ้างอิงจากโจทย์แล้ว RX ต้องเลือกเส้นทางใดๆ ที่มี Bandwith เหลือมากกว่า หรือเท่ากับ 300 Mbps ซึ่งเป็นความต้องการของ Source SX บน Router RX ไปยัง Destination DY บน Router RY ดังนั้น ใน Step 1 นี้, RX จะมีเส้นทางที่เป็นไปได้ที่มี Available Bandwidth เพียงพอต่อความต้องการจาก Source SX ไปยัง Destination DY ซึ่งต้องการ Bandwidth ขนาด 300 Mbps คือ
เส้นทางที่เป็นไปได้ที่ 1: (ให้ดูภาพที่ 2 ประกอบ) RX-R1-R4-R3-RY (Path P3) โดยมี Available Bandwidth ที่น้อยที่สุด เมื่อพิจารณาตลอดเส้นทางจาก RX ไปยัง RY คือ 300 Mbps (Available Bandwidth ระหว่าง R3 กับ RY) ซึ่งมี Bandwidth เหลือเพียงพอต่อความต้องการจาก Source SX ไปยัง Destination DY ที่ต้องการ 300 Mbps แบบพอดิบพอดี

เส้นทางที่เป็นไปได้ที่ 2: (ให้ดูภาพที่ 2 ประกอบ) RX-R1-R6-R5-R7-RY (Path P4)โดยมี Available Bandwidth ที่น้อยที่สุด เมื่อพิจารณาตลอดเส้นทางจาก RX ไปยัง RY คือ 500 Mbps (Available Bandwidth ระหว่าง R5 กับ R7 และระหว่าง R7 กับ RY) ซึ่งมี Bandwidth หลือเพียงพอต่อความต้องการจาก Source SX ไปยัง Destination DY ที่ต้องการ 300 Mbps

Step 2: เนื่องจากว่า ในตอนนี้ RX มีเส้นทางที่เป็นไปได้ไปยัง RY ที่ Available Bandwidth ที่เพียงพอต่อความต้องการรจาก Source SX ไปยัง Destination DY ที่ต้องการ 300 Mbps สองเส้นทางคือ
เส้นทางที่เป็นไปได้ที่ 1: RX-R1-R4-R3-RY (Path P3)
เส้นทางที่เป็นไปได้ที่ 2: RX-R1-R6-R5-R7-RY (Path P4)
ซึ่งใน Step 2 นี้, RX จะต้องนำเส้นทางที่เป็นไปได้ทั้งสองเส้นทาง มาทำการเปรียบเทียบต่อว่า เส้นทางไหนมีค่า Cost รวมจากตัวมันไปยัง RY ที่น้อยที่สุด

เส้นทางที่เป็นไปได้ที่ 1: RX-R1-R4-R3-RY (Path P3) มีค่า Cost รวมที่น้อยที่สุด คือ 40
เส้นทางที่เป็นไปได้ที่ 2: RX-R1-R6-R5-R7-RY (Path P4) มีค่า Cost รวมที่น้อยที่สุด คือ 50
เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้แล้ว RX จะทำการเลือกเส้นทาง RX-R1-R4-R3-RY (Path P3) เป็น The Best Path สำหรับ Source SX ไปยัง Destination DY ที่ต้องการ Bandwidth 300 Mpbs เพราะมี Available Bandwidth ตลอดเส้นทางที่เพียงพอต่อความต้องการจาก SX ไปยัง DY และมีค่า Cost รวมตลอดเส้นทางที่น้อยที่สุด
==============================================

ในความเป็นจริงแล้วนั้น การคำนวณเลือก The Best Path ของ CSPF บน MPLS Traffic Engineering นั้น ยังสามารถกำหนดเงื่อนไข หรือ Parameter อื่นๆ ได้อีก (ไม่ได้มีเพียงแค่ Available Bandwidth กับค่า Cost เท่านั้น) ซึ่งตัวอย่างในบทความนี้เป็นเพียงแนวทางให้ท่านเริ่มเดินทางไปสู่ความรู้ MPLS-TE ไปได้อย่างถูกต้อง และช่วยให้ท่านสามารถเดินทางต่อไป หรือศึกษาต่อไป ด้วยตัวท่านเองได้อย่างง่าย และสบายมากขึ้น
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่กำลังทำงานเกี่ยวกับสิ่งนี้อยู่
ขอบคุณครับโก้-ชัยวัฒน์ (KoChaiwat)



Create Date : 28 มิถุนายน 2560
Last Update : 15 กรกฎาคม 2560 13:04:08 น. 0 comments
Counter : 9410 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com