อมตะมหานิพพาน ผู้เบิกบาน-ผู้รู้-และผู้ตื่น ไม่มีกลางวันและกลางคืน แสนสดชื่นบรมสุขอยู่ทุกยาม คิดดี-พูดดี-ทำดี สร้างบารมีให้งดงาม สดใสใต้ฟ้าคราม ทำหน้าที่ตราบวันตาย ฯ
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2548
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
29 ธันวาคม 2548
 
All Blogs
 
สมถะ-วิปัสสนา

สมถะ-วิปัสสนา แตกต่างกันอย่างไร ? มีกระบวนการและวิธีการดำเนินอย่างไรบ้าง?


Create Date : 29 ธันวาคม 2548
Last Update : 29 ธันวาคม 2548 23:05:41 น. 11 comments
Counter : 639 Pageviews.

 
สมถะ-การฝึกสติ-สมาธิ ทำจิตให้สงบ มี 40 วิธี เรียกว่า กรรมฐาน 40.....

วิปัสสนา-การฝึกสติสัมปชัญญะ-สมาธิ-ปัญญา เมื่อจิตสงบแล้ว พิจารณากาย-เวทนา-จิต-ธรรม มีสติปัฏฐาน4 เป็นอารมณ์ จนเกิดปัญญาญาณตามลำดับขั้นไป......
ท่านเปรียบสมถะ-เหมือนสันมีด วิปัสสนา-คมมีด ต้องใช้ควบคู่กันไป จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้.......


โดย: พุทธญาณbuddhayan@hotmail.com (AmataMahaNippan ) วันที่: 3 มกราคม 2549 เวลา:11:09:30 น.  

 

กายและใจ-คือ สมถะ.....นิ่งและสงบได้ คือ "ตาย" และ"สมาธิ"........

จิต-คือ วิปัสสนา....สามารถ"รู้แจ้ง"ในสรรพสิ่ง ทั้งดี(สวรรค์)-ทั้งชั่ว(นรก) และเหนือดี-เหนือชั่ว(นิพพาน)...ว่างจากเครื่องร้อยรัด 3 ภพ ดี-ชั่ว-ไม่ดีไม่ชั่ว หมดความปรารถนา ก็"นิพพาน".......


โดย: ธรรมญาณdhammayan@gmail.com IP: 202.47.238.142 วันที่: 16 มกราคม 2549 เวลา:21:33:07 น.  

 
สมถกัมมัฏฐานคืออะไร มีกี่หมวด กี่วิธี



- คำว่า “สมถะ” แปลง่ายๆว่า ความสงบ หมายถึง การทำจิตให้เป็นสมาธินั่นเอง ที่ว่าสงบนั้นคือ สงบจากนิวรณ์ (นิวรณ์ คือ สิ่งที่คอยขัดขวางความดีของจิตใจ ไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม หรือในการทำความดีทุกขั้นตอน)

- คำว่า “กัมมัฏฐาน” แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรืออุบายทางใจ คือ วิธีการฝึกอบรมจิต ทำจิตให้มั่นคง เป็นการฝึกอบรมนายของเรา จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ให้จิตและกายเบาบางลงจากสิ่งที่เราเคยแบกไว้ (ยึดถือ) อันมีรากเหง้าแห่งความชั่วทั้งปวง ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความพยาบาท และความลุ่มหลงเมามัว เป็นต้น

หลักการของสมถะ คือ การกำหนดจิตไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (เรียกว่า อารมณ์) ให้แน่วแน่จนจิตพร้อมดิ่งอยู่ในสิ่งนั้นสิ่งเดียว เรียกว่า จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ความแน่วแน่ หรือตั้งมั่นของจิตนี้เรียกว่า “สมาธิ” เมื่อสมาธิแนบสนิทเต็มที่แล้ว ก็จะเกิดสภาวจิตที่เรียกว่า “ฌาน” และระดับที่กำหนดอรูปธรรมเป็นอารมณ์เรียกว่า “อรูปธรรม” มีอยู่ 4 ขั้น ทั้งรูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 เรียกรวมกันว่า “สมาบัติ 8”

สภาวจิตที่อยู่ในอารมณ์ของฌานจะมีลักษณะ คือ

1. เป็นสภาวะที่มีความสุขสงบผ่องใส

2. เป็นสภาวะที่ไม่มีความเศร้าหมองขุ่นมัว

3. เป็นสภาวะที่ไม่มีสิ่งใดมารบกวนให้สะดุดติดข้องแต่อย่างใดๆ ทั้ง 3 นัยนี้เรียกว่า “ปราศจากนิวรณ์”

วิธีทำสมถกัมมัฏฐานจำแนกเป็น 7 หมวดใหญ่ โดยแยกเป็นอารมณ์ถึง 40 อารมณ์ หรือ 40 วิธี ขอนำมาเล่าสู่กันฟังเพียง 4 หมวด 34 วิธี หรือ 34 อารมณ์ สำหรับท่านสมาชิก ก็น่าจะมากพอแล้ว ซึ่งมีดังนี้

หมวดกสิณ 10

กสิณ คือ เครื่องเพ่งทำให้จิตสงบมีอยู่ 10 อย่าง ได้แก่

1. ปฐวีกสิณ คือ การเพ่งดูดิน เป็นอารมณ์

2. อาโปกสิณ คือ การเพ่งดูน้ำ เป็นอารมณ์

3. วาโยกสิณ คือ การเพ่งดูลม เป็นอารมณ์

4. เตโชกสิณ คือ การเพ่งดูไฟ เป็นอารมณ์

5. นีลกสิณ คือ การเพ่งดูสีเขียว เป็นอารมณ์

6. ปีตกสิณ คือ การเพ่งดูสีเหลือง เป็นอารมณ์

7. โลหิตกสิณ คือ การเพ่งดูสีแดง เป็นอารมณ์

8. โอทาตกสิณ คือ การเพ่งดูสีขาว เป็นอารมณ์

9. อาโลกกสิณ คือ การเพ่งดูช่องว่างหรือแสงสว่างเป็นอารมณ์

10. อากาสกสิณ คือ การเพ่งดูอากาศ เป็นอารมณ์

หมวดอสุภะ 10

คือ การเพ่งซากศพนั่นเอง จะเป็นซากศพคน หรือซากสัตว์ตายก็ได้ โดยมี 10 สภาพศพ คือ

1. ซากศพที่พองขึ้นอืด

2. ซากศพที่พองขึ้นจนเขียว

3. ซากศพเน่าเฟะ มีน้ำเหลืองน้ำหนองไหลเยิ้ม

4. ซากศพที่ขาดเป็นท่อนๆ กระจัดกระจายไปทั่ว

5. ซากศพที่ถูกสัตว์กัดเละเทะ ยื้อแย่ง

6. ซากศพที่ขาดตรงกลาง

7. ซากศพที่ถูกสับเป็นท่อนๆ หรือถูกฟันแทงยับเยินเป็นชิ้นๆ

8. ซากศพที่เต็มไปด้วยเลือดอาบทั้งตัว

9. ซากศพที่เต็มไปด้วยหมู่หนอนชอนไชและกัดกินอยู่

10. ซากศพที่เหลือแต่โครงกระดูกกระจัดกระจายอยู่เกลื่อนกลาด

หมวดอนุสสติ 10

ได้แก่ อารมณ์ที่ดีงามที่ควรระลึกถึงเนืองๆ คือ การนึกถึงบุคคล และธรรมะ หรือความจริงที่จะก่อให้เกิดความเลื่อมใสซาบซึ้ง ในเหตุผลที่ทำให้เกิดความสงบสุขทางจิตใจขึ้น เป็นอุบายที่หาได้ง่าย สะดวกสบาย และทำได้ทุกโอกาส ทุกสถานที่ มีอยู่ 10 ประการ คือ

1. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า และพิจารณาคุณของพระพุทธเจ้า

2. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงพระธรรม และพิจารณาคุณของพระธรรม

3. สังฆานุสสติ ระลึกถึงพระสงฆ์ และพิจารณาคุณของพระสงฆ์

4. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีล พิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติบริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย

5. จาคานุสสติ ระลึกถึงจาคะ ทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรม คือความเผื่อแผ่เสียสละที่มีอยู่ในตน

6. เทวตานุสสติ ระลึกถึงเทวดา หมายถึง เทวดาที่ตนเคยได้รู้ได้ยินมาและพิจารณาเห็นคุณธรรม ซึ่งทำคนให้เป็นเทวดา ตามที่มีอยู่ในตน

7. มรณสติ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาอยู่ไม่ให้เกิดความประมาท

8. กายคตาสติ สติที่เป็นไปในกาย หรือระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย คือ กำหนดพิจารณากายนี้ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ถึง 32 ประการ ไม่สะอาด ไม่งามน่าเกลียด เป็นการรู้เท่าทันสภาวะของร่างกายนี้

9. อานาปานัสสติ มีสติกำหนดลมหายใจเข้า – ออก รู้สั้น รู้ยาว เป็นอารมณ์ จะมีคำบริกรรม หรือไม่ก็ได้ จะใช้คำบริกรรมอะไรก็ได้ ที่ถูกจริต ที่ทำให้ได้สมาธิเร็ว, ถนัดแบบไหนไม่ต้องเปลี่ยนเป็นวิธีอื่นหรือคำอื่น แต่ละคนอาจเหมือนกัน หรือต่างกันได้ ไม่ต้องเลียนแบบใครที่เขาว่าดีนักดีหนา แต่ต้องเชื่อใจตนเอง เป็นเรื่องเฉพาะตนจริงๆ (ผู้เขียนเริ่มทำสมาธิครั้งแรก ใช้คำบริกรรมว่า พุท – โธ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นวิธีอื่น เช่น สัมมา – อาระหัง / ยุบหนอ – พองหนอ ฯลฯ ท้ายสุด ยอมรับว่า ชาตินี้ พุท – โธ ดีที่สุด สำหรับตัวผู้เขียน ในช่วงเริ่มนั่งสมาธิบริกรรม 2 – 3 ครั้ง ก็ไม่มีคำบริกรรมอะไร เหลือเพียงเอาสติตามรู้ในนิมิตต่างๆ เท่านั้น)

หมวดพรหมวิหาร 4

พรหมวิหาร 4 ได้แก่ ธรรมที่ทำให้เกิดความเมตตา ความกรุณา ความยินดีร่วม และอุเบกขา เป็นคุณธรรมของบุคคลจำพวกหนึ่งที่อยู่ในพรหมโลก จึงได้นามว่า “พรหมวิหาร” หมายถึง การอบรมจิตใจ โดยยึดถือเอาคุณธรรมของพรหมเป็นตัวอย่าง เรียกว่า “เจริญพรหมวิหารธรรม” และเมตตาธรรมเป็นส่วนสำคัญยิ่งในพรหมวิหาร 4 เพราะเป็นเครื่องค้ำจุนโลกให้อยู่อย่างถาวรและสงบสุข ปราศจากการอิจฉาริษยา เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ขณะทำกัมมัฏฐานให้พิจารณา ดังนี้.-

1. เมตตา คิดหวังที่จะช่วยให้สรรพสัตว์อยู่อย่างไม่มีเวร ไม่มีภัย

ไม่เบียดเบียนกัน ดำรงชีวิตอยู่เป็นสุขตามสมควรแก่ฐานะของตน

2. กรุณา คิดหวังที่จะช่วยให้คน และ หรือสัตว์ที่กำลังประสบความทุกข์

ได้หลุดพ้นจากความทุกข์เหล่านั้น

3. มุทิตา คิดหวังที่จะช่วยให้สัตว์ และหรือคน ที่ได้รับความสุขแล้ว

ได้ดำรงอยู่ ในฐานะนั้นๆ ยินดีและเต็มใจที่เห็นเขามีสุข อย่าได้

พลัดพรากจากสุขสมบัติเหล่านั้น

4. อุเบกขา วางใจเป็นกลางในกรณีที่คน และหรือสัตว์ประสบความวิบัติ

ด้วยกรรมของตน ไม่ดีใจ หรือเสียใจ โดยอาศัยการพิจารณา

ให้เห็นตามกฎแห่งกรรม

ใน 4 หมวด คือ หมวดกสิณ 10 หมวดอสุภะ 10 หมวดอนุสสติ 10 และหมวดพรหมวิหาร 4 รวม 34 วิธีนี้ ใคึรอยากทดลองทำวิธีใดก็เชิญ เมื่อทดลองปฏิบัติแล้วเห็นว่ากัมมัฏฐานบทใดเหมาะสมกับอัธยาศัย หรือถูกกับนิสัยของตนก็พึงนึกถึงกัมมัฏฐานบทนั้นเป็นอารมณ์ แต่ในประเทศไทยเรานั้น นิยมใช้กันมากที่สุดคือ อานาปานัสสติกัมมัฏฐาน มากกว่ากัมมัฏฐานอื่นใด เพราะเป็นกัมมัฏฐานที่หาอารมณ์ได้ง่าย เป็นที่สบายของคนเป็นอันมาก เพราะสามารถที่จะนำไปใช้ได้ แม้ในชั้นของวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไป ถ้าท่านถนัด หรือรู้ว่าถูกจริตของท่านในแบบใดก็ตาม ไม่ต้องเปลี่ยน จงยึดมั่นและเชื่อมั่นผลสำเร็จย่อมเกิดขึ้นเท่าเทียมกัน ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนหาครูบาอาจารย์องค์ใดมาเสริมเพิ่มก็ได้ ครูบาอาจารย์บางท่านมีชื่อเสียงดีแต่เปลือกนอก เทศนาสั่งสอนคนอื่นเก่ง แต่แท้จริงแล้ว ตัวท่านก็ยังปฏิบัติมิได้ตามที่สอนคนอื่น จึงพบว่าฆราวาสบางท่าน ภูมิธรรมทางจิตนั้น สูงกว่า
ผู้อ้างตนเป็นครูบาอาจารย์บางรูป ที่พอกพูนมากไปด้วยกิเลส มีครบทั้งโสภะ โทสะ และโมหะ แม้ราคะตัณหา ก็ไม่เว้น จึงขอเชิญชวนเพื่อนสมาชิกชมรมฯ หันมาใส่ใจในการปฏิบัติตนให้มากกว่าการวิ่งหาเครื่องรางของขลัง หรือวิ่งหาครูบาอาจารย์องค์นั้นองค์นี้ให้เสียเวลาการปฏิบัติ ยกเว้นว่าสถานที่ในการปฏิบัติของท่านมีปัญหาอาทิ เผอิญไปอยู่ในบริเวณที่มีมารผจญมาก จนตัวท่านไม่สามารถผ่านด่านการผจญของเหล่ามาร ก็ย่อมจำเป็นที่จะต้องหาสถานที่อันเหมาะสมมากกว่า เพื่อการปฏิบัติที่มีสัมฤทธิผล ผู้เขียนไม่ต้องการเน้นไปที่ “ตัวตนบุคคล” แต่ขอเน้นที่ “หลักปฏิบัติ” มากกว่า ในเรื่องของ “ตัวตน
บุคล” นั้น ท่านมีโอกาสจะถูกหลอกลวงมาก จึงไม่อยากแนะนำให้ไปครูบาอาจารย์องค์ใดเป็นพิเศษ โดยขอให้พุ่งเป้าไปที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดา คือ องค์สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวก็พอแล้ว

˜ ˜ ˜ ˜ ˜ ˜ ˜ & ™ ™ ™ ™ ™ ™ ™





หมายเหตุ : หากท่านใดต้องการเป็นสมาชิกชมรมศาสนาและการกุศล เพื่อขอรับข่าวสาร

ของชมรมฯ ฟรีทางจดหมายอิเล็คโทรนิค E-Mail ซึ่งท่านจะได้รับข่าวสาร

ก่อนการจัดทำเป็น CD แจกฟรี

โปรดแจ้งมาที่ E-Mail : mkrichti_999@yahoo.com โทร. 0-2208-7600, 0-2208-7601

โทรสาร. 0-2256-8320 หรือ 0-2256-8322




ผู้ตั้งกระทู้ เนิน นราธร ( nern_naratorn@yahoo.co.uk ) ::วันที่ 23-01-2006 15:45:22

ความเห็นที่ 1 (366792)

ขออำนวยพรปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านและครอบครัวทุกท่าน



เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่นี้ ผู้เขียนขออัญเชิญอานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า พระอริยธรรมเจ้า พระอริยสงฆเจ้า พระนิยตโพธิสัตว์ พระเยซูเจ้า พระอัลเลาะห์เจ้า พระแม่กวนอิม พระแม่มาเรีย สิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนทุกพระองค์ และครูบาอาจารย์ที่มีความบริสุทธิ์ทุกท่าน ได้โปรดปัดเป่าภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวง ให้แก่ท่านผู้อ่านและครอบครัว และขอได้โปรดชี้นำให้มนุษย์ทุกรูปทุกนาม หันมากระทำความดีต่อกันให้มากขึ้น ให้อภัยกันมากขึ้น รักกันให้มากขึ้น มีความเห็นใจกัน เอื้ออารีแก่กัน เพื่อนำมาซึ่งความสุข ความสำเร็จ ความสมหวัง ความปลอดภัย ความก้าวหน้า และความมีสุขภาพดีตลอดปีและตลอดไปให้แก่ท่านผู้อ่าน และครอบครัวทุกท่าน เทอญ.

จากผู้มีความปรารถนาดีต่อท่าน

มงคล กริชติทายาวุธ

(นายมงคล กริชติทายาวุธ)

ประธานชมรมศาสนาและการกุศล

บมจ. ธนาคารกรุงไทย

˜ ˜ ˜ ˜ ˜ ˜ ˜ & ™ ™ ™ ™ ™ ™ ™



ผู้แสดงความคิดเห็น นายสุดจินดา บุญมา ( ) วันที่ 23-01-2006 15:57:51

ความเห็นที่ 2 (366811)

วิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ อะไร



ความหมายของคำว่า “วิปัสสนา” แปลง่ายๆ ว่า การเห็นแจ้งหรือวิธีทำให้เกิดการเห็นแจ้ง เห็นชัด ตามสภาพที่เป็นจริงต่างๆ ในการฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้ชัดในสิ่งทั้งหลายตรงต่อสภาวะของมัน คือความเข้าใจตามความเป็นจริง หรือตามที่สิ่งเหล่านั้นมันเป็นของมันเอง (ไม่ใช่เห็นไปตามที่เราวาดภาพให้มันเป็น ด้วยความชอบ ความชัง ความอยากได้ หรือความขัดใจของเรา รู้แจ้งชัดเข้าใจจริง จนถอนความหลงผิด รู้ผิดและยึดติดในสิ่งทั้งหลายได้ ได้แก่ การรู้แจ้งเห็นจริงว่า “เมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ในไม่ช้า สิ่งหนึ่งสิ่งนั้น ก็ย่อมแตกดับไปเป็นธรรมดา ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน ซึ่งตัวปัญญารู้เห็นดังกล่าวโดยย่อนี้คือ วิปัสสนาญาณและหรือ วิปัสสนาปัญญา โดยการทำให้เกิด การพัฒนา การทำให้มากๆ และการทำให้เจริญขึ้นเรียกวิปัสสนาดังกล่าวว่า “วิปัสสนาภาวนา” และขณะเดียวกันทำวิปัสสนาภาวนาตัวเดิมให้มากยิ่งขึ้น เรียกว่า “ภาวนามยปัญญา” ดังนี้ “วิปัสสนากัมมัฏฐาน” คือการทำให้รู้แจ้งชัดเห็นจริงตามหลักวิชา ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าสมถกัมมัฏฐาน เป็นบันไดขั้นแรกที่จะก้าวไปสู่วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะสมถะนั้นมันต้องอาศัยสมาธิ และวิปัสสนาก็ต้องอาศัยปัญญา ถ้าพูดอย่างรวดรัดก็ว่าผลที่มุ่งของสมถะคือ “ฌาน” ผลที่มุ่งหมายของวิปัสสนาคือ “ญาณ” หรือ ว่าสมถะนำไปสู่ฌาน วิปัสสนานำไปสู่ญาณ ผู้ปฏิบัติสมถะอาจทำแต่สมถะเพียงอย่างเดียว โดยมุ่งหวังจะชื่นชมเสพผลของสมถะ คือ ฌานสมบัติและอภิญญาทั้ง 5 ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับวิปัสสนาเลยก็ได้ แต่ถึงอย่างไรเสียผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ก็ต้องอาศัยสมถะไม่มากก็น้อย คือ อาจเจริญสมถะจนได้ฌานสมบัติก่อนแล้วจึงก้าวต่อไปสู่วิปัสสนา โดยเอาฌานเป็นทางของวิปัสสนา เป็นต้น


˜ ˜ ˜ ˜ ˜ ˜ ˜ & ™ ™ ™ ™ ™ ™ ™





โดย: พุทธญาณbuddhayan@hotmail.com (AmataNippan ) วันที่: 23 มกราคม 2549 เวลา:17:11:00 น.  

 


"ศรีบูรพา" -จากหนังสือ อุดมธรรม (2519) กล่าวไว้อย่างน่าฟังและน่าคิดมากๆว่า....

วิปัสสนากรรมฐาน-มิใช่เป็นเรื่องของการนั่งหลับตา เพื่อให้เห็นภาพวิจิตรพิศดาร หรือเพื่ออิทธิฤทธิ์ใดๆ.......

วิปัสสนากรรมฐาน-เป็นเรื่องของการศึกษาชีวิต เพื่อที่จะปลดเปลื้องความทุกข์นานาประการออกเสียจากชีวิต เพื่อปลดเปลื้องชีวิต ออกเสียจากความทุกข์ เป็นเรื่องของการค้นหาความจริงว่า "ชีวิตนี้ คือ อะไรแน่? เหตุไฉน คนเราจึงควบชีวิตตะบึงไปบนถนนแห่งความชรา พยาธิ และมรณะ อย่างไม่ลดละ? เหตุไฉน คนเราจึงไม่รู้จักเหนื่อยหน่ายในชีวิตที่ผ่านมา ในความเ***่ยวแห้งใจ และคับแค้นใจ? ผ่านมาในความสมหวัง แล้วก็ผิดหวัง หัวเราะแล้วก็ร้องไห้.....เหตุไฉน จึงไปลุ่มหลงกับการกระโจนขึ้นกระโจนลงของชีวิต ที่ได้ผ่านมาในชีวิตอันยืดยาว โดยไม่เคยสำนึกว่า มันมีอาการดุจคนบ้า?......อะไรเล่า คือ ตัวการ ที่คอยชักใยอยุ่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้?".......




โดย: บัวบาน บางเขนbuaban-bangkhen@hotmail.com IP: 202.47.238.181 วันที่: 30 มกราคม 2549 เวลา:21:39:30 น.  

 
ต้องการเป็นสมาชิกชมรมศานาและการกุศล และ รับข่าวสารของชมราฯฟรีค่ะ


E-Mail:monamaew7010@yahoo.com


โดย: กรุณา สุขกำพล IP: 203.156.179.226 วันที่: 24 เมษายน 2549 เวลา:13:45:12 น.  

 


โดย: เอ๋สุดหล่อ IP: 203.114.112.77 วันที่: 19 สิงหาคม 2549 เวลา:11:00:22 น.  

 
ต้องการเนื้อหาของ อานิสงส์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ครับ ขอเนื้อหาเยอะๆเลยนะครับจะได้มาทำรายงานด้วยครับ ขอขอบคุณผู้มีปัญญาสูงล่วงหน้าครับ
ส่งมาทาง
Email : utraman191@hotmail.com


โดย: เดกหนองหอย IP: 58.9.201.210 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2549 เวลา:8:16:18 น.  

 
อยากทราบความหมายขอคำว่า ความสุขในระดับสมถะ ค่ะ และ อนาปานสติในระดับสมถะ ค่ะ ว่าเป็นอย่างไรบ้างค่ะ รบกวนตอบให้ด้วยน่ะค่ะ ต้องเอาไปทำวิจัยค่ะ
ขอบคุณค่ะ จากกลุ่มสมาธิบำบัด


โดย: ธรรมน้อย IP: 203.157.81.20 วันที่: 15 มีนาคม 2550 เวลา:15:05:03 น.  

 
อยากทราบความหมายขอคำว่า ความสุขในระดับสมถะ ค่ะ และ อนาปานสติในระดับสมถะ ค่ะ ว่าเป็นอย่างไรบ้างค่ะ รบกวนตอบให้ด้วยน่ะค่ะ ต้องเอาไปทำวิจัยค่ะ
ขอบคุณค่ะ จากกลุ่มสมาธิบำบัด
wuny_S@hotmail.com ค่ะ รบกวนด้วยน่ะค่ะ ท่านผู้รู้


โดย: ธรรมน้อย IP: 203.157.81.20 วันที่: 15 มีนาคม 2550 เวลา:15:06:15 น.  

 
อยากทราบอารมณ์ของสมถะวิปัสสนาค่ะ


โดย: ญาริภัทร IP: 124.157.167.147 วันที่: 24 มิถุนายน 2550 เวลา:11:17:27 น.  

 
กำลังหัด เตโชกสินครับ


โดย: nuy IP: 118.173.223.124 วันที่: 27 มิถุนายน 2555 เวลา:16:48:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

AmataMahaNippan
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




อภิมหาอมตะนิพพาน เหนือวิมานพรหมสวรรค์ ณ ชั้นไหน ?
บรมสุขแห่งนิพพานเบิกบานใจ ไม่เหมือนใครไหนเลยที่เคยมี....

บัวบาน บางเขน
Buaban_Bangkhen@hotmail.com
New Comments
Friends' blogs
[Add AmataMahaNippan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.