bloggang.com mainmenu search


พาคนเชียงใหม่แวะนครพนมนิดหนึ่ง

วัดนักบุญอันนา หนองแสง

สร้างปี พ.ศ. 2469 โดยบาทหลวงเอดัวร์ นำลาภ อธิการโบสถ์

เมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีน (พ.ศ. 2484)

ฝรั่งเศสทิ้งระเบิดถล่มเมืองนครพนม ทำให้โบสถ์พังเสียหาย

ต่อมาจึงมีสร้างโบสถ์หลังใหม่เพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนาของชาวคริสต์สืบต่อมาถึงในปัจจุบัน














อาคารที่ทำการศาสนกิจของบาทหลวงนิกายคาทอลิก สร้าง พ.ศ. 2495

ก่อตั้งโดยบาทหลวงเอดัวร์นำลาภ ภายหลังจัดตั้งเป็นมูลนิธิบาทหลวงเอดัวร์นำลาภ

สถาปัตยกรรมแบบโคโรเนียลก่อด้วยอิฐปูน ภายนอกสีเหลืองสวยงาม

วัสดุก่อสร้างบางอย่างนำเข้ามาจากเมืองไซ่ง่อน ปัจจุบันคือนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม







พิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม

ก่อสร้างสร้างระหว่างปี พ.ศ. 2455-2457

โดยพระยาพนมครานุรักษ์ (อุ้ย นครทรรภ) ผวจ.นครพนม คนแรก

ก่ออิฐ อิฐดินเผาสมัยโบราณ ถือปูนหลังคามุงกระเบื้องไทย ไม่มีเสา

ชั้นล่างปูกระเบื้องซีเมนต์

พื้นชั้นบนปูกระดานไม้เข้าลิ้น ไม่มีการตอกตะปูแม้แต่ดอกเดียว








พ.ศ. 2470 พระยาอดุลยเดชฯ ได้ขายอาคารหลังนี้ให้กระทรวงมหาดไทย

เพื่อใช้เป็นที่พักของผู้ว่าราชการจังหวัด ในราคา 2 หมื่นบาท

ในระหว่างวันที่ 12-13 พ.ย. 2498 ในหลวงและพระราชินี

เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ทางจังหวัดจึงจัดให้จวนแห่งนี้เป็นที่ประทับแรม

เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ ทางสำนักพระราชวังเป็นคนขนมา และขนกลับ








ภาพไฮไลท์ ยายตุ้ม จันทนิต ถวายดอกบัวแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ขณะนั้นยายตุ้มอายุได้ 102 ปี

ด้วยความจงรักภักดียายเดินทางมารอรับเสด็จแต่เช้า จนดอกบัวที่รอถวายให้เหี่ยวลง

ยายตุ้มได้สิ้นชีวิตในอีก 3 ปีต่อมา








ฝั่งตรงข้ามคือแขวงคำม่วน








กำลังเตรียมงานไหลเรือไฟ ในคืนวันออกพรรษา

เพื่อบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พญานาคและแม่น้ำโขง








หอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์

สร้างโดยชาวเวียดนามที่ลี้ภัยสงครามเดียนเบียนฟู

และเมื่อฝรั่งเศสแพ้สงคราม ก่อนจะอพยพกลับบ้าน

ได้สร้างหอนาฬิกาแทนคำขอบคุณที่ได้ให้เข้ามาอาศัยอยู่ในนครพนม








ตลาดอินโดจีนไม่ได้แวะ แต่แวะวัดข้างตลาดอินโดจีน

วัดโอกาส

สร้างเมื่อ พ.ศ.1994 สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรยังรุ่งเรือง

โดยจมื่นรักษาราษฏร นายกองเมือง และชาวบ้านโพธิ์ค้ำได้สร้างสำนักสงฆ์วัดศรีบัวบานขึ้นริมฝั่งน้ำของ หรือ แม่น้ำโขง

ต่อมา พ.ศ. พระบรมราชาพรหมาเจ้าผู้ครองเมืองนครบุรีศรีโคตรบูร

ได้บูรณะสำนักสงฆ์วัดศรีบัวบาน

สร้างพระอุโบสก

สร้างพระประธานด้วยอิฐ ลงรักปิดทอง ชื่อ "หลวงพ่อพระราชาพรหมา"

ได้อัญเชิญ พระติ้ว พระเทียม พระคู่บ้านคู่เมืองศรีโคตรบูร

จากบ้านสำราญ มาประดิษฐานที่วัดศรีบัวบาน

และรับสั่งให้ชาวบ้านสำราญเป็น "ข้าโอกาส" คอยปรนนิบัติรักษาพระติ้วพระเทียม

เปลี่ยนนามวัดจากวัดศรีบัวบานเป็น "วัดโอกาส"








พระติ้วและพระเทียม

ประดิษฐานในบุษบกทรงปราสาทที่ตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธานในโบสถ์

พระเทียมอยู่ทางขวามือของพระประธาน ส่วนพระติ้วอยู่ทางซ้าย








แต่ครั้งอาณาจักรศรีโคตรบูรกำลังรุ่งเรือง

สมัยพระเจ้าศรีโคตรบูรหลวง ทรงให้ขุดเรือโกลนเพื่อใช้เป็นเรือพระที่นั่ง

เมื่อขุดเรือสำเร็จ และจะลงสู่แม่น้ำโขง

โดยใช้ไม้หมอนกลมเล็กหลาย ๆ ท่อนวางเป็นแนวใต้ท้องเรือ แล้วชักลาก

เมื่อชักลากมาถึงไม้หมอนท่อนหนึ่งซึ่งเป็นไม้ติ้ว ก็ไม่สามารถเคลื่อนต่อไปได้ และยังกระเด็นออกไป

ต้องใช้ความพยายามอยู่นานจึงนำเรือลงสู่แม่น้ำได้สำเร็จ

เชื่อกันว่า หมอนไม้ติ้วนั้นเป็นพญาไม้ซึ่งมีเทวดาสิงสถิตอยู่

พระเจ้าศรีโคตรบูรหลวงจึงโปรดให้นำไปแกะสลักเป็นพระติ้ว

เมื่อวันอังคาร เดือน 7 แรม 8 ค่ำ ปีกุน ตรงกับ พ.ศ. 1327

แล้วจัดพิธีสมโภชเป็นพระมิ่งเมืองนครศรีโคตรบูร


ต่อมาถึงสมัยพระเจ้าขัติยวงศาบุตรามหาราชเป็นกษัตริย์

เกิดไฟไหม้ในหอพระติ้วไม่สามารถนำพระติ้วออกมาได้ คิดว่าคงจะไหม้ไปในกองเพลิง

จึงโปรดให้นำไม้มงคลมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปใหม่ให้เหมือนพระติ้วองค์เดิมไม่ผิด เพี้ยนขึ้นแทน

แล้วในเวลาต่อมาได้พบพระติ้วองค์เดิมในลำน้ำโขง

พระเจ้าขัติยวงศาฯ จึงทรงอัญเชิญมาประดิษฐานคู่กับพระติ้วองค์ใหม่

ทรงให้พระนามใหม่ว่าพระเทียมแต่นั้นมา








ลวดลายเสมาน่าสนใจ ถ้าเป็นเสมาเดิมก็เป็น พ.ศ. 2281














หลังวัดโอกาส มีก๋วยเตี๋ยวที่คนนครพนมชอบทาน ... เขาว่างั้น ชื่อ ร้านแต๋วก๋วยเตี๋ยว

ผักแกล้ม และพริกเผาจิ้มกะปิ








ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ








ก๋วยเตี๋ยวหมู








ฝั่งท่าแขกตรงข้ามนครพนม








ปิดท้ายด้วยบรรยากาศที่จะไปต่อไป







Create Date :13 พฤศจิกายน 2558 Last Update :7 มีนาคม 2565 16:08:25 น. Counter : 2818 Pageviews. Comments :9