bloggang.com mainmenu search


เส้นทางอิสานใต้

จากโคราชมุ่งตะวันออกถึงบุรีรัมย์

จากบุรีรัมย์มุ่งตะวันออกถึงตัวจังหวัดสุรินทร์


* ศาลหลักเมืองสุรินทร์ *








ตัวเมืองสุรินทร์เป็นเมืองที่มีอยู่มานานเป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่

มีแนวคูน้ำคันคลองแสดงถึงตัวเมืองโบราณอยู่สองยุคคือ

ทวาราวดี ... คูนอกของเมืองชั้นใน มีลักษณะเป็นวงรี

ขอมหรือลพบุรี ... กำแพงและคูน้ำเมืองชั้นนอก มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า








เมื่อเกิดการแยกอาณาจักรลาว ออกเป็นรัฐอิสระ 3 รัฐ คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์

จึงเกิดการสะสมแสนยานุภาพ ป้องกันการรุกราน

ยุทโธปกรณ์สำคัญที่สะสมเพื่อใช้ต่อสู้ คือช้าง

เมืองจำปาศักดิ์จึงบังคับให้ ชาวเมืองอัตตปือแสนปางส่งช้างป้อนกองทัพ

ทำให้ส่วยอัตตปือแสนปางหนีข้ามลำน้ำโขงเข้ามาอาศัยกับพวกส่วยดั้งเดิม

บริเวณป่าดงดิบแถบอีสานล่างคือ

อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และบางส่วนของนครราชสีมา มหาสารคาม

กลุ่มที่มาอยูที่บ้านเมืองที (ปัจจุบันอยู่ที่ อ.เมืองสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงปุม


สมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ หรือพระเจ้าเอกทัศ

ช้างเผือกหนีออกมาจากกรุงศรีอยุธยาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่เขตพิมาย

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ขุนนางสองพี่น้อง กับไพร่พล 30 คน ออกติดตาม

ชาวส่วยหลายได้ช่วยกันติดตามจนพบและนำกลับมาได้

พระเจ้าเอกทัศจึงโปรดเกล้าแต่งตั้งบรรดาหัวหน้าชาวส่วยให้มีฐานันดรศักดิ์

หนึ่งในนั้นคือ

พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) หัวหน้าส่วยที่บ้านเมืองที

จางวางปุ่มเห็นว่าเมืองทีคับแคบจึงขอย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านคูปทายสมันต์

และยกขึ้นเป็นเมืองคูประทายสมัน อ่านว่า คู-ปะ-ทาย-ยะ-สมัน

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองคูประทายสมัน เป็นเมืองสุรินทร์ ตามชื่อเจ้าเมือง





















































* วัดบูรพาราม *

















สร้างโดย พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) เจ้าเมืองประทายสมันต์ท่านแรกตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี

ต่อมา พ.ศ.2476 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เจ้าคณะมณฑล

... ท่านได้รับโบราณวัตถุมากมาย จนจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งชาติมหาวีรวงศ์ นครราชสีมา ...

ได้ตั้งให้วัดบูรพารามเป็นวัดในสังกัดคณะธรรมยุตแห่งแรกของสุรินทร์

และได้นิมนต์พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดุลย์ อตุโล)

พระสงฆ์สายปฏิบัติธุดงค์กรรมฐาน ให้มาเป็นเจ้าอาวาสประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม


























พระอาจารย์มั่น

และพระอัฐิธาตุ ของพระอาจารย์สายกัมมัฏฐานทั่วเมืองไทย

ในพิพิธภัณฑ์กัมมัฏฐาน-อัฐิธาตุ








ด้านหลังของวิหารวัดบูรพาราม เป็นวิหารหลวงพ่อพระชีว์








ไม่สามารถสืบประวัติได้ว่าสร้างขึ้นเมื่อไร

สันนิษฐานว่าคงจะสร้างมาพร้อมกับเมืองสุรินทร์

จากชื่อ หลวงพ่อพระชีว์

ว์ คือ ชีวะ น่าจะเป็น ชีวิต

หรือ ลำน้ำชี ที่ไหลจังหวัดสุรินทร์ หรือมาจากลำชี

ซึ่ง แถวสุรินทร์ เป็นเมืองบ้านนอกมีความอัตคัด ใน 100-200 ปีก่อน

ไม่น่ามีพระพุทธรูปสำริดที่มีขนาดใหญ่และดูเคร่งขรึมมีอำนาจน่าเกรงขาม

เป็นที่พึ่งทางใจ ให้รู้สึกปลอดภัย พ้นภัยพิบัติ ของคนสุรินทร์ตลอดมา








ถึงเวลาเที่ยงกว่าพอดี

เล็งร้านเย็นตาโฟเฮียเกี๊ยกไว้

ร้านอยุ่ข้างแมคโครสุรินทร์

















มื้อเที่ยงวันนี้













Create Date :08 มกราคม 2561 Last Update :7 มีนาคม 2565 15:56:32 น. Counter : 2665 Pageviews. Comments :42