bloggang.com mainmenu search


พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา ที่ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

มีภาพสัญญลักษณ์เป็นลวดลายเครื่องปั้นดินเผา เขียนด้วยสีแดง ... ดูเหมือนรูปหน้าคน

ที่พบที่ เนินอุโลก หรือ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด







ตั้งอยู่ที่บ้านโนนวัด ต.พลสงคราม อ.โนนสูง นครราชสีมา

เดิม อำเภอเมืองนครราชสีมา เรียกว่า อำเภอใน

อำเภอบัวใหญ่ เรียกว่า อำเภอนอก

ราวปีพ.ศ. 2480 ทางราชการได้รวมพื่นที่ตรงกลางตั้งเป็นอำเภอจึงเรียกว่า อำเภอกลาง ภายหลังเปลี่ยนเป็น โนนสูง

เมื่อตรา พระราชบัญญัติขนานนามสกุลคนไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2455

เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของคนโคราช ... จะนำชื่ออำเภอมาเป็นชื่อสกุล ...

ชาวอำเภอโนนสูงหรืออำเภอกลางเดิมจึงใช้ชื่อสกุลลงท้ายด้วย "กลาง”








ใช้เส้นทางผ่านตัวอำเภอโนนสูง

ด้านหลังหอนาฬิกา กำลังก่อสร้างโครงการทางรถไฟรางคู่














ข้ามทางรถไฟ

ถามคนท้องที่บอกว่าไปบ้านโนนวัด ใช้เส้นทางนี้ดีกว่าเข้าทางมิตรภาพขอนแก่น

เพราะกำลังทำทางรถไฟถนนแย่กว่าทางนี้








ทางนี้ที่ว่าคืออ ทล. 2067 อ.โนนสูง - อ.ขามสะแกแสง








ถึงวัดดอนผวา ... คนท้องที่อ่านดอนพะวา ... ราว 11 กม.เลี้ยวขวาไปยังบ้านโนนวัด








ซุ้มประตูวัดหนองนา อลังมาก








ผ่านวัดมะรุม








เลี้ยวขวาเข้าบ้านโนนวัด เขตตำบลพลสงคราม

โพน แปลว่า กองดินที่สูงขึ้นคล้ายกับเนินแต่ต่ำกว่า

ในสมัยหนึ่ง ?? เคยที่ตั้งมั่นเตรียมกำลังพลและวางแผนการสู้รบ ... โพนสงคราม

เพี้ยนเป็น พลสงคราม








รูปนี้ขาออก














ถึงศูนย์การเรียนรู้ ขอบคุณ คุณเอนกผู้ที่เคยร่วมขุดค้นในครั้งนั้น ที่พาชมพาเล่าค่ะ








ความตั้งใจที่มาเพราะอยากเห็นหลุมขุดค้น ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

เมื่อมาถึงจีงได้ทราบว่าเนื่องจากมีขนาดใหญ่มาก และน้ำในบริเวณนี้เป็นน้ำเค็มยากต่อการดูแลรักษา

หลังจากได้นำวัตถุโบราณออกไปแล้ว ... นำไปเก็บรักษาไว้ทีพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย

จึงได้กลบคืน และสร้างอาคารจัดแสดงไว้บนพื้นที่ที่ขุด








บ้านโนนวัด จากภาพถ่ายทางอากาศเป็นรูปวงกลมมีคันดิน คูน้ำล้อมรอบ

ทำให้น่าคิดว่าหลายแห่งในอิสานหากดูภาพถ่ายทางอากาศจะมีอีกหลายพื้นที่ที่มีลักษณะแบบนี

ทำให้ฝันว่าถ้าขุดค้นอาจจะพบเหมือนหลุมขุดค้นแห่งนี้








นอกจากนี้เมื่อฝนตกชะหน้าดินไป ได้ปรากฏลูกปัดสี โผล่ขึ้นมาจากดิน

ทั้งยังพบโบราณวัตถุอื่น จึงได้เริ่มการการขุดค้น

จนพบแหล่งอารยธรรมที่ต่อเนื่องยาวนานถึว 200 ชั่วอายุคน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย








แผนผังที่พบยุดต่าง ๆ ในพื้นที่








ตั้งแต่ยุคหินใหม่ (4500-3500 ปีมาแล้ว)

ตั้งหลักแหล่งเป็นหมู่บ้านถาวร

สร้างเครื่องมือจากหิน ... ขวานหินขัด หินลับ

ทำภาชนะดินเผา (ใช้ใส่ศพบุคคลที่พิเศษกว่าคนอื่น) ทอผ้า มีการเลี้ยงสัตว์








ภาพบนศพถูกบรรจุอยู่ในโลงที่ขุดจากต้นไม้

ด้านล่างอยู่ในภาชนะดินเผา








ในยุคเดียวกัน เครื่องประดับและสิ่งที่จัดไว้ให้กับผู้ตายต่างกัน

แสดงถึงชนชั้น หรือความยากดีมีจนที่มีมาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่ยาวนาน








พบเมล็ดข้าวในยุคหินใหม่








สำริด (3500-2500 ปีมาแล้ว)

รู้จักการใช้โลหะผสม จากทองแดง+ดีบุกหรือตะกั่ว ได้ สำริด

รู้จักการใชไฟหลอมโลหะ มีการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผามีเอกลักษณ์เฉพาะ


จนถึงยุคเหล็ก (2500-1500 ปีมาแล้ว)

รู้จักการถลุงเหล็ก ที่ยากกว่าสำริด








แม่พิมพ์ดินเผา ยุคสำริด

แวดินเผา ใช้สำหรับ ปั่นด้าย
https://www.facebook.com/NRRUKORATCULTURE/videos/628012943914264/

หลังป้ายแวดินเผา ใช้สำหรับขึ้นรูปหม้อดิน โดยใช้ไม้ตีดินให้โค้งตามรูป








ภาชนะดินเผายุคสำริด

มีลักษณะเป็นหม้อปากแตร มีลายขีด ๆ เราเข้าใจเองว่าเกิดจากการใช้เชือกทาบ เขียนสีแดง








ชิ้นนี้ใช้มือชุบสีทาบลงไปบนภาชนะ














แม่พิมพ์ดินเผา ยุคเหล็ก


























คุณเอนกเล่าว่าตอนเด็ก ๆ เวลาฝนตกจะชะหน้าด้นออกไปทำให้เห็นลูกปัดนี้โผล่ขึ้นมา














ถึงแม้จะผิดคาดจากภาพที่วาดไว้








แต่ไม่ผิดหวังที่ได้มาค่ะ














Create Date :13 กันยายน 2560 Last Update :13 กันยายน 2560 7:18:20 น. Counter : 8976 Pageviews. Comments :32