bloggang.com mainmenu search





















สาหร่ายไก

......

สาหร่ายน้ำจืดสีเขียว พบทางภาคเหนือของ ประเทศไทย

 โดยเฉพาะแถบ แม่น้ำน่าน ในอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

 และแม่น้ำโขง ขึ้นอยู่บนก้อนหินในน้ำไหลเอื่อยๆ ที่ค่อนข้างใส

และเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี

ไก มีลักษณะเป็นเส้นสายยาวสีเขียวสด

พบมากในฤดูหนาว จนถึงฤดูฝน

ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี

แหล่งน้ำบริเวณที่มีสาหร่ายไกมากเป็นพิเศษ

ในประเทศไทยนั้นมี 2 แหล่ง คือ แม่น้ำน่าน จังหวัดน่าน

 ตั้งแต่ต้นน้ำที่อำเภอทุ่งช้าง เรื่อยไปจนถึงแม่น้ำน่าน

 อำเภอเวียงสา แต่จะมีมากที่สุดที่อำเภอท่าวังผา

 และ แม่น้ำโขง บริเวณอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

สาหร่ายชนิดนี้ ทานได้ มี 3 ประเภท

1. ไกเหนียว หรือ ไกค้าง มีสีเขียวเข้ม ลักษณะยาว ไม่แตกแขนง

 เนื้อไม่ฟู มีน้ำหนักพอสมควร มีความยาวประมาณ 2 เมตร

2. ไกเปื้อย หรือ ไกไหม มีเส้นสายที่นุ่มจะเกาะอยู่กับหินเป็นกระจุก

 แล้วจึงกระจาย แผ่ออกเป็นฝอย จำนวนมาก

ลักษณะเส้นจะเหนียวและลื่น มีสีเขียวซีด

 มีความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร

3.ไกต๊ะหรือไกค่าว มีเส้นสาย ที่แข็งกระด้างเล็กน้อย

ลักษณะเป็นกระจุกอยู่ปนกับไกไหม ลักษณะเส้นจะสั้นและลื่นมาก

การเก็บสาหร่ายไก จากแหล่งน้ำธรรมชาตินั้น

 ชาวบ้านจะรอให้สาหร่ายเจริญเต็มที่ มีขนาดยาวมาก

ตั้งแต่ครึ่งเมตร ไปจนถึง 4-5 เมตร

โดยการ จกไก คือ การดึงสาหร่ายที่มีขนาดยาว พอเหมาะ

ออกจากก้อนหิน แล้วส่ายไปมาในน้ำให้ดิน

หรือสิ่งที่เกาะมาหลุดออกไป พาดไว้บนท่อนแขน

สะสมไปเรื่อย ๆ จนมากพอก็จะม้วน ให้เป็นกลุ่มก้อน

 นำไปตากหรือแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ต่อไป

ชาวบ้าน นำสาหร่ายเหล่านี้ ไปแปรรูปเป็นอาหารมากว่า 100 ปี

อาหารดั้งเดิมที่ชาวบ้านทั้ง 2 แหล่งน้ำ ทำมาจากสาหร่ายชนิดนี้

คือ ไกยี และ ห่อนึ่งไก ซึ่งมีหน้าตาคล้าย ๆ กันทั้ง 2 ชุมชน

ไกยี นั้นทำได้โดยนำสาหร่ายไกมาตากให้แห้ง

 แล้วนำมาผิงไฟให้กรอบ จากนั้นก็ใช้มือบดขยี้

หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ยี ให้สาหร่ายแตกออกเป็นแผ่นเล็ก ๆ

หรืออาจจะให้เล็กจนเกือบป่นเลย

หลังจากนั้นนำมาปรุงรสด้วย เกลือ และงาขาวคั่ว

จะได้ ไกยี ที่มีรสชาติดี หอมทั้งกลิ่นธรรมชาติ ของสาหร่าย

และงาคั่วรสเค็ม ทานกับข้าวเหนียวร้อน ๆ

ส่วนห่อนึ่งไกนั้นทำ คล้ายกับห่อหมก

เพียงแต่เปลี่ยนจากปลามาเป็นสาหร่ายไกสด

คลุกกับน้ำพริกแล้วนำไปนึ่ง

ต่อมาก็มีการประยุกต์โดยการแปรรูป สาหร่ายไก

ให้เป็นสาหร่ายแผ่นกรอบ โดยนำสาหร่ายไกที่ตากแห้ง

ปรุงรสด้วยเกลือ กระเทียม มาทอดให้กรอบ ข้าวเกรียบไก

 บะหมี่ไก ข้าวตังหน้าสาหร่ายไก กะหรี่ปั๊บไส้สาหร่ายไก

 คุกกี้สาหร่ายไก กรอบเค็ม กล้วยตากผสมสาหร่ายไก

หรือแม้กระทั่งน้ำพริกไก 

ขนมปังไก ไส้กรอกเปรี้ยวผสมสาหร่ายไก ยอสาหร่ายไก

ลูกชิ้นหมูสาหร่ายไก แครกเกอร์หน้าไกยี ไกแผ่นชุบแป้งทอด

สาหร่ายไก มีปริมาณแคลเซียม เบต้า-เคโรทีน

ซึ่งเป็นแหล่งวิตามิน เอ และสารต้านทาน การเกิดอนุมูลอิสระ

 และเหล็กสูงกว่า สาหร่ายทะเล 2 เท่า

นอกจากนั้นยังพบ วิตามินบี1 วิตามินบี2 มาก กว่าผัก

 มีวิตามินบี 12 ซึ่งช่วยส่ง เสริมความจำ

 และช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง .มีธาตุเหล็กและแคลเซียม

ช่วยบำรุงสมองกระดูก และฟันให้แข็งแรง

 กรดโฟลิก กรดแพนพินิก แมกนีเซียม ทองแดง

 และซีลีเนียม อย่างครบถ้วนในไก และมีในปริมาณที่สูง

กว่าอาหารอื่นทั่วไป มีโปรตีนเทียบเท่า เนื้อปลาและเนื้อไก่

ตามความเชื่อของชาวบ้าน การบริโภคสาหร่ายไก

จะทำให้ผมดกดำไม่หงอกง่าย และชะลอความแก่

สาหร่ายไก นำมาอบแห้งแล้วบดเป็นผง ซึ่งมีลักษณะเป็น cellulous

 จะดูดซับน้ำได้มาก ขณะที่ทานจะพองตัว

ช่วยดูดซับสารพิษ ในลำไส้ เช่นตะกั่ว แคดเมี่ยม

 แต่ควรทานเฉพาะสาหร่ายน้ำจืด เท่านั้น

 เพราะบางพันธุ์ ที่อยู่น้ำกร่อย ใกล้ๆชายฝั่ง

อาจปนเปื้อนสารพิษจากทะเล







































ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ

Create Date :08 ตุลาคม 2558 Last Update :8 ตุลาคม 2558 10:36:08 น. Counter : 5842 Pageviews. Comments :0