bloggang.com mainmenu search




ปกหนังสือพลอยแกมเพชร ฉบับวันที่ ๑๕ ธ.ค. ๒๕๕๖


สมเด็จพระเทพฯ เสด็จทรงเปิดนิทรรศการสมเด็จพระพันวัสสาฯที่นครชิคาโก VOA Thai





รำลึก ๑๒o ปี นิทรรศการแห่งสยามที่นครชิคาโก VOA Thai




ทุกปีช่วงเดือนมค. ถึง มี.ค. ที่พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาฯ วังสระปทุมจะมีนิทรรศการประจำปี เมื่อปี ๒๕๕๕ เราไปชมนิทรรศการ "บรมกษัตริย์วัฒนสถาน" แล้วประทับใจมาก ๆ ได้เข้าไปชมพระตำหนักที่เคยเป็นที่ประทับของราชสกุลมหิดล มาปีนี้มีนิทรรศการ "สยาม-อเมริกัน พันวัสสาอัยยิกาเจ้า" เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณของพระองค์ท่าน ในงานจะมีการจัดนิทรรศการเพื่อย้อนรำลึกประวัติศาสตร์ช่วงที่สมเด้จพระพันวัสสาฯ ทรงเป็นแม่งานจัดสิ่งของที่เป็นงานศิลปหัตถกรรมสตรีสยามไปร่วมจัดแสดงในงานเวิลด์โคลัมเบียนเอ็กซ์โปซิชัน ที่นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา


นิตยสารพลอยแกมเพชรฉบับเดือน ธ.ค. ปีที่แล้วลงเรื่องนิทรรศการ ๑๒o ปีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ที่ สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ ไปทรงเปิดงานที่อเมริกา เนื้อหาค่อนข้างยาวมาก เลยอัญเชิญแต่พระฉายาลักษณ์และนำรูปทั้งหมดมาไว้ในบล็อกก่อน ไว้มีเวลาค่อยจิ้มดีดข้อความมาลงอีกที อัพบล็อกช้าไปหน่อย แต่ก็ยังพอมีเวลาไปชมได้ งานจะหมดเขตสิ้นเดือนนี้ (มี.ค.) ท่านใดอยากไปชมก็อ่านข้อมูลและรายละเอียดการเข้าชมตรงท้ายบล็อกได้ค่ะ



บล็อกเกี่ยวกับ สมเด็จพระพันวัสสาฯ ที่เคยอัพไว้

พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
๑๕o ปี วันพระราชสมภพสมเด็จพระพันวัสสาฯ



บล็อกคุณปอนอาทิตย์นี้

เหมือนเมืองม่าน



บล็อกเสพงานศิลป์สองบล็อกล่าสุด

เสพงานศิลป์ ๘๙
เสพงานศิลป์ ๙o








การส่งผลงานศิลปหัตถกรรมสตรีสยามของ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ไปร่วมจัดแสดงในงานเวิลด์โคลัมเบียนเอ็กซ์โปซิซัน ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา เมื่อ ๑๒o ปีที่แล้ว นับเป็นประวัติศาสตร์สำคัญการนำความสามารถของสตรีไทยและงานศิลปหัตถกรรมไทยที่วิจิตรงดงามให้ปรากฏแก่สายตาชาวโลก นั่นเป็นเพราะข้อเท็จจริงมีหลักฐานชัดเจน สิ่งของจากไทยได้รับรางวัล และมีหนังสือชื่นชมพระปรีชาสามารถของ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทรงอำนวยการจัดส่งสิ่งของ ศิลปหัตถกรรมสตรีสยามไปร่วมจัดแสดง










เนื่องในโอกาส ๑๒o ปี งานเวิลด์โคลัมเบียนเอ็กซ์โปซิชัน พ.ศ. ๒๔๓๖ มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าได้จัด นิทรรศการ สยาม-อเมริกัน พันวัสสาอัยยิกาเจ้า ขึ้น ณ พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า วังสระปทุม เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า รวมถึงให้ผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ได้มีโอกาสเห็นตัวอย่างงานศิลปหัตถกรรมสตรีสยามที่จัดแสดงในงานดังกล่าทั้งเก่าและใหม่ และรับรู้พระกรณียกิจของ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และพระปรีชาสามารถด้านงานศิลปหัตถกรรมสตรี โดยเฉพาะงานเย็บปักถักร้อยมากขึ้น นิทรรศการนี้จึงแบ่งเป็นหลายภาค และเชื่อว่าไม่มีใครเคยได้รับชมมาก่อนอย่างแน่นอน





สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ กับผู้บริหารพิพิธภัณฑ์



นิทรรศการนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งเฉลิมพระเกียรติวาระ ๑๕o ปี พระราชสมภพ และฉลองในโอกาสที่ยูเนสโกประกาศเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (สาธารณสุข) วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์





ชวลี อมาตยกุล เลขาธิการมูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ย้อนรอยให้ฟังว่า ๑๒o ปีที่แล้ว สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นแม่งานจัดสิ่งของที่เป็นงานศิลปหัตถกรรมสตรีสยามไปร่วมจัดแสดงในงานเวิลด์โคลัมเบียนเอ็กซ์โปซิชัน ถือเป็นครั้งแรกที่มีการนำผลงานสตรีจากประเทศต่าง ๆ จัดแสดงอยู่ในอาคารแสดงศิลปหัตถกรรมสตรี ในงานแสดงมีจัดประกวดผลผลิตและผลิตภัณฑ์ด้วย มิสซิสพ็อตเตอร์ พาล์มเมอร์ ประธานคณะกรรมการผู้จัดงานฝ่ายสตรีงานเอ็กซ์โปนี้ เห็นผลงานสตรีไทย ก็ทึ่งในความวิจิตรและความยากในการผลิต เห็นว่าสตรีอเมริกันน่าจะได้เรียนรู้จากสยาม โดยเฉพาะงานปักไหมและผ้าทอ 










"ครั้งนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้พระราชทานสมุดภาพไทยเป็นที่ระลึกแก่มิสซิสพ็อตเตอร์ พาล์มเมอร์ ปกสมุดภาพเป็นฝีพระหัตถ์ที่ สมเด็จพระพันวัสสอัยยิกาเจ้า ทรงปักด้วยไหมทอง เงิน เป็นดอกบัวและใบบัวอย่างวิจิตร ด้านในเป็นภาพแสดงว่าสยามยุคนั้นเป็นชาติที่มีอารยธรรมและวัฒนธรรมสวยงาม มีหลักฐานเป็นหนังสือกราบบังคมทูลของมิสซิสพ็อตเตอร์แสดงความชื่นชมความงามฝีพระหัตถ์ ทรงปักบนปกสมุดภาพ ของจริงเก็บรักษาและจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งนครชิคาโก สหรัฐ ในโอกาศงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรตินี้ จึงจำลองสมุดภาพพระราชทานขนาดเท่าของจริง พร้อมทั้งนำภาพมาฉายให้ชมด้วย" ชวลีกล่าว





Siam Pavillion ที่เลื่องชื่อ
(จาก Chicago 1893 World's Columbia Exposition Book 1 ใน picasaweb.google.com)



การดำเนินการจัดสิ่งของที่เป็นผลงานศิลปหัตถกรรมสตรีสยามงานปัก งานร้อยดอกไม้แห้ง จนถึงขนมไทยไปจัดแสดงที่นครชิคาโกเมื่อ ๑๒o ปีที่แล้ว เลขาธิการมูลนิธิฯ ระบุไม่ใช่เรื่องง่าย ขนส่งทางเรือใช้เวลาหลายเดือน แต่สตรีไทยสมัยนั้นรู้จักวิธีพาสเจอไรซ์แบบธรรมชาติ เป็นที่น่าทึ่งของต่างประเทศอย่างมาก 






กรรภิรมย์ กังสนันท์ อนุกรรมการฝ่ายวิชาการมูลนิธิฯ ผู้รับหน้าที่ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจครั้งสำคัญนี้ของพระองค์ กล่าวว่า ได้จัดนิทรรศการเพื่อย้อนรำลึกประวัติศาสตร์ช่วงสั้นในพระชนม์ชีพของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าที่ยืนยาว ๖ รัชกาล แม้เรื่องราวเกิดเมื่อปี ค.ศ. ๑๘๙๓ หรือ พ.ศ. ๒๔๓๖ แต่กล่าวได้ว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญและยิ่งใหญ่ในความทรงจำ อนุชนรุ่นหลังไม่ทราบเลยว่าทรงมีส่วนร่วมจัดแสดงในงานเวิลด์โคลัมเบียนเอ็กซ์โปซิชัน นครชิคาโกจัดขึ้นเพื่อแสดงความเจริญก้าวหน้าหลังฟื้นตัวจากไฟไหม้ครั้งใหญ่






งานจัดในพื้นที่ ๖oo เอเคอร์ มีคนร่วมชมงาน ๒๖ ล้านคน ไม่น่าเชื่อว่าสตรีสยามจากเมืองอันไกลโพ้นได้มีส่วนเกี่ยวข้อง อีกทั้งการประกวดในงาน ผลการตัดสินปรากฏว่าสยามได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น ๑o๑ รายการ และในบรรดาสิ่งของที่ได้รับรางวัลนั้น มีผลงานฝีพระหัตถ์และสิ่งของส่วนพระองค์ หรือสิ่งของในพระนามาภิไธยสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จำนวน ๒๒ รายการ  






"งานชิคาโกเวิลด์แฟร์ครั้งนี้มิสซิสพ็อตเตอร์ริเริ่มจัดแสดงสิ่งของสตรี ทำหนังสือเวียนไปประเทศต่าง ๆ ๔o ประเทศ นำสิ่งของสตรีที่มีความคิดอ่าน แสดงถึงความสามารถและฝีมือส่งไปร่วมแสดง ดำเนินการมา ๓ ปีล่วงหน้าก่อนงานแสดง อเมริกาได้เชิญสยามส่งงาน สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงรับเป็นพระธุระของประเทศชาติ จัดประชุมท่านผู้หญิงที่มีความรู้ความสามารถ แบ่งภาระหน้าที่กันตามความถนัด สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงรับผิดชอบงานปัก" กรรภิรมย์กล่าวถึงพระราชกรณียกิจครั้งนี้ เติมเต็มความสัมพันธ์สยามกับสหรัฐให้ดีขึ้น






นิทรรศการ "สยาม-อเมริกัน พันวัสสาอัยยิกาเจ้า" ครั้งนี้แบ่งเป็น ๓ ภาคด้วยกัน ภาคแรก : ทวิเทศสมาภิวัฒน์ แสดงประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา เริ่มในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในรัชสมัยนี้ สหรัฐเชิญราชอาณาจักรสยามให้ส่งสินค้า ผลิตผล และประดิษฐกรรมร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติที่นครชิคาโก






ภาคที่สอง : โลกนิทรรศพันวัสสา เรื่องราวพระราชกรณียกิจของ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระปรีชาสามารถด้านงานศิลปหัตถกรรมสตรี และในส่วนที่ทรงอำนวยการคัดเลือกจัดสิ่งของไปร่วมแสดงในงานใหญ่เมื่อ ๑๒o ปีก่อน ภาคที่สาม : สว่างวัฒนากิตติประกาศ แสดงสิ่งของ ผลงาน และผลิตภัณฑ์สตรี ตลอดจนสำเนาเอกสารรายงาน หนังสือ สะท้อนทรงนำความสามารถของสตรีไทยให้ชาวโลกได้รับรู้ ภายในนิทรรศการยังมีพระบรมสาทิสลักษณ์ ภาพงานเวิลด์โคลัมเบียนเอ็กซ์โปซิชันที่หาชมได้ยาก



เข้าร่วมชมนิทรรศการที่อเมริกา








พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗ วันจันทร์-เสาร์ (เว้นวันอาทิตย์) เวลา ๑o.oo -๑๖.๓o น. การเข้าชมต้องนัดหมายล่วงหน้า สอบถามรายละเอียดได้ที่ o๒-๒๕๒-๑๙๖๕-๗ ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ ๑๕o บาท นักเรียน/นักศึกษา ๕o บาท.







พระฉายาลักษณ์ ภาพและข้อมูลจาก
thaipost.net
นิตยสารพลอยแกมเพชร ฉบับวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๖








ส่วนหนึ่งของนิทรรศการในเมืองไทย ภาพจากเวบไทยรัฐ





พาสินี ลิ่มอติบูลย์, คุณชวลี อมาตยกุล และกรรภิรมย์ กังสนันท์
ร่วมกันแนะนำนิทรรศการ “สยาม–อเมริกัน พันวัสสาอัยยิกาเจ้า”





ฉลองพระองค์และฉลองพระบาทที่สมเด็จพระพันวัสสาทรงปักลายด้วยพระองค์เอง





ผ้าปักฝีพระหัตถ์





สมุดภาพจำลองฝีพระหัถต์พระพันวัสสา








พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ - วันจันทร์ที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ในวันจันทร์ - เสาร์ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. ** เปิดวันพุธที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ **


การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ ควรทำการนัดหมายล่วงหน้า ติดต่อนัดหมายและขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒-๒๕๒-๑๙๖๕-๗
* กรุณาแต่งกายสุภาพ สตรีสวมกระโปรงหรือผ้าซิ่น ห้ามแต่งกายสีดำล้วน สีขาวดำ เสื้อไม่มีแขน และกางเกงขาสั้น *


ค่าเข้าชม
ผู้ใหญ่ ๑๕๐.๐๐ บาท
นักเรียน/นักศึกษา ๕๐.๐๐ บาท


ถ้าต้องการเข้าชมพิพิธภัณฑ์เป็นหมู่คณะ


๑. โทรศัพท์ไปสอบถามที่ ฝ่ายพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาฯ ในวังสระปทุม ที่เบอร์โทรศัพท์ ๐๒-๒๕๒-๑๙๖๕-๗ เพื่อสอบถามรอบการเข้าชมว่า ต้องการรอบใด แล้วรอบนั้นว่างเพียงพอกับจำนวนคนที่จะไปเข้าชมหรือไม่ โดยจะมีหลายรอบ ตั้งแต่ ๑๐.๓๐ น. เป็นต้นไป ทางพิพิธภัณฑ์จำกัดรอบละไม่เกิน ๑๕ คน ขาดเกินได้นิดหน่อย เพื่อความไม่วุ่นวายและหนาแน่นในการเข้าชม


๒. โหลดเอกสารการเข้าชมจาก queensavang.org ระบุว่าต้องการเข้าชมกี่คน ฯลฯ อย่าลืมเขียนเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับของคนที่เป็นหัวหน้าทีมด้วย ทางพิพิธภัณฑ์จะได้ติดต่อกลับมายืนยันการเข้าชม


๓. ส่งโทรสารมาที่หมายเลข ๐๒-๒๕๗-๐๙๔๑ (เร็วที่สุด) หรือจะส่งเป็นจดหมายก็ได้ ที่มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า วังสระปทุม เลขที่ ๑๙๕ ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐


๔. ทางพิพิธภัณฑ์จะโทรศัพท์มายืนยันการเข้าชม (ฉะนั้นอย่าลืมเขียนหมายเลขติดต่อกลับ) การแต่งกาย เป็นต้น









การเดินทางไปชมพิพิธภัณฑ์ได้สะดวกหลายทาง

รถไฟฟ้าบีทีเอส ลงสถานีสยาม

รถประจำทางสาย ๑๕, ๒๕, ๔๐, ๕๔, ๗๙, ๒๐๔, ๕๐๑ และ ๕๐๘


รถยนต์ส่วนตัว จอดรถได้ที่อาคารจอดรถสยาม หรืออาคารจอดรถศูนย์การค้าสยามพารากอน

หากท่านจอดรถที่อาคารจอดรถสยาม กรุณาแสดงบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑ์พร้อมบัตรจอดรถ ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์สยามเซ็นเตอร์/สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์

หากท่านจอดรถที่อาคารจอดรถศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุณาแสดงบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑ์พร้อมบัตรจอดรถ ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ชั้นจี (G) ฝั่งนอร์ท เยื้องร้านอาหารโทนี่ โรม่าส์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจอดรถเป็นเวลา ๔ ชั่วโมง

ถ้าจอดรถที่พารากอน ให้เดินลงมาชั้น G ประตูตรงร้าน Le notre ถ้านึกไม่ออกก็ตรง oriental shop จากนั้นเดินตามแผนที่เลยค่ะ





ร้าน Le Notre



พอเดินมาถึงประตูเล็กแล้ว ให้แจ้งชื่อกับทหารว่า หัวหน้าทีมชมพิพิธภัณฑ์ (คนจองรอบ) ชื่ออะไร จากนั้นก็จะมีกรมวังพาเดินไปที่ตึกด้านหลังเพื่อชำระเงิน ถ่ายรูปทำบัตร (บัตรนี้ก็จะให้เป็นที่ระลึกเลยส่วนรูปน่าจะเก็บไว้เพื่อความปลอดภัย) จากนั้นก็ไปนั่งรอในร้านปทุมสรัส สามารถสั่งของว่าง เครื่องดื่ม มาดื่มและรับประทานได้ เมื่อถึงรอบแล้วจะมีเจ้าหน้าที่มาเรียกเข้าชม



ภาพและข้อมูลจาก
กระทู้พันทิพ
แผ่นพับ"พิพิธภัณฑสมเด็จพระพันวัสสาฯ"



เพลงพระราชนิพนธ์ แสงเทียน





บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะค่ะ



บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ ebaemi


Free TextEditor


Create Date :11 มีนาคม 2557 Last Update :13 มีนาคม 2557 22:05:20 น. Counter : 7241 Pageviews. Comments :40