bloggang.com mainmenu search






ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ
(โรคเดอ เกอร์แวง , De Quervain's Disease)

เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจาก การอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วหัวแม่มือ บริเวณข้อมือ (โคนนิ้วหัวแม่มือ) ทำให้เกิดอาการบวม อาการปวด และ อาจมีการหนาตัวของเส้นเอ็น ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้

ผู้หญิงพบบ่อยกว่าผู้ชายประมาณ 3 - 5 เท่า มักพบในผู้หญิงช่วงอายุ 30 - 50 ปี

มักพบในคนที่ต้องใช้นิ้วหัวแม่มือบ่อย ๆ ในท่า กางนิ้วหัวแม่มือออกทางด้านข้างและกระดกขึ้น หรือ ในบางรายอาจพบว่าเคยมีการบาดเจ็บในตำแหน่งนี้มาก่อน บางครั้งก็พบได้ในช่วงใกล้คลอด หรือ หลังคลอดบุตร

อาจพบได้ในผู้ที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ หรือ เบาหวาน

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดและบวมบริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ จะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ เช่น เวลาเหยียดและงอนิ้วหัวแม่มือเต็มที่ บิดเสื้อผ้า ยกขันน้ำ กวาดพื้น อุ้มลูก เป็นต้น

ในผู้ป่วยบางคนอาจคลำได้ก้อนถุงน้ำบริเวณข้อมือด้วย (ก้อนถุงน้ำ บางครั้งอาจจะแข็งคล้ายกระดูก)

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากการซักประวัติ และ การตรวจร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องเอ็กซเรย์



แนวทางรักษา

1. วิธีไม่ผ่าตัด

ผลการรักษาค่อนข้างดี ในผู้ป่วยที่เริ่มเป็น มีโอกาสหายประมาณ 70 – 80 % ซึ่งมีแนวทางรักษาคือ

o หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ ในท่า กางนิ้วออกหรือ กระดกนิ้วขึ้น

o ถ้าปวดมากอาจใช้ผ้ายืดพัน ใส่อุปกรณ์พยุงนิ้วหัวแม่มือ หรือ ใส่เฝือกชั่วคราว

o ประคบด้วยความร้อน หรือ ใช้ยานวดบรรเทาอาการปวด

o รับประทานยาบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ

o ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ บริเวณจุดที่กดเจ็บมากที่สุด เพื่อลดอาการอักเสบของเส้นเอ็น

ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นชั่วคราว (ประมาณ 3 - 6 เดือน) อาจกลับมาเป็นซ้ำได้

ถ้าฉีดยาครั้งแรกแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจจะฉีดซ้ำได้อีก 1-2 ครั้ง แล้วถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นก็ควรรักษาด้วยการผ่าตัดจะได้ผลดีกว่าที่จะฉีดยาซ้ำ เพราะการฉีดยาซ้ำบ่อย ๆ นอกจากอาการมักจะไม่ค่อยดีขึ้นแล้ว ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น เช่น เส้นเอ็นขาด หรือ ผิวหนังมีรอยด่างขาว เป็นต้น


2. วิธีผ่าตัด

ผลของการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ได้ผลค่อนข้างดี แต่ถ้ายังไม่จำเป็นก็ไม่ควรจะผ่าตัด

o ข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัด เช่น มีอาการปวดมาก ฉีดยาสเตียรอยด์ 2 ครั้งใน 1 เดือน แต่อาการไม่ดีขึ้น เป็นต้น

o วิธีผ่าตัด แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ ใช้ยางยืดรัดแขนเพื่อห้ามเลือดแล้วทาน้ำยาฆ่าเชื้อ เมื่อเสร็จแล้วจึงใช้ ผ้าสะอาดคลุมบริเวณข้อมือ ใช้มีดกรีดแยกเยื่อหุ้มเอ็นที่บีบรัดเส้นเอ็นอยู่ให้แยกจากกัน หลังจากนั้นก็จะเย็บแผล ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 10 – 15 นาที ก็กลับบ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องพักในโรงพยาบาล

o หลังผ่าตัดทำแผลวันละครั้ง ตัดไหมหลังผ่าตัด 7-10 วัน แพทย์จะนัดมาตรวจทุก 1 – 2 สัปดาห์ในระยะแรก

o ภาวะแทรกซ้อน ที่พบได้ เช่น

มีอาการเจ็บบริเวณผ่าตัด หรือ กลับมาเป็นซ้ำ เนื่องจากมีพังผืดเกิดขึ้นมาใหม่หลังผ่าตัด

เกิดแผลเป็นแบบนูน ( คีลอยด์ )

มีโอกาสเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงผิวหนัง ทำให้มีอาการชา หรือ ปวดแสบปวดร้อน

เส้นเอ็นบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ ( ข้อมือ) นูนขึ้นเวลากระดกนิ้วหัวแม่มือ





อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53

ปวดคอ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26

ปวดไหล่ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25

ปวดหลัง //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30

เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32


Create Date :16 กรกฎาคม 2551 Last Update :17 สิงหาคม 2560 23:40:10 น. Counter : Pageviews. Comments :3