bloggang.com mainmenu search
 
สาเหตุของอาการปวดหลัง ที่พบบ่อย

แนวทางการวินิจฉัย

โดยส่วนใหญ่แล้วอาการปวดหลังมักไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรง ซึ่งแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยจากประวัติ และการตรวจร่างกาย เท่านั้น แพทย์ก็สามารถให้การรักษาได้เลย

แต่ถ้าหลังจากให้การรักษาไปช่วงเวลาหนึ่งแล้ว มีอาการปวดเป็นมากขึ้น หรือ อาการไม่ดีขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสี (เอ๊กซเรย์) ซึ่งการถ่ายภาพรังสีแบบปกติจะเห็นเฉพาะกระดูกเท่านั้น ไม่เห็นเนื้อเยื่อเช่น กล้ามเนื้อ หรือ หมอนรองกระดูก บางกรณีจึงอาจต้องเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ ( ซีที ) เอ๊กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) หรือ ฉีดสีเข้าในไขสันหลัง จึงจะเห็นความผิดปกติ

สาเหตุ อาการปวดหลัง เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่

1. ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด

ความผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังตั้งแต่วัยเด็ก หรืออาจจะมาแสดงอาการในขณะที่อายุมากแล้วก็ได้ ซึ่งเป็นเพราะความเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นในภายหลัง

โรคที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ได้แก่โรคกระดูกสันหลังคด ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายจากมี หลังเอียง หลังคด กระดูกสะบักสองข้างสูงไม่เท่ากัน หน้าอกสองข้างนูนไม่เท่ากัน

การรักษาโรคหลังคดมีรายละเอียดมาก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่เป็น อายุของผู้ป่วย โดยมีจุดประสงค์ในการรักษาเพื่อพยายาม ทำให้กระดูกสันหลังตรงหรือไม่คดเพิ่มขึ้น ซึ่งมีวิธีรักษาหลายวิธี เช่น การออกกำลังกายกล้ามเนื้อ ใส่เฝือกหลัง ผ่าตัดกระดูกสันหลัง การเลือกวิธีรักษาจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน









2. การใช้งานหลังที่ผิดวิธี


สาเหตุที่ทำให้ปวดหลังได้บ่อยที่สุด เกิดจากการทำงานที่ใช้หลังอย่างผิดวิธี เช่น การยกของหนักมาก ๆ ขึ้นจากพื้นในท่าก้มหลัง การดันของหนัก ๆ เช่น โต๊ะ ตู้เตียง การนั่งก้มหลังทำงานนาน ๆ การนั่งขับรถเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้นมาทันทีหรือในวันสองวันหลังจากนั้น ซึ่งแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือ

2.1 อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบ

กล้ามเนื้อหลังเป็นส่วนที่ช่วยให้กำลังและความแข็งแรงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ยืน เดิน และ ยกของ กล้ามเนื้ออักเสบเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อทำงานหนักมากเกินไปหรือใช้งานผิดท่า ซึ่งมีปัจจัยที่ทำให้อาการเป็นมากขึ้น ได้แก่ การใช้งานไม่เหมาะสม อ้วน การสูบบุหรี่ เมื่อเกิดกล้ามเนื้อหลังอักเสบจะทำให้ ปวด หลังแข็งเกร็ง ขยับเขยื้อนหลังไม่ได้ อาจมีอาการตัวเอียง เดินลำบาก มีแนวทางรักษาดังนี้

- การนอนพัก ในท่าที่สบาย เช่น ท่านอนหงาย เข่างอเล็กน้อย โดยใช้หมอนใบเล็ก ๆ รองใต้เข่า หรือนอนตะแคงกอดหมอนข้าง หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำเพราะทำให้หลังแอ่น และปวดมากขึ้น แต่ไม่ควรนอนพักนานเกินกว่า 2 – 4 วัน เพราะทำให้กล้ามเนื้อหลังอ่อนแอมากขึ้น และ หายช้ากว่าปกติ ยิ่งลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้เร็วเท่าไร อาการปวดหลังก็จะดีขึ้นเร็วเท่านั้น

- ให้ยารักษาตามอาการ ได้แก่ ยาลดความเจ็บปวด ลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ

- การทำกายภาพบำบัด


2.2 หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูก เป็นตัวทำให้เกิดความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลัง และให้ความมั่นคงแข็งแรงกับสันหลัง เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนประกอบที่เป็นน้ำภายในหมอนรองกระดูกจะลดลง ทำให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นลดลง

ถ้ามีแรงมากระทำต่อหมอนรองกระดูกในลักษณะเฉียง ๆ (ซึ่งมักจะเกิดในท่าก้มลงยกของหนัก) จะทำให้หมอนรองกระดูกแตก และเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ทำให้ปวดหลัง ในผู้ป่วยบางราย หมอนรองกระดูกที่แตกออกมาจะไปกดทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดหลัง ร่วมกับมีอาการปวดร้าวไปที่ขา ขาชา หรือ ขาอ่อนแรง ร่วมด้วย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายได้ โดยวิธีรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งมีวิธีการรักษาคือ

- นอนพัก แต่ไม่ควรนอนพักนานเกิน 2-3 วัน

- รับประทานยาแก้ปวด ลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ วิตามินบีบำรุงเส้นประสาท

- ทำกายภาพบำบัด เช่น การดึงหลัง การอบหลังด้วยความร้อน หรือคลื่นเสียงอัลตร้า

- การออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง ให้แข็งแรง

การผ่าตัดถือว่าเป็นวิธีรักษาวิธีสุดท้าย ซึ่งจะผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น ปวดมากจนรบกวนต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วไม่ดีขึ้น หรือ ไม่สามารถกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ (อุจาระราด ปัสสาวะราด)



3. การติดเชื้อ

ภาวะการติดเชื้อที่กระดูกสันหลังส่วนเอว มีสาเหตุคือเชื้อแบททีเรียกระจายมาตามกระแสเลือดแล้วไปที่กระดูกสันหลัง ทำให้มีไข้ขึ้น และมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง การรักษาจำเป็นต้องให้การรักษาอย่างรวดเร็ว

เชื้อที่พบบ่อยอีกชนิดหนึ่งคือ เชื้อวัณโรค ซึ่งอาการจะค่อยเป็นค่อยไป อาการปวดหลังเพิ่มขึ้นทีละน้อย มีไข้ต่ำ ๆ ในตอนบ่าย น้ำหนักลดลง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะทำให้หลังโก่ง และอาจจะเป็นอัมพาตได้ แต่ถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้ทันก็จะหายเป็นปกติ



4. กระดูกสันหลังเสื่อม

เมื่ออายุมากขึ้น กระดูกสันหลังก็จะเสื่อมโทรมลงตามธรรมชาติ ซึ่งอาจแบ่งอาการของกระดูกสันหลังเสื่อม ได้เป็น ๒ ระยะ

ระยะข้อต่อหลวม เมื่อข้อเริ่มเสื่อมถึงจุดหนึ่งความแข็งแรงของข้อต่อกระดูกสันหลังจะลดลง ทำให้มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อมากขึ้น (ข้อต่อหลวม) ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ในช่วงเริ่มต้นมักจะมีอาการเวลาขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบท เช่น นอนแล้วลุกขึ้นลำบาก แต่ถ้าข้อต่อหลวมมาก ก็จะมีอาการตลอดเวลา

ระยะข้อติดแข็ง (กระดูกงอก) ซึ่งเป็นระยะต่อมาที่ร่างกายมีกระบวนการซ่อมแซมตัวเองโดยการสร้างหินปูนมายึดเกาะข้อต่อให้แข็งแรงขึ้น อาการปวดที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ข้อต่อหลวมก็จะหายไป แต่ถ้าหินปูนที่ร่างกายสร้างขึ้นมานั้นมีมากเกินไป จนกดทับเส้นประสาท ก็จะทำให้เกิดอาการปวดหลังอีก ซึ่งคราวนี้อาการปวดหลังมักจะเป็นเมื่อเริ่มออกเดินไปได้สักระยะหนึ่ง อาการปวดและชาที่ขาจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเดินไม่ไหวต้องหยุดเดินและนั่งพักอาการจึงจะดีขึ้น ระยะทางที่เดินได้โดยไม่ปวดจะสั้นลงเรื่อย ๆ ตามความรุนแรงของโรค



ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการปวดหลัง แนวทางการรักษา และวิธีบริหารกล้ามเนื้อ ให้สอบถามกับแพทย์ หรือ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ อีกครั้ง….


..............................

...............................

ปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลังที่พบบ่อย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กระดูกสันหลังเสื่อม

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23

 

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาทthaispine

https://www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

 

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine

https://www.thaispine.com/sciatica.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท

https://www.thaispine.com/SNRB.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาสเตียรอยด์

https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด

https://www.thaispine.com/Decision_point.htm

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามก่อนผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-spinal-surgery

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามหลังผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-and-post-after-spinal-surgery

กระดูกสันหลังคด เวบไทยสปาย

https://www.thaispine.com/Dent-scoliosis.html

กระดูกสันหลังคด เวบหาหมอ

https://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94/

ปวดก้นกบ ( CoccyxPain , coccydynia , coccygodynia )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24

ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ง่ายมาก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-09-2013&group=5&gblog=48

เข็มขัดรัดหลัง :จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน? นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

https://www.doctor.or.th/article/detail/1289

 

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ( พิริฟอร์มิสซินโดรม,Piriformis Syndrome)

https://www.pobpad.com/piriformis-syndrome-กลุ่มอาการกล้ามเนื้
https://supachokclinic.com/piriformis-syndrome/
https://drsant.com/2014/11/piriformis-syndrome.html
https://www.facebook.com/216848761792023/photos/a.1473381102805443/1572913409518878/

Create Date :13 มิถุนายน 2551 Last Update :20 มิถุนายน 2565 14:57:52 น. Counter : Pageviews. Comments :11