บทที่3 ยุทธศาสตร์การรบรุก
บทที่3 ยุทธศาสตร์การรบรุก

อันหลักการทำศึกนั้น บ้านเมืองสมบูรณ์เป็นเอก บ้านเมืองบอบซ้ำเป็นรอง กองทัพสมบูรณ์เป็นเอก กองทัพบอบซ้ำเป็นรอง กองพลสมบูรณ์เป็นเอก กองพลบอบซ้ำเป็นรอง กองร้อยสมบูรณ์เป็นเอก กองร้อยบอบซ้ำเป็นรอง เหตุนี้ รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ยังหาใช้ความยอดเยี่ยมในความยอดเยี่ยมไม่ มิต้องรบแต่สยบทัพข้าศึกได้ จึงจะเป็นความยอดเยี่ยมในความยอดเยี่ยม

ฉะนั้น การบัญชาทัพชั้นเอกคือชนะด้วยอุบาย รองมาคือชนะด้วยการทูต รองมาคือชนะด้วยการรบ เลวสุดคือการตีเมืองเป็นเรื่องสุดวิสัย เพราะการสร้างรถโล่ การเตรียมยุทโธปกรณ์ สามเดือนจึงแล้วเสร็จ การถมเนินเข้าตีเมือง ต้องอีกสามเดือนจึงลุล่วง แม่ทัพจักกลั่นโทสะมิได้ ทุ่มทหารเข้าตีดุจจอมปลวก ต้องล้มตายหนึ่งในสาม แต่เมืองก็มิแตก นี้คือความวิบัติจากการตีเมือง

ฉะนั้น ผู้สันทัดการบัญชาทัพ จักสยบทัพข้าศึกได้โดยมิต้องรบ จักยึดเมืองข้าศึกโดยมิต้องตี จักทำลายประเทศข้าศึกได้โดยมิต้องนาน จักครองปฐพีได้ด้วยชัยชนะอันสมบูรณ์ ดังนี้ กองทัพมิต้องเหน็ดเหนื่อยยากเข็ญ ก็ได้ชัยชนะอย่างสมบูรณ์ นี้คือกลวิธีแห่งการรุก

ฉะนั้น หลักการบัญชาทัพคือ มีสิบเท่าให้ล้อม มีห้าเท่าให้รุก มีหนึ่งเท่าให้แยก มีเท่ากันก็รบได้ มีน้อยกว่าก็เลี่ยงหนี มีไม่ทัดเทียม ก็หลบหลีก เหตุนี้ ด้อยกว่าข้าศึกยังขืนรบ ก็จักตกเป็นเชลยข้าศึกที่เข้มแข็ง

อันแม่ทัพนั้น คือผู้ค้ำจุนประเทศ ถ้ารอบคอบ บ้านเมืองจักเข้มแข็ง ถ้าบกพร่อง บ้านเมืองจักอ่อนแอ

ประมุขนำความวิบัติแก่กองทัพมีสาม ไม่รู้ว่ากองทัพรุกมิได้บัญชาให้รุก ไม่ได้รู้ว่ากองทัพถอยมิได้ก็บัญชาให้ถอย นี้เรียกว่าจำจองกองทัพ ไม่รู้เรื่องของสามทัพ แต่เข้าสอดแทรกกิจการของสามทัพ แม่ทัพนายกองก็สับสน ไม่ได้รู้อำนาจของสามทัพ แต่เข้าแทรกแซงการบัญชาของสามทัพ แม่ทัพนายกองก็สงสัย เมื่อแม่ทัพนายกองทั้งสับสนและสงสัย เจ้าครองแคว้นอื่นก็จะนำภัยมาสู่ นี้เรียกว่าก่อกวนกองทัพ ชักนำข้าศึกให้ชนะ

ฉะนั้น เราสามารถล้วงรู้ชัยชนะได้ห้าทาง ผู้รู้ว่าควรรบหรือไม่ควรรบจักชนะ ผู้เข้าใจการรบในภาวะกำลังมากหรือกำลังน้อยจักชนะ ฝ่ายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งชั้นบนและชั้นล่างจักชนะ ฝ่ายพร้อมรบบุกฝ่ายไม่พร้อมรบจักชนะ ฝ่ายแม่ทัพมีปัญญาประมุขไม่ยุ่งเกี่ยวจักชนะ ห้าทางนี้คือวิธีแห่งการล้วงรู้ชัยชนะ

ฉะนั้น จึงกล่าวว่า รู้เขารู้เรา ร้อยรบมิพ่าย ไม่รู้เขาแต่รู้เรา ชนะหนึ่งแพ้หนึ่ง ไม่รู้เขาไม่รู้เรา ทุกรบจักพ่าย

บทวิเคราะห์

ในบทนี้ ซุนวูได้อธิบายความคิดที่ทรงคุณค่าที่สุดอย่างหนึ่งคือ “รู้เขารู้เรา ร้อยรบมิพ่าย ไม่รู้เขาไม่รู้เรา ทุกรบจักพ่าย” ซึ่งชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจและความรับรู้ของผู้บัญชาการรบต่อสภาพข้าศึก และของทั้งสองฝ่าย กับชัยชนะและปราชัยของสงคราม เปิดเผยให้เห็นถึงกฎทั้วไปแห่งการชี้นำสงคราม เหมาเจ๋อตงเคยประเมินค่าสูงสุดต่อความคิดซุนวูข้อนี้ เขาได้กล่าวว่า “สงครามมิใช้สิ่งอาถรรพ์ หากยังคงเป็นการเคลื่อนไหวที่จำเป็นอย่างหนึ่งในโลกมนุษย์ ดังนั้น กฏของซุนวูที่ว่า “รู้เขารู้เรา ร้อยรบมิพ่าย” จึงยังคงเป็นสัจธรรมที่เป็นวิทยาศาสตร์อยู่”

ซุนวูมีความเห็นให้สู้รบกับข้าศึกในสภาพการณ์ที่เราเป็นฝ่ายเหนือกว่า ดัดค้านการสู้รบอย่างดันทุรังในสภาพการณ์ที่เราเป็นฝ่ายด้อยกว่า โดยเริ่มต้นจากจุดนี้ เขาได้เสนอบัญชาทัพที่ “มีสิบเท่าให้ล้อม มีห้าเท่าให้รุก มีหนึ่งเท่าให้แยก มีเท่ากันก็รบได้ มีน้อยกว่าให้เลี่ยงหนี มีไม่ทัดเทียมกันก็หลบหนี” เห็นว่าใช้วิธีการรบตามสัดส่วนที่แตกต่างของส่วนเปรียบเทียบทางกำลังทางทหารทั้งสองฝ่าย เขาเตือนว่า "ด้อยกว่าข้าศึกยังขืนรบ ก็จักตกเป็นเชลยข้าศึกที่เข้มแข็ง” กองทัพที่อ่อนกว่าข้าศึก หากเอาแต่รบอย่างดื้อรั้น ในที่สุดก็จะตกเป็นเชลยศึกที่เข็มแข็งกว่าแน่นอน

ในบทนี้ ซุนวูได้เสนอว่า “การบัญชาทัพชั้นเอกคือชนะด้วยอุบาย รองลงมาคือชนะด้วยการทูต รองมาคือชนะด้วยการรบ เลวสุดคือการเข้าตีเมือง” เห็นว่าการใช้อุบายในทางการเมืองและการทูตเอาชนะข้าศึกเป็นเรื่องที่เยี่ยมที่สุด

ควรชี้ให้เห็นว่า ในสงคราม “การเอาชนะด้วยอุบาย” “การเอาชนะด้วยการทูต” นั้น เป็นมาตรการสำคัญ นั้น เป็นมาตรการสำคัญอันจะขาดเสียมิได้ในการต่อสู้กับข้าศึก แต่ทั้งนี้มีแต่จะต้องประสานกับ “การเอาชนะด้วยการรบ” ซึ่งเป็นมาตรการทางทหารด้วยจึงจะสามารถขยายบทบาทของมันได้ โดยเนื้อแท้แล้วยังคงเป็น “สยบข้าศึกด้วยการรบ” อยู่นั้นเอง

ด้วยเหตุนี้ การที่ซุนวูถือ “สยบทัพข้าศึกโดยมิต้องรบ” เป็น “ความยอดเยี่ยมในความยอดเยี่ยม” และถือเป็นหลักการบัญชาทหารโดยทั่วไปนั้น ดูจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันซึ่งยากเหลือเกินที่จะ “เอาชนะด้วยอุบาย” หรือ “เอาชนะด้วยการทูต” ได้โดย ไม่มีกองทัพอันเกรียงไกรยืนตระหง่านอยู่เบื้องหลัง

บทที่ 4 รูปลักษณ์การรบ

ผู้สันทัดการรบในอดีต จักทำให้ตนมิิอาจพิชิตได้ก่อน เพื่อรอโอกาสข้าศึกจะถูกพิชิต มิอาจพิชิตเป็นฝ่ายตน ถูกพิชิตเป็นฝ่ายข้าศึก ฉะนั้น ผู้สันทัดการรบ อาจทำให้ตนมิอาจพิชิตได้ แต่ไม่อาจทำให้ข้าศึกจะต้องถูกพิชิต ดังนี้จึงว่า ชัยชนะอาจล่วงรู้ แต่ไม่อาจกำหนดได้ ผู้ที่เราไม่อาจเอาชนะ พึงตั้งรับ ผู้ที่เราอาจเอาชนะ พึงเข้าตี ตั้งรับเพราะกำลังไม่พอ เข้าตีเพราะกำลังเหลือเฟือ

ผู้สันทัดการตั้งรับ จักประหนึ่งซ่อนตัวอยู่ใต้บาดาล ผู้สันทัดการเข้าตี จักประหนึ่งเคลื่อนตัวอยู่เหนือฝากฟ้า ฉะนั้น จึงสามารถพิทักษ์ตนเอง ให้ได้รับชัยชนะได้อย่างสมบูรณ์

หยั่งเห็นในชัยชนะมิเกิดซึ่งคนทั้งปวงรู้ หาใช้ความยอดเยี่ยมที่แท้ไม่ รบชนะเป็นที่สรรเสริญแก่ชาวโลก หาใช้ความยอดเยี่ยมที่แท้จริงไม่ ฉะนั้น ยกขนนกขึ้นได้ใช้ว่าทรงพลัง เห็นแสงเดือนตะวัน ใช่ว่าตาสว่าง ได้ยินเสียงฟ้าคำรณใช้ว่าโสตไว

ที่โบราณเรียกว่าผู้สันทัดการรบนั้น คือชนะผู้ที่เอาชนะได้ง่าย ฉะนั้น ชัยชนะของผู้สันทัดการรบ จึงมิได้ชื่อว่ามีสติปัญญา มิมีความชอบในเชิงกล้าหาญ ฉะนั้น ชัยชนะของเขาจึงมิพึงกังขา เหตุที่มิพึงกังขา ก็เพราะปฏิบัติการของเขาจักต้องชนะ จึงชนะ ผู้ที่ต้องพ่ายแพ้ ฉะนั้นผู้สันทัดในการรบจึงตั้งอยู่ในฐานะไม่แพ้ และไม่สูญเสียโอกาสทำให้ข้าศึกต้องแพ้

เหตุนี้ ฝ่ายชนะรู้ว่าชนะก่อนจึงออกรบ ฝ่ายแพ้รบก่อนแล้วจึงหวังว่าชนะ
ฉะนั้น ผู้สันทัดการบัญชาทัพ จักจรรโลงไว้ซึ่งมรรคและกฎระเบียบ ฉะนั้น จึงสามารถกำหนดชัยชนะและพ่ายแพ้ได้

หลักแห่งการทำศึก มี หนึ่งคือวินิจฉัย สองคือคำนวณ สามคือประมาณ สี่คือเปรียบเทียบ ห้าคือชัยชนะ

พื้นที่ก่อให้เกิดการวินิจฉัย การวินิจฉัยก่อให้เกิดการคำนวณ การคำนวณก่อให้เกิดประมาณ ประมาณก่อให้เกิดการเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบก่อให้เกิดชัยชนะ

ฉะนั้น กองทัพที่ชนะจึงประดุจเอาหนึ่งอี้ไปเปรียบกับหนึ่งจู กองทัพที่แพ้จึงประดุจเอาหนึ่งจูไปเปรียบกับหนึ่งอี้ ไพร่พลของฝ่ายชนะ จึงเสมือนปล่อยน้ำที่กักในลำธานสูงแปดพันเชียะ ให้ทะลักกระโจมลงมา นี้คือรูปลักษณ์การรบ

บทวิเคราะห์

บทนี้ ที่สำคัญ ซุนวูได้ให้คำอธิบายเรื่องการรบของกองทัพว่า จะต้องทำให้ตนเอง “ตั้งอยู่ในฐานะไม่พ่ายแพ้”

ซุนวูเห็นว่า การเปรียบเทียบกำลังทหารที่แท้จริงระหว่างสองฝ่ายเป็นรากฐานแห่งความมีชัยหรือพ่ายแพ้ของการรบ “กองทัพที่ชนะจึงประดุจเอาอี้ไปเปรียบกับจู” “กองทัพที่แพ้จึงประดุจเอาจูไปเปรียบกับอี้” ( อี้และจูเป็นมาตราชั้งสมัยโบราณของจีน 1 อี้เท่ากับ 20 ตำลึง 1 ตำลึงมี 24 จู 1 อี้จึงเท่ากับ 480 จู ) แม่ทัพผู้สันทัดในการรบ มักจะสร้างความได้เปรียบอย่างสมูบรณ์ทางกำลัง “ฝ่ายชนะรู้ว่าชนะก่อนจึงออกรบ” กองทัพเช่นนี้เมื่อรบ ก็เหมือนดั่งน้ำทีสะสมอยู่ในลำธารสูงที่เป็นพันเชียะ ไหลพุ่งออกมาอันไม่อาจต้านทานได้

โดยเริ่มต้นจากจุดนี้ ซุนวูจึงได้เสนอความคิดชี้นำการรบซึ่ง “จักทำให้ตนมีอาจพิชิตได้ก่อน เพื่อรอโอกาสข้าศึกจะถูกพิชิต” เข้าเน้นว่าหากต้องการช่วงชิงให้ได้ชัยชนะในสงคราม ก่อนอื่นจะต้องทำให้ตนเองตั้งอยู่ในฐานะไม่แพ้ และรอเวลาที่จะตีข้าศึกให้พ่ายไป

ซุนวูเห็นว่า จะสามารถทำถึงขั้น “จักทำให้ตนมิอาจพิชิตได้ก่อน” กุมอำนาจการเป็นฝ่ายกระทำอยู่ในมือของตนนั้น จะทำได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการ “จรรโลงไว้ซึ่งมรรค ( หมายถึง การสร้างเงื่อนไขต่างๆทุกวิธีทาง เพื่อให้ได้รับชัยชนะ ) และกฎระเบียบ” พยายามคิดหากลอุบายอย่างเต็มที่ก็สามารถ “กำหนดชัยชนะหรือพ่ายแพ้ได"้

แต่ข้าศึกจะมีช่องโหวให้ฉกฉวยหรือไม่ ฝ่ายเราจะได้ชัยชนะจากข้าศึกหรือไม่ ยังอยู่ที่ข้าศึก ฉะนั้น ซุนวูกล่าวว่า “ผู้สันทัดในการรบอาจทำให้ตนมิอาจพิชิตได้ แต่ไม่อาจทำให้ข้าศึกจะต้องถูกพิชิต” อย่างไรก็ดี ขอแต่เพียงว่าก่อนอื่นจะต้องทำให้ตนตั้งอยู่ในฐานะไม่พ่ายแพ้ ความเป็นไปได้ในการรอคอยข้าศึกให้แพ้ไปก็มักจะดำรงอยู่เสมอ

ความคิดชี้นำการรบของซุนวูข้อนี้ เน้นให้ถือกำลังที่แท้จริงของตนเองเป็นพื้นฐาน ไม่ปล่อยโอกาสรบใดๆ ที่สามารถรบชนะให้ผ่านไปมีความมั่นคงแน่นอนพร้องทั้งตระเตรียมอย่างเอาการเอางาน ด้วยเหตุนี้เองความคิด “ฝ่ายชนะรู้ว่าชนะก่อนจึงออกรบ” ของซุนวู จึงได้ความสนใจอย่างสำคัญของนักการทหารทั้งหลายตลอดเวลาทีผ่านมา

ในบทนี้ ซุนวูยังได้อรรถาธิบายปัญหาการรุก การรับ และ “พิทักษ์ตนเองให้ได้ชัยชนะอย่างสมบูรณ์” ซุนวูเห็นว่า เมื่อเงื่อนไขแห่งชัยชนะไม่พอเพียง ก็ควรจะใช้การตั้งรับ เมื่อเงื่อนไขแห่งชัยชนะพอเพียงก็ควรจะเข้าโจมตี ซุนวูยังชี้อีกว่า “ผู้สันทัดการตั้งรับ จักประหนึ่งซ่อนตัวอยู่ใต้บาดาล” ทำให้ข้าศึกไร้ร่องรอยที่จะสังเกตเห็น ไม่มีช่องโหว่ที่จะฉกฉวย “ผู้สันทัดการเข้าตีจักประหนึ่งเคลื่อนตัวอยู่เหลือฟากฟ้า” ทำให้ข้าศึกรับมือไม่ทัน จนปัญญาจะต้านทาน ดังนี้ ก็จะสามารถบรรลุ จุดประสงค์ในการ “พิทักษ์ตนเองได้รับชัยชนะอย่างสมบูรณ์”

ตอนสุดท้ายของบทนี้ ซุนวูได้กล่างไว้ว่า “หลักแห่งการทำศึกมี หนึ่งคือวินิจฉัย สองคือคำนวณ สามคือปริมาณ สี่คือเปรียบเทียบ ห้าคือชัยชนะ” และได้อรรถาธิบายต่อไปว่า “พื้นที่ก่อให้เกิดการวินิจฉัย การวินิจฉัยก่อให้เกิดการคำนวณ การคำนวณก่อให้เกิดปริมาณ ปริมาณก่อให้เกิดการเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบก่อให้เกิดชัยชนะ” นั้น มีผู้รู้อธิบายความหมายเป็น 2 นัยด้วยกันคือ

นัยหนึ่งว่า ดำเนินการวินิจฉัยเพื่อใช้ภูมิประเทศให้เป็นประโยชน์โดยพิจารณาตามสภาพความคับขันหรือปลอดโล่ง ความกว้างหรือแคบ ตามลักษณะเป็นหรือตายของพื้นที่ซึ่งคือภูมิประเทศ อาศัยการวินิจฉัยต่อภูมิประเทศ กำหนดปริมาณจัดวางกำลังทหาร อาศัยปริมาณกำลังทหารทีทั้งสองฝ่ายอาจจะทุ่งเข้าไปในพื้นที่ ดำเนินการเปรียบเทียบ และจากนี้ก็กำหนดความมีชัยหรือพ่ายแพ้ได้

อีกนัยหนึ่งก็ว่า วินิจฉัย คือวินิจฉัยความใหญ่เล็กของพื้นที่ คำนวณ คือคำนวณความมากน้อยของทรัพย์ยากรวัตถุ ดังนี้ ความหมายของคำนี้ทั้งคำก็คืออาณาเขตพื้นที่ของทั้งสองฝ่ายไม่เท่ากัน ก่อให้เกิดการ “คำนวณ” คือทรัพยากรวัตถุที่แตกต่างกัน ทรัพยยากรวัตถุที่แตกต่างกันก่อให้เกิด “ปริมาณ” แห่งการระดมพลและการคงไว้ซึ่งกำลังพลที่แตกต่างกัน กำลังพลมากน้อยที่แตกต่างกัน ก็ก่อให้เกิดการ “เปรียบเทียบ” ทางกำลังพลที่ต่างกัน ความแตกต่างทางกำลัง ก็ก่อให้เกิดความแตกต่างกันแห่งชัยชนะและพ่ายแพ้ของคู่ศึกทั้งสอง

ความคิดของซุนวูต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้น มีคุณค่าที่แน่นอน หนึ่งในการชี้นำการรบ ทั้งนี้ก็สุดแท้แต่ว่า ใครจะสามารถยึดกุมความคิดของซุนวูได้อย่างแท้จริง และสามารถนำไปใช้โดยปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่ตนเผชิญอยู่นั้นๆ ได้อย่างเหมาะสมเป็นสำคัญ



Create Date : 22 เมษายน 2552
Last Update : 22 เมษายน 2552 6:27:51 น.
Counter : 1126 Pageviews.

0 comments
รวม 9 โครงการบ้านและคอนโด ตอบโจทย์ผู้สูงอายุปี 2024 newyorknurse
(3 ต.ค. 2567 20:29:34 น.)
หากวันหนึ่งอยู่ๆ คุณก็รวยขึ้นมา 假如有一天你突然有钱了 toor36
(22 ก.ย. 2567 21:14:43 น.)
Green Talent : คนที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์องค์กร ในเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน(อันนี้ดีมาก) peaceplay
(18 ก.ย. 2567 11:40:05 น.)
การโกรธกลับแบบอีคิวสูง 高情商的怒回去 toor36
(12 ก.ย. 2567 00:22:55 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Tonkla1.BlogGang.com

BlogGang Popular Award#20



ต้นกล้า อาราดิน
Location :
ปราจีนบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]

บทความทั้งหมด