เกี่ยวกับสามก๊ก สามก๊ก นับเป็นอีกหนึ่งผลงานการประพันธ์อันยิ่งใหญ่ของจีน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ชั้นเอก ที่เขียนถึงในช่วงราชวงศ์หมิง โดยปลายปากกาของ หลอกวนจง ในนวนิยายเรื่องนี้ประกอบไปด้วย เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงประมาณ 70% และคาดว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นเองอีกประมาณ 20% อย่างเช่น หนังสือบางฉบับกล่าวว่า อาวุธของกวนอู นั้นหนักราวๆ 40 กิโลกรัม, เรื่องราวเกี่ยวกับความสามารถของ ลิโป้ ม้าของ เล่าปี่ ที่มีอยู่จริงบนเนินหงส์ร่วง และนอกนั้นก็อาจเป็นเรื่องราวที่แต่งขึ้นทั้งหมด อาจกล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์ในยุคสมัยนั้นเป็นยุคทองของเหล่าทหารและนักรบ และถึงแม้ว่า เรื่องนี้จะเกิดขึ้นมานานกว่า 1700 ปีแล้วก็ตาม แต่ชื่อของตัวละครต่างๆ เช่น เล่าปี่, โจโฉ, กวนอู, เตียวหุย, และ ขงเบ้ง ก็ยังกลายมาเป็นชื่อที่ชาวจีนนิยมใช้เพื่อตั้งเป็นชื่อของคนในครอบครัวอย่างเห็นได้ทั่วไป เรื่องราวแห่งความกล้าหาญ และการผจญภัยอันน่าตื่นเต้นของเหล่านักรบและทหารทั้งหลายนั้น ได้กล่าวเอาไว้แล้ว ในนวนิยายเรื่องเยี่ยม เรื่องนี้ "สามก๊ก" ..อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สุดแสนโกลาหลและวุ่นวายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติจีน อันเป็นเหตุไปสู่การสิ้นสุดของราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเกิดการทุจริตกันอย่างกว้างขวางในราชสำนัก เนื่องจากเหล่าขันทีได้ยึดกุมอำนาจไว้ในครอบครอง ประกอบกับเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม โรคระบาด และฝูงแมลงที่เข้ามากัดกินและทำลายพืชผลของชาวนา ปัญหาความอดอยาก และความไม่พอใจของชาวนาที่ไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเป็นธรรม ไม่นานนัก จึงได้เกิดการก่อกบฏขึ้น ซึ่งก็ได้ลุกลามและแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางรวดเร็ว โดยกองทัพกบฏนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "กองทัพกบฏโจรโพกผ้าเหลือง" โดยผู้นำกองทัพกบฏคือ เตียวก๊ก (สาเหตุที่เรียกว่า "กองทัพกบฏโจรโพกผ้าเหลือง" เพราะว่า ทุกคนในกองทัพกบฏนี้จะโพกผ้าสีเหลืองไว้บนศีรษะ) แรกเริ่มกองทัพกบฏนี้เป็นเพียงแค่กลุ่มเล็กๆ เท่านั้น แต่เนื่องจากขณะนั้นเกิดปัญหาต่างๆ รุมเร้า ทั้งความอดอยาก และการที่ประชาชนถูกกระทำอย่างไร้ความปราณี ทำให้เหล่าชาวบ้านสามัญชนในทุกหัวระแหงของประเทศ ตัดสินใจเข้าร่วมในกองทัพกบฏครั้งนี้ พระเจ้าเลนเต้ ไม่สามารถหยุดหรือปราบปรามกองทัพกบฏนี้ได้ จึงได้ออกคำสั่งไปยังเหล่าแม่ทัพทั่วประเทศ เพื่อให้รวบรวมกองกำลังแล้วมาปราบกองทัพกบฏนี้โดยเร็ว วันเวลาผ่านเลยไป จักรพรรดิ์แห่งราชสำนักฮั่น ได้เสื่อมอำนาจลง จึงได้เกิดการแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจ และแผ่นดินกันในหมู่แม่ทัพ ที่กระหายสงครามและอำนาจ ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ทั้งทหารและประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องมาสูญเสียชีวิตในสงครามแห่งการแก่งแย่งอำนาจและความเป็นเอกราชในครั้งนี้ กระทั่งได้มีการค้นพบแคว้นเล็กๆ สามแค้วน ได้แก่ วุย, หวู และ ฉู่ ในปี ค.ศ.220 นับตั้งแต่นั้นมา ทั้งสามแคว้นนี้ก็รุ่งเรืองและกลายเป็นเมืองมหาอำนาจ จากนั้นจึงได้เกิดการถกเถียงกันว่า เมืองใดจะได้เป็นเมืองที่สืบทอดจากราชวงศ์ฮั่น แต่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า รัฐวุย คือเมืองที่สืบทอดอำนาจจากราชวงศ์ฮั่น อย่างถูกต้องเป็นทางการ ท้ายที่สุดแล้วทั้งสามเมืองนี้ ก็ได้กลับมารวมกันอีกครั้งหนึ่งในสมัยของราชวงศ์จิ้น (Jin) โดย สุมาเอี๋ยน หลานชายของ สุมาอี้ ในปี ค.ศ.280 ด้วยการที่รัฐฉู่ ได้ถูกยึดครองโดยเมือง วุย ในปี ค.ศ.263 และโดยเมือง Wu ในปี ค.ศ.280 สามก๊ก ไม่ได้เพียงแต่กล่าวถึงเรื่องของการทำสงคราม การต่อสู้แย่งชิง และความขัดแย้ง อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดี การทรยศหักหลัง ความทะเยอทะยาน ความมุ่งมั่น ความรับผิดชอบ การทดแทนบุญคุณ และความเชื่อมั่นไว้วางใจกันและกันของบุคคลต่างๆ ในเรื่องอีกด้วย ยุคสมัยสามก๊ก ตามประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่าเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ.219 เมื่อราชวงศ์ฮั่นตะวันออกได้ล่มสลายลงไป และราชวงศ์วุย ได้ขึ้นมาครองอำนาจโดยการถอดฮ่องเต้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งขณะนั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ ได้ครองราชบัลลังค์อยู่ และพระเจ้าโจผี ขึ้นสถาปนา ราชวงศ์วุย(Wei Dynasty) ขึ้นต่อจากราชวงศ์ฮั่น หลังจากที่ราชวงศ์ฮั่นล่มสลาย เล่าปี่เชื้อพระวงศ์ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้ทำการสถาปนาตัวเองขึ้นเป็น ฮ่องเต้ และได้ก่อตั้ง ราชวงศ์ฉู่ฮั่น(Shu Han Dynasty) ทันทีที่ทราบข่าวราชวงศ์ฮั่นล่มสลาย สาเหตุของการสถาปนาตนเองขึ้นเป็น เนื่องจากต้องการกอบกู้ราชวงศ์ฮั่นไม่ให้ล่มสลายไป ในเวลาต่อมา ซุนกวนซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น วุยก๋งแห่งราชวงศ์ฮั่น ได้ทำการไม่ขึ้นต่อเมืองหลวงของราชวงศ์วุย ทำให้ซุนกวนจำต้องสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นฮ่องเต้แห่ง ราชวงศ์หวู(Wu Dynasty) จุดเริ่มต้นและสาเหตุของการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นมีดังนี้ เริ่มต้นในยุคปลายของราชวงศ์ฮั่น ซึ่งมีจักรพรรดิ์เลนเต้ปกครองอยู่ ได้มีกลุ่มขันที10คนได้ทำการกุมอำนาจของจักรพรรดิ์เอาไว้ทำให้ระบบ การปกครองเริ่มฟั่นเฟือน ขุนนางเริ่มโกงกิน และขูดรีดภาษีจากชาวนา ทำให้ ชาวนาและชาวบ้านเดือดร้อนเป็นอันมาก จนชาวนาเริ่มมารวมกัน โดยมีเตียวก๊ก ซึ่งเป็นนักปราชญ์ในช่วงนั้นเป็นผู้นำและได้ทำการก่อตั้งเป็นกองทัพ และให้สมาชิกทุกคนโพกผ้าเป็นสีเหลืองและได้คิดอ่านทำการยึดเมือง จากเจ้าเมืองต่างๆ โดยในขณะนั้นทางองค์จักรพรรดิ์ไม่ทราบเรื่องราว ที่เกิดขึ้นภายนอก เนื่องจากเหล่าขันทีปิดไว้เป็นความลับ จนกระทั่งเหล่าขุนนาง ในเมืองหลวงนำโดย โฮจิ้นซึ่งมีตำแหน่งเป็นแม่ทัพใหญ่ ได้มีคำสั่งให้ กองทัพเมืองหลวงและเหล่ากองทัีพหัวเมือง เข้าร่วมการปราบปรามกบฏผ้าเหลือง ซึ่งมีอำนาจและกองกำลังมากกว่า1,000,000คนทั่วหัวเมืองภาคเหนือ หลังจากเตียวก๊กตาย กบฏโจรโพกผ้าเหลืองได้เริ่มออกปล้นสดมตามที่ต่างๆๆ โดยละทิ้งอุดมการณ์ จนกระทั่งกลายเป็นกองทัพโจรกบฏที่ออกทำร้ายชาวบ้าน ด้วยกัน และในไม่ช้ากองกำลังของฝ่ายเมืองหลวงก็สามารถ ทำลายกลุ่มกบฏผ้าเหลืองได้โดยมี โจโฉ นำทัพไปปราบเตียวเหลียง น้องคนสุดท้องของเตียวก๊ก และเล่าปี่ได้นำกองทัพอาสาไปปราบเตียวโป้ น้องคนรองของเตียวก๊กและโจรโพกผ้าเหลืองได้สลายไปแต่ว่าความไม่สงบยัง ไม่จบเพียงเท่านี้ เมื่อเหตุการณ์ภายนอกเมืองหลวงสงบลงโฮจิ้นได้กลับมาคิดเรื่อง การปราบเหล่าขันทีทั้ง10คน ที่ได้มอมเมาองค์จักรพรรดิ์เลนเต้ ซึ่งก็ได้วางแผน จัดกองกำลังจากหัวเมืิองซึ่งคิดอ่านจะให้ ตั๋งโต๊ะแม่ทัพชายแดนเขตเสเหลียงยกกองทัพ เข้ามาในเมืองหลวงเพื่อปราบปรามแต่ทว่า เหล่าขันทีได้ล่วงรู้เรื่องที่จะเกิดขึ้นและ ได้ทำการสังหารโฮจิ้นเสียในวัง ทำให้เหล่าแม่ทัพในเมืองหลวงโกรธแค้นเป็นอันมาก และได้เกิดเหตุุวุ่นวายทำให้เหล่าขันทีต้องพาฮ่องเต้น้อยหนีซึ่งขณะนั้น กองทัพของโจโฉ ซึ่งได้ช่วยฮ่องเต้น้อยและฆ่าเหล่าขันทีได้ กองทัพของตั๋งโต๊ะก็ได้ยกกองทัพเข้ามาเมืองหลวงเนื่องจากมีคำสั่งจากโฮจิ้นก่อนหน้านี้ และเมื่อได้พบกับกองทัพโจโฉที่ได้ช่วยฮ่องเต้ตั๋งโต๊ะได้เป็นคนคุ้มกันฮ่องเต้จนกลับ เข้าไปเมืองหลวง แล้วได้สั่งให้ฮ่องเต้แต่งตั้งตัวเองขึ้นมาเป็น มหาอุปราชดูแลกิจภายใน แต่ทว่าตั๋งโต๊ะเป็นคนหยาบช้า ได้ฆ่าขุนนางซึ่งคิดตรงข้ามกับตน ทำให้เหล่าขุนนาง เริ่มหนีออกจากเมืองหลวง และได้ไปตั้งตัวสร้างกองทัพของตน และหันกลับมาโจมตีเมืองหลวง ซึ่งตั๋งโต๊ะกำลังปกครองอยู่โดยมีแกนนำคือ อ้วนเสี้ยวและโจโฉ 2คนนี้ได้นำเหล่าเจ้าเมืองและ แม่ทัพหัวเมืองต่างๆๆ รวมทั้งสิ้น18หัวเมืองเป็นกองกำลัง300,000เศษ โดยมี อ้วนเสี้ยว อ้วนสุด โจโฉ เล่าเปียว ซุนเกี๋ยน ขงหยงกองซุนจ้าน ฯลฯ แต่ฝ่ายตั๋งโต๊ะ เดิืมมีกองกำลัง 300,000เป็นของตนและ ได้กองกำลังทหารภาในเมืองหลวงอีก200,000 จนกระทั่งรวมทั้งสิ้น กองทัพตั๋งโต๊ะ มีอยู่500,000กว่าคน โดยมีทหารเอก คือ ลิโป้ ฮัวหยง ลิฉุย กุยกี และมีลิยูเป็น ที่ปรึกษาเอก ทำให้กองทัพตั๋งโต๊ะเข้มแข็็งเป็นอันมาก ทำให้กองทัพ18หัวเมืองไม่สามารถตีได้และ ได้กระจายกัน กลับที่เมืองของตน และได้สร้างกองกำลังของตนให้เข้มแข็งมากขึ้น และตั๋งโต๊ะก็ได้ย้าย เมืองหลวง ไปอยู่เมืองเตียงอัน จากเดิมคือเมืองลกเอี๋ยง และขุนนางนอกเมืองหลวงทั้งปวงไม่ได้ขึ้นตรงต่อ เมืองหลวงอีกต่อไป.... ถ้าทุกท่านสนใจหรือรู้สึกสนุกในเรื่องสามก๊กตอนหลังจากนี้ทุกท่านสามารถหาอ่านได้จากหนังสือสามก๊กนะครับ หนังสือสามก๊กไม่ใช่เป็นพงศาวดารสามัญ เรียกว่า สามก๊กจี๋ หมายถึง จดหมายเหตุสามก๊ก เป็น หนังสือซึ่งนักปราชญ์จีน เฉินโซ่ว โดยประสงค์จะให้เป็นตำราสำหรับศึกษากลอุบายการเมืองและ การสงคราม แต่เดิมเป็นเพียงแค่นิทานพื้นบ้าน ถึงเมื่อถึงราชวงศ์ถัง เกิดมีการเล่นงิ้วในเมืองจีน พวกงิ้ว ก็ชอบเอาเรื่องสามก๊กไปเล่นด้วย เมื่อถึงราชวงศ์หงวน การแต่งหนังสือเฟื่องฟูขึ้น มีผู้ชอบเอาเรื่อง พงศาวดารมาแต่งเป็นเรื่อง แต่ก็ยังไม่ได้เอาเรื่องสามก๊กมาแต่งเป็นหนังสือ เมื่อถึงราชวงศ์หมิง มีนักปราชญ์ ชาวเมืองฮั่งจิ่ว นามว่า ล่อกวนตง คิดแต่งหนังสือสามก๊กขึ้นเป็นหนังสือ ๑๒๐ ตอน ต่อมามีนักปราชญ์ ๒ ท่าน นามว่า เม่าจงกัง แต่งคำอธิบายแลพังโพยเพิ่ม ให้ กิมเสี่ยถ่าง ตรวจสอบ หนังสือสามก๊กจึงได้มี ฉบับพิมพ์แพร่หลายในจีน และได้พิมพ์ต่อในประเทศอื่น ๆ เมื่อได้ลองตรวจสอบดูแล้ว ได้ความว่ามีการแปลภาษาถึง ๑๐ ภาษาด้วยกัน (แต่เชื่อว่าจะได้แปลเป็น ภาษาอื่น ๆ ด้วยซึ่งยังสืบไม่ได้ความ) ๑. แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๕ ๒. แปลเป็นภาษาเกาหลี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๒ ๓. แปลเป็นภาษาญวน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ ๔. แปลเป็นภาษาเขมร แปลเมื่อใดหาทราบไม่ ยังไม่ได้พิมพ์ ๕. แปลเป็นภาษาไทย ราว พ.ศ. ๒๓๔๕ ๖. แปลเป็นภาษามลายู เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ ๗. แปลเป็นภาษาละติน มีฉบับเขียนอยู่ในรอยัลอาเซียติกโซไซเอตี แปลเมื่อใดไม่ปรากฎ ๘. แปลเป็นภาษาสเปน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓ ๙. แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๘ ๑๐. แปลเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ตำนานสามก๊กในประเทศไทยนั้นสันนิษฐานว่ากะลาสีชาวจีนนำเข้ามาเผยแพร่ในสมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่มีหลักฐานปรากฎว่าว่าเมื่อรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา - โลกมหาราช มี พระราชดำรัสให้แปลหนังสือพงศาวดารจีน ๒ เรื่อง คือ เรื่องไซฮั่น ๑ เรื่องสามก๊ก ๑ โปรดให้ สมเด็จฯ กรมพระราชวังหลัง อำนวยการแปลเรื่องไซฮั่น และให้เจ้าพระยาพระคลัง(หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก เป็นหนังสือ ๙๕ เล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์พิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๐๘ เป็นจำนวน ๔ เล่มสมุดไทย ลักษณะการแปลหนังสือจีนเป็นภาษาไทยแต่โบราณค่อนข้างลำบาก ด้วยผู้รู้ภาษาจีนไม่ชำนาญเรื่อง ภาษาไทย ผู้ชำนาญด้านภาษาไทยก็ไม่มีใครรู้ภาษาจีน การแปลทั้งสองฝ่ายต้องแปลร่วมกัน ฝ่ายผู้ชำนาญจีน แปลความออกให้เสมียนจดลงแล้วผู้ชำนาญภาษาไทยเอาความนั้นเรียบเรียงเป็นภาษาไทย ให้ถ้อยคำแล สำนวนความเรียบร้อยอีกชั้นหนึ่ง จึงทำให้เรื่องสามก๊ก มีสำนวนเรียบร้อยสม่ำเสมออ่านเข้าใจง่าย มากกว่า เล่มอื่น แต่ตั้งแต่เล่มที่ ๕๕ เป็นเรื่องสำนวนหนึ่งไม่เหมือนเดิม ซึ่งทำให้สามก๊กแบ่งเป็น ๒ สำนวน ซึ่งบางที อ่านแล้วขัดแย้งกัน น่าสันนิษฐานว่าเจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลอยู่ไม่ทันตลอดเรื่อง ถึง อสัญกรรมก่อน มีผู้อื่นอำนวยการแปลต่อมา สำนวนจึงผิดกันไป การแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยผิดกับแปลภาษาอื่น ๆ ด้วยจีนต่างเหล่าอ่านหนังสือจีนสำเนียงผิดกัน จะยกตัวอย่างดังนี้ ราชอาณาเขตของพระเจ้าโจผ ี จีนกลางเรียก ไวโกวะ จีนฮกเกี้ยนเรียก วุยก๊ก จีนแต้จิ๋วเรียก งุ่ยก๊ก จีนกวางตุ้งเรียก ง่ายโกะ จีนไหหลำเรียก หงุ่ยก๊ก เล่าปี่ จีนกลางเรียก ลิ่วปี๋ จีนฮกเกี๋ยนเรียก เล่าปี่ จีนกวางตุ้งเรียก เหล่าปี๋ จีนไหหลำเรียก ลิ่วปี ขงเบ้ง จีนกลางเรียก ข้งหมิ่ง จีนฮกเกี้ยนเรียก ขงเบ้ง จีนแต้จิ๋วเรียก ขงเหมง จีนกวางตุ้งเรียก หงเม่ง จีนไหหลำเรียก ขงเหม่ง หนังสือเรื่องจีนที่แปลเป็นไทย บางเรื่องเรียกชื่อตามสำเนียงฮกเกี้ยน บางเรื่องเรียกตามสำเนียง แต้จิ๋ว เพราะจีนในประเทศไทยมีจีนเหล่าฮกเกี้ยนและเหล่าแต้จิ๋วมากกว่าเหล่าอื่น ผู้แปลเป็นจีนเหล่าไหน อ่านหนังสือเป็นสำเนียงใด ไทยเราก็จดไปอย่างนั้น เมื่อเทียบกับสามก๊กที่แปลเป็นภาษาอื่น ชื่อที่เรียก จึงเพี้ยนไป มีผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวได้อย่างน่าสนใจว่า เรื่องสามก๊กนั้นดีจริง แต่ผู้แต่งเป็นพวกของเล่าปี่ ตั้งใจ แต่จะยกเล่าปี่เป็นสำคัญ ถ้าหากพวกโจโฉเป็นผู้แต่ง ก็อาจจะดำเนินเรื่องในสามก๊กกลับกันก็เป็นได้ ว่าโจโฉ เป็นผู้ทำนุบำรงแผ่นดิน ฝ่ายเล่าปี่เป็นผู้คิดร้าย เพราะมีข้อที่จะอ้างเข้ากับโจโฉได้หลายข้อ เช่น โจโฉสามารถ ปกครองบ้านเมืองแลปราบปรามหัวเมืองที่กระด้างกระเดื่องให้กลับอยู่ในบังคับบัญชาของรัฐบาลกลาง ข้อที่ กล่าวหาว่าเป็นโจรชิงราชสมบัติก็อาจจะคัดค้านได้ว่าถ้าโจโฉเป็นศัตรูจริง จะกำจัดพระเจ้าเหี้ยนเต้เมื่อใด ก็ได้ ไหนเลยจะยอมเป็นข้าฯจนตลอดอายุ แต่เรื่องเล่าปี่ที่ปรากฎในสามก๊กดูเป็นแต่เที่ยวปล้นชิงบ้านเมือง เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่ตัวเอง ไม่เห็นว่าได้ตั้งใจขวนขวายช่วยพระเจ้าเหี้ยนแต้แต่อย่างใด ดูเหมือนจะต้องรับว่าข้อที่ผู้แต่งหนังสืออาจจะจูงใจผู้อื่นให้นิยมได้ตามประสงค์ยกเรื่องสามก๊กเป็น อุทาหรณ์ แม้ไทยเรามิได้เป็นพวกข้างไหน ใครอ่านเรื่องสามก๊กหรือเพียงได้ดูงิ้วเล่นเรื่องสามก๊ก ก็ดูเหมือนจะเข้ากับเล่าปี่ด้วยทั้งนั้น ข้อมูล3อาณาจักร สามก๊กถูกแบ่งเป็นทั้งหมด 3 อาณาจักรด้วยกัน และปกครองอาณาเขตแต่ละส่วนของจีน ได้แก่ วุยก๊ก ครองอาณาเขตแถบกวนจง ไปจึงถึงเหอเป่ย ทางตอนเหนือทั้งหมด และกินอาณาเขตเสเหลียง ทำให้วุยก๊กเป็นก๊กที่มีอาณาเขตกว้างไกลที่สุด จ๊กก๊ก ครองอาณาเขตดินแดนเสฉวนทางตะวันตกเฉียงใต้ กินอาณาเขตเพียง 1 มณฑล เป็นพื้นที่กันดาร ยากต่อการเข้าโจมตีแต่ง่ายต่อการป้องกัน ง่อก๊ก เป็นดินแดนที่ติดชายฝั่งทะเลทางตะวันออกของจีนมีอาณาเขต ในลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงทั้งหมด มีหัวเมืองขึ้นถึง 81หัวเมือง เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ วุยก๊ก(Wei) : ผู้นำ ผู้ก่อตั้งอาณาจักรนี้ขึ้นมาก็คือ โจโฉ(Cao Cao) ด้วยเริ่มต้นจากการเป็นขุนนางภายในวังหลวงและได้้ทำการ ช่วยฮ่องเต้ให้พ้นจากการถูกข่มเหงจากทรราชต่างๆ เช่น ตั๋งโต๊ะ ลิฉุย-กุยกี เนื่องจากมีความดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้งเป็นแม่ทัพคุมหัวเมืองตะวันออก และได้ทำการขยายขอบเขตการปกครองจนสามารถยกทัพไปปราบหัวเมืองทางเหนือของอ้วนเสี้ยวเจ้า เมืองกิจิ๋ว พร้อมกับอีกหลายหัวเมืองทางเหนือ ชัยชนะครั้งนี้ทำให้โจโฉ ชื่อเสียงโด่งดังเป็นอันมากประกอบด้วยกำลังทหาร และ ขุนนางมีฝีมือมากมายต่างเข้าร่วมกองทัพ และโจโฉได้ทำการแต่งตั้งตัวเองเป็นมหาอุปราชแห่งราชสำนักฮั่นถืออำนาจ ของฮ่องเต้ ยกไปปราบทุกทิศ โดยใช้ความคิดที่ว่าเจ้าเมืองคนใดยอมแพ้โจโฉก็คือการยอมอยู่ใต้อำนาจฮ่องเต้แต่ถ้าเจ้าเมืองคนใดไม่ยอมแพ้ จะถูกตั้งว่าเป็นกบฏ และต้องโดนกำจัดโจโฉเป็นคนที่มีความสามารถมาก และในที่สุดก็ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นวุยอ๋อง จนผู้คนยำเกรงเป็นอันมาก ในกองทัพวุยก๊กมีขุนนางและเหล่าแม่ทัพมากมาย สามารถแบ่งได้ดังนี้ แม่ทัพ ที่ปรึกษา - เตียนอุย - เคาทู - ซิหลง - โจหยิน - โจหอง - แฮหัวตุ้น - แฮหัวเอี๋ยน - เตียวเลี้ยว - เตียวคับ - กุยแก - ซุนฮก - กาเซี่ยง - เล่าหัว - ซุนฮิว - เทียหยก - เอียวสิ้ว - สุมาอี้ จ๊กก๊ก(Shu) : ผู้นำของจ๊กก๊กก็คือ เล่าปี่(Liu Bei) ผู้ซึ่งเดิมเป็นเพียงคนทอเสื่อขาย แต่พอหลังจากเกิุดเหตุความไม่สงบทำให้เล่าปี่ต้องออก มาตั้งเป็นกองทัพอาสาออกปราบโจรกบฏ ที่ออกทำร้ายประชาชนไปทั่วภาคเหนือซึ่งขณะนั้นกองทัพของฝ่ายราชสำนักได้อ่อนแอเป็นอย่างมาก ในเวลานี้เองทำให้เล่าปี่ไ้ด้พบกับ กวนอู และเตียวหุย จนได้สาบานเป็นพี่น้องกันจะช่วยกันจนกว่าจะ ตาย แต่เนื่องด้วยเหตุที่เล่าปี่เป็นคนโอบอ้อมอารีย์จึงทำให้ตัวเองต้องร่อนเร่ไปทั่วเพราะแตกทัพบ้างโดนหักหลังบ้าง แต่ เมื่อเล่าปี่ไปพบกับจูกัดเหลียง(ขงเบ้ง)เล่าปี่จึงได้มีใจทำการเพื่อจะกอบกู้แผ่นดิน และช่วยฮ่องเต้ออกมาจากโจโฉ ซึ่งเป็นมหาอุปราชอยู่ในขณะนั้น และขงเบ้งนี้เองที่ช่วยให้เล่าปี่ คนยากผู้ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความเมตตาได้ครองแคว้นเสฉวน(จ๊กก๊ก)และได้ทำการตั้งตัวเป็นฮ่องเต้แห่งเสฉวน เพราะเหตุที่มีข่าวลือว่า โจผี(ลูกโจโฉ)ไ้ำด้ทำการลอบปลงพระชนม์เสีย แล้วตั้งตัวเองเป็นฮ่องเต้ทำให้เล่าปี่คิดว่าเพื่อไม่ให้ราชวงศ์ฮั่นล่มสลายตน ซึ่งมีเชื้อสายของราชวงศ์ฮั่นได้ทำการตั้งตัวเป็นฮ่องเต้อีกคนหนึ่ง ในกองทัพจ๊กก๊กมีขุนนางและเหล่าแม่ทัพมากมาย สามารถแบ่งได้ดังนี้ แม่ทัพ ที่ปรึกษา - กวนอู - เตียวหุย - จูล่ง - ฮองตง - ม้าเฉียว - อุยเอี๋ยน - เงียมหงัน - ม้าต้าย - ลิเงียม - ขงเบ้ง - บังทอง - หวดเจ้ง - ชีซี - ม้าเลี้ยง - อีเจี้ย - ม้าเจ๊ก ง่อก๊ก(Wu) : ผู้นำของง่อก๊ก คือซุนกวน แต่ผู้ืที่ทำการรวบรวมแคว้นง่อก๊กขึ้นมาคือ ซุนเซ็กพี่ชายของซุนกวนผู้ซึ่งมีความสามารถด้านการรบเป็นอันมาก โดยเริ่มต้นใช้ทหารเพียง3,000คน ขยายอาณาจักรของตนให้กว้างไกลถึง81หัวเมืองทางด้านใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงจนได้รับสมญานามว่า เสี่ยวป้าอ๋อง/อ๋องน้อยแห่งเจียงตงชื่อเสียงของซุนเซ็กโด่งดังไม่แพ้โจโฉเลยด้วย กองกำลังของซุนเซ็กอยู่ทางใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงและอีกทั้งยังติดกับทะเลทำให้การค้าขายเป็นไปได้ด้วยดี และรวมทั้งอาชีพการหาปลาทางทะเลทำให้กองทัพของง่อก๊กภายใต้การนำของซุนเซ็กซึ่งเป็นทัพเรือ เป็นที่น่าเกรงขามยิ่งแต่พอหลังซุนเซ็กตายซุนกวนผู้น้อง ได้มีความสามารถดีกว่าผู้พี่แต่เป็นด้านการปกครอง ซุนกวนทำให้แคว้นง่อก๊กอยู่เย็นเป็นสุขมาช้า นาน ถึงจะมีศึกถึงเมืองก็ไม่ทำให้ซุนกวนพ่ายแพ้แต่อย่างใด เพราะทั้งประชาชนและขุนนางต่างก็รักซุนกวนเป็นอันมาก และยังมีกองทัพอันเกรียงไกรซึ่งมีความสามารถทางน้ำ อยู่ด้วยแล้วทำให้ไม่มีใครที่จะสามารถ ข้ามทะเลมาโจมตีซุนกวนได้และเมื่อหลังจากที่เล่าปี่และโจผีได้ทำการสถาปนาตัวเอง เป็นฮ่องเต้ซุนกวนจึงสถาปนาตัวเอง เป็นฮ่องเต้แห่งแคว้นหวูด้วย ในกองทัพง่อก๊กมีขุนนางและเหล่าแม่ทัพมากมาย สามารถแบ่งได้ดังนี้ แม่ทัพ ที่ปรึกษา - จิวยี่ - กำเหลง - จิวท่าย - เล่งทอง - จูหวน - อุยกาย - ฮันต๋ง - เทียเภา - ชีเซ่ง - ลิบอง - เตียวเจียว - เตียวเหียน - จูกัดกิ๋น - ลกเจ๊ก - โกะหยง - ลกซุน - โลซก |
BlogGang Popular Award#20
ต้นกล้า อาราดิน
บทความทั้งหมด
|