ละครฟ้อนรำ ประชุมเรื่องละครฟ้อนรำกับระบำรำเต้น

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ตอนที่ 3
ว่าด้วยเพลงฟ้อนรำ

ท่ารำต่างๆ เช่นเขียนไว้ในตำรา ที่จริงเป็นแต่ส่วนหนึ่งหรือตอนหนึ่งของท่านั้นๆ เพราะยังมีกระบวนฟ้อนรำที่จะตั้งต้นวาดวงไปถึงท่าเช่นเขียนไว้ และจะเยื้องกรายจากท่าเช่นนั้นเปลี่ยนเป็นท่าอื่นต่อๆ ออกไปอีก กระบวนเช่นกล่าวนี้เรียกว่า เพลงช้า มีทั้งจังหวะช้าและจังหวะเร็ว ที่ในกรุงเทพฯ เรียกกันว่า “เพลงช้า” และ “เพลงเร็ว” แต่พวกละครชาตรีเมืองนครศรีธรรมราชเรียกว่า “เพลงครู”
อันเพลงช้า เพลงเร็ว หรือเพลงครูนั้น คือ คิดเอาท่ารำต่างๆ ในตำราไปเชื่อมต่อๆ กันเป็นกระบวนรำ
ความที่กล่าวมานี้ ถ้าสังเกตดูเมื่อละครรำเพลงช้าก็จะพึงเห็น ด้วยย่อมตั้งต้นขึ้นท่า “เทพประนม” อันเป็นท่าต้นในตำรารำเป็นนิตย์ และยังถือกันเป็นคติว่า ใครจะหัดเป็นละครต้องหัดรำเพลงก่อนอย่างอื่น เพราะบรรดาท่ารำของละครอยู่ในเพลงช้าเพลงเร็วฤๅเพลงครูทั้งนั้น ใครรำเพลงได้ก็ชื่อว่าฟ้อนรำได้ตามตำรา ยังแต่จะต้องรู้จักเลือกท่ารำไปใช้ในเวลาจะต้องรำเฉพาะท่า สำหรับแสดงอารมณ์ตัวคนที่ตนทำบทในเรื่องละคร จึงหัดใช้บทเนื่องกับหัดรำเพลงต่อไป
สันนิษฐานว่าเพลงรำที่เรียกว่าเพลงช้าเพลงเร็วก็ดี ฤๅเพลงครูก็ดี ชั้นเดิมคงเอาท่ารำในตำรามาผูกไว้ทั้งหมดฤๅโดยมาก และในการเล่นละครนั้น ถ้าเมื่อใดประสงค์จะอวดฝีมือตัวละคร ให้รำเพลง แสดงว่าตัวละครนั้นเป็นผู้รู้ตำราและอาจจะรำได้งามดังตำรา เพราะฉะนั้นในบทละครที่กำหนดให้รำเพลง จึงมักมีรำเพลงแต่บทนายโรงและนางเอก ชั้นเสนากำนัลฤายักษ์ลิงมีที่จะให้ลำเพลงโดยลำพังไม่
ถ้าความสันนิษฐานถูกต้องดังว่านี้ ละครที่เล่นกันแต่โบราณเล่นเวลาหนึ่งก็เห็นจะมีเพลงเพียงครั้งหนึ่งฤๅสองครั้ง แต่เพลงที่รำนั้นคงยาวและรำนานจึงจบ ทำนองเดียวกับละครรำ “เพลงฝรั่ง” กันในชั้นหลัง ครั้นต่อมาจะเกิดแต่อยากอวดว่ามีตัวละครดีมากหรือมิฉะนั้นจะถือเคร่งครัดตามหน้าพาทย์ที่บอกไว้ในบทละคร ซึ่งเดิมเขาจะตั้งใจให้เลือกรำหรือมิรำก็ได้ ใช้รำเพลงไปเสียทุกแห่ง รำเพลงสิย่อมเปลืองเวลานานดังกล่าวแล้ว เมื่อรำหลายหนเข้าก็เกิดจำเป็นต้องตัดท่าที่เคยมีในรำเพลงเสียบ้าง ให้รำเพลงแล้วเร็วเข้า ท่าในตำราจึงเหลืออยู่ในเพลงรำน้อยลงโดยลำดับมา ที่ละครฟ้อนรำกันอยู่ทุกวันนี้ มีท่าที่ยังคงใช้อยู่เห็นจะไม่ถึงครึ่งตำรา ถึงกระนั้นการที่ฝึกหัดรำละครกว่าจะรำได้สันทัดย่อมเป็นการลำบาก ต้องฝึกหัดกันช้านานนับด้วยปีและต้องฝึกหัดมาแต่เล็กเมื่อตัวยังอ่อน จึงจะดัดได้ท่าทางตามนิยมว่างามในกระบวนฟ้อนรำ
ที่ว่าตามนิยมนั้น เพราะตำราท่ารำที่ทำเป็นรูปภาพไว้ จะเป็นภาพอินเดียที่เทวสถานจิทัมพรัมก็ดี ฤๅภาพไทยเช่นที่มีแบบอยู่ในหอพระสมุดฯ ก็ดี พ้นวิสัยที่มนุษย์จะทำได้เหมือนกับรูปภาพทีเดียว ทำได้แต่พอใกล้ ครูบาอาจารย์ต้องแก้ไขประกอบกับความนิยมเห็นว่างาม เพราะเหตุนี้ไทย พม่า และชวาแม้หัดฟ้อนรำตามแบบอินเดียด้วยกัน แต่กระบวนรำละครไทยละครพม่าละครชวาผิดกันไปตามนิยมของชาตินั้นๆ คงแต่พอจะสังเกตรู้ได้ว่าแบบเดิมได้มาแต่อินเดียด้วยกันเท่านั้น
ท่าละครไทยรำตามตำราเป็นอย่างไร ได้ถ่ายรูปพิมพ์ไว้ให้เห็นเป็นตัวอย่างต่อไปนี้ ทั้งละครชาตรีเมืองนครศรีธรรมราชและละครที่รำกันในกรุงเทพฯ

(หน้า 129-131)



Create Date : 24 พฤษภาคม 2550
Last Update : 24 พฤษภาคม 2550 3:54:30 น.
Counter : 1310 Pageviews.

0 comments
บันทึกน้องหนาม ยิมโนด่าง VS ยิมโน LB (2.1.2568 - 26.3.2568) ฟ้าใสวันใหม่
(26 มิ.ย. 2568 08:28:43 น.)
ดอกไม้ไหว : งานประดิษฐ์โลหะจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน สมาชิกหมายเลข 7565667
(22 มิ.ย. 2568 12:50:56 น.)
Le Soir by Charles Gounod ปรศุราม
(11 มิ.ย. 2568 11:04:08 น.)
Se tu fossi nei.. From Nuovo Cinema Paradiso by Ennio Morricone ปรศุราม
(3 มิ.ย. 2568 11:03:42 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Somdej.BlogGang.com

จินตะหราวาตี
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]

บทความทั้งหมด