ชามคลัช สวัสดีครับ หายไปนานกับเรื่องราวเกี่ยวกับการบำรุงรักษามอเตอร์ไซค์ คราวนี้มานำเสนอเรื่องคลัช (Clutch) ครับ คลัช ทำหน้าที่ ตัด และต่อ ชุดข้อเหวี่ยงเข้ากับชุดเฟืองเกียร์ เพื่อส่งผ่านกำลังและแรงบิดจากข้อเหวี่ยงไปยังชุดเกียร์ ลงสู่ล้อหลัง ภายในชามคลัช จะประกอบด้วย แผ่นคลัช ซึ่งจะสลับกันอยู่ระหว่างแผ่นเหล็กหรือวัสดุอื่น ตามแต่ผู้ผลิตจะออกแบบ แผ่นคลัช จะมี 2 อย่างคือ แผ่นใน และแผ่นนอก แผ่นใน คือจะรับแรงส่งไปยังแกนเฟืองเกียร์ แผ่นนอก จากรับแรงจากชุดข้อเหวี่ยงและชามครัลส่งไปยังแผ่นใน ในรูปคือ แผ่นใน ![]() ส่วนภาพนี้คือ แผ่นนอก ![]() อันนี้คือหน้าตาของชามคลัช ![]() จากภาพ จะแสดงส่วนของชามคลัช กับส่วนที่รับแรงจากชุดข้อเหวี่ยง ![]() ภายในชามคลัช จะมีสปริง และยางกันกระชากอยู่ ซึ่งยางและสปริงนี้ ทำหน้าที่รับแรงกระชากจากข้อเหวี่ยง เพื่อเพิ่มอายุใช้งานของชุดเฟืองต่างๆ และลดเสียงรบกวนเมื่อเฟืองขบกัน ![]() นี่คือสปริงกันกระชาก โดยจะมียางหนุนอยุ่หัว-ท้ายสปริง ![]() ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมด จะถูกย้ำปิดตายด้วยหมุด หากใช้ไปนานๆ สปริงในชามคลัช จะล้า จะทำให้เกิดเสียง สามารถเปลี่ยนได้โดยเอาไปย้ำคลัช ซึ่งจริงๆแล้วมันแค่เป็นการเปิดและปิดชุดคลัชเข้าไปใหม่ ไม่มีผลกับตอนออกตัวแต่อย่างใด ![]() |
บทความทั้งหมด
|