ตัวอย่างแพทย์ด่านแรก แสดงความสามารถจนได้รับการยกย่องเป็น"แพทย์ชนบทดีเด่นประจำปี2549 "
คำนำ เมื่อเข้ามาในบล็อกแก็งค์ นี้แล้ว จะพบกับบทความเรื่องแรก ของบล็อกในกลุ่มข่าวด้านขวามือ ที่มีคำว่า now here กระพริบอยู่

ส่วนพื้นที่ใต้บล็อกกลุ่มข่าวนี้ จะมีเรื่องในกลุ่มข่าวนั้น ให้กดเข้ามาอ่านได้ มีข่าวให้เลือกอ่านอีก ถึง 15 เรื่อง และ

ยังมีลิงค์เวบที่หน้าสนใจทางด้านซ้ายมือ กดเข้าชมลิงค์ได้อีกด้วย

หมายเหตุได้เก็บสะสมข่าว และ ลิงค์ เวบที่น่าสนใจไว้มากมาย เพื่อจะนำมาใช้อ้างอิงในวันหน้า เมื่อต้องการจะนำมาอ้างอิงจะได้เข้ามาค้นหา
ผู้เข้ามาเยี่ยมชมก็สามารถเข้ามาค้นหาและนำไปอ้างอิงได้ เพราะ เป็นข่าวที่เผยแพร่ เป็นสาธารณะ ใครจะนำไปใช้ เพียงขอให้อ้างอิงที่มาว่าได้มาจากที่ใดก็ไม่น่าจะมีปัญหา



.........................................................................

เรื่องที่นำมาเผยแพร่นี้ นำมาจากการอ่านบทความที่โพสท์ไว้ในเวบพันธุ์ทิพย์

และ ขอแนะนำให้อ่าน เรื่อง จุดประสงค์ของการดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย 3 ระดับช่วยเหลือกัน" เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด ตามแนวทาง"สุขภาพดีในราคาถูก"ที่เวบ...

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=09-2006&date=30&group=1&gblog=3

ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่ ประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ ได้ใช้มาแล้ว ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพประชาชน ของประเทศถูกลง ดังเวบ...

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4

และ จุดประสงค์ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน เพื่อมาทำหน้าที่แพทย์ด่านแรก ที่เวบ...

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=03-2007&date=27&group=1&gblog=5

เนื้อความแพทย์ด่านแรก ดีเด่น มีดังต่อไปนี้...............

ปีนี้มูลนิธิแพทย์ชนบท ได้พิจารณามอบรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น ให้กับนายแพทย์ 2 ท่าน (แพทย์ด่านแรก)ซึ่งควรยกย่องและสมควรได้รับรางวัลนั้น

มีบทความที่กล่าวถึงนายแพทย์เฉิดพันธุ์ ภัทรพงศ์สินธุ์ ดังนี้ค่ะ



++เงินไม่ใช่คำตอบของชีวิต++

ด้วยความคิดอยากทำโรงพยาบาลชุมชนในฝัน ด้วยความเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างทัศนคติของคนในชุมชนกับโรงพยาบาลให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ 17 ปีก่อน นายแพทย์เฉิดพันธุ์ หมอหนุ่มไฟแรงที่เพิ่งจบจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเลือกจะบรรจุที่โรงพยาบาลเล็ก ๆ ชื่อแปลก ว่า “หนองบัวระเหว” จังหวัดชัยภูมิ
“สมัยก่อนแพทย์โรงพยาบาลชุมชนไม่ค่อยได้รับการยอมรับเหมือนปัจจุบันนี้ และพอพูดถึงโรงพยาบาลชุมชนอยู่ในที่ไกลๆ ก็ไม่มีใครอยากอยู่ หรืออยู่กันไม่นานก็ย้าย เพราะทุกอย่างมันไม่เอื้ออำนวย แต่ผมก็เลือกที่จะไป เพราะคิดว่าน่าจะทำอะไรที่เปลี่ยนมุมมองหรือทัศนคติของคนได้ จึงคิดจะเริ่มที่โรงพยาบาลเล็ก ๆ อย่างหนองบัวระเหว ซึ่งตอนนั้นยังเป็นโรงพยาบาลสาขาของโรงพยาบาลจัตุรัส”

แต่เส้นทางการสร้างและพัฒนาโรงพยาบาลชุมชนในฝัน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องใช้ความอดทนและพยายามอย่างมาก โดยในระยะบุกเบิกช่วงแรกๆ เจ้าหน้าที่ทั้งหมดของโรงพยาบาลรวมทั้งแพทย์ในขณะนั้น มีเพียง 9 คน มีตึกและบ้านพักอย่างละ 1 หลัง ต้องทำหน้าที่ตั้งแต่เป็นพนักงานขับรถยนต์ จนถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาล ซึ่งต้องเรียนรู้งานเพื่อวางระบบการบริหาร และการบริการ ตลอดจนการประสานงานต่างๆ ของโรงพยาบาล ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทั้งจำนวนบุคลากร และงบประมาณ

สิ่งที่คุณหมอทำ โดยเริ่มจากการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน คือสร้างความเข้าใจระหว่างชุมชนกับโรงพยาบาล ชี้ให้เห็นว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการทำให้มีสุขภาพชีวิตที่ดี พร้อมกับเชื่อมโยงเครือข่ายสถานีอนามัยในชุมชน

“ผมคิดว่าโรงพยาบาลชุมชนไม่ใช่เรื่องรักษาอย่างเดียว หน้าที่หลักๆ ของโรงพยาบาลชุมชนคือการสวนกระแส ทำอย่างไรให้คนป่วยน้อยลง ถามว่าทำไมคิดอย่างนี้ ก็เพราะโรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่มีหมอน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยทั้งอำเภอ ทำให้ตรวจไม่ไหวหรือดูแลได้ไม่ทั่วถึง จึงต้องกระจายด้วยหลักง่ายๆ ว่าทำอย่างไรไม่ให้คนป่วย หรือป่วยน้อยก็ไปสถานีอนามัย ป่วยมากถึงมาโรงพยาบาล และต้องรักษาให้ดีให้ความรู้เขา เพื่อที่เขาจะได้ไม่กลับมาป่วยอีก”

ไม่เพียงจะยืนยันหลักการความคิดที่ว่าระบบสาธารณสุขพื้นฐานของโรงพยาบาลชุมชนคือการรักษาฟื้นฟู ไม่ใช่จะเป็นที่สักแต่ว่ารับรักษาผู้ป่วยทั้งหมดเท่านั้น คุณหมอเฉิดพันธุ์ยังใช้ความสามารถในการพัฒนาและบริหารนำพาให้โรงพยาบาลผ่านการรับรองคุณภาพ (HA) ได้

“จริงๆ ผมมีอีโก้สูง เพราะมีหลายคนบอกว่าโรงพยาบาลเล็กๆ ทำให้ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลนั้นทำไม่ได้หรอก ซึ่งนั่นเหมือนเป็นความท้าทายที่เราต้องทำให้ได้ คือเรายืนหยัดในหลักการ และเรามีจุดยืนว่ามันสามารถผ่านได้ และก็ทำจนสำเร็จในที่สุด ซึ่งการจะทำได้ขนาดนี้ก็เพราะได้รับความร่วมมือร่วมใจและทุ่มเทจากทุกฝ่ายทั้งจากชุมชนและทีมงาน”

ด้วยศักยภาพและความสามารถด้านการพัฒนาและบริหาร จึงมีบ่อยครั้งที่มีคนถามคุณหมอว่า ทำไมยังอยู่ในที่เดิม ตำแหน่งเดิม ได้นานขนาดนี้ ซึ่งทุกครั้งก็จะได้คำตอบจากคุณหมอว่า ทุกอย่างอยู่ได้ด้วยความสนุกที่จะเรียนรู้และเป็นความท้าทาย ไม่ใช่เรื่องเงิน เพราะเงินไม่ใช่คำตอบของชีวิต

“ผมถามตัวเองอยู่ตลอดว่า เลือกที่จะทำเพื่อเงินหรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น สุดท้ายก็ย่อมจะมีคนหาเงินที่มากกว่าเรา ก็ไม่ใช่คำตอบ การมีเงินไม่ใช่การแสวงหา แต่ที่ยังอยู่หนองบัวระเหวมันมีมากกว่านั้น มันคือความพอใจ

ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ที่ความพอใจในการทำงาน ถ้าคุณขยับจากสิ่งที่ได้อยู่ไปสู่สิ่งที่ได้มากกว่า สุดท้ายคุณก็ต้องขยับไปหาสิ่งที่มากกว่าอยู่ต่อๆ ไป ซึ่งมันไม่มีความสุข

เคยหนีจากมัน คือได้เข้าไปช่วยงานในกระทรวงฯ ช่วงหนึ่ง แต่ก็รู้สึกว่าไม่ใช่เรา มันไม่สนุก ไปเรียนรู้ชีวิตและอยู่กับชาวบ้านดีกว่า

สิ่งสำคัญที่ผมได้รับกลับมา คือการได้เรียนรู้ชีวิต และพบว่าทุกคนมีคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่ากัน แต่โอกาสไม่เท่ากัน ซึ่งทำให้ผมเข้าใจชีวิตมากขึ้น เข้าใจความรู้สึกของมนุษย์มากขึ้น”

คุณหมอเฉิดพันธุ์ยอมรับว่าเคยคิดท้อหรือเหนื่อยกับปัญหาอยู่บ้าง แต่ด้วยความรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่าต่อพื้นที่ จึงทำให้คุณหมอยังยืนยันที่จะอยู่ต่อไป

แม้ที่ผ่านมาความคิดที่จะสร้างระบบสาธารณสุขและโรงพยาบาลในฝันของคุณหมอเฉิดพันธุ์จะยังทำได้ไม่เต็มร้อยอย่างที่อยากให้เป็น ยังมีสิ่งท้าทายและสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมาก แต่ 17 ปีที่ผ่านมา ก็ไม่เคยทำให้ “ไฟ” แห่งอุดมการณ์ความมุ่งมั่นของคุณหมอมอดดับไป

..................................................................

แพทย์ชนบทคนถัดมาอีกคนหนึ่ง ที่ขอปรบมือให้ครับหมอธวัติ บุญไทย ...แพทย์ชนบทดีเด่น 2549 "รู้จักวิธีคิด อยู่ที่ไหนก็สุขได้"



++รู้จักวิธีคิด อยู่ที่ไหนก็สุขได้++

เป็นบทความที่เขียนถึงนายแพทย์ธวัติ หนึ่งในสองของผู้ได้รับรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น ประจำปี 2549

ซึ่งรางวัลนี้มูลนิธิแพทย์ชนบทจะคัดเลือกแพทย์ชนบทที่ปฏิบัติงานด้วยความ อดทน ตั้งใจ และเสียสละ ในเขตทุรกันดารและเสี่ยงภัย

คุณหมอท่านนี้มีความคิดและหลักการทำงานที่ดีมากๆ อยากให้ได้อ่านกันค่ะ

เวลาที่ขับเคลื่อนผ่านไปในแต่ละวัน ย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ซึ่งเมื่อย้อนไป 23 ปีก่อน ภาพของ “ม่วงสามสิบ” อำเภอเล็ก ๆ อำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี จึงไม่เป็นเหมือนอย่างที่เห็นในวันนี้

แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยน หากกลับจะเป็นที่จดจำของชาวม่วงสามสิบได้เป็นอย่างดี นั่นคือ

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่ชื่อ นายแพทย์ธวัติ บุญไทย

หลังจากเรียนจบคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณหมอธวัติได้เลือกมาเริ่มต้นอาชีพแพทย์ที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยตั้งใจว่าไม่นานก็จะขอย้ายไปอยู่ในตัวจังหวัด ผ่านไป 1 ปี มีบุคคลที่คุณหมอให้ความเคารพแนะนำให้ไปอยู่ที่ อำเภอม่วงสามสิบ ด้วยเหตุผล ‘มีโรงพยาบาล...แต่ไม่มีหมอ’

แม้จะเป็นอำเภอที่อยู่ไม่ไกลจากตัวจังหวัดมากนัก แต่ม่วงสามสิบเมื่อ 23 ปีก่อน ก็ไม่ต่างไปจากท้องถิ่นชนบทในภาคอีสานอื่นๆ ที่ทั้งการคมนาคมและสาธารณูปโภคยังเดินทางเข้าไปไม่ทั่วถึง หมู่บ้านตั้งอยู่กระจัดกระจาย การติดต่อสื่อสารทำได้ลำบาก จึงไม่ต้องพูดถึงว่าชาวบ้านจะรู้จักและมีทัศนคติอย่างไรกับโรงพยาบาล

“ช่วงแรกๆ โรงพยาบาลมีแต่อาคาร เครื่องมืออุปกรณ์หรือบุคลากรก็ยังไม่พร้อม ชาวบ้านเองก็ยังไม่รู้จักโรงพยาบาลมากนัก จึงต้องออกไปประชาสัมพันธ์บอกชาวบ้านว่า มีโรงพยาบาล มีหมอแล้วนะ โดยเอาหนัง 8 มม. ของตัวเองที่เก็บไว้ที่บ้านเพชรบูรณ์ไปฉายให้ดู บางหมู่บ้านไม่มีไฟฟ้าก็ต้องเอาเครื่องปั่นไฟไปด้วย หลังๆ ก็เปลี่ยนเป็นเล่นดนตรีแทน เพื่อเป็นการเรียกคน พร้อมๆ กับไปให้ความรู้กับชาวบ้านเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคและการดูแลรักษาตัวเองเบื้องต้น”

นอกเหนือจากการออกไปหาชาวบ้านเพื่อสร้างความรู้จักคุ้นเคยกันแล้ว ในส่วนของงานพัฒนาและบริหารก็ต้องดำเนินไปควบคู่กับการรักษาผู้ป่วยด้วย ยิ่งในช่วง 10 ปีแรกที่มีคุณหมออยู่เพียงคนเดียว ต้องดูแลผู้ป่วยวันละเกือบ 200 คน จึงนับเป็นงานหนักไม่ใช่น้อย แต่ที่สุดก็คิดได้ว่า ถ้าผู้ป่วยเขาไม่มีความทุกข์ ก็คงไม่เสียเวลามานั่งรอเพื่อพบหมอหรอก หมอคือคนที่จะช่วยเขาได้ จึงต้องทำให้ดีที่สุด เพื่อให้เขาทุกข์น้อยลงมากที่สุด

ภาพของหมอหนุ่มผู้ทุ่มเทแรงกายแรงใจรักษาผู้ป่วยจึงเป็นที่ติดตา จนกลายเป็นความผูกพันระหว่างคุณหมอและชาวบ้าน แม้จะมีโอกาสรับทุนไปเรียนปริญญาโท Community Health ที่ University of Heidelberg ประเทศเยอรมัน เมื่อกลับมาก็ยังคงมารับหน้าที่เป็นนายแพทย์อยู่ที่โรงพยาบาลม่วงสามสิบอยู่เหมือนเดิม ทั้งๆ ที่มีความพร้อมและโอกาสจะไปรับตำแหน่งใหม่ที่สูงและมีผลตอบแทนที่มากกว่าเดิม แต่คุณหมอก็เลือกที่จะไม่ไป

อะไรคือสิ่งที่ทำให้คุณหมอผู้ไม่ได้เป็นลูกหลานชาวอีสาน แต่กลับมาอยู่จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ไปเสียแล้ว และยังไม่เคยคิดจะย้ายไปอยู่ที่อื่น

“ผมยินดีที่จะเป็นหัวสุนัข มากกว่าที่จะเป็นหางราชสีห์ ถ้าจะเลือกทางเดินในเส้นบริหาร ผมคิดของผมว่า ถ้าขึ้นไปแล้วไปไม่สูงสุด ก็ไม่รู้จะปีนขึ้นไปทำไมให้เหนื่อยเปล่าๆ ดังนั้นอยู่เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลอำเภออย่างนี้แหละ เป็นให้มันดีที่สุดที่จะเป็นได้ก็พอ”

แนวความคิดหนึ่งที่คุณหมอนำมาพัฒนาในการทำงาน นั่นคือ

การปรับระบบบริการ OPD โดยทำให้โรงพยาบาลชุมชนมีระบบบริการเป็นทุติยภูมิ ไม่ควรทำงานปฐมภูมิซ้ำซ้อนกับสถานีอนามัย เพราะกว่า 50% ต้องการการดูแลแค่ระดับปฐมภูมิเท่านั้น ถ้าสามารถปรับให้โรงพยาบาลชุมชนรับเฉพาะผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากสถานีอนามัย ภาระงานจะลดลง แพทย์จะมีเวลาดูแลผู้ป่วยได้โดยละเอียดตามมาตรฐาน ความผิดพลาดลดลง ความสัมพันธ์กับผู้ป่วยดีขึ้น คุณภาพของการให้บริการดีขึ้น

“โครงการหนึ่งที่กำลังทำอยู่คือการจัดรถรับส่งผู้ป่วยจากสถานีอนามัย 4-5 แห่งในโซนเดียวกัน ทั้งจากสถานีอนามัยไปโรงพยาบาล และรอรับกลับไปส่งคืนที่สถานีอนามัยหลังตรวจรักษาเสร็จ เพิ่มความมั่นใจให้ผู้ป่วยว่า ประตูสถานีอนามัย ก็เป็นเหมือนประตูเดียวกับโรงพยาบาล มีความจำเป็นเมื่อไร ก็เข้าถึงได้ทันที”

ภายใต้บุคลิกความเป็นหมอผู้สมถะ เรียบง่าย แต่ในเรื่องของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่คุณหมอให้ความสนใจศึกษาด้วยตนเองมาโดยตลอด โดยเฉพาะกับระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานรักษาพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างลงตัว

“ความตั้งใจสุดท้ายที่คิดไว้ คือ จะทำให้มี Software ที่ใช้งานในโรงพยาบาลโดยเฉพาะขนาดเล็ก เป็น All in One คือใช้ Software ตัวเดียว Run ข้อมูลโรงพยาบาลได้ทุกระบบ ทิ้งไว้เป็นสมบัติสาธารณะ ที่ผมและชาวโรงพยาบาลม่วงสามสิบตั้งใจทำ จึงได้เริ่มต้นโครงการ mBase (Muang Samsib Database) ขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ประมาณ 70-80%”

ตลอดการใช้ชีวิตราชการ 24 ปี คงไม่มีข้อกำหนดไหน ที่จะบังคับให้คุณหมอต้องอยู่ที่ม่วงสามสิบนานถึง 23 ปี ถ้าไม่ใช่เพราะ “ใจ” ของคุณหมอเอง

“เมื่อลองถามตัวเองดูว่าต้องทนอยู่หรือเปล่า ก็ตอบได้ว่าไม่ต้องทน แต่อยู่ได้อย่างมีความสุขตามสมควรแก่อัตภาพ หากมีความพอเพียงในชีวิต รู้จักวิธีคิด คุณจะอยู่ที่ไหนก็ได้อย่างมีความสุข”



Create Date : 07 เมษายน 2550
Last Update : 17 เมษายน 2550 19:37:41 น.
Counter : 1018 Pageviews.

5 comments
อุ้มสีมาทำบุญ ๙ วัด ในวันขึ้นปีใหม่ที่จ.อุบลราชธานี อุ้มสี
(3 ม.ค. 2567 19:10:02 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
พบเจอภาพอะไร? ส่วนหนึ่งของภาพน่าสนใจจึงตัดมาใช้ คุกกี้คามุอิ
(1 ม.ค. 2567 03:56:23 น.)
อุ้มสีมาทำบุญ ๙ วัด ในวันขึ้นปีใหม่ที่จ.อุบลราชธานี อุ้มสี
(3 ม.ค. 2567 19:10:02 น.)
  
มาอ่านและเป็นกำลังให้แพทย์ชนบททุกคนค่ะ
++เงินไม่ใช่คำตอบของชีวิต++ ชอบและถูกต้องค๊า
โดย: นู๋นีล (นางน่อยน้อย ) วันที่: 7 เมษายน 2550 เวลา:10:04:32 น.
  
น่าจะมีหมอแบบนี้เยอะๆ นะครับ หรือเอาความเจริญสะดวกสบายเข้าไปที่ชุมชนก่อน เดี๋ยวหมอก็ตามมาเอง
โดย: lglnv (Mr.Tyger ) วันที่: 7 เมษายน 2550 เวลา:12:35:28 น.
  
อยากให้บุคคลากรทางการแพทย์ทุกคนคิดแบบนี้บ้าง
โดย: Marquez วันที่: 9 เมษายน 2550 เวลา:14:29:35 น.
  
โดย: redistuO วันที่: 13 เมษายน 2550 เวลา:16:25:26 น.
  




สวัสดีวันปีใหม่ไทยค่ะ
มีความสุขมากๆ พบเจอแต่สิ่งดีๆ
ไปเล่นน้ำก็ดูแลตัวเอง และ สุขภาพด้วยค่ะ

โดย: SweetHeart_หวานใจ วันที่: 13 เมษายน 2550 เวลา:19:31:35 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samrotri.BlogGang.com

samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

บทความทั้งหมด