"ยกบริการปฐมภูมิใน ร.พ.ไปให้บริการใกล้บ้าน ที่สถานีอนามัย(ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล)เพื่อเป็นด่านแรก" แก้ไขชื่อเรื่อง ที่เคยโพสท์ไว้เดิม แต่ เนื้อหายังเป็นเนื้อหาเดิม จาก "การดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย 3 ระดับช่วยเหลือกัน ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ"เป็น "ยกบริการปฐมภูมิใน ร.พ.ไปให้บริการใกล้บ้าน ที่ ศูนย์แพทย์ชุมชน(สถานีอนามัยเดิม) ซึ่ง อนาคต จะเป็น ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ระดับตำบล เพื่อเป็นด่านแรก" เพื่อ สรุปให้ชื่อเรื่องตรงกับเนื้อหาที่ต้องการสื่อ ให้มีการจัดให้มีสถานพยาบาลที่มีคุณภาพ ใกล้บ้าน แก้ไขล่าสุด เมื่อ วันอังคาร ที่ 12 พฤษภาคม 2552 ![]() หัวข้อ เรื่อง อ้างอิงมาจาก หนังสือ"ยกบริการปฐมภูมิออกนอกโรงพยาบาล จุดคานงัด การพัฒนาบริการปฐมภูมิในประเทศไทย" ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ คือ นายแพทย์ยงยุทธ พงษ์สุภาพ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ บริการปฐมภูมิใน ร.พ.คือ บริการอะไร คือ บริการ 1.ตรวจคนไข้นอก (OPD) ได้แก่ คนไข้ป่วยที่เดินเข้ามา พบแพทย์ ที่ ร.พ.นั้น 90% ของคนป่วย หรือ ส่วนใหญ่ ไม่จำเป็นต้องมา รักษา ที่ ร.พ. เพียง ได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เท่านั้น ก็สามารถให้การวินิจฉัย และ ให้ การรักษาได้ มีส่วนน้อย น้อยกว่า 10% ที่ ต้องมาตรวจ ที่ ร.พ.หรือ พบแพทย์เฉพาะทาง 2.งานส่งเสริมสุขภาพ เช่น ตรวจครรภ์ ตรวจเด็กดี ให้ ความรู้ เรื่องสุขภาพ 3.งานสุขาภิบาล และ ป้องกันโรค เช่น ทำวัคซีน ให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาล และ ป้องกันโรค 4.งานฟื้นฟูสุขภาพ ให้ทำหัตถบำบัด กายภาพบำบัด ฝึกอาชีพ ให้ความรู้เรื่อง ฟื้นฟูสุขภาพ งานบริการทั้ง 4 ข้อข้างต้น นี้เรียก งานบริการปฐมภูมิ สามารถ นำออกมาให้บริการ ใกล้บ้านได้ ที่สถานีอนามัย ซึ่งจะได้รับการพัฒนา และ รับรองเป็น ศูนย์แพทย์ชุมชน ในอนาคต เมื่อผ่านเกณฑ์ รับรอง เป็นศูนย์แพทย์ชุมชน OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO ทำไมต้องยกบริการปฐมภูมิ ออกนอก ร.พ. เนื่องจากในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 นั้นมีมาตราเกี่ยวกับ สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ มาตรา ๕๑ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการ ทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และ ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการ สาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐ ซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่อ อันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และทันต่อเหตุการณ์ ตามเวบ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 //www.ryt9.com/s/lwai/336299/ ooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo ผลจากการยกบริการปฐมภูมิออกนอก ร.พ. ทำให้ ร.พ. มีเฉพาะคนไข้ที่จำเป็นต้องเข้ามาเท่านั้น เช่น คนไข้อุบัติเหตุ , ฉุกเฉิน และ คนไข้ที่ได้รับการส่งต่อ มาจากศูนย์แพทย์ชุมชนที่แพทย์ออกตรวจ เพื่อตรวจ แล็ป เอ็กซเรย์ หรือ ให้มานอน รักษาตัว ใน ร.พ.เท่านั้น หมายเหตุ ถ้า มีแพทย์ออกตรวจที่ใกล้บ้าน แล้ว ประชาชน มา ร.พ.โดยไม่จำเป็น จะได้รับการเตือนว่า มีแพทย์ จาก ร.พ.ไปตรวจให้ใกล้บ้านที่ศูนย์แพทย์ หรือ สถานีอนามัยเดิม แล้ว 2 ครั้ง ถ้ามาอีกเมื่อทราบแล้ว จะต้องเสียค่ารักษาเอง ทำให้ ร.พ.ได้ทำงานที่จำเป็นต้องมาร.พ.เท่านั้น ทำให้งาน ลดลง เพียงจัดแพทย์อยู่เวร ร.พ.เพียงคนเดียว ช่วงเช้า เพื่อรับอุบัติเหตุ และ ฉุกเฉิน ขณะ ที่แพทย์ ท่านอื่นๆ ออกไปตรวจที่ ศูนย์แพทย์ชุมชน นอก ร.พ. และ ยังมีประโยชน์ที่สำคัญอีก 3 ด้าน คือ 1.ผลต่อการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ เมื่อรักษา เมื่อเริ่มป่วย รักษาง่าย ค่ารักษาถูกกว่ารักษาช้า 2.ประสิทธิภาพของการบริการที่ให้ผลลัพธ์ ด้านสุขภาพดีกว่า คือ ลดอัตราตาย และ พิการได้ 3.เพิ่มการเข้าถึงบริการให้กับคนยากจน คนด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้ป่วยโรครื้อรังที่ไม่สามารถไปโรงพยาบาลได้ เป็นการช่วยสร้างความเป็นธรรมในสังคม เจ้าของกระทู้ขอเพิ่มเติม อีกว่า มีประโยชน์ 1.ให้แพทย์ได้ทำงานตรงกับงาน ที่เลือก เช่น อยากทำงานเฉพาะทาง ก็ได้ทำเฉพาะทางที่แผนกใน ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์ อยากทำงานด่านแรก ตรวจคนไข้ที่เพิ่งเริ่มป่วย ป่วย ไม่มาก อยากทำงานใกล้บ้านดูแลประชาชน จะได้ เลือกมาอยู่ ร.พ.อำเภอ และ เข้ารับการอบรมกับ ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ตามเกณฑ์ เมื่อทำงานครบ 5 ปีสามารถสอบอนุมัติบัตรเวชศาสตร์ ครอบครัวได้ มีศักดิ์ และ สิทธิ์ เหมือน แพทย์เฉพาะทาง ด้านอื่น ๆ เช่นกัน ทำให้มีแพทย์มาทำงาน ร.พ.อำเภอ เพิ่มขึ้นเป็นด่านแรก แพทย์จบใหม่ปีละ 1,500 คน พร้อม ที่จะทำงานด่านแรกได้ทันที ถ้าต้องการ ดังนั้น ถ้าที่เสนอเป็นจริงแพทย์ ร.พ.อำเภอจะทำงาน 2 ที่คือ 1.ที่ ร.พ.ดูคนไข้ในพื้นที่ ที่ป่วยไม่มาก ให้มานอนรักษา ได้ ถ้าเกินความสามารถจึงส่งต่อด่านสอง หรือ ด่านสาม ก่อนออกตรวจนอก ร.พ. 2.ที่ ศูนย์แพทย์ชุมชน เพื่อให้บริการงานปฐมภูมิ ที่ยกออก นอก ร.พ.ไปให้บริการใกล้บ้าน ให้ประชาชนเข้าถึงบริการ ปัจจุบัน ทุกสถานีอนามัย หรือ ศูนย์แพทย์ชุมชนในอนาคต มีคอมพิวเตอร์ใช้ในการบันทึก การรักษา สามารถกดดู ประวัติเก่า สามารถคัดลอกยาเก่า และ ช่วยงานพิมพ์ใบ สั่งยา ใบรับรองแพทย์ ฯลฯ ช่วยให้การทำงานตรวจ ที่ สถานที่นอก ร.พ.ได้รับความสะดวกมาก ผมใช้เวลา ตรวจคนไข้ประมาณ 1-5 นาทีแล้วแต่ความซํบซ้อนของ โรค รับยาเดิมอาการปรกติ 1 นาที เสร็จ เป็นต้น ปัจจุบัน ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้อนุมัติเบี้ยเลี้ยง ให้แพทย์ ที่ทำงานที่ ร.พ.อำเภอ ได้เบี้ยเลี้ยงเพิ่มอีก ตั้งแต่ ธ.ค. 2551 ผมทำงานมา 28 ปี ได้เงินบี้ยเลี้ยง ทำงาน ร.พ.อำเภอมาตลอด ได้เงิน มาจำนวนมากพอ ชดเชยรายได้คลินิกที่ลดลง จากคนไข้ไม่มาหาคลินิก แต่เข้าถึงบริการฟรี ที่มีคุณภาพโดยแพทย์ ร.พ.และ ทีมสุขภาพ ออกตรวจให้ที่ศูนย์แพทย์ ข้างต้น ทำให้ ในอนาคต ก็คงจะปิดคลินิกไปในที่สุด เมื่อประชาชน ได้เข้าถึงบริการใกล้บ้าน ถ้าต้องส่งต่อมา ร.พ.ก็ไม่มี คนไข้แน่นเหมือนแต่ก่อน ดูเพิ่มเติม หนังสือ"ยกบริการปฐมภูมิออกนอกโรงพยาบาล จุดคานงัด การพัฒนาบริการปฐมภูมิในประเทศไทย" ที่เวบ //www.hcrp.or.th/th/cms/detail.php?id=43 บทความนี้ ผม เจ้าของบล็อก เองได้ทำเป็น ตัวอย่าง ตั้งแต่ 6 พฤษภาคม 2551 สถานีอนามัย ต.เขาหินซ้อน ได้รับการประเมิน และ รับรองเป็น ศูนย์แพทย์ชุมชน Tract A ผมเป็นแพทย์ ออกตรวจ อังคาร พุธ พฤหัส ร่วมกับ ผู้อำนวยการ ร.พ. ออกตรวจ จันทร์ และ ศุกร์ เพื่อช่วยพัฒนา ศูนย์แพทย์ชุมชน ให้ก้าวหน้า เหมือน ร.พ.อำเภอพนมสารคาม ที่พัฒนาจนได้ เป็น ร.พ.คุณภาพ และ ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ oooooooooooooooooooooooooooooooooooooo ขอย้อนอดีต ของเจ้าของบล็อก เองที่ รับราชการเป็น แพทย์ที่โรงพยาบาลระดับ อำเภอ ที่ ร.พ.พนมสารคาม แห่งนี้ มา ตั้งแต่ปี 2524 จนถึงปี 2552 นี้ เป็นปีที่ 28 มีเหตุการณ์ที่สำคัญมากเกิดขึ้น กับวงการสาธารณสุข 2 เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์สำคัญ ที่ 1 คือ ในปี พ.ศ.2529 หรือ ปี ค.ศ.1986 มีการประชุม องค์การอนามัยโลก : WHO เรื่อง สาธารณสุขมูลฐาน ที่เมือง Ottawa ประเทศ Canada ได้ข้อสรุป Ottawa Charter ให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อทำให้สุขภาพดี เรียกว่า การสาธารณสุขมูลฐาน หรือ Primary Health Care : PHC โดยให้แต่ละประเทศไปดำเนินการให้สำเร็จ ประเทศไทยกำหนดตัวชี้วัดความก้าวหน้า ของงานสาธารณสุขมูลฐาน 4 ข้อ ดังนี้ คือ 1.การที่ทุกคนได้มีสิ่งจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) ที่จำเป็นต่อชีวิต ตามเกณฑ์ทุกคนถ้วนหน้า ซึ่งแต่ละกระทรวง ที่เกี่ยวข้อง รับไปดำเนินการ 2.การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดี เช่น 2.1 -ประชาชนในหมู่บ้านอาสาสมัคร มาเป็น "อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน"(อสม.) เพื่อทำหน้าที่ช่วยงานสาธารณสุขด้วยการเข้ารับ การอบรมความ รู้จาก ร.พ.หรือ สถานีอนามัย เพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่ ตามอุดมการณ์ของ อสม. คือ "แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงาน สาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี" 2.2 -การที่ประชาชนยินดีเข้าร่วมชมรมสร้างสุขภาพ ประจำหมู่บ้าน ซึ่งมี อสม.แต่ละหมู่บ้าน เป็นแกนนำ โดย มี ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ภายในอำเภอนั้น เป็นพี่เลี้ยงให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ที่ ต้องการ 2.3 -ประชาชนร่วมปฏิบัติตัว เพื่อให้มีสุขภาพดี ตามสุขบัญญัติ 10 ประการ ของ กรมอนามัย 2.4 -การที่ประชาชนเห็นความสำคัญของการ ปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดี ถ้าเป็นไปได้ ด้วยการช่วยกัน เสนอ สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร(สส.)ให้ออก กฏหมายให้ผู้ไม่ปฏิบัติตัวให้มีสุขภาพดี ต้องร่วมจ่ายค่ารักษาด้วยบางส่วน เช่น 20% ของค่ารักษา เพื่อเป็นการเพิ่มเงินให้กับการรักษา และ ยังเป็นการเตือนให้ผู้ไม่ดูแลสุขภาพ จะได้ฉุกคิดไม่อยากจ่ายร่วมค่ารักษาต้อง เปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้อง และ ป่วยน้อยลง เงินที่เพิ่มขึ้นนี้ สามารถนำมาตรวจร่างกายให้ ประชาชน ฟรี ได้ปีละครั้ง ตามแนวทาง การป้องกัน ดีกว่า การรักษา ในประเทศอเมริกามี กฏระเบียบ ให้ผู้ไม่ปฏิบัติตัว เพื่อการมีสุขภาพดี เช่น สูบบุหรี่ อ้วน ฯลฯ ต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วย ตามที่เลขาธิการแพทยสภา ศ.น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ไปเห็นมาที่เวบ..... //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=06-2007&date=24&group=1&gblog=11 3.การเข้าถึงสถานบริการได้สะดวก เข้าถึงได้ง่าย โดยถ้วนหน้า -ประเทศเราได้มีสถานีอนามัยอยู่ทุกตำบล ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ประชาชนทุกแห่งแล้ว ถ้าพัฒนาเป็นสถานพยาบาลด่านแรกที่มีแพทย์ ออกตรวจเพื่อพัฒนาให้มีคุณภาพ จนได้รับมาตรฐานเป็น ศูนย์แพทย์ชุมชน มีแพทย์ประจำรับผิดชอบ ให้บริการประจำช่วงเช้า ทุกวันราชการ ช่วงบ่ายกลับมาดูผู้ป่วยใน ที่ ร.พ. และ รับปรึกษาจากศูนย์แพทย์ทางโทรศัพท์มือถือ ในเวลา ส่วน นอกเวลา ปรึกษาแพทย์เวร ร.พ. หรือ เรียก รถฉุกเฉิน 1669 มารับไปรักษาในที่ที่เหมาะสม 4.การมีสถานพยาบาลที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพ ทุกระดับ ปัจจุบัน มีสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ ทำหน้าที่นี้ ได้แก่ 4.1 ระดับสถานีอนามัย เรียกว่า สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานีอนามัย : Health Center Accreditation:HCA 4.2 ระดับโรงพยาบาล เรียกว่า สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล : Hospital Accreditation : HA ดังนั้น สถานพยาบาลทุกระดับ ต้องผ่านขบวน การพัฒนาและรับรองคุณภาพ ให้ผ่านเกณฑ์ จนได้ใบประกาศรับรอง ให้ผู้ใช้บริการมั่นใจ ในคุณภาพการบริการ เหตการณ์สำคัญ ที่ 2 คือ ในปี พ.ศ. 2543 หรือ ปี ค.ศ.2000 องค์การอนามัยโลก ได้ตั้งคำขวัญ วันอนามัยโลก ว่า Health For All By The Year 2000 หรือ สุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2543 ขณะนี้ ปี 2009 (พ.ศ.2552)แล้วแต่ตัวชี้วัด สาธารณสุขมูลฐาน ที่ต้องการให้ประชาชนทุกคน มีสุขภาพดีถ้วนหน้า ในปี ค.ศ.2000 ยังทำไม่สำเร็จ คือ ตัวชี้วัดสาธารณสุขมูลฐาน ตัวที่ 3 ประชาชนเข้าถึง บริการสุขภาพได้สะดวกใกล้บ้าน และ ตัวชี้วัดสาธารณสุขมูลฐาน ตัวที่ 4 สถานพยาบาลที่ให้บริการใกล้บ้านนั้นมีคุณภาพด้วย โดยมีแพทย์ประจำครอบครัว และ ทีมสุขภาพจาก ร.พ.อำเภอ ไปให้บริการ ยังทำไม่สำเร็จ ผู้ใช้บริการยังคงต้องมาแออัดรอคอยการใช้ บริการที่โรงพยาบาลห่างจากบ้านกันเกือบ ทุกแห่งในประเทศ เคยมีสมัยหนึ่งที่ประเทศเราได้มุ่งเน้นพัฒนา คุณภาพสถานีอนามัย โดยให้มีแพทย์ออกตรวจ นอกโรงพยาบาลที่สถานีอนามัย เรียกว่า โครงการจัดแพทย์ออกตรวจนอกโรงพยาบาล เพื่อพัฒนาสถานีอนามัย : Extended OPD แต่น่าเสียดายมาถูกทางแล้วแต่หยุดทำต่อ ไม่ทราบเพราะสาเหตุใด เจ้าของบทความมองว่า ถ้าผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ลงทุนด้านสาธารณสุขมูลฐาน พัฒนาตัวชี้วัด ให้ครบทั้ง ตัวชี้วัด ตัวที่ 3 และ ตัวที่ 4 ลงทุนน้อย แต่ผลตอบแทน คุ้มค่า เหมือนในประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ ตามที่ท่านอดีต เลขาธิการแพทยสภาไปดูงานมา ตามเวบไซด์ข้างล่าง //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4 การพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลใกล้บ้าน ที่ ประชาชนเข้ารับบริการกับแพทย์ประจำครอบครัว ได้สะดวก เข้าถึงง่าย ที่ ศูนย์แพทย์ชุมชน จะทำให้ประชาชนแต่ละพื้นที่ในอำเภอ แทนที่ จะมุ่งหน้ามาตรวจที่โรงพยาบาล พบแพทย์ เปลี่ยนแพทย์ไปตามคิวแพทย์แต่ละวัน ก็จะไปรับ บัตรคิวที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน เพื่อรอแพทย์ ประจำครอบครัวคนเดิมประจำ มาออกตรวจรักษาให้ ถ้ายังไม่ถึงเวลาตรวจก็ไปทำงานบ้านก่อนได้ เมื่อคาดว่าใกล้ถึงคิวตรวจจึงเดิน หรือ ขี่จักรยาน มาตรวจได้ ไม่เสียเวลามานั่งรอตรวจเกือบทั้งวัน เหมือนแต่ก่อนต้องมา ร.พ.เสียเวลาทั้งวัน ![]() เมื่อปี 2550 พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล อดีต คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งปัจจุบันท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว ขอยกบทความของท่านมาอ้างอิง ด้วยความเคารพ และ อาลัยท่านอย่างยิ่ง กล่าวว่า ขณะนี้ ประเทศไทยยังถือว่าขาดแพทย์อีกมาก ปัจจุบันมีแพทย์ในอัตราส่วนแพทย์ 1 คนต่อประชากร 1,600 คน ตามเวบบ์ข้างล่าง //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=08-2007&date=18&group=1&gblog=15 ความคิดของผมเจ้าของบล็อก ขอเรียนเสนอต่อ บทความของท่านอาจารย์ พญ.บุญเชียร มาด้วย ความเคารพว่า ถ้าเรามีแพทย์ถึง 1 คนต่อประชากร 1,600 คน แล้วยังขาดแคลน นั้น ผมมองว่า ที่ดูว่าขาดนั้น เพราะ มีการกระจายตัวของ แพทย์ไม่ถูกต้อง ทำให้ดูเหมือนว่า ขาดแพทย์ใน ร.พ.ต่าง ๆ ทั้ง ด่านแรก(ร.พ.อำเภอ) ด่านสอง (ร.พ.จังหวัด) และ ด่านสาม(ร.พ.ศูนย์) และ การกระจายไม่ถูกต้องนี้ก็ซ้ำเติมทำให้แพทย์ ทำงานแล้วเครียดจึงลาออก เพราะ ทำงานไม่ตรง กับสายงานที่เรียน จบเฉพาะทางศัลยกรรมมาอยู่ ร.พ.เพียงคนเดียว มีคนไข้ศัลยกรรม ก็จะต้องรับ ผิดชอบ คนเดียวตลอด 365 วันต่อปี เป็นงานที่ เครียด และ เวลาออกตรวจคนไข้นอก ยังต้องดูแล คนไข้แผนกอื่นด้วย จะแยกตั้งห้องตรวจศัลยกรรม อย่างเดียว ก็ไม่ได้เพราะมีคนไข้น้อยไม่มากพอที่ จะตั้งแผนกได้เพราะคนไข้ส่วนใหญ่จะป่วยเล็กน้อย ควรพบกับแพทย์ทั่วไป หรือ เรียก แพทย์ครอบครัว ในปัจจุบันก่อนจึงจะเหมาะสม ควรมาอยู่ ร.พ.อำเภอ แทนแพทย์เฉพาะทางที่เรียนมาแล้วน่าจะไปรวมกัน ที่แผนกเฉพาะทางใน ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์เพื่อ รับส่งต่อคนไข้แต่ละอำเภอมารวมกันรักษาที่แผนก จะเหมาะสมกว่า ดูข่าว แพทย์เครียดลาออกปีละ 800-1,000 คน ในเวบบ์ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=12-2006&date=15&group=9&gblog=1 ดังนั้น จึงควรจัดให้แพทย์จบใหม่ มาอยู่ ร.พ.อำเภอ แล้วให้แพทย์เฉพาะทาง ที่มี 1 คนที่ ร.พ.อำเภอกลับ ไปอยู่แผนกเฉพาะทางที่เรียนมาที่ ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์ เพื่อรับส่งต่อจากด่านแรก หรือ ร.พ.อำเภอ จะทำให้ ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์ มีแพทย์เฉพาะทาง เพิ่มขึ้นทันที แพทย์ ร.พ.อำเภอที่ขาดแพทย์เฉพาะทางไป ก็รับแพทย์จบใหม่ที่เหมาะสมที่จะมาทำงานที่ด่านแรก ที่ ร.พ.อำเภอ เพราะ จบจาก ร.ร.แพทย์ก็ผ่านการเรียน ผ่านการสอบมาแล้วทุกแผนก ควรให้ทำที่ ร.พ.อำเภอ โดยมีแพทย์รุ่นพี่ ที่ ร.พ.อำเภอทำงานมีประสบการณ์ อยู่ก่อนเป็นพี่เลี้ยง ก็สามารถทำงานด่านแรกและเข้ารับ การอบรมตามเกณฑ์ของราชวิทยาลัยเวชศาสตร์ครอบครัว ปีละ กี่ สัปดาห์ เมื่ออยู่ด่านแรกทำงานเวชศาสตร์ครอบครัว ครบ 5 ปีก็สามารถสอบอนุมัติบัตร เวชศาสตร์ครอบครัวได้ มีสิทธิ์และศักดิ์ศรีเหมือนแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น ๆ หรือ ถ้าแพทย์ด่านแรก อยากเรียนแพทย์เฉพาะทาง ก็สามารถขอทุนของ ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์ ที่ต้องการ จบมาแล้วจะต้องกลับไปตามทุนที่ได้ เป็นการวางคนให้ตรงกับงาน Put Right Man To The Right Job ![]() ศูนย์แพทย์ชุมชน สถานพยาบาลด่านแรกใกล้บ้าน ใกล้ใจประชาชน รักษากับแพทย์ประจำศูนย์ เป็น แพทย์ประจำครอบครัว ทำงาน 2 ที่ คือ 1.ที่ ร.พ. ตรวจคนไข้ใน เฉพาะผู้ป่วยในพื้นที่รับผิดชอบ ที่มาเป็นผู้ป่วยใน ก่อนออกไปตรวจคนไข้นอก ที่ ศูนย์แพทย์ชุมชน 2.ที่ศูนย์แพทย์ชุมชน ที่รับผิดชอบ คนไข้นอก จะเป็นโรคง่าย ๆ เรียนจบแพทย์ 6 ปี ก็สามารถ ดูแลสุขภาพประชาชนได้เป็นส่วนใหญ่ มีส่วนน้อย น้อยกว่า 5 - 10% เกินความสามารถก็ส่งต่อไปรักษา กับแพทย์ที่เหมาะสมได้ เหมือนประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ ที่ทุกคนต้องมีแพทย์ประจำตัว ถ้าเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ได้ฟรี แพทย์ผู้รักษาสามารถสอบถามประวัติ จากแพทย์ประจำตัวได้ ขอยกประสบการณ์การทำงานของตนเอง ซึ่งเป็นเจ้าของบทความนี้ ทำงานที่ ร.พ.อำเภอ พนมสารคาม ซึ่งแบ่งแพทย์ให้ดูแลผู้ป่วยที่มา นอนป่วยใน ร.พ.แต่ละตำบลเป็นของแพทย์ประจำ พื้นที่ตำบลนั้น ตามแนวทางการให้ทุกคนมี แพทย์ประจำตัว แต่คนไข้นอก เริ่มนำร่อง แค่ 2 ตำบลดูก่อน คือ 1.ต.เขาหินซ้อน เจ้าของบทความนี้ เป็นผู้รับผิดชอบและ อีก ต.หนึ่ง คือ 2.ต.หนองแหน มีแพทย์อีกท่านหนึ่ง รับผิดชอบออกตรวจคนไข้นอกให้สัปดาห์ละวัน จนเมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2551 สถานีอนามัย ตำบลเขาหินซ้อน ได้ส่งข้อมูลเข้าประเมิน เพื่อเป็น ศูนย์แพทย์ชุมชน ต่อ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ :สปสช. และ ได้รับการอนุมัติเป็น ศูนย์แพทย์ชุมชน Tract A มีแพทย์ออกตรวจ ทุกวันราชการเป็นแห่งแรกของจังหวัดฉะเชิงเทรา ดังนั้น การทำงานเช้า จึงต้องตรวจคนไข้ในพื้นที่ รับผิดชอบก่อนออกตรวจที่ศูนย์แพทย์ ไม่เกิน 9.15 น. ก็ขับรถ ร.พ. รถเก๋ง Volvoไปออกตรวจที่ ศูนย์แพทย์ ตำบลเขาหินซ้อน ประมาณ 9.30 น.ก็เริ่มตรวจคนไข้ได้ ทั้ง ร.พ.และ ศูนย์ฯ ใช้ Computer ในการพิมพ์ประวัติ สั่งรักษา แต่คนละโปรแกรมกัน แต่สามารถเรียนรู้ ได้ไม่ยาก ในการพิมพ์ ประวัติ , ตรวจร่างกาย , สั่งยา ฯลฯ สามารถ Copy ยาเก่า ทำให้การทำงานรวดเร็ว ง่ายมาก ใช้เวลาตรวจคนไข้ลดลง จากที่จะต้องเขียนใบสั่งยา หรือ อ่านลายมือประวัติเก่ายาก เป็นกดคีย์คอมพ์ ดู วันที่ ที่มาตรวจ ประวัติเก่า ก็จะขึ้นมา สามารถ Remed หรือ Copy ให้ใช้ยาเดิมได้ สามารถลบ หรือ เพิ่มยา ได้ทันที ตรวจคนไข้เฉลี่ย ประมาณ 1-3 นาที/คน ใน 1 ชม.ตรวจ ได้ประมาณ 20-60 คน แล้วแต่ความซับซ้อนของการป่วยไข้ ทำงานสบายมาก คุยเป็นกันเองกับคนไข้ไม่เครียดทั้ง 2 ฝ่าย มีเวลาว่าง พัฒนาศูนย์ฯ หรือ เข้าหาความรู้ทางอินเตอร์เนต ไม่ต้องดูแลคนไข้หนักด้วยตนเอง เกินความสามารถ ปฐมพยาบาล แล้ว เรียก หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669 จาก ร.พ.มารับได้ไม่เกิน 20-30 นาทีก็มาถึง สบาย ๆ มาเป็นแพทย์ด่านแรกกันดีกว่า ไม่ต้องไปเรียนต่อ จบแพทย์ สอบผ่านได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม แล้วก็ทำงานได้ทันที โอกาสถูกฟ้องจะน้อยกว่า แพทย์เฉพาะทาง พวกเรา จะถูกฟ้องก็อาจมีบ้างที่ ดูคนไข้หนัก เป็นคนไข้รักษาได้จนเกิดความเสียหาย แต่ถ้ารอบคอบ ไม่มั่นใจปรึกษา หรือ ส่งต่อ ปลอดภัย จากการถูกฟ้อง ![]() ![]() ![]() ยิ่งเวลาผ่านไปคนไข้ใน และ คนไข้นอกที่ต้องมา ร.พ. ในเขตรับผิดชอบ ต.เขาหินซ้อนเริ่มลดลง เพราะ ประชาชนเมื่อป่วยเล็กน้อยก็เข้าถึงบริการที่มี คุณภาพใกล้บ้านมีแพทย์ออกตรวจ ขอสรุป ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการดูแลสุขภาพ เป็นรูปเครือข่าย คือ 1.แพทย์สามารถเลือกจะเป็นแพทย์สาขาใดได้ อยากทำงานตรวจคนไข้ทั่วไป อยากเป็นแพทย์ เวชศาสตร์ครอบครัวทำงาน 2 ที่ เปลี่ยนบรรยากาศ จบแพทย์ 6 ปีผ่านการสอบได้รับใบประกอบวิชาชีพ เวชกรรม แล้วก็เลือกทำงาน ร.พ.อำเภอ อบรมเวชศาสตร์ครอบครัวตามเกณฑ์ เมื่อทำงาน ร.พ.อำเภอ ครบ 5 ปีก็มีสิทธิสอบ อนุมัติบัตรเวชศาสตร์ครอบครัวได้ หรือ เมื่อทำแล้ว ไม่ชอบ ก็สามารถหาทุนเรียนจาก ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์ เมื่อจบแล้วกลับไปอยู่เฉพาะแผนกที่เรียน ได้ตามที่ปราถนา 2.ประชาชนเองได้ประโยชน์ไม่ต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย ในการเดินทางมาโรงพยาบาล กลายเป็น รอแพทย์ และ ทีมสุขภาพจาก ร.พ.อำเภอ มาให้บริการทุกเช้า ที่ ศูนย์แพทย์ ชุมชนใกล้บ้าน ถ้าป่วยเกินความสามารถจะได้ ใบส่งตัวไปรักษาในที่ ที่เหมาะสม โดยใช้สิทธิ รักษาฟรีได้ เมื่ออยู่ในหลักเกณฑ์ ส่วนในกรณีฉุกเฉิน สามารถรักษาพยาบาล สถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้ฟรีเช่นกัน 3.ถ้าไม่มีแพทย์เฉพาะทางที่ ร.พ.อำเภอ ประชาชนเมื่อป่วยเกินความสามารถ จะได้รับ การส่งต่อเร็วขึ้นไม่ต้องรอรักษากับแพทย์เฉพาะทาง ที่มีเพียงคนเดียว ซึ่งไม่แน่ว่าจะตามปรึกษาได้ตลอด เวลา ประเทศเรามีแพทย์จบใหม่ปีละ ประมาณ 1,500 คน สามารถมาแทนที่แพทย์เฉพาะทางได้สามารถดูแล สุขภาพประชาชนได้มากกว่า 90% ส่วนน้อย น้อยกว่า 10% จึงส่งต่อพบแพทย์เฉพาะทางที่ ควรมารวมกันที่ ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์ 4.แพทย์ที่ลาออกไปเพราะ ร.พ.อำเภองานหนัก เนื่องจากไม่จัดให้เป็นรูปเครือข่ายให้ชัดเจน เมื่อจัดเป็นเครือข่ายชัดเจน งานจะเบา ทำงานสบาย ขึ้นไม่ว่า แพทย์ทั่วไป หรือ แพทย์เฉพาะทางเองที่ ลาออก อาจกลับเข้ามาสู่ระบบ ตามสถานพยาบาล เครือข่าย ที่เหมาะสม แพทย์ทั่วไปอยู่ ร.พ.อำเภอ แพทย์เฉพาะทาง อยู่ ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์ หรือ ร.ร.แพทย์ เป็นการได้แพทย์เข้าสู่ระบบเครือข่ายได้ อีกจำนวนหนึ่ง 5.ค่าใช้จ่ายในการรักษา ต่อ คนไข้ 1 คน จะลดลง เนื่องจากเมื่อเริ่มป่วย สามารถเข้า รับบริการกับแพทย์ประจำครอบครัวใกล้บ้าน ได้ทันที สรุป สุขภาพดีถ้วนหน้า ที่ไปไม่ ถึงเมื่อ ปี ค.ศ.2000 หรือ พ.ศ.2543 เพราะ เราลืมการ สร้างสุขภาพของประชาชน ตาม Ottawa Charter ในปี ค.ศ.1986 หรือ พ.ศ.2529 ขาดการทำงานต่อ เนื่องไม่ประสานต่อทำให้คนไข้สุขภาพไม่ดี ป่วยง่าย คนไข้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงกลายเป็น เครียดกัน ถ้วนหน้าแทนสุขภาพดีถ้วนหน้าไป อ่านหัวข้อกระทู้ "เหตุผลที่ทำให้ท่านยังอยู่ในระบบราชการ" ในความคิดเห็นที่ 53 ผมไปตอบ ใช้นามแฝงว่า Family Doctor ที่ //www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=icu;action=display;num=1223619663;start=0 และ เวบ" สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส)" ที่เวบ //www.hsri.or.th/th/webboard/detail.php?id=22&key=point และ"สอบถามปัญหาสุขภาพกับแพทย์ประจำครอบครัว" ที่ //triamudom35.invisionplus.net/?mforum=triamudom35&showtopic=205 "ยกบริการปฐมภูมิใน ร.พ.ไปให้บริการใกล้บ้าน ที่ศูนย์แพทย์ชุมชน(สถานีอนามัยเดิม)เพื่อเป็นด่านแรก" จะเกิดเหมือนประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ได้ พวกเราต้องช่วยกันหลาย ๆ คน นำบทความนี้ เสนอ ![]() พณฯ ท่านวิทยา แก้วภราดัย ร.ม.ต.สาธารณสุข และ ![]() ท่านอาจารย์นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทราบเพื่อพิจารณา ![]() ![]() ![]() เป็นหนึ่งในคนที่อยู่ศูนย์สุขภาพชุมชน
![]() โดย: โยเกิตมะนาว
![]() แวะมาส่งโปสการ์ดสวยๆ จากเกาะไข่ พังงา ครับ ![]() คลิกที่ภาพเพื่อตามมาเที่ยวเกาะไข่ในด้วยกันได้เลยนะครับ PCU ใกล้บ้าน ใกล้ใจจริงๆ ครับ โดย: มิสเตอร์ฮอง
![]() สวัสดีค่ะคุณหมอ
คือว่าหนูเป็นนิสิต กำลังศึกษาวิชาสรีรวิทยา แล้วได้ศึกษาเคสโรคพาร์คินสัน แล้วเซิร์ทเจอบลอกของคุณหมอแล้วเห็นว่าอยู่แปดริ้วด้วย หนุก็เป็นเด็กแปดริ้วเลย เลยมาทักทายเพราะอยากสอบถามเรื่องโรคพาร์คินสันและโรคอื่นๆในเคสต่อไปค่ะ5555 โดย: พระแสงของ้าวมีดดาบกรรไกรหอก
![]() สุขสันต์วันเกิด มีความสุขมากๆ ไม่เจ็บไม่จนนะครับ
![]() โดย: veerar
![]() สุขสันต์วันเกิด
ขอให้คนที่เกิดวันนี้ทุกคนมีความสุขม๊ากมากกกกกค่า (หมายรวมถึงตัวเองด้วย ฮ่าๆๆๆ) เฮงๆๆ ทุกเรื่องเรยนะคะ โดย: น้องหมีซ่ากับคุณอาคิงคอง
![]() โดย: superss
![]() สุขสันต์วันครบรอบวันเกิดค่ะ เจนนี่ขอให้คุณเจ้าของวันเกิดวันนี้ มีความสุขมากๆน่ะคะ คิดหวังสิ่งใดก็ขอให้สมหวังดังใจปรารถนา เจริญก้าวหน้า ในหน้าที่การงานน่ะคะ เป็นที่รักใคร่ของคนรอบข้าง สุขภาพแข็งแรงตลอดปีและตลอดไปค่ะ เพี้ยง เพี้ยง เพี้ยง
ป.ล. ยินดีที่ได้รู้จักเจ้าของบล็อคค่ะ ว่างๆก็แวะมาทักทายเจนนี่ได้เสมอน่ะคะ ยินดีต้อนรับค่ะ ![]() ![]() โดย: สาวอิตาลี
![]() สุขสันต์วันเกิดค่ะคุณหมอขา.. ![]() Graphics for Happy Birthday Comments โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ
![]() ![]() พรใดที่เป็นของชาวโลก สุขใดที่ช่วงโชติของชาวสวรรค์ รักใดที่อมตะและนิรันดร์ ขอรักนั้นและพรนั้น จงเป็นของ...จขบ...จ้า โดย: หน่อยอิง
![]() Happy birthday ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรงนะค่ะ
![]() โดย: ความเจ็บปวด
![]() โดย: plely
![]() Happy Birthday นะคะ ขอให้มีความสุขมากๆ ![]() โดย: eeh (คิตตี้น้อยสีชมพู
![]() ![]() ::::::: H A P P Y :: B I R T H D A Y ::::::: ขอให้มีความสุขมากๆและมีสุขภาพแข็งแรงนะคะ โดย: หนีแม่มาอาร์ซีเอ
![]() โดย: โสดในซอย
![]() ![]() ![]() Happy Birthday Today |
ป้าเชิญนางฟ้า..มาอวยพรวันเกิดค่ะ |
โดย: ป้าหู้เองจ่ะ (fifty-four
) วันที่: 26 สิงหาคม 2551 เวลา:21:29:41 น.

สวัสดีค่ะ
เพิ่งได้เห็นเลยแวะเข้ามาเยี่ยมเยียน
ขออนุญาตส่งหนังสือธรรมประทีป ๙ มาให้ตามที่อยู่ข้างต้นนะคะ
ครอบครัวหนูเล็กนิดเดียว

โดย: หนูเล็กนิดเดียว
วันที่: 26 ตุลาคม 2551 เวลา:9:28:33 น.

//somed1.tripod.com/gp/
ระบบรักษาฟรี ผู้ป่วยรายได้น้อย ไม่ได้ผล
เพราะผู้ที่ได้บัตรไม่ใช่ผู้รายได้น้อย และผู้ที่รายได้น้อยก็ไม่ได้บัตร
เพราะผู้ออกบัตรออกบัตรให้ผู้ใกล้ชิด และพรรคพวกก่อน
ระบบประกันสุขภาพ แบบ 300 บาท
กองทุนที่หมู่บ้าน ล่มสลาย เพราะ Catastrophic Illness ถ้าเป็นไตวาย
หรือมะเร็ง กองทุนไม่มีเงินพอที่จะตามจ่าย
ระบบประกันสุขภาพ แบบสมัครใจ ซื้อครอบครัวละ 500 บาท
มีแต่คนที่่ป่วยซื้อ คนแข็งแรงดีก็ไม่เข้าในระบบ ในที่สุดก็ล่มสลายไป
ระบบ 30 บาท Co payment น้อยเกินไป
แต่รัฐบาลใหม่ แก้ไขให้แย่ไปกว่าเดิม
โดยไม่เก็บเงินเลย ในที่สุดก็คง จะล่มสลายไปเช่นกัน
ระบบรักษาฟรี ผู้ป่วยรายได้น้อย ไม่ได้ผล
เพราะผู้ที่ได้บัตรไม่ใช่ผู้รายได้น้อย และผู้ที่รายได้น้อยก็ไม่ได้บัตร
เพราะผู้ออกบัตรออกบัตรให้ผู้ใกล้ชิด และพรรคพวกก่อน
ระบบประกันสุขภาพ แบบ 300 บาท
กองทุนที่หมู่บ้าน ล่มสลาย เพราะ Catastrophic Illness ถ้าเป็นไตวาย
หรือมะเร็ง กองทุนไม่มีเงินพอที่จะตามจ่าย
ระบบประกันสุขภาพ แบบสมัครใจ ซื้อครอบครัวละ 500 บาท
มีแต่คนที่่ป่วยซื้อ คนแข็งแรงดีก็ไม่เข้าในระบบ ในที่สุดก็ล่มสลายไป
ระบบ 30 บาท Co payment น้อยเกินไป
แต่รัฐบาลใหม่ แก้ไขให้แย่ไปกว่าเดิม
โดยไม่เก็บเงินเลย ในที่สุดก็คง จะล่มสลายไปเช่นกัน
โดย: นภดล (nopadol
) วันที่: 26 ตุลาคม 2551 เวลา:21:07:58 น.

แวะเข้ามาเยี่ยมชม blog ครับ
แล้วจะแวะเข้ามาหาความรู้เรื่อยๆครับ
แล้วจะแวะเข้ามาหาความรู้เรื่อยๆครับ
โดย: wicsir
วันที่: 28 มีนาคม 2552 เวลา:12:12:16 น.

บทความทั้งหมด
- "นำ สาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter มาให้พวกเราร่วมขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น"
- "ยกบริการปฐมภูมิใน ร.พ.ไปให้บริการใกล้บ้าน ที่สถานีอนามัย(ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล)เพื่อเป็นด่านแรก"
- "ทางดีไม่มีคนเดิน" ขอเสนอบทความ" กลวิธีในการทำให้คนมาเดินในทางดีได้"
- "รพ.รามาฯเปิดศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองแห่งแรกลดความแออัดภายใน"
- "แพทย์ไม่พอ และ ทำงานหนัก จริงหรือ"
- "แก้แออัดผู้ป่วยโรงพยาบาลใหญ่ หมอมงคล ร.ม.ต.สาธารณสุข เพิ่มหน่วยตรวจคนไข้นอก"
- "วินิจฉัยโรคได้อย่างไร,ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ,ร.พ.คุณภาพ และ การดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย คือ อะไร"
- สถานพยาบาลด่านสามเร่งพัฒนางานโรคหัวใจและหลอดเลือดให้มีอยู่ทั่วประเทศ
- "สาส์นจากนายกแพทยสภา"การมีส่วนรวมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย"
- "การดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย คือ อะไร"
- ตัวอย่างแพทย์ด่านแรก แสดงความสามารถจนได้รับการยกย่องเป็น"แพทย์ชนบทดีเด่นประจำปี2549 "
- ตัวอย่างแพทย์ด่านสามแสดงความสามารถ"หมอไทยเก่ง ผ่าแยกแฝด "
- "แนะนำแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน"แพทย์ด่านแรกที่จะแก้ปัญหาสุขภาพของชาติได้???
- การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้นที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์ พึ่งระบบPrimary health careมากประมาณ90%ของงาน
- เวชศาสตร์ครอบครัวกับการปฏิรูปสุขภาพแห่งชาติ
- จุดประสงค์ของการแบ่งการดูแลสุขภาพ เป็น รูปเครือข่าย สามระดับ