วิธีอ่านคำภาษาบาลี(๑)


227วิธีอ่านคำบาลี

   ภาษาบาลีเป็นภาษาที่บรรจุพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน ผู้นับถือพระพุทธศาสนาจึงควรจะรู้ภาษาบาลีพอสมควร หรืออย่างน้อยก็ควรจะรู้วิธีอ่านคำบาลีให้ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการอ่านคำศัพท์ธรรม  บัญญัติจำนวนมาก   ที่ยืมมาจากบาลี (และสันสกฤต) มาใช้ในภาษาไทย เช่น อนุปุพพิกถา ปฏิจจสมุปบาท


การเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทย และวิธีอ่าน

   ๑. รูปสระ   เมื่อเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทย สระทุกตัว (ยกเว้น สระ อ) มีทั้งรูป "สระลอย" (คือ สระที่ไม่มีพยัญชนะต้นประสมอยู่ด้วย) และรูป "สระจม" (คือสระที่มีพยัญชนะต้นประสมอยู่ด้วย) ให้ออกเสียงสระตามรูปสระนั้น เช่น อาภา (อา - พา) อิสิ (อิ-สิ) อุตุ (อุ-ตุ) ทั้งนี้ ก็เช่นเดียวกับในภาษาไทย

   ข้อพิเศษที่แปลกจากภาษาไทย คือ "สระ อ" จะปรากฏรูปเมื่อเป็นสระลอย และไม่ปรากฏรูปเมื่อเป็นสระจม ให้ออกเป็นเสียง อ (อะ) เช่น อมต (อะมะตะ)

   นอกจากนี้ (ตัว อ) ยังใช้เป็นทุ่นให้สระอื่นเกาะ เมื่อสระนั้นใช้เป็นสระลอย เช่น เอก (เอ-กะ) โอฆ (โอ-คะ)

    ๒. รูปพยัญชนะ พยัญชนะ เมื่อประสมกับสระใด ก็จะมีรูปสระนั้นปรากฏอยู่ด้วย (ยกเว้นเมื่อประสมกับสระ อ) และให้ออกเสียงพยัญชนะประสมกับสระนั้น เช่น กรณีย (กะ-ระ-นี-ยะ)

   พยัญชนะที่ใช้โดยไม่มีรูปสระปรากฏอยู่ และไม่มีเครื่องหมายพินทุ ( . ) กำกับ แสดงว่าประสมกับสระ อ และให้ออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมกับ (อะ) เช่น รตน (ระ - ตะ - นะ)

   ส่วนพยัญชนะที่มีเครื่องหมายพินทุ  ( . )  กำกับ แสดงว่าไม่มีสระใดประสมอยู่ด้วย ให้ออกเสียงเป็นตัวสะกด เช่น ธมฺม (ทำ-มะ) ปจฺจตฺตํ (ปัด-จัด-ตัง) หรือตัวควบกล้ำ เช่น พฺรหฺม (พ๎ระ-ห๎มะ) แล้วแต่กรณี ในบางกรณี อาจต้องออกเสียงเป็นทั้งตัวสะกด และตัวควบกล้ำ เช่น ตตฺร (ตัด-ต๎ระ) กลฺยาณ (กัน-ล๎-ยา-นะ)

   อนึ่ง รูป เอยฺย มักนิยมออกเสียงตามความสะดวก เป็น (ไอ-ยะ) ก็มี หรือ (เอยฺ-ยะ) ก็มี เช่น ทกฺขิเณยฺย ออกเสียงเป็น (ทัก-ขิ-ไน-ยะ) หรือ (ทัก-ขิ-เนย-ยะ) เมื่อยืมเข้ามาใช้ในภาษาไทย จึงปรากฎว่ามีใช้ ๒ รูป คือ ทักขิไณย (บุคคล) และ ทักขิเณยย (บุคคล)

   ๓. เครื่องหมายนิคหิต   เครื่องหมายนิคหิต  ( )   ต้องอาศัยสระ และจะปรากฏเฉพาะหลังสระ อ, อิ หรือ อุ ให้ออกเสียงสระนั้นๆ   (เป็น (อะ) (อิ) หรือ (อุ)  แล้วแต่กรณี)   แล ะ มี (ง)  สะกด เช่น อํส (อัง-สะ)  เอวํ  (เอ-วัง)  กึ  (กิง)  วิสุํ  (วิสุง)

ตัวอย่างข้อความภาษาบาลี และวิธีอ่าน มีดังนี้

  สพฺพปาปสฺส ----- อกรณํ ----- กุสลสฺสูปสมฺปทา

(สับ-พะ-ปา-ปัด-สะ) (อะ-กะ-ระ-นัง)   (กุ-สะ-ลัด-สู-ปะ-สัม-ปะ-ทา)

   สจิตฺตปริโยทปนํ   ---     เอตํ ---พุทฺธาน ---สาสนํ

(สะ-จิต-ตะ-ปะ-ริ-โย-ทะ-ปะ-นัง)   (เอ-ตัง)  (พุด-ธา-นะ)  (สา-สะ-นัง)


175 174 175


170การอ่านคำที่มาจากภาษาบาลี  (และสันสกฤต)

   หลักพื้นฐานดังกล่าวข้างต้น   อาจนำมาประยุกต์กับการอ่านคำไทยที่มาจากภาษาบาลี (และสันสกฤต) โดยอนุโลม   แต่ยังต้องดัดแปลงให้เข้ากับรูปคำ และวิธีออกเสียงแบบไทยด้วย เช่น การออกเสียงอักษรนำในคำว่า สมุทัย (สะ - หมุ -ไท)  แทนที่จะออกเป็น (สะ-มุ-ไท)

   นอกจากนี้   หากจะออกเสียงให้ถูกต้องตามความนิยมในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา ผู้อ่านต้องมีความรู้เพิ่มเติมว่า   รูปเดิมของศัพท์คำนั้นเป็นอย่างไร    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องทราบว่า พยัญชนะตัวใดมีพินทุกำกับด้วยหรือไม่   เช่น   ปเสนทิ    มีรูปเดิมเป็น   ปเสนทิ จึงต้องอ่านว่า (ปะ-เส-นะ-ทิ)   ไม่ใช่   (ปะ-เสน-ทิ)   แต่ อนุปุพฺพิกถา   จึงต้องอ่านว่า (อะ-นุ-ปุบ-พิ-กะ-ถา) ไม่ใช่ (อะ-นุ-ปุบ-พะ-พิ-กะ-ถา) หรือ ปฏิจจสมุปบาท   มีรูปเดิมเป็น    ปฏิจฺจสมุปฺบาท   จึงต้องอ่านว่า (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด) ไม่ใช่ (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-ปะ-บาด)



นิคคหิต   อักขระที่ว่ากดเสียง, อักขระที่ว่าหุบปากกดกรณ์ไว้ไม่ปล่อย   มีรูปเป็นจุดกลวง เช่น สงฺฆํ อุปสมฺปทํ, บัดนี้   นิยมเขียน นิคหิต

พินทุ จุด, วงกลมเล็กๆ

 



Create Date : 05 กรกฎาคม 2565
Last Update : 6 กรกฎาคม 2565 9:31:02 น.
Counter : 368 Pageviews.

0 comments
No. 1284 จุดจบของการเริ่มต้น....? (ตะพาบ) ไวน์กับสายน้ำ
(19 ก.ค. 2567 06:25:49 น.)
:: จบแล้วก็ไป :: กะว่าก๋า
(16 ก.ค. 2567 05:43:08 น.)
:: คำถามโง่ๆของคนที่คิดว่าตนฉลาด :: กะว่าก๋า
(10 ก.ค. 2567 05:11:48 น.)
การอยู่ที่ควร ลักษณะของกิเลส ปัญญา Dh
(9 ก.ค. 2567 13:55:28 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]