ต่อจบ


ต่อ

    เนื้อตัวแท้ๆ ของอรรถกถา หรือความเป็นอรรถกถา   ก็ตรงกับชื่อที่เรียก คือ อยู่ที่เป็นคำบอกความหมาย หรือเป็นถ้อยคำชี้แจงอธิบายอัตถะของศัพท์ หรือข้อความในพระไตรปิฎก เฉพาะอย่างยิ่งคืออธิบายพุทธพจน์   เช่น   เราอ่านพระไตรปิฎก   พบคำว่า "วิริยสฺส สณฺฐานํ" ก็ไม่เข้าใจ สงสัยว่าทรวดทรงสัณฐานอะไรของความเพียร จึงไปเปิดดูอรรถกถา ก็พบไขความว่า สัณฐานในที่นี้หมายความว่า "ฐปนา อปฺปวตฺตนา..." ก็เข้าใจ และแปลได้ว่า หมายถึงการหยุดยั้ง การไม่ดำเนินความเพียรต่อไป

ถ้าพูดในขั้นพื้นฐาน ก็คล้ายกับพจนานุกรมที่เราอาศัยค้นหาความหมายของศัพท์ แต่ต่างกันตรงที่ว่าอรรถกถามิใช่เรียงตามลำดับอักษร แต่เรียงไปตามลำดับเนื้อความในพระไตรปิฎก

ยิ่งกว่านั้น อรรถกถาอาจจะแปลความหมายให้ทั้งประโยค หรือทั้งท่อนทั้งตอน และความที่ท่านช่ำชองในพระไตรปิฎก ก็อาจจะอ้างอิงหรือโยงคำ หรือความตอนนั้น ไปเทียบหรือไปบรรจบกับข้อความเรื่องราวที่อื่นในพระไตรปิฎกด้วย นอกเหนือจากนี้ ในกรณีเป็นข้อปัญหา หรือไม่ชัดเจน ก็อาจจะบอกข้อยุติหรือคำวินิจฉัยที่สังฆะได้ตกลงไว้และรักษากันมา

บางทีก็มีการแสดงความเห็นหรือมติของพระอรรถกถาจารย์ต่อเรื่องที่กำลัง พิจารณา และพร้อมนั้น ก็อาจจะกล่าวถึงมติที่ขัดแย้ง หรือที่สนับสนุนของ "เกจิ" (อาจารย์บางพวก) "อญฺเญ" (อาจารย์พวกอื่น) "อปเร" (อาจารย์อีกพวกหนึ่ง) เป็นต้น

นอกจากนั้น ในการอธิบายหลักหรือสาระบางอย่าง บางทีก็ยกเรื่องราวมาประกอบหรือเป็นตัวอย่าง ประเภทเรื่องปนอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์บ้าง เรื่องในวิถีชีวิตและความเชื่อของชาวบ้านบ้าง

ตลอดจนเหตุการณ์ในยุคสมัยต่างๆ ซึ่งมากทีเดียวเป็นเรื่องความเป็นไปของบ้านเมืองในสังกาทวีป ซึ่งในอดีตผ่านยุคสมัยต่างๆ ระหว่างที่พระสงฆ์เล่าเรียนกัน   คงมีการนำเอาเรื่องราวในยุคสมัยนั้นๆ มาเล่าสอนและบันทึกไว้สืบกันมา   จึงเป็นเรื่องตำนานบ้าง  ประวัตศาสตร์บ้าง  แห่งกาลเวลาหลายศตวรรษ   อันเห็นได้ชัดว่า   พระอรรถกถาจารย์   ดังเช่น  พระพุทธโฆสาจารย์  ไม่อาจรู้ไปถึงได้ นอกจากยกเอาจากคัมภีร์ที่เรียกว่า โปราณัฏฐกถาขึ้นมาถ่ายทอดต่อไป

สำหรับ ผู้ที่รู้จักอรรถกถา สิ่งสำคัญที่เขาต้องการจากอรรถกถา ก็คือ ส่วนที่เป็นคำบอกความหมายไขความ อธิบายเนื้อหาในพระไตรปิฎก ซึ่งก็คือต้องการตัวอรรถกถาแท้ๆ นั่นเอง และก็ตรงกันกับหน้าที่การงานของอรรถกถา อันได้แก่การรักษาสืบทอดคำบอกความหมายที่เป็นอัตถะในพระไตรปิฎก

235 ส่วนอื่นนอกเหนือจากนี้  เช่น  เรื่องราวเล่าขานต่างๆ  เป็นเพียงเครื่องเสริมประกอบ ที่จริง มันไม่ใช่อรรถกถา   แต่เป็นสิ่งที่พ่วงมาด้วยในหนังสือ หรือคัมภีร์ที่เรียกว่า อรรถกถา

235 เนื่องจากผู้อ่านพระไตรปิฎกบาลี   ต้องพบกับศัพท์ที่ตนไม่รู้เข้าใจบ่อยครั้ง และจึงต้องปรึกษาอรรถกถา   คล้ายคนปรึกษาพจนานุกรม เมื่อแปลพระไตรปิฎกมาเป็นภาษาไทย เป็นต้น  จึงมักแปลไปตามไขความ หรือ อธิบายของอรรถกถา

235 พระไตรปิฎกแปลภาษาไทย เป็นต้น นั้น จึงมีส่วนที่เป็นคำแปลผ่านอรรถกถา  หรือเป็นคำแปลของอรรถกถาอยู่เป็นอันมาก  และผู้อ่านพระไตรปิฎกแปล   ก็ไม่รู้ตัวว่าตนกำลังอ่านอรรถกถาพร้อมไปด้วย หรือว่าตนกำลังอ่านพระไตรปิฎกตามคำแปลของอรรถกถา



 



Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2566
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2566 17:53:09 น.
Counter : 328 Pageviews.

0 comments
หลักปฏิบัติ ปัญญา Dh
(18 เม.ย. 2567 19:08:42 น.)
봄 처녀(Virgin spring) by 홍난파(NanPa Hong) ปรศุราม
(17 เม.ย. 2567 10:09:12 น.)
เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่คนมักชอบอะไรที่มันง่ายๆ 121 235 เขาถาม - ตอบกัน 450 > คำถาม : ทำอย่างไ สมาชิกหมายเลข 7881572
(16 เม.ย. 2567 09:58:49 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 33 : กะว่าก๋า
(11 เม.ย. 2567 05:15:42 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]