ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวการดำเนินชีวิตและวิธีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมาตลอดและได้ทรงเน้นย้ำแนวทางพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัว ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตป้องกันให้รอดพ้นวิกฤติและให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่ของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิธีการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน

ขณะเดียวกันจะต้องสร้างเสริมพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ความมีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากภายนอกได้เป็นอย่างดี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ในกระแสพระราชดำรัสต่อคณะบุคคล/องค์กรหลายกรรม หลายวาระ ซึ่งเป็นการสะท้อนความห่วงใยที่พระองค์มีต่อสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น พระราชกระแสรับสั่งจึงถือเป็นการให้สติ หรือข้อคิดแก่คณะรัฐบาล ตลอดจนพสกนิกรทั่วไปให้กลับไปคิด ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง เพื่อช่วยกันหาทางปรับปรุง แก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้น

ปฐมพระราชดำรัสว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

“การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้มีแผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องแล้ว ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยาก ล้มเหลวได้ในที่สุด...”
พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2517

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานก่อน คือทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป ไม่ใช่การพัฒนาแบบก้าวกระโดด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงในเรื่อง ความโลภของคน อันเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยทรงเน้นความพอเพียง พอสมควรตามอัตตภาพ เน้นประเด็นของการลดความเสี่ยง อันเกิดจากสภาพความไม่แน่นอนในทุกด้าน ซึ่งเมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี 2540 ได้ทรงขยายความให้เห็นถึงรูปธรรมของการไม่ประมาณตนเอง ของความโลภ ความเห็นแก่ได้ โดยไม่คำนึงถึงผลได้ผลเสียแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น

พระองค์ทรงเห็นว่าการจะทำโครงการอะไร จะต้องทำด้วยความรอบคอบและอย่าตาโตเกินไป พร้อมกันนั้นได้ทรงอธิบายต่อไปว่า

“…คำว่าพอเพียงมีความหมายกว้างขวางกว่าความสามารถในการพึ่งตนเองหรือความสามารถในการยืนบนขาของตนเอง เพราะความพอเพียงหมายถึงการที่มีความพอ คือมีความโลภน้อย เมื่อโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อาจจะเป็นสุขพอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น...”

การนำปรัชญาพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การปกครองของไทยในปัจจุบัน จะเป็นภูมิคุ้มกันที่จะนำสังคมไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และความอยู่ดีมีสุขของคนไทยต่อไปได้



Create Date : 05 ธันวาคม 2551
Last Update : 11 ธันวาคม 2551 12:44:49 น.
Counter : 511 Pageviews.

0 comments
14 มิ.ย. 68 ไปเรียน kae+aoe
(19 มิ.ย. 2568 06:48:33 น.)
สวนรถไฟ : นกสีชมพูสวน ผู้ชายในสายลมหนาว
(16 มิ.ย. 2568 15:03:09 น.)
สรุปวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5) เรื่องเวกเตอร์ นายแว่นขยันเที่ยว
(11 มิ.ย. 2568 06:11:02 น.)
กำแพงแสน : นกโพระดกธรรมดา ผู้ชายในสายลมหนาว
(10 มิ.ย. 2568 12:43:20 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Rtarf.BlogGang.com

rtarf
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด