ปลูกป่าในใจและการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก
ความต้องการการอยู่รอดของมนุษย์ ทำให้ประชากรมนุษย์บริโภค และใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง มนุษย์จึงเป็นทรัพยากรเดียวในกลไกธรรมชาติที่กอบโกยผลประโยชน์จากทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อประโยชน์แก่กลุ่มชนของตนเองและสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อม

ดังนั้น หากคนยังใช้ปัจจัยความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิตแบบไม่รู้จักพอ ปัญหาความไม่สมดุลของธรรมชาติจะเกิดขึ้น วนเวียนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด “ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นจะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ไว้ด้วยตนเอง” พระราชดำรัสตอนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรที่เข้าทำกินอยู่เดิม ได้มีส่วนร่วมในการปลูกป่า ดูแลรักษาป่า ได้ประโยชน์จากป่าไม้และไม่ตัดไม้ทำลายป่าอีกต่อไป

นอกจากนี้ พระองค์ทรงมีกลยุทธ์การปลูกป่า ด้วยวิธีที่แยบยล ง่าย ไม่ต้องเสียอะไร แต่ผลที่ได้กลับมามีมูลค่ามหาศาล ด้วยการปล่อยให้เป็นไปตามหลักการกฎธรรมชาติ ( Natural Reforestation ) อาศัยระบบวงจรป่าไม้และการทดแทนตามธรรมชาติ ( Natural Succession ) คือการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเติบโตของต้นไม้ และควบคุมไม่ให้คนเข้าไปตัดไม้ ไม่มีการรบกวน เหยียบย่ำต้นไม้เล็กๆ เมื่อทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่งพืช ลูกไม้ พันธุ์ไม้ต่างๆจะสามารถค่อยๆเจริญเติบโต แตกหน่อ แตกกอ และขยายพันธุ์ฟื้นตัวขึ้น ทำให้ระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตเริ่มเกิดขึ้นและเกื้อกูลกัน ต้นไม้เล็กๆสามารถคลุมดินไว้ให้เกิดความชุ่มชื้น ไม้ยืนต้นสามารถเติบโตให้ร่มเงา ช่วยปกป้องชะลอการระเหยอย่างรวดเร็วของน้ำในดิน พืชเล็กและไม้ใหญ่สามารถเจริญเติบโตควบคู่กันไปได้


“ทิ้งป่านั้นไว้ 5 ปี ตรงนั้น ไม่ต้องไปทำอะไรเลย แต่ป่าเจริญเติบโตเป็นป่าสมบูรณ์ โดยไม่ต้องปลูกสักต้นเดียว.......คือว่า การปลูกป่านั้น สำคัญอยู่ที่ปล่อยให้เขาขึ้นเอง.......” พระราชดำรัส วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2537

การปลูกป่าที่ไม่ต้องอาศัยกำลังคนจำนวนมากอีกวิธีหนึ่งคือ การปลูกป่าในที่สูง พระองค์ทรงให้ใช้ไม้ประเภทที่มีเมล็ดทั้งหลายขึ้นไปปลูกบนยอดเขาที่สูง เมื่อโตแล้วออกฝักออกเมล็ดก็จะลอยตกลงมาแล้วงอกขึ้นเองในที่ต่ำต่อไป เป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ เป็นการปลูกป่าที่อาศัยหลักธรรมชาติพลังแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งทำให้ประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายในการปลูกป่า

โครงการปลูกป่าในใจและการปลูกโดยไม่ต้องปลูกตามแนวพระราชดำรินี้ แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเน้นหลักการกฎธรรมชาติ ความเรียบง่าย ประหยัด การพึ่งตนเอง และภูมิสังคม ( ลักษณะภูมิศาสตร์ ลักษณะสังคมในแต่ละพื้นที่ ) ซึ่งไม่ต้องลงทุน ลงแรงมากนัก แต่ผลที่ได้รับกลับมามีมูลค่ามหาศาลและเป็นการพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ได้อย่างยั่งยืน



Create Date : 04 ธันวาคม 2551
Last Update : 4 ธันวาคม 2551 19:42:55 น.
Counter : 704 Pageviews.

0 comments
สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ…วางแผนการเงินอย่างไร ให้เหลือใช้ถึงปลายเดือน! สมาชิกหมายเลข 7654336
(13 เม.ย. 2567 02:04:45 น.)
สรุปวิชาสังคมไทยสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เรื่องปราชญ์ท้องถิ่น นายแว่นขยันเที่ยว
(10 เม.ย. 2567 03:05:45 น.)
วิธีถามราคาสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ khatha0808
(2 เม.ย. 2567 00:05:26 น.)
เกี่ยวกับข้อมูลภาษี Google Adsence กว่าจะอนุมัติ Ep.1 SN_monchan
(16 มี.ค. 2567 07:48:15 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rtarf.BlogGang.com

rtarf
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด