2019 Hokkaido: เดินดูประวัติศาสตร์ฮอกไกโดที่ Historical Village of Hokkaido เดินเล่นกับหาที่กินลั้ลลามาหลายวันละ วันนี้เราน่าจะไปเพิ่มพูนความรู้ (รึเปล่า ? ![]() ![]() พิพิิธภัณฑ์หมู่บ้านฮอกไกโด หรือ Historical Village of Hokkaido เดินทางไม่ไกลจากตัวเมืองซัปโปโร เดินทางก็ไม่ยาก จาก Shin Sapporo Station แล้วต่อด้วยรถบัสสาย 22 ประมาณ 15 นาที ที่นี่จะเป็นพิพิิธภัณฑ์กลางแจ้งขนาดใหญ่บ้ะเริ่มเทิ่ม เดินกันแบบหมดวันไปง่าย ๆ เลย อาคารสถานที่บำรุงรักษามีดีเทลรายละเอียดกันดีมาก โดยจัดแสดงประวัติความเป็นมาของฮอกไกโดตั้งแต่สมัยเมจิ ไทโช รุ่น คศ.1868 - 1926 แบ่งออกเป็น 4 โซนหลัก ๆ คือ เมือง หมู่บ้านชาวประมง หมู่บ้านฟาร์มและหมู่บ้านบนภูเขา และห่างออกไปประมาณ 10 นาที จะมีอีกพิพิิธภัณฑ์นึงชื่อพิพิิธภัณฑ์ฮอกไกโด Historical Museum of Hokkaido เป็นอาคารขนาดใหญ่ที่แสดงประวัติ ซึ่งคราวนี้ไม่ใช่แค่หมู่บ้านละ แต่แสดงประวัติตั้งแต่สมัยยุคไดโนเสาร์กันเลยทีเดียว บอกมาแค่นี้ก็น่าสนุกแล้วเนอะ มาเริ่มวันกันแต่เช้าด้วยอาหารเช้าดีๆ ที่โรงแรม ![]() อาเฮียก็กินอะไรน่าเบื่อตามประสาเฮีย ![]() ![]() ขึ้นรถไฟมาลงที่ Shin Sapporo Station เพื่อจะต่อรถบัสสาย 22 ประมาณ 15 นาที ราคา 210 เยน ![]() รถบัสก็จะโล่ง ๆ ชิลล์ ๆ หน่อย ![]() มาถึงละ Historical Village of Hokkaido ถึงจะเป็นช่วงเมษา เริ่มเข้าฤดูใบไม้ผลิ แต่ที่นี่ก็ยังมีกองหิมะสุมอยู่ ถ้ามาเที่ยวหน้าหนาวนี่คงดูไม่จืด ![]() ![]() ศาลารอรถบัสเค้าน่ารักดี ![]() มองลงมาจากด้านหน้าอาคาร นี่ถ้าเป็นช่วง Peak รถน่าจะจอดกันเต็มลานเลยนะนี่ ![]() ![]() ![]() จะมีแผนที่แสดงโซนอาคารต่าง ๆ ถึง 60 กว่าอาคาร ![]() ![]() ![]() ญี่ปุ่นนี่มันญี่ปุ่นจริง ๆ มีตัวการ์ตูนในทุก ๆ ที่ ![]() ![]() เข้ามาข้างในละ จะมีอาคารหลากหลายมาก ![]() มีรถรางม้าลากอยู่รอบ ๆ ด้วย ![]() แต่ละอาคารเค้าจะมีป้ายบอกว่าเป็นอาคารอะไร โรงพัก Town Hall โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ไปรษณีย์ ร้านอาหาร อะไรก็ว่าไป ![]() เข้าไปดูได้ทุกตึก ![]() ![]() เดินข้ามไปข้ามมาระหว่างตึก ก็จะต้องระวังเวลาข้ามถนนนิดนึง อาจโดนรถม้าเสยไปได้ ยืนดูมันลากแล้วก็สงสารม้าอยู่นะ ยิ่งอิตัวที่เห็นนี่ดูโวยวายอาละวาดเล็ก ๆ จนตอนหลังเหมือนต้องเปลี่ยนตัวโดนลากไปเก็บ ![]() น่าจะเป็นร้านขนม ![]() มีชั้นวางเกี๊ยะด้วย ![]() ร้านอาหาร มีห้องครัว ![]() ห้องนอนสมัยก่อน ![]() ![]() ห้องอาบน้ำ ถึงเป็นสมัยนู้นก่อนที่จะมีเครื่องทำน้ำร้อน คนญี่ปุ่นก็ต้องแช่น้ำในอ่าง ตามที่เห็นในการ์ตูนเคยอ่านเจอว่ามันจะมีเป็นแบบหม้อเหล็กที่เรียกว่า โกเอมงบุโระ ที่จะจุดไฟต้มน้ำกันอย่างนั้นเลย ออกจะได้ฟีลกระทะทองแดงหน่อย ๆ เนื่องจากหม้อต้มน้ำเป็นเหล็ก ก็เลยจะมีแผ่นไม้เพื่อกันไม่ให้คนโดนต้มจนสุกในหม้อด้วย แต่อินี่ไม่แน่ใจว่าเป็นแค่อ่างแช่ธรรมดาหรือเปล่า ![]() ส้วมก็มี ![]() ห้องแบบญี่ปุ๊นญี่ปุ่น ![]() ห้องครัว ![]() ห้องนั่งเล่น มีให้ผิงไฟจิบชาด้วย ![]() ![]() ส้วมชายแบบฉี่อัดผนัง ![]() ![]() เดินเข้าเดินออกแต่ละบ้าน แต่ละอาคารก็จะตกแต่งต่าง ๆ กัน ![]() ![]() ![]() ![]() รองเท้าสาน ![]() ![]() ![]() ![]() โรงพยาบาล ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() โรงพัก ![]() ![]() เฮียไปชี้หน้าเค้า เดี๋ยวก็โดนจับหรอก ![]() ![]() อันนี้ไปรษณีย์ ![]() ![]() ร้านตัดผมดูไม่ต่างจากของไทยตามต่างจังหวัดไกล ๆ เท่าไหร่ หรือที่อินเดียก็ยังคงเป็นแบบนี้อยู่ ![]() ![]() ต่อมาเป็นร้านที่น่าจะเหมือนห้างสรรพสินค้าของเราสมัยนี้ อันนี้ในช่วง 1900 ต้นๆ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ร้านขนม น่าจะมีขายจริงด้วยนะ จะกินให้หมดเลย ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() โรงไม้ ทำเลื่อน ![]() ![]() ![]() มีสระน้ำให้นั่งพักเหนื่อย ถ้าช่วงหิมะตกแถวนี้คงจะสวยน่าดู หากาแฟอุ่น ๆ มานั่งจิบดูหิมะไปน่าจะฟินน์ แต่เรามาช่วงที่ชาวบ้านเค้าไม่ค่อยเที่ยวกัน ข้อดี คือไม่ต้องแย่งกันเที่ยวกับคนอื่น ๆ เพราะวันที่เราไปนี่ แทบไม่มีคนเลย เดินน๊านนานถึงจะเจอนักท่องเที่ยวซักคู่ ทำให้ลั้ลลาถ่ายรูปเล่นได้เต็มที่ แต่ช่วงนี้ร้านคิออสขายอาหารขายกาแฟมันปิดค่าท่านผู้ช๊มมมม ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ชักจะหิวๆ แต่ก็เดินกันต่อ ![]() ![]() ตามข้างทาง มีดอกไม้ขึ้นด้วย น่ารัก ![]() เดินมาด้านหลังจนเจอโรงม้า ได้พักเหนื่อยแล้วน้าาา ![]() ![]() เดินไม่รอบ น่าจะขาดโซนหมู่บ้านชาวประมง เพราะไม่งั้นต้องเดินวนกันอีกไกล ก่อนกลับแวะร้านอาหาร เป็นเหมือนโรงอาหารใหญ่ ๆ ![]() หนาววววว เลยสั่งบะหมี่ร้อน ๆ มากิน ![]() ขนมก็น่ากินหลายอย่างเลย อันนี้แป้งทอด ๆ จิ้มซ็อส ![]() อินี่เหมือนขนมไข่เต่า รสชาติก็คล้าย ๆ กันนั่นแหละ ![]() ข้าวหมูทอดแกงกะหรี่ ![]() ตามด้วยขนม ![]() ตอนเดินออกมาฟ้าใสปิ๊งเลย เราจะไปต่อกันที่พิพิธภัณฑ์ฮอกไกโด ![]() นั่นคือรถบัสที่กำลังจะไปพิพิธภัณฑ์ฮอกไกโดที่เรากำลังจะไป พลาดไปแค่เสี้ยวนาที ![]() ![]() ไม่เป็นไร เดินก็ได้วะ ![]() เดินไปประมาณ 10-15 นาที แล้วแต่ว่ามีแรงสับขาขนาดไหน แต่วิวสวยอยู่นะ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เดินมาตามถนนนี่แหละ ![]() ![]() ![]() มาถึงละ ![]() เข้ามาก็เจอร้านกาแฟ นั่งพักเหนื่อยและอัพโซเชียลกันตามประสา กาแฟที่นี่มีทำลาเต้อาร์ทเป็นรูปกระดูกไดโนเสาร์ด้วย ![]() ได้คาปูชิโน่แอมโมไนท์มา แอมโมไนท์เป็นบรรพบุรุษของปลาหมึก เป็นสัตว์ทะเล ถึงแม้หน้าตามันจะเหมือนหอยก็เหอะ อิฉันรู้จักมันก็จากหนังสือโดเรมอน ที่เล่าว่าแอมโมไนท์ฟอสซิลเนี่ยมันมีอยู่ทั่วไป โนบิตะยังไปขุดหาได้เลย ซึ่งจริง ๆ มันก็มีอยู่ทั่วไป อยู่ทั่วโลก บนเขาก็มี แสดงว่าสมัยก่อนน้ำทะเลมันสูงมากจนท่วมเขา หรืออีกทฤษฎี น้ำทะเลอาจจะไม่ได้สูงขนาดนั้น น้ำทะเลอยู่เท่าเดิมกะตอนเนี้ยะ เพียงแต่ตอนที่อุกกาบาตพุ่งชนโลก อาจทำให้น้ำกระฉอกตูมซะสูงจนกระจายไปทั่วสัตว์น้อยใหญ่ก็กระฉอกตามขึ้นเขาไปด้วย ทำให้บนเขาทั่วโลกเจอฟอสซิลสัตว์ทะเลกันเยอะแยะ แล้วมันก็ตายสูญพันธุ์กันหมด แต่ยังไงซะทฤษฎีนี้ก็อย่าเชื่อให้มากนะฮะ เพราะมันเป็นของอิฉันที่พึ่งคิดได้เมื่อกี้นี้เอง ![]() ![]() ![]() เข้าไปดูพิพิธภัณฑ์ซะหน่อย ![]() แมมมอธใหญ่ม่วกกกกก ![]() ![]() งามันใหญ๊ใหญ่ เค้าว่ามันจะใช้งาขุดอาหารใต้หิมะขึ้นมา น่าสงสาร น่าจะหาของกินยากทีเดียวเชียว ต้องขุดลึกขนาดไหนละพ่อ ![]() ![]() ![]() ชอบที่นี่ตรงที่มีชิ้นส่วนพวกกระดูกไดโนเสาร์แบบให้จับได้ด้วย พิพิธภัณฑ์มักเป็นอะไรที่ให้ดูแต่ตา ห้ามจับ ให้อ่านให้ดูได้อย่างเดียว บางทีเลยออกจะน่าเบื่อไปหน่อย ของอันนี้เขียนไว้เลยว่า Please touch ![]() ![]() เอ๊ะ..แต่พอเลื่อนมาดูรูปมุมซ้ายล่าง เพิ่งเห็นว่ามีป้ายห้ามจับ คืออิหยังว่ะ ![]() แต่ไม่รู้ล่ะ จับไปแล้ว ![]() อุปกรณ์มนุษย์ถ้ำยุคหินสมัยโบราณ เป็นอุปกรณ์สมัยยุคโจมง Jomon ![]() ![]() ยุคโจมงเป็นยุคหิน ทั้งยุคจะเป็นช่วง 300-14000 ปีก่อน คศ. ซึ่งจะมีช่วงที่มีวัฒนธรรมร่วมกับรุ่นเมโสโปเตเมียกับวัฒนธรรมลุ่มน้ำไนล์ ตามข้อมูลจากวิกิ บอกว่ายุคนู้นนนนานมากละ แผ่นดินญี่ปุ่นน่าจะยังคงเป็นแผ่นดินที่ติดกับแผ่นดินใหญ่ ไม่ได้แยกมาเป็นเกาะเหมือนสมัยนี้ กลุ่มมนุษย์ยุคโบราณก็เดินกันมาเรื่อย ๆ จากทางไซบีเรียทางจีนมาอยู่ที่ญี่ปุ่น มนุษย์ยุคโจมงเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาและผลิตอาวุธหินไว้ล่าสัตว์กันได้ เมื่อผลิตเครื่องปั้นดินเผา ก็เริ่มปรับวิถีชีวิตให้อยู่ติดที่กันมากขึ้นกว่ารุ่นบรรพบุรุษที่ย้ายถิ่นฐานตามสัตว์ที่จะล่า โดยยุคท้ายๆ ก็จะเริ่มทำกสิกรรมเกษตรกรรมกัน อันนี้เป็นตุ๊กตาดินเผา ตุ๊กตาปั้น เป็นของทำเลียนแบบของในยุคโจมงเช่นกัน สมัย 3000-4000 ปีก่อน คศ. ซึ่งก็คือ 6000 ปีที่แล้ว ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ยุคนั้นนิยมปั้นตุ๊กตาน่าดู ![]() อาวุธต่าง ๆ ในสมัยนั้น ![]() แล้วก็เริ่มพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ ![]() ![]() ![]() รูปชนเผ่าชาวไอนุ ![]() อ่านเรื่องของชาวไอนุแล้วสงสาร ออกจะคล้ายอินเดียนแดงที่โดนคนเมกันมาบุกยึดที่อยู่เลย เพราะคนไอนุก็เป็นชนพื้นเมืองที่โดนชาวญุี่ปุ่นกดขี่ข่มเหงพอควร อิฉันไปอ่านเจอเรื่องชาวไอนุในพันทิปและหลาย ๆ บทความมา ดูน่าสนใจดี ขออนุญาตจับแป๊ะชนแกะหลาย ๆ บทความนำมาแปะให้อ่านกันตรงนี้นะคระ พื้นที่อาศัยของชาวไอนุส่วนใหญ่อยู่ในเกาะฮอกไกโด รวมไปถึงเกาะเล็ก ๆ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างญี่ปุ่นและรัสเซีย โดยอยู่ที่นี่มานาน จนกระทั่งมีการพูดว่า "ชาวไอนุอยู่ที่นี่หลายแสนปีก่อนที่บุตรแห่งพระอาทิตย์จะมา” ชาวไอนุในอดีตยึดมั่นในวัฒนธรรมประเพณีของตัวเอง จนทำให้ถูกรัฐบาลญี่ปุ่นสมัยเอโดะหมายหัวและบังคับต่าง ๆ นานา ปัจจุบันมีประชากรชาวไอนุอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นประมาณสองหมื่นกว่าคน แต่ส่วนใหญ่เป็นประชากรที่ยากจนและไม่ได้รับการศึกษา วัฒนธรรมของชาวไอนุ คือการสังเวยหมี หญิงสาวกับรอยสัก และรองเท้าหนังปลา ชาวไอนุเป็นชนเผ่าที่มีความใกล้ชิดกับธรรมชาติ พวกเขาเชื่อว่าพระเจ้านั้นแปลงกายมาเป็นพืช สัตว์ และสิ่งอื่นๆ ในธรรมชาติเพื่อปกปักรักษาและให้ชีวิตแก่มนุษย์ ซึ่งอิฉันดูแล้วก็ไม่ได้ต่างจากอินเดียนแดงซักเท่าไหร่ พิธีกรรมที่สำคัญของชาวไอนุคือ “iyomante” ซึ่งเป็นการส่งวิญญาณของสัตว์กลับคืนสู่สวรรค์ จัดขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ชาวไอนุจะทำพิธีบูชายัญหมี (หรือบางครั้งก็เป็นนกฮูก) โดยการจับลูกหมีมาเลี้ยงดูอย่างดีจนมีอายุได้ 2 ปี จากนั้นจึงทำพิธีส่งพวกมันกลับคืนสู่สวรรค์เพื่อเป็นการส่งข้อความถึง “บิดาแห่งหมีผู้ยิ่งใหญ่บนท้องฟ้า” เนื้อและหนังของหมีจะถูกนำมาใช้เป็นอาหารและเครื่องนุ่งห่ม ส่วนกะโหลกศีรษะจะถูกนำไปเป็นเครื่องสักการะบูชาเพื่อระลึกถึงพระเจ้า ถัดมาในเรื่องของรอยสัก หญิงชาวไอนุจะเริ่มทำการ “สัก” ตั้งแต่อายุ 12 ปี รอบริมฝีปาก มือ และแขน เมื่อสักจนครบถ้วนภายในเวลา 3 ปี หญิงชาวไอนุวัย 15 หรือ 16 ปี ก็พร้อมที่จะออกเรือน รอยสักของหญิงชาวไอนุจะต้องทำการสักโดยผู้หญิงด้วยกันเท่านั้น ในยุคเอโดะรัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายห้ามสักและถือว่ารอยสักเป็นเครื่องหมายของความรุนแรง เพราะมีการใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวของกลุ่มอาชญากรรม การแต่งงานของหญิงชาวไอนุบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ แต่ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับความพอใจของหนุ่มสาว เมื่อชายหนุ่มชาวไอนุต้องการจะสู่ขอหญิงสาวที่หมายปองเขาจะเดินทางไปเยือนบ้านของฝ่ายหญิง ผู้หญิงจะเสิร์ฟข้าวมาในถ้วย ฝ่ายชายจะทานข้าวครึ่งถ้วยและส่งกลับคืนให้หญิงสาว ถ้าเธอทานต่อจนหมดหมายความว่าเธอยอมรับ แต่ถ้าคว่ำข้าวที่เหลือลงหมายความถึงการปฏิเสธ นอกจากนี้ในพิธีแต่งงานก็จะมีการทานข้าวคนละครึ่งถ้วยเพื่อเป็นสัญญารักเช่นกัน ชุดพื้นเมืองของชาวไอนุทำมาจากหนังและขนของนก รวมไปถึงหนังของหมี กวาง จิ้งจอก แมวน้ำ สุนัข และสัตว์อื่นๆ หรือแม้กระทั่งหนังของปลาอย่างแซลมอนและปลาเทราต์ นอกจากนี้ยังมีชุดสีขาวที่ทำจากพืชอย่างต้นข้าวไรย์หรือต้นเอล์ม เครื่องแต่งกายของชาวไอนุจะใช้วิธีการปะติดและเย็บปักถักร้อย เมื่อผ้าฝ้ายได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้นในญี่ปุ่นก็มีการเย็บปักอย่างละเอียดและซับซ้อนมากขึ้นตามไปด้วย ชาวไอนุมีภาษาพูดเป็นของตัวเองแต่ไม่มีภาษาเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร พวกเขาถ่ายทอดวัฒนธรรมการพูดด้วยการเล่าเรื่องราวผ่านรุ่นสู่รุ่น สถานที่หลายแห่งในฮอกไกโดมาจากภาษาของชาวไอนุเช่น ซัปโปะโระ (แม่น้ำที่แห้งและใหญ่) มุโระรัง (พื้นที่ลาดเอียงขนาดเล็ก) ทะเลสาบโทยะ (ชายฝั่งของสระน้ำ) คนเชื้อสายไอนุเอง ลึกๆลงไปก็คงแบบเดียวกับที่ชาวสก๊อตรู้สึกกับอังกฤษ มีเรื่องเล่าออกแนวประชดเล็ก ๆ ว่า ที่ชาวญี่ปุ่นเรียกตนเองว่า นิฮง = สองท่อน,สองชิ้น นั้น ก็เพราะในสมัยก่อนชาวญี่ปุ่นแลกเปลี่ยนสินค้ากับชาวไอนุ ก็จะเอาเปรียบโดยนับสินค้าให้ตัวเองเกิน โดยนับ ชิ้นแรก, 1, 2, 3,... หมดแล้วก็นับเกินอีก... 'ชิ้นสุดท้าย' ชาวญี่ปุ่นก็จะได้เกินไปสองชิ้นเสมอ ดังนั้นชื่อเรียกตนเองของชาวญี่ปุ่นจึงมีที่มาจากจำนวนสินค้าที่โกงไปสองชิ้นนั่นเอง (ข้อมูลเรื่องชาวไอนุนี่อิฉันนำมาจากพันทิพและหลาย ๆ บทความนะคระ หากผิดพลาดประการใดต้องขออำภัย) เอารูปหญิงสาวกับรอยสักมาให้ดู สักปากกันอย่างงี้ เกร๋ ๆ ![]() หน้าตาชาวไอนุจะต่างจากคนญี่ปุ่นที่เป็นมองโกลอยด์ แต่ก็มีหลายทฤษฎีแหละ ว่า มีบ้างที่ว่าชาวญี่ปุ่นเป็นลูกผสมระหว่างไอนุกับชาวยาโยอิ แต่บางทฤษฎีก็บอกไม่ใช่เลย ![]() เครื่องดนตรีที่สำคัญของชาวไอนุคือเครื่องสายอย่าง “mukkuri” และ “tonkori” ![]() ตัวอย่างบ้านเรือนของชาวฮอกไกโดในสมัยก่อน บ้านเป็นฟาง หน้าหนาวนี่คงดูไม่จืดเลย ![]() ![]() ![]() การเดินทางโดยรถรางในสมัยก่อน ![]() ![]() ![]() ข้าวของสมัยก่อน ซึ่งบางอย่างก็เหมือนยังเห็นในไทยอยู่แว้บๆ ![]() โซนเกือบสุดท้ายจะมีสัตว์ฮอกไกโดให้ดู หมีกับแซลมอน ![]() ![]() ![]() จิ้งจอกสมัยนี้ชอบมาคุ้ยขยะนะฮะ จิ้งจอกเนี่ย อิฉันชอบมาก มันน่ารักดี บ้านป๊าม๊าอาเฮียที่อังกฤษในสวนหลังบ้านก็ชอบมีจิ้งจอกโผล่มา ป๊าชอบเอาไก่สด ใส่จานไว้ให้มัน สมัยสาว ๆ อิฉันชอบไปแอบส่องเฝ้าจิ้งจอกมากินไก่ ![]() ![]() สิงโตทะเลตัวโค่ดใหญ่ ![]() ![]() กลับบ้านมานอนเลื้อย พอดึก ๆ ค่อยออกไปหาข้าวหน้าเนื้ออร่อย ๆ ราคาย่อมเยากินกัน ![]() ![]() ![]() เดี๋ยวบล็อกหน้าพาไปลานแสดงศิลปะกลางแจ้งฮะ
ขอบคุณที่แบ่งปัน
โดย: Kavanich96
![]() ![]() |
บทความทั้งหมด
|