อันตราย !! จากการรับประทานยาปลูกผม
เชื่อว่าหลายคน ๆ คนที่ประสบปัญหาผมร่วง ผมบาง และศีรษะล้าน อาจเคยมีความคิดอยากลอง หรือเคยใช้ยาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้มาก่อน จากการสำรวจผลลัพธ์จากผู้ใช้งานจริง บางรายก็ได้ผลดี และบางรายก็เกิดอาการแพ้พร้อมกับอาการระคายเคืองหนังศีรษะอย่างรุนแรง และมากไปกว่านั้นคือ เพศชายบางรายถึงขั้นเกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction) และเมื่อหยุดใช้ยาเส้นผมก็กลับมาร่วง และร่วงหนักมากว่าเดิม ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกใช้วิธีรักษาด้วยยาจึงควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของตนเองในระยะยาวด้วยนะคะ ยาปลูกผมที่ได้รับอนุญาตให้ใช้รักษาอาการผมร่วง ผมบางในปัจจุบัน มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ไมนอกซิดิล (Minoxidil) และ ฟิแนสเทอร์ไรด์ (Finasteride) ไมนอกซิดิล (Minoxidil)ไมนอกซิดิล (Minoxidil) แบบรับประทาน เดิมทีเป็นยาใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง มีหน้าที่ออกฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดแดงขยายตัว เพื่อช่วยลดความดันโลหิตให้ต่ำลง และมีข้อบังคับว่าจะต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น ต่อมา มีการพบว่ายานี้ส่งผลให้ผู้ป่วยบางราย มีขนยาวขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และทำให้เส้นผมงอกในผู้ป่วยที่ศีรษะล้าน จึงมีการนำไปผลิต เป็นลักษณะแบบยาทาเฉพาะที่ ฤทธิ์ของ Minoxidil ที่ส่งผลต่อกลไกการทำงานของระบบเลือดในร่างกายไมนอกซิดิล (Minoxidil) จะออกฤทธิ์กระตุ้นการเปิดช่องของเกลือโพแทสเซียม (Opening of potassium channel) ทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดที่หนังศีรษะ ช่วยให้มีเลือดไปเลี้ยงเซลล์รากผมมากขึ้น ส่งผลให้เส้นผมสามารถเจริญเติบโตขึ้นได้ ขนาดของยาที่แพทย์อนุญาตให้ใช้ไมนอกซิดิล (Minoxidil) แบบรับประทาน 50 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นขนาดของยาที่ใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูง ซึ่งแพทย์ไม่แนะนำให้ใช้ในการรักษาผมร่วง ผมบาง หรือศีรษะล้าน ไมนอกซิดิล (Minoxidil) แบบทาเฉพาะที่ ความเข้มข้น 2-5% ใช้ทาบนหนังศีรษะที่แห้งวันละ 2 ครั้ง นานประมาณ 1 ปี จึงเริ่มเห็นผล ผลข้างเคียงที่ได้จากการรักษา
ฟิแนสเทอร์ไรด์ (Finasteride)ฟิแนสเทอร์ไรด์ (Finasteride) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia/ BPH) ในเพศชาย ช่วยลดอาการปวดปัสสาวะในช่วงกลางคืน (Nighttime urination) ทำให้การไหลของปัสสาวะ (Urine flow) ดีขึ้น ลดปริมาณฮอร์โมนเพศชาย (Dihydrotestosterone/ DHT) ในร่างกายที่เป็นสาเหตุของการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก (Prostate) และการเกิดศีรษะล้าน (Male pattern baldness) ฤทธิ์ของ Finasteride ที่ส่งผลต่อกลไกการทำงานของระบบเลือดในร่างกายฟิแนสเทอร์ไรด์ (Finasteride) จะออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5-แอลฟารีดักเตส (5-alpha reductase) ซึ่งเป็นเอนไซน์ที่มีหน้าที่เปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายจากเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ไปเป็นไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone) สารเคมีที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ต่อมลูกหมากและทำให้เซลล์รากผม (Hair follicle) ฝ่อ ขนาดของยาที่แพทย์อนุญาตให้ใช้ฟิแนสเทอร์ไรด์ (Finasteride) รับประทาน 5 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับเพศชาย นาน 1 ปี จึงเริ่มเห็นผลลัพธ์ ห้ามใช้ในเพศหญิง สตรีมีครรภ์ และสตรีที่ต้องให้นมบุตร ผลข้างเคียงที่ได้จากการรักษา
ยาปลูกผม คืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหาผมร่วง ผมบาง ซึ่งบางคนมองว่ายาปลูกผมนั้นหาซื้อง่าย และราคาถูก แต่แน่นอนว่า…ขึ้นชื่อว่ายา อาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือเกิดอาการระคายเคืองผิวขั้นรุนแรง และเมื่อใช้ไปนาน ๆ ย่อมไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพแน่นอนค่ะ เพราะทำให้ตับทำงานหนัก และเสี่ยงต่อภาวะตับวายเฉียบพลัน (Acute liver failure) อีกด้วย ในปัจจุบันหากมีความต้องการที่จะปลูกผม มีวิธีที่ปลอดภัยกว่าการกินยา โดย J HAIR ได้คิดค้น และเลือกสารสกัดอย่างใส่ใจ บำรุงเส้นผม ด้วย สารสกัดสุดลงตัว สมดุล แข็งแรง ด้วยสารสกัดธรรมชาติ
หากคุณกังวลเกี่ยวกับผมร่วง หรือมีปัญหาในการปลูกผม สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านเส้นผมของ J hair ได้ง่ายๆ แค่เพียง คลิก
|
- "หัวเหม็น" เกิดจากอะไร? จะทำอย่างไรเมื่อ "หัวเหม็น"
- 10 สาเหตุของ " ปัญหาผมร่วง " และ " หัวล้าน "
- ตรวจสอบปัญหาหัวล้าน ด้วยมาตราส่วน Norwood
- ปัญหาผมร่วงที่พบในผู้หญิง
- เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับ "ผมบาง"
- "ผมร่วง" เกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง
- 10 เรื่องของผม ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
- อันตราย !! จากการรับประทานยาปลูกผม
- 8 วิธีดูแล หนวดเครา ให้ดกดำ เงางามและอยู่ทรงตลอด
- ภาวะผมร่วง
- สรรพคุณของผลิตภัณฑ์ Jhair serum
- โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) - การรักษาผมร่วง
- วงจรชีวิตของเส้นผม (Hair Life Cycle)
- โครงสร้างของเส้นผมที่หลายคนไม่เคยรู้
- Hormone DHT สาเหตุของศีรษะล้าน
- 10 ผลข้างเคียงของการทำศัลยกรรมปลูกผมที่คุณควรรู้
- วิธีตรวจสอบสุขภาพของเส้นผม
- ศัลยกรรมปลูกผม ได้ผลจริงหรือ ?
- ทำไมเส้นผมต้องบังภูเขา?
- 7 วิธีการดูแลเส้นผมที่ผู้ชายควรทราบ
- 5 พฤติกรรมเสี่ยงทำร้ายเส้นผมโดยไม่รู้ตัว
- 9 โรคที่เกี่ยวกับ "เส้นผมและหนังศีรษะ"
- รังแคเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร
- 5 เคล็ดลับง่ายๆ เพื่อสุขภาพผมที่ดี
- Lunar calendar คืออะไร?
- ปัญหาขนคิ้วร่วง จะทำยังไงดี
- สารสกัดของ J hair premium concentrate serum
- อยากเร่งผมยาวต้องทำอย่างไร ?
- ประเภทของเส้นผม มีอะไรบ้างและจะดูออกได้อย่างไร
- 7 อาหารสำหรับบำรุงเส้นผม
- ผมหงอกเกิดจากอะไร? และจะชะลอให้ผมหงอกช้าลงได้อย่างไร