Kyoto medical students and work life
เนื่องด้วยได้มีโอกาสไปดูงานที่โรงพยาบาลในเกียวโต ผ่านทาง IFMSA professional exchange อยู่สี่สัปดาห์ ก็เลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟัง ว่าความแตกต่างของเขากับของบ้านเราเป็นยังไง

สิ่งที่ทำให้รู้สึกว่าโชคดีมีอยู่สองอย่างคือ หนึ่ง ได้ไปเมื่อเรียนจบแล้ว เพราะมองอะไรได้ในมุมที่กว้างขึ้นมากกว่าคนที่ไปตอนยังเรียนไม่จบ แล้วสอง รู้สึกว่าดีที่ได้เรียนแพทย์ที่เมืองไทย .. ดีที่เราได้มีโอกาสสัมผัสกับคนไข้ และ - ของจริง - มากกว่านักเรียนญี่ปุ่น แต่ก็ชอบระบบการทำงานของญี่ปุ่นมากเหลือเกินจนรู้สึกว่า อยากไปทำงานที่นี่จัง... แต่ละที่ก็มีดีกันไปคนละแบบเนอะ

► ที่ Kyoto นี่มีโรงพยาบาลหลักหลายแห่ง เช่น
Kyoto University Hospital
Kyoto Prefectural University Hospital (KPUM)
Kyoto City Hospital
Etc.
► KPUM เป็นโรงพยาบาลของ Kyoto Prefect และมีโรงพยาบาลในเครือข่ายอีกหลายโรงพยาบาลในแถบเดียวกัน เช่น ที่ Amanohashidate และเป็นเหมือนศูนย์สำหรับ refer ของโรงพยาบาลในเครือเหล่านี้
► โรงพยาบาลตั้งอยู่กลางเมือง Kyoto ติดกับแม่น้ำ Kamo-gawa และอีกด้านติดกับ Imperial Palace ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเป็น Kyoto University Hospital
► KPUM อันที่จริงมี 2 campus แห่งนี้คือตัวโรงพยาบาล อีกแห่งอยู่ทางตะวันตกของเมือง เป็นที่เรียนของนักศึกษา preclinic

ด้านหน้าโรงพยาบาล
► มองจากทางด้านถนน Kawaramachi อีกฝั่งของถนนเป็นห้องสมุดของโรงพยาบาล (ไม่เห็นในภาพ)






► ระบบการเรียนของนักศึกษาที่ญีปุ่นต่างจากของเรามาก การ contact คนไข้น้อยกว่าของเราหลายสิบเท่า ถามดูได้ความว่าที่ญีปุ่นมีการฟ้องร้องมาก ดังนั้น คนที่จะ contact คนไข้ได้จริงๆคือคนที่เรียนจบและได้ใบประกอบวิชาชีพ แล้ว ดังนั้นนักเรียนญี่ปุ่นจึงทำหน้าที่เป็นผู้ observe เป็นหลัก ช่วงก่อนขึ้นปี 6 ก็จะมีช่วงปิดเทอมที่เขาจะต้องเลือกไป elective ในต่างโรงพยาบาล การเลือกสถานที่ก็เหมือนกับเป็นการไป survey ก่อนต้องเลือกที่ไปsuperrotation อีกสามปีต่อไปหลังจากจบน่ะเอง
► เมื่อจบแล้วจะมีระบบที่เรียกว่า superrotation ซึ่งก็คล้ายกับการเลือกสถานที่ใช้ทุนของเรา แต่ว่าของเขาตอนที่ไป superrotation จะมีคนคุม ดูแลตลอด ซึ่งก็คล้ายๆกับ extern ของเราน่ะเอง
~ สำหรับคนที่ไม่รู้ระบบการเรียนแพทย์ที่เมืองไทยมาก่อน ก็คือว่า การเรียนจะแบ่งเป้นสองส่วนใหญ่ๆคือ preclinic และ clinic preclinic จะเรียนพวกเนื้อหา ส่วน clinic คือการได้ไปเรียนกับคนไข้ในโรงพยาบาล โดยในชั้นสุดท้ายของ clinical year จะเรียกว่าเป็น extern ส่วนคนที่เรียนจบแล้วที่เมืองไทยจะมีระบบการไปใช้ทุน คือทำงานให้กันโรงพยาบาลของรัฐ เป็นเวลาตามกำหนดจริงๆแล้วก็คือสามปี ช่วงนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็น intern หรือว่าเป็นแพทย์ใช้ทุนน่ะเอง หลังจากใช้ทุนแล้ว ก็กลับมาเรียนต่อในสาขาต่างๆได้ โดยบางสาขาอาจจะเรียนต่อได้เลยหรือขอแค่ใช้ทุนแค่ปีเดียวก็พอ อย่างเช่นสาขาขาดแคลน พวกวิสัญญี จิตเวช หรือสัลยกรรมทรวงอก เป็นต้น โดยจะเรียกคนที่มาเรียนต่อเฉพาะทางเหล่านั้นว่า residence และคนที่เรียนต่อยอดลงไปอีกเป็น subspecialty ก็จะถูกเรียกว่า fellow ~
► หลังจาก superrotation 3 ปีแล้วก็จะเข้าสู่ระบบเรียนต่อ ของเขาไม่ต้องสมัครแล้วแย่งกันเหมือนของเรา เพราะจะเป็นแบบ ใครอยากเรียนอะไรก็จะได้เรียน แล้วเท่าที่ถามดูก็ไม่เห็นใครจะเป็น GP (general practitioner) ไปตลอดโดยไม่เรียนต่อเลย ...
► นักเรียนแพทย์ญี่ปุ่น ต้องแต่งกายสุภาพเวลาอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งเขาก็ทำจริงๆ แต่งตัวสุภาพมากๆราวกับศิริราช แต่ว่าพอหลังเลิกเรียนก็จะกลับเข้าสู่ form ปกติของเขาซึ่งจะซ่ายังไงก็ได้ ไม่มีใครว่า แบ่งเวลางานและเวลาเที่ยวอย่างชัดเจน



► ที่นี่ไม่มีการอยู่เวรของนิสิตแพทย์ จึงไม่มีหอพักให้ในโรงพยาบาล
► ตอนที่ไป หา host family ไม่ทัน เลยได้อยู่กับ contact person แทน ซึ่งก็อยู่ที่ mansion ของเขา อยู่ห่างจากโรงพยาบาลโดยจักรยานก็ประมาณ 5 นาที (ถ้าฝนตกก็ประมาณ 7 นาที)
► อันนี้วิวมองจากแมนชั่นชั้น 11 ของแมนชั่น
แม่น้ำตรงสุดถนนคือแม่น้ำ Kamo- gawa แม่น้ำสายหลักที่พาดผ่านเมืองเกียวโต



► ที่ญี่ปุ่น รถหยุดให้คนเดินถนน คนเดินถนนหยุดให้จักรยาน ดังนั้นตาม logic แล้ว จึงสรุปได้ว่า คนปั่นจักรยานใหญ่สุดบนถนน 55555 แถมปั่นบนฟุตบาทหรือว่าบนถนนก็ได้ ; )
► เขาจะจัดที่จอดจักรยานไว้เป็นสัดส่วน บางถนนจะไม่ให้เข้า ก็ต้องสังเกตดีๆ อย่างแถว downtown นี่จะค่อนข้าง strict จอดมั่วซั่ว อาจต้องซื้อจักรยานใหม่ไม่รู้ตัว



► ตอนเช้าๆ ก็ปั่นจักรยานไปโรงพยาบาล แล้วก็ไปจอดแถวนี้ .. กรุณาสังเกตความหนาแน่นของจักรยานจอดซ้อนคัน นอกจากนี้บางแห่งจะเห็นว่ามีที่จอดรถจักรยานแบบเป็นคานลอนขึ้นไปหลังจากจอดแล้ว ดังนั้นก็เหมือนที่จอดจักรยานสองชั้นน่ะเอง .. เห้นแล้วรู้สึกว่าคนญีปุ่นนี่เขาต้องเห็นคุณค่าของพื้นที่ใช้สอยมากจริงๆนะเนี่ย



► แล้วก็เดินเข้าอาคาร ไปห้อง locker room เป็นอันดับแรก ด้านล่างนี่เป็นโถงทางเดินในโรงพยาบาล จะมีเส้นสีๆที่พื้นเอาไว้บอกทางเดินไปยังห้องต่างๆ สะดวกดี ที่เมืองไทยบางที่ก็มีเหมือนกัน ในรูปนี้ ข้างหน้าเป็นส่วนทำบัตร รอคัดแยกอาการ



► จะไปไหนก็มาดูตามป้ายพวกนี้ มีติดอยู่ทั่วไป



► ไปทางหนีไฟทางนี้ครับ



► หลังเปลี่ยนเสื้อผ้าเรียบร้อยแล้ว ก็ไป morning conference ที่ภาควิชากัน




► เนื้อหาของการ round ตอนเช้านี่ก็จะเป็นการ update case ที่เพิ่งผ่าตัดไป และ case ใน ICU ที่ยัง active รวมถึง discuss คร่าวๆถึง case ที่จะทำผ่าตัดในวันนั้น ทั้งหมดกินเวลาราวครึ่งชั่วโมง
► เสร็จแล้วก็ไป round ICU กัน โดยจะแบ่งเป็น pediatric ICU และ adult ICU สนใจอันไหนก็ไปดูอันนั้น young staff จะไป round ICU ให้ และสอนทุกอย่างเท่าที่ภาษาอังกฤษจะสามารถแปลได้ (special thank to Shinkawa-sensei)
► ทางเข้า ICU เปลี่ยนเสื้อกาวน์ทิ้งไว้ข้างนอก ล้างมือ ถอดนาฬิกา แล้วจึงเข้าไปได้ มีชั้นวางของไว้วางกระเป๋า หนังสือ พวกนี้ด้วย ที่เมืองไทย เสื้อกาวน์ยาวของเราจะมีช่องตรงด้านข้าง เอาไว้สำหรับเป็นช่องที่ล้วงเขาไปในกระเป๋ากางเกงได้ ซึ่งจะเหมือนกับของนักเรียนอเมริกา แต่ว่าของญีป่นจะไม่มี เด็กนักเรียนญี่ปุ่นก็เลยงงกับเสื้อกาวน์ของเรามาก หลายคนมาก ถามว่า ไอ้ช่องนี้มันมีเอาไว้ทำอะไร ... ..



► เครื่องล้างมืออัตโนมัติตรงทางเข้า ICU แค่ยื่นมือเข้าไปก็จะมีน้ำออกมา จากก๊อกด้านซ้าย สักพักก็จะเปลี่ยนเป็นหยดสบู่ลงมาให้เรา แล้วอีกสักพักก็มีน้ำล้างมือออกมาอีกทางก๊อกเดิม ต่อจากนั้นก็จะเป็นลมเป่ามือให้แห้งจากหัวเป่าทางขวามือ
แถมเปลี่ยนจากระบบอัตโนมัติเป็นแบบ manual ก็ได้ด้วย สนุกดี





► หลัง round เสร็จก็จะมีเวลาว่างช่วงหนึ่งก่อนไปเข้าห้องผ่าตัด ซึ่งภาษา formal ขะเรียกว่า theatre room แต่เราก็เรียกกันง่ายๆว่า OR (โอ อาร์ วึ่งย่อมาจาก Operative room) ก็จะเป็นเวลาอาหารเช้า และเพราะว่ามันยังเช้าอยู่ ร้านอาหารยังไม่เปิด ก็จะได้อาหารมื้อเช้าแบบนี้ ซื้อจากสหกรณ์เอา อร่อยดีเหมือนกัน โดยเฉพาะ jelly ถุง เพิ่มพลังงานนี้ชอบมาก ขอแนะนำ



► กินแล้วก็ทิ้งให้ถุกที่ด้วย
► ถ้าเป็นถังขยะแบบไม่ advance มากก็จะเป็นแค่นี้ คือถังสำหรับกระป๋องและขวด PET ถังนึง ส่วนอีกอันก็ทิ้งอย่างอื่นที่เหลือทั้งหมด



► ถ้ายังมีเวลาเหลือก็เข้ามานั่งอ่านหนังสือในห้องนี้ได้



► ได้เวลาแล้วก็ไป OR กัน!
► ก็เปลี่ยนเสื้อผ้าและรองเท้ากันก่อน
► ของนักเรียนจะเป็นชุดสีขาว ของแพทย์จะเป็นสีฟ้า ส่วนของหมอดมยาจะมีหมวกลายดอกไม้ให้ด้วย น่ารักมาก ; )





Check ตารางว่าห้องไหน ทำอะไร แล้วก็เดินขึ้นไปอีกชั้นก็จะถึง OR
*** ถึงจะไม่รู้ภาษาญีปุ่น แต่การอ่าน katakana ได้นี่ มีประโยชน์มากๆนะคะ **



แต่ช้าก่อน! ก่อนขึ้นไปเราจะเห็นว่ามีห้องอยู่ห้องนึงที่มีทีวีเพียบ และมีที่นั่งเป็นโซฟาแสนสบาย สอบถามได้ความว่าเป็นห้องสำหรับคนที่อยากดู operation แต่ไม่อยากเข้าไปยืนเก้ๆกังๆใน OR ก็สามารถมานั่งดูที่นี่ได้ เพราะว่าทุกห้อง OR มีกล้องถ่ายอย่างน้อยสองตัว คือถ่ายมุมกว้างให้เห็นทั้งห้อง (แบบภาพด้านขวา) และถ่าย field ผ่าตัด ซึ่งจะเป็นกล้องที่ติดอยู่ที่ขานึงของแกนไฟผ่าตัด ซึ่งปรับได้



► แต่เราก็เดินผ่านไปเข้า OR กันดีกว่า
► อย่าลืม หมวก mask



► แล้วก็เดินผ่านเจ้านี่ turbulent flow กำจัดเชื้อโรคไปได้นิดหน่อยมั้ง (อันนี้บางวันก็เปิด บางวันก็ไม่เปิด..)



► ออกมาแล้วก็อย่าลืมปิดประตูด้วย
จะเห็นว่าเป็นประตูแบบคล้ายบานเฟี้ยมที่เปิดปิดโดยการใช้เท้าเตะที่เปิดปิดซึ่งจะอยู่ใกล้ๆพื้นข้างๆประตูน่ะแหละ เวลาทำ ถ้าเป็นผู้หญิงก็จะดูไม่ค่อยสุภาพเท่าไหร่ ..



จำได้ว่าสมัยไปเกาหลีเมื่อนานมาแล้ว ที่โน่นมีเมืองวิทยาศาสตร์ และเราก็ได้เขาไปดูตึกที่เขาทำเรื่อง หนูทดลอง ระบบ SPF mice (เป็นชื่อระบบการเพราะเลี้ยงหนูทดลองที่มีระดับความสะอาด หรือจะเรียกว่า immune ดี ? ในระดับหนึ่งที่เรียกว่า spf) ก็มีห้องทางเดิน turbulent flow แบบนี้เหมือนกัน และก็มีที่ล้างมือแบบที่เอามือยื่นเข้าไปก็จะมีสเปรย์ฉีดสารฆ่าเชื้อพ่นมาให้ที่มือเลย อันนั้นก็ดีเหมือนกัน

► ที่ย้ายเตียงหน้าตาเหมือนกิโยติน .. ปรับขึ้นลงไปให้ได้ระดับเดียวกับเตียงที่เข็นมาจากวอร์ดแล้วก็ปรับให้เข้ากับเตียง OR อีกที เห็นการทำงานแล้วน่าทึ่งดีว่าเขาช่างใส่ใจแม้แต่เรื่องพวกนี้ด้วย .. ส่วนที่เมืองไทย ใช้ sliding board เป็นกระดานพลาสติกใหญ่ๆ สำหรับคนไข้ slide ตัวไป



► มีนาฬิกาจับเวลาว่าเริ่มเปิดห้องมานานเท่าไรแล้ว



► ที่เมืองไทย อย่างที่จุฬาจะมีภาควิชาศัลยกรรมทรวงอก ก็คือทำทั้งหัวใจ หลอดเลือด และปอด เรียกย่อว่า CVT (CardioVascular Thoracic Surgery) แต่ว่าที่ KPUM แบ่งออกเป็นสองหน่วย คือ Cardiovascular หนึ่งหน่อย และ Thoracic surgery อีกหนึ่งหน่วย (ได้มีโอกาสไปเรียนกับภาควิชานี้อยู่หนึ่งวัน staff ใจดีและตลกมากๆ) โดยเฉลี่ยภาควิชา CVT ที่นี่จะมีเคสผ่าตัดประมาณวันละ 2-3 เคส โดยจะแบ่ง OR สองห้อง บางวันจะเป็นของเด็กห้องนึง ผู้ใหญ่ห้องนึง บางวันก็จะเป็นผู้ใหญ่ห้องนึง vascular อีกห้องนึง เป็นต้น
► แต่ละเคสจะมี surgeon หลักหนึ่งคน ถึงจะไม่ใช่เคสตัวเองโดยตรงแต่ส่วนใหญ่แล้ว อาจารย์ที่ทำงานในสายงานเดียวกันก็จะเข้าเกือบทุกเคสด้วยกัน แล้วก็มี resident เข้าอีก 1-2 คน ส่วนคนอื่นๆก็ observe อยู่ด้านนอก
ที่นี่ใช้ชุดและ ผ้าห่อ set แบบ one use เสมอ



ด้านหลังมี video จาก head camera ของ surgeon และ จอ monitor ที่เลื่อนไปมาได้ และจอใหญ่มากกก



► Adult cardiac surgery ส่วนใหญ่เกือบ 80 % เป็นเคส CABG (Coronary artery bypass graft) ซึ่งที่นี่เกือบ 100 % ทำเป็น OPCAB (Off-pump coronary artery bypass) ถ้าทำได้ (ไม่มี indication อื่นในการ open heart, status คนไข้ไหว)
► เกือบทุกเคสที่มีการเสียเลือดค่อนข้างมากจะมีการใช้เครื่อง Cell saver เพื่อเป็น autotransfusion ไปเลย หรือถ้าเป็นเด็ก ถ้ารอได้ก็จะรอให้น้ำหนักมากพอที่จะทำ autotransfusion ได้ โดยหลังดมยาสลบแล้วจะเก็บเลือดออกมาไว้ใช้สำหรับหลัง/ระหว่างผ่าตัด ถ้าเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยพอรู้เรื่องไม่งอแงก็อาจทำเป็นเก็บตั้งแต่กลางสัปดาห์ก่อนผ่าตัดขณะ awake ซึ่งวิธีนี้ก็จะเก็บได้เยอะกว่า และเก็บได้หลายครั้งก่อนจะถึงวันผ่าตัดจริงด้วย

► บอกแล้วว่าทุกห้องมีกล้อง และกล้องนี่ยังเชื่อมต่อไปถึง TV ใน ICU ให้คุณพยาบาลได้ดูกันด้วย !!



► นี่ไง ตัวปรับกล้องบนเพดาน ก็พวกเราที่ยืนดูนี่แหละเป็นคนปรับ และก็เป็นคนเปลี่ยนม้วน video เวลามันหมดม้วนด้วย เพราะเขาอัดเอาไว้แทบทุก operation เลย ... เพื่อการศึกษา..



► บางเคสก็จะมี head camera จากกล้องที่ติดกับ loupes (แว่นขยายที่ติดอยู่กับหัวของ surgeon ต้องวั่งตัด เป็นของเฉพาะบุคคล แลราคาแพงมากกกก) ของ surgeon ด้วย ก็จะมาที่ทีวีตัวนี้ ..



อันนี้ Goretex หรือ PTFE graft ที่พวกเรารู้จักกันดี
เตรียมหลายขนาดไว้สำหรับการผ่าตัด พอมานั่งคำนวณราคาแล้ว ตะกร้านี้ ซื้อรถดีๆได้คันนึงเลย.. (ราวๆแปดแสนบาท)



อุปกรณ์ต่างๆจะมีการ label ไว้ก่อนแล้วอย่างพร้อมสรรพตั้งแต่ก่อนเริ่มเคส บางอย่างก็เป็น prepackaging มาเรียบร้อยจากโรงงานเลย เช่น propofol นี่มาเป็นหลอดฉีดมาเลย มี label ปริมาณยามาเรียบร้อย แกะออกมาก็ sterile ใช้ได้เลย สะดวกมาก



► หมอดมยาก็วิ่งไปวิ่งมาวัด ACT (activated clotting time) ในเคสที่ใช้ heparin(สารกันการแข็งตัวของเลือดชนิดหนึ่ง) (เป็นอุปกรณ์ในห้องที่ดู low tech ที่สุดแล้ว!)



► เวลาอยู่ใน OR ก็จะมีคนที่ยืนอยู่รอบนอกคอยสอน อธิบายเป็นช่วงๆ และก็จะได้หนังสือเรียนนี่แหละ ช่วยได้มาก
► หนังสือทางการแพทย์ของญี่ปุ่นเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นภาษาญี่ปุ่น แม้แต่ Harrison’s ที่เราอ่านกันก็มีฉบับภาษาญี่ปุ่น ศัพท์ทางการแพทย์ก็ต่างจากเมืองไทยที่แทบไม่มีทับศัพท์เลย แม้แต่ชื่อเส้นเลือดอย่าง subclavian artery ก็ยังมีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น .. ก็ลำบากหน่อย





► ส่วนหนังสือหลักๆที่เห็นทุกคนมีไว้ประจำกายมีชื่อว่า year note เล่มที่เห็น ซึ่งก็จะมี update ทุกปี ออกประมาณเดือนเมษายน ราคาเล่มละ 20000 เยน หนาประมาณสองนิ้ว เนื้อหาจะครอบคลุมของอายุรกรรมและศัลยกรรมทั้งหมด โดยจะสรุปเฉพาะ point ที่สำคัญต่างๆ เท่าที่ดูก็ละเอียดมากขนาดมีอธิบาย segment ของ coronary arteries ละกัน
► นักเรียนญี่ปุ่นไม่ค่อยใช้ PDA กัน แปลกดีเหมือนกัน
► ที่นี่ ไม่มีการมาคุยโทรศัพท์ใน OR กัน ไม่มีการเปิดเพลง ไม่มีการพูดคุยเสียงดังโดยไม่จำเป็น ไม่มีการคุยเรื่องอื่นนอกจากเรื่องคนไข้ ...
► หลังจากจบ operation แล้ว surgeon อาจจะออกมาอธิบายว่าทำอะไรไปบ้าง เพราะอะไร ให้นักเรียนอย่างเราๆฟังกัน
► วันพุธเช้าจะเป็นวันที่ไม่มี OR แต่จะมี OPD แทน ซึ่งในภาพนี้ก็คือโต๊ะที่ OPD น่ะเอง และก็เจ้า model สำหรับอธิบายคนไข้





► ระบบการส่งต่อของที่นี่คือ หลังผ่าตัดเมื่อคนไข้ดูสบายดีหลังจากการผ่าตัดแล้ว คนที่ดูคนไข้ต่อคือ cardiologist ซึ่งที่นี่มีประมาณ 12 คน
เพื่อจะได้ไม่ load งาน surgeon ทับถมไปเรื่อยๆ ดังนั้นไนแต่ละวันที่ออก OPD จะมีคนไข้มา F/U ประมาณ 6-7 คนเท่านั้นเอง และก็ทำให้สามารถใช้เวลากับคนไข้แต่ละคนได้มาก ..อย่างมีคุณภาพ ทั้งสำหรับคนไข้และสำหรับศัลยแพทย์ด้วย
► คงเคยได้ยินคำว่า nomunication กันมาบ้าง
มาจากคำว่า nomu = ดื่ม และcommunication แปลรวมได้ว่าการดื่มสังสรรค์ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานในระบบญี่ปุ่นเลยทีเดียว โดยเฉพาะในชาว salary man ทั้งหลาย .. และยังรวมไปถึงในหมู่แพทย์ด้วย .. หน่วย CVT ที่นี่จะมีการไปดื่มสังสรรค์กันสัปดาห์ละสองครั้ง หลังจากผ่าตัดเสร็จในตอนเย็น






นอกเหนือจากเรื่องงาน เกียวโตเป็นเมืองที่เหมาะมากในการท่องเที่ยว และการ...กิน
► มีทั้งร้านของกินจริงจัง ขนมญี่ปุ่น ฝรั่ง ร้านอาหารชั้นสูง.. มีทุกอย่างให้เลือกสรรจริงๆ



► หรือจะเลือกทำเองก็มี supermarket ราคาถูกหลายแห่ง ที่เด็กที่นี่นิยมกันคือ Fresco และ Jusco จะราคาถูกกว่าที่อื่น คุณแม่บ้านทั้งหลายก็ปั่นจักรยานกระเตงลูกมาซื้อของกันที่นี่..
► อีกอย่าง ถ้ามาญี่ปุ่นแล้วไม่ค่อยรู้เรื่องอาหารการกินนี่จะไม่สนุกนะ ความซับซ้อนของอาหารที่นี่ คือความสนุกในการเลือกกินอย่างหนึ่งเลย



เอาหละ นี่ก็เป็นสรุปคร่าวๆของการไปดูงานที่ญีป่น

แล้ววันก่อนกลับ ก็มีเลี้ยงส่งที่ร้านอาหารแบบเกียวโตแท้ๆอีกด้วย... doumo arigatougozaimasu .. โค้งงามๆอีกทีค่ะ ขอบคุณค่ะ



Create Date : 30 กันยายน 2549
Last Update : 9 ตุลาคม 2549 1:38:47 น.
Counter : 9314 Pageviews.

4 comments
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
ทนายอ้วนจัดดอกไม้ - จัดดอกไม้ง่ายๆ – แจกันสวัสดีปีใหม่ 2567 - กุหลาบพวงสีชมพู - ขาว ทนายอ้วน
(2 ม.ค. 2567 15:16:32 น.)
No. 1259 สาระเกือบมี (ตอนทำงานที่ใหม่ ถูกลองดี) ไวน์กับสายน้ำ
(1 ม.ค. 2567 05:58:05 น.)
  
I like this blog a lot!! a ka'..
may I add u into my friend's list?
โดย: MakeUpGuru83 IP: 68.100.199.85 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2549 เวลา:21:29:51 น.
  
เชิญเลยค่า (โทษทีค่ะ เพิ่งมาเห็นเอาวันที่ 27 เข้าไปแล้ว) ..

เห็นคุณ MakeUpGuru 83 บ่อยๆในห้องโภชนาการ. แต่งหน้าเก่งมากๆ ((นับถือๆ))

ชอบเครื่องสำอางเหมือนกันค่ะ แล้วก็งานเราก็ยังอยู่สายเดียวกันด้วย
ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
โดย: blueschizont วันที่: 27 พฤศจิกายน 2549 เวลา:22:36:44 น.
  
I have been absent for some time, but now I remember why I used to love this website. Thanks , I will try and check back more often. How frequently you update your website?
Louis Vuitton Outlet handbags //www.txvision.com/
โดย: Louis Vuitton Outlet handbags IP: 94.23.252.21 วันที่: 4 สิงหาคม 2557 เวลา:3:00:03 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
อ่านเพลินมาก
โดย: naitabtim IP: 171.97.28.61 วันที่: 16 มีนาคม 2558 เวลา:2:05:16 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Jantojin.BlogGang.com

blueschizont
Location :
ประจวบคีรีขันธ์  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

บทความทั้งหมด