4. กฎระเบียบทางอุตสาหกรรม (Industry Regulation)
4.1. กฎระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย
กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
I. ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยการจัดทำรายงานผลวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษ พ.ศ. 2528
II. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสียมลพิษ หรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ. 2545
III. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องคุณสมบัติของบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน การฝึกอบรม และการสอบมาตรฐาน
IV. ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชน พ.ศ. 2550 กำหนดโรงงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต้องจัดทำรายงาน ผลวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษ โดยผู้จัดทำรายงานและวิเคราะห์ ปริมาณสารมลพิษ ซึ่งจะต้องเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบซึ่งห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมดังกล่าวต้องรีบดำเนินการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม
กฎหมายด้านความปลอดภัย
I. กฎกระทรวงกำหนดมาตรการความปลอดภัย เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550 การจัดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงาน การใช้ระบบไฟฟ้า การติดตั้งระบบไฟฟ้า และการปรับปรุงแก้ไขระบบไฟฟ้าจะต้องเป็นไปตามแบบแปลนที่วิศวกรกำหนด
II. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการ ดำเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาพการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลา และประเภทกิจการที่จะต้องดำเนินการ พ.ศ. 2550 กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงาน เกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการ ในสภาวะที่เป็นจริงของสภาพการทำงานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
III. ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องกำหนดพื้นที่ให้มีการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2550
IV. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 3569 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่องกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์
5. เทคโนโลยีที่ใช้ในอุตสาหกรรม (Industry Technology)
5.1. วัตถุดิบจากไม้ปลูกของเกษตรกร ไม่ใช้ไม้ธรรมชาติ
สามารถพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรแบบยั่งยืน โดยมีวัตถุดิบจากไม้ปลูกของเกษตรกรเพียงพอต่อการผลิตของโรงงานไม่ต้องใช้ไม้จากป่าธรรมชาติ
5.2. ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้น ไม่รบกวนแหล่งน้ำชุมชน
บริษัทใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำ ที่มีการขุดขึ้นเองเพื่อรองรับน้ำหลากในฤดูฝน เพื่อไว้สำหรับเป็นน้ำใช้ของโรงงาน โดยไม่รบกวนแหล่งน้ำใช้ของชาวบ้าน อ่างเก็บน้ำหรือ "ทะเลสาบมรกต" แห่งนี้ มีปริมาณมากเพียงพอรองรับความต้องการใช้ของโรงงานและกลุ่มโรงงานในสวนอุตสาหกรรม
5.3. ระบบบำบัดน้ำมาตรฐานสแกนดิเนเวีย
บริษัทบำบัดน้ำที่ใช้แล้วด้วยระบบบำบัดน้ำแบบชีวภาพ ใช้แบคทีเรียในการย่อยสลาย ตามมาตรฐานสแกนดิเนเวีย กระบวนการบำบัดจะแบ่งเป็นขั้นตอน ดังนี้
การบำบัดน้ำขั้นต้น น้ำที่ใช้แล้วจะไหลผ่านตะแกรงกรอง เพื่อแยกเศษสิ่งสกปรก เช่น เศษไม้ ออกก่อน หลังจากนั้นจึงไหลสู่บ่อผสม เพื่อปรับสภาพความเป็นด่างให้เหมาะกับการทำงานของแบคทีเรีย ทำให้ง่ายต่อการตกตะกอนเยื่อและอนุภาคอื่น ๆ มีการปรับอุณหภูมิและเติมสารอาหาร เช่น ยูเรีย ฟอสเฟส เพื่อให้แบคทีเรียย่อยสลายน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบำบัดด้วยระบบเติมอากาศ น้ำจากขั้นตอนแรกจะถูกส่งเข้าบ่อเติมอากาศ โดยจะมีเครื่องเติมอากาศแบบใต้น้ำ ทำให้มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างต่อเนื่อง จนสามารถทำการย่อยสลายน้ำเสียจนค่าความสกปรกในน้ำหมดไป จากนั้นก็ส่งผ่านน้ำไปยังถังตะกอนเพื่อแยกตะกอนออกจากน้ำ และได้น้ำสะอาดที่มีค่าบีโอดีและค่าซีโอดีตามมาตรฐานที่กรมโรงงานกำหนด
น้ำที่บำบัดแล้วจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ ไม่เหลือทิ้ง น้ำที่บำบัดแล้วจนได้มาตรฐานบริษัทจะไม่ทิ้งลงแหล่งน้ำสาธารณะแต่จะนำน้ำ ไปใช้ประโยชน์ในการรด แปลงไม้ของบริษัทรอบโรงงาน ด้วยวิธีการฉีดฝอย (มินิ-สปริงเกอร์) กำหนดอัตราการให้น้ำตามปริมาณการ ใช้น้ำของต้นไม้พอดีและสนามหญ้ารอบโรงงาน เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุดและมีโครงการที่จะจำหน่าย ต่อให้กับโรงงานในเขตอุตสาหกรรมบริเวณใกล้เคียงเพื่อใช้ในการรดน้ำสนามหญ้า เป็นการลดการใช้น้ำประปาซึ่งมีราคาสูงกว่า
5.4. การใช้น้ำโดยใช้ระบบการปอกเปลือกไม้แบบแห้ง
ในขั้นตอนการผลิตชิ้นไม้สับ บริษัทเลือกใช้กระบวนการปอกเปลือกไม้แบบแห้ง หรือ dry process ซึ่งเป็นระบบที่ไม่ต้องแช่ไม้ในน้ำก่อนที่จะปอกเปลือก จึงช่วยลดปริมาณน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการ
5.5. ใช้เทคโนโลยีในการฟอกเยื่อที่ใช้น้ำน้อยที่สุด
บริษัทเลือกใช้เทคโนโลยีในการฟอกเยื่อที่ใช้น้ำน้อยที่สุดเพียง 6-7 ลูกบาศก์เมตรต่อตันเยื่อเท่านั้น ในขณะที่โรงงงานทั่วไปใช้น้ำสูงถึง 60 ลูกบาศก์เมตรต่อตันเยื่อ
5.6. ระบบฟอกเยื่อแบบ ECF
ระบบฟอกเยื่อแบบ ECF หรือ Elementary Chlorine Free เป็นระบบฟอกเยื่อที่ไม่ใช้ก๊าซคลอรีน ทำให้ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
5.7. ทำของเสียไม่ให้เสียของ เป็นเชื้อเพลิงผลิต
เปลือกไม้และชิ้นไม้สับที่ไม่ได้ขนาดจากการผลิตชิ้นไม้สับ น้ำมันยางดำ และกากตะกอนจากการบำบัดน้ำ เป็นของเหลือจากกระบวนการผลิตที่มีประโยชน์ โดยบริษัทจะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำ เพื่อใช้ในกระบวนการเผลิตของโรงงานทั้งหมด และเหลือจำหน่ายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยภายใต้โครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย (SPP)
5.8. มีระบบหมุนเวียนสารเคมีกลับมาใช้ใหม่
ขั้นตอนการนำน้ำจากการต้มเยื่อไปผลิตไฟฟ้า จะมีกระบวนการที่หมุนเวียนน้ำยาต้มเยื่อกลับมาใช้ใหม่ด้วย โดยขั้นตอนการเผาเป็นเชื้อเพลิง จะทำให้เกิดสารหลอมเหลวซึ่งจะถูกดึงไปทำปฏิกิริยากับน้ำปูนขาว ทำให้เกิดน้ำยาต้มเยื่อกลับไปใช้ในการผลิตเยื่อได้ใหม่ การทำปฏิกิริยาจะเกิดกากปูนและหินปูน ซึ่งก็จะถูกนำไปเผาในเตาเผาหินปูน ทำให้มีปูนขาวหมุนเวียนใช้ในกระบวนการนำสารเคมีกลับคืนเช่นกัน
5.9. คุณภาพทางอากาศ
กลิ่นที่เกิดจากการต้มเยื่อ จะถูกกำจัดด้วยการนำไปเผาที่เตาหินปูน และโรงไฟฟ้า (Recovery Boiler) นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์เตาเผาสำรองคือ Torch Burner ส่วนโรงเยื่อ กระดาษที่ 2 ก็มีการเพิ่มระบบการเผาที่เรียกว่า ระบบ Quench ซึ่งใช้กลิ่นเป็นเชื้อเพลิง โดยการทำกลิ่นบางส่วนให้กลายเป็นเมทธานอล (Methanal) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นเชื้อเพลิงจุดติดไฟคล้ายแอลกอฮอล์ และนำมาใช้ในการติดไฟเผากลิ่นทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีระบบ Flare เป็นระบบสำรองซึ่งจะทำงานแทนกันทันทีเมื่อระบบ Quench มีปัญหา ฝุ่นจะถูกกำจัดด้วยเครื่องดักฝุ่นไฟฟ้าสถิตย์ Electro Static Precipitator (ESP) ด้วยประสิทธิภาพในการดักฝุ่นได้สูงถึง 99% และมีหน่วยซ่อมบำรุงดูแลให้เครื่องจักรทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
5.10. คุณภาพด้านเสียง
เสียงจากการทำงานของเครื่องจักรในโรงชิ้นไม้สับวัดได้ 60 เดซิเบล ซึ่งเบากว่าค่ามาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ทำให้ไม่เกิดผลกระทบต่อพนักงาน และชุมชนรอบโรงงาน
6. โครงสร้างอุตสาหกรรม (Industry Structure)
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องมากจากภาคเกษตรกรรม เพราะใช้วัตถุดิบคือ เยื่อไม้ และผลิตเยื่อกระดาษป้อนให้อุตสาหกรรมกระดาษ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถทดแทนการนำเข้าได้อย่างมาก อัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมนี้ เป็นตัวบ่งชี้ความเจริญก้าวหน้าทางสังคม ซึ่งหากจะเปรียบเทียบนั้นการปลูกต้นยูคาเพื่อป้อนให้กับโรงงานนั้นเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ และโรงงานที่แปลงยูคาเป็นกระดาษ หรือเยื่อกระดาษก็เป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำ ซึ่งอุตสาหกรรมปลายน้ำก็คืออุตสาหกรรมที่นำเอาเยื่อกระดาษไปเป็นวัตถุดิบในการผลิต แต่เนื่องจากดับเบิ้ลเองเองก็ได้ทำอุตสาหกรรมทั้งสามด้านอยู่ด้วยจึงถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจการทุกด้านอย่างครบวงจร
7. การตัดสินใจของผู้ถือหุ้น (Stake Holder Position)
บริษัทกำลังจัดทำระบบการทำงาน เพื่อเตรียมการในการเข้าขอรับการรับรองมาตรฐาน ISO 14000 ซึ่งคาดว่าในปลายปีนี้จะได้รับการรับรอง โดยทางบริษัทจะต้องมีการลงทุนเพิ่มอีกประมาณ 30% ซึ่งบริษัทมีปรัชญาว่า การดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคน ดังนั้น จึงถือว่าการให้ความสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับสังคม และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นนโยบายที่สำคัญนของบริษัท
Strategy Maps -บริษัทแอ็ดวานซ์ อะโก จำกัด(มหาชน)
วิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ
เมื่อทำการวิเคราะห์จากแนวโน้มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก็ดำเนินการหา Tend โดยในที่นี้จะขอสรุปแยกออกเป็นหมวดๆ ที่สนใจที่จะดำเนินการในการวางแผนกลยุทธ โดยมีรายละเอียดต่างๆ ตังนี้คือ
ด้านสังคม-วัฒนธรรม
ที่ควบคุมไม่ได้
1. ความต้องการเยื่อกระดาษเพิ่มขึ้น แต่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีไม่เพียงพอ
ยุทธศาสตร์ที่ใช้
- การเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเยื่อกระดาษ
- ส่งเสริมเสริมเกษตรกรให้หันมาปลูกไม้โตเร็วเพิ่มขึ้น
- ขยายโรงงานการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น
2. ความสนใจในกระแสโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้
ยุทธศาสตร์ที่ใช้
- ดำเนินโครงการส่งเสริมและให้ความรู้ในผลิตภัณฑ์
- ส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อลดภาวะโลกร้อน
ด้านเทคโนโลยี
ที่ควบคุมไม่ได้
1.ปริมาณการขนส่งเพิ่มมากขึ้น
ยุทธศาสตรที่ใช้
- ลดต้นทุนด้านการจัดส่งสินค้าโดยการจัดหา resource เข้ามาดำเนินการ
2.พัฒนาคุณภาพระบบการจัดส่งสินค้าและวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตรที่ใช้
- จัดหาระบบตรวจสอบ-ควบคุมการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้า และการรับวัตถุดิบจากกลุ่มเกษตรกรในโครงการ
ด้านการตลาด
ส่งเสริมด้านการตลาดเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศให้เติบโตขึ้นอีก 25% และสร้างแบรนค์ในต่างประเทศ
1. สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ
- จัดหาดีลเลอร์
- จัดทำโครงการศูนย์ถ่ายเอกสาร
- จัดตั้งศูนย์ Copy Point
- จัดตั้งศูนย์ Stationnary
- ดีลเลอร์กระดาษรีมใหญ่
2. สร้างแบรนด์ในตลาดต่างประเทศ
3. รนณรงค์ให้เกษตรกรหันมาปลูกต้นยูคาเพิ่มขึ้น
4. ส่งเสริมให้คนไทยหันมารักสิ่งแวดล้อม
5. ส่งเสริมให้คนรักการอ่านเพิ่มขึ้น
6. ทำสปอร์ดโฆษณาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
1. ศูนย์ให้บริการข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต และทางโทรศัพท์ แก่ลูกค้า และประชาชน
2. ให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท
3. เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมโรงงาน และแปลงปลูกต้นไม้ยูคาภายในบริษัท
4. ให้การส่งเสริมและสนับสนุนแก่สถาบันการศึกษาต่างๆ
จัดทำการส่งเสริมการขายด้วยการออกงานแสดงสินค้าต่างๆ
1. ออกงานแสดงสินค้าต่างๆ ที่จัดขึ้น เพื่อเป็นการสร้างกระแสการตื่นตัวให้แก่ประชาชน
2. จัดบริการในการส่งสินค้าให้กับลูกค้า
ด้านผลิตภัณฑ์
สร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อตอบ สนองกับความต้องการทุกด้าน
1. วิจัยและส่งเสริมให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาสู่ตลาด
2. ศึกษาและค้นคว้าผลิตภัณฑ์ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผู้บริโภค
เทคโนโลยีที่ใช้ในอุตสาหกรรม
พัฒนาระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ
1. ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเอง และหาแนวทางในการปรับปรุง
2. ศึกษาแนวทางในการลดต้นทุนในการผลิตที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยังเหมือนเดิม
3. ปรับปรุงคุณภาพในการผลิตให้ดียิ่งขึ้น
4. ควบคุมระบบการผลิตทุกขั้นตอน
การผลิตจะต้องไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ใกล้เคียง
1. ระบบการผลิตจะต้องไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2. ดำเนินการตามกฎระเบียบข้อบังคับที่กฎหมายบังคับอย่างจริงจัง และรัดกุม
มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพในการผลิตที่ดี และไม่กระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่ ISO 14000
I. พัฒนาระบบการบริหารการผลิตที่ดี และเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานที่ให้ใบรับรอง ISO 14000
ขยายความเพิ่มเติมในการนำเอากลยุทธ
1. กลยุทธด้านการเพิ่มวัตถุดิบในการผลิต
บริษัทดั๊บเบิ้ล เอ ได้มีการส่งเสริมให้เกษรตรกรไทยมีรายได้เสริมนอกเหนือจากการปลูกข้าว โดยการแนะนำให้ปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ตามหัวไร่คันนา และยังเป็นการใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งยังมีการการันตรีรายได้ที่มั่นคงด้วยราคาประกัน เพื่อคลายความกังวลเรื่องความผันผวนเรื่องราคา กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประกันราคากับบริษัทดั๊บเบิ้ล เอ
2. กลยุทธด้านเพิ่มผลผลิต
ในกลยุทธด้านนี้จะเป็นการจัดตั้งโรงงานแห่งที่สองขึ้นเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น รวมถึงการกระจายโรงงานขนาดย่อมกระจายไปสู่แหล่งวัตถุดิบของเกษตรกรโดยตรง โดยผู้จัดทำรายงานได้มีโอกาสได้ประสบพบเห็นด้วยตาตัวเองว่า หากกลุ่มเกษตรกรที่ได้เข้าร่วมโครงการโดยแบ่งออกเป็นภูมิภาค โดยทางดับเบิ้ลเอนั้น จะดำเนินการจัดตั้งโรงงานขนาดเล็กตามภาคต่างๆ ซึ่งขณะนี้แหล่งวัตถุดิบหลักๆ จะอยู่ทางภาคอีสาน กับภาคกลาง โดยจะทำการตัดท่อนไม้เป็นท่อนๆ ให้ได้ขนาดตามมาตรฐาน หลังจากนั้นก็จะดินการนำเอาไม้เหล่านั้นไปป้อนสู่โรงงานผลิตที่ครบวงจร
3. กลยุทธด้านการตลาด และการจัดหาพันธมิตร
สมัคร Double A Dealer
ดั๊บเบิ้ล เอ ดีลเลอร์ คือ ตัวแทนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษ และครุภัณฑ์ ซึ่งผลิตโดยบริษัทฯ ในเครือแอ็ดวานซ์อะโกร จำกัด (มหาชน) ในเขตจังหวัดที่ได้แต่งตั้ง โดยหนึ่งจังหวัดจะมีเพียงหนึ่งรายเท่านั้น
เงื่อนไขการเข้าร่วมเป็นผู้แทนจัดจำหน่ายกระดาษ
ตัวแทนจัดจำหน่ายจะได้รับการแต่งตั้งแต่เพียงผู้เดียวจากทางบริษัทฯ ในเขตจังหวัดที่ตนรับผิดชอบ
ตัวแทนจัดจำหน่ายจะต้องจำหน่ายกระดาษ 70 แกรม และ 80 แกรม ซึ่งผลิตหรือจัดหาโดยบริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไฮเทค เปเปอร์ จำกัดเท่านั้น โดยราคาที่ได้จะเป็นราคาที่เท่ากับโครงสร้างราคาของ Agent
ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ และครุภัณฑ์ อื่น ๆ ที่บริษัทฯ นำออกจำหน่าย ผู้แทนจำหน่ายต้องทำการสนับสนุนผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ด้วย
ต้องมีการกำหนดปริมาณสั่งซื้อขั้นต่ำต่อเดือน (โดยเพิ่มการพิจารณาร่วมกันระหว่างตัวแทนจำหน่าย และบริษัทฯ) โดยในการสั่งซื้อแต่ละเดือนจะต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา หากไม่สามารถสั่งซื้อได้ในปริมาณดังกล่าว บริษัทฯ มีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาได้
บริษัทฯจะทำการขนส่งสินค้าไปยังโกดังของผู้แทนจัดจำหน่ายที่จังหวัดนั้น ๆ โดยบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งเอง
เงื่อนไขการชำระเงิน ต้องชำระเป็นเงินสด โดยโอนเข้าบัญชีของบริษัทก่อนและสินค้าจะถึงโกดังที่จังหวัดนั้น ๆ ภายใน 3 วันทำการ
การทำสัญญามีอายุสัญญา 1 ปี โดยสัญญาจะมีผลบังคับใช้ต่อไปอีก 1 ปี หากไม่มีการบอกเลิกสัญญาเป็นหนังสือจากคู่สัญญา
ตัวแทนจัดจำหน่ายต้องสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาดทุกอย่างที่บริษัทฯ จัดขึ้น
ตัวแทนจัดจำหน่ายต้องรักษามาตรฐานการบริการตามที่บริษัทฯ เป็นผู้กำหนด
ตัวแทนจัดจำหน่ายยินยอมให้บริษัทหรือตัวแทนของบริษัทฯ เข้าตรวจตราสถานที่เพื่อควบคุมการปฏิบัติตามสัญญาได้
สมัคร Double A Copy Center
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดั๊บเบิ้ล เอ ก๊อปปี้ เซ็นเตอร์
มีใจรักงานบริการ
เข้าใจรูปแบบดำเนินธุรกิจสมัยใหม่
สถานที่ตั้งร้านอยู่ใกล้แหล่งชุมชน ย่านธุรกิจ สถาบันการศึกษา
มีวิสัยทัศน์สมัยใหม่ บริหารธุรกิจได้
มีเงินลงทุน สนใจอยากดำเนินธุรกิจศูนย์ถ่ายเอกสาร
เงื่อนไขในการเป็นสมาชิก ดั๊บเบิ้ล เอ ก๊อปปี้ เซ็นเตอร์
ใช้กระดาษ 80 แกรม ขนาด A4 ของ ดั๊บเบิ้ล เอ ในการถ่ายเอกสารให้บริการลูกค้า โดยคิดค่าบริการถ่ายเอกสารขนาด A4 ในราคา 50 สตางค์ต่อหน้า ตั้งแต่หน้าแรกเป็นต้นไป ส่วนขนาดอื่น (A3, F14, B5, B4) คิดค่าบริการในราคาไม่สูงเกินกว่าที่บริษัทฯ กำหนดไว้
สัญญาเข้าร่วมโครงการ 1 ปี โดยชำระค่าการตลาด 20,000 บาท
สินค้ากระดาษภายในร้านต้องเป็นสินค้าจาก บริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน) เท่านั้น
ใช้กระดาษ ดั๊บเบิ้ล เอ ในการถ่ายเอกสารเท่านั้น
ให้บริการอื่น ๆ ตามมาตรฐานบริการที่บริษัทฯ กำหนดไว้
ซื้อกระดาษกับทางบริษัทฯ เท่านั้น
ขั้นตอนในการเป็นสมาชิก ดั๊บเบิ้ล เอ ก๊อปปี้ เซ็นเตอร์
ให้ข้อมูลรายละเอียดเบื้องต้น
สมัครและเซ็นสัญญาเข้าร่วมโครงการ
ชำระเงินลงทุน
บริษัททำการตกแต่งหน้าร้าน
นำกระดาษ ดั๊บเบิ้ล เอ เข้าร้าน
เปิดศูนย์ ดั๊บเบิ้ล เอ ก๊อปปี้ เซ็นเตอร์ (ให้เครดิตในการชำระค่ากระดาษ 30 วัน)
สมัคร Double A Copy Point
เงื่อนไขและวิธีการสมัคร
ผู้สนใจสมัครร่วมโครงการ Double A Copy Point จะต้องเป็นนิติบุคคล หรือสมัครในรูปแบบบริษัทเท่านั้น
ผู้สมัครต้องเลือก Package อย่างน้อยหนึ่ง package ที่มีกำหนดไว้ให้ในโครงการ
จัดเตรียมเงินค่าประกันสัญญา (Bank Guarantee) จำนวน 20,000 บาท รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ฮอทไลน์ เซอร์วิส: 1759
5. กลยุทธด้านการบริหารเครือข่ายและการมีส่วนร่วม
จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำเอาระบบสื่อสารด้านต่างๆ มาใช้ในองค์กร ซึ่งบริษัท ได้นำเอาระอินเตอร์เน็ตเขามาใช้ในการให้บริการด้านต่างๆ เพื่อเป็นการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้า และพันธมิตรต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการประกอบการค้าที่สะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อมูลข่าวสารทางเว็ปไซค์ของดัลเบิ้ลเอเอง
รวมถึงเทคโนโลยีด้านระบบสื่อสารที่ใช้กับระบบ Logistic เองก็ตาม ซึ่งตอนนี้ดับเบิ้ลเอเองได้ใช้ระบบติดตามด้วยดาวเทียม หรือที่เรียกว่า GPS ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมการเดินรถ การควบคุมความบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด และจะได้เตรียมรับมือทันท่วงที ซึ่งจะทำให้ระบบการขนส่งมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย
6. กลยุทธด้านการพัฒนาเกษตรกร และสิ่งแวดล้อม
นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ร่วมเดินทางไปกับกิจกรรม "ท่องปราจีนชมแหล่งกำเนิดกระดาษจากไม้ปลูก" กล่าวว่า ถือเป็นสิ่งที่ดีที่ได้มาดูขั้นตอนการผลิตกระดาษ ทำให้รู้ถึงคุณค่าของกระดาษมากขึ้น เพราะจากที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าขั้นตอนการผลิตกระดาษจะต้องทำอย่างไร และใช้วัตถุดิบอะไรบ้าง รวมทั้งไม่รู้ว่ากระดาษสามารถผลิตได้จากไม้ปลูกของเกษตรกรไม่ใช่มาจากไม้จากป่าธรรมชาติ ซึ่งการมาในครั้งนี้ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากเพราะนอกจากจะได้ไอเดียในการผลิตสื่อที่จะส่งเข้าประกวดแล้ว ยังทำให้ได้รับรู้ว่าตัวเราเองสามารถร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ ด้วยการใช้กระดาษอย่างประหยัดและใช้กระดาษจากไม้ปลูกของเกษตรกร
บทสรุปของผู้จัดทำ
หลักจากที่ผู้จัดทำได้ศึกษาถึงความเป็นมาของบริษัท แอ็ดวานด์ อะโก หรือดับเบิ้ลเอนั้นก็พบว่า มีมีอยู่แนวคิดหนึ่งที่คุณ กิตติ ดำเนินชวญนิชย์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท พูดอยู่เสมอก็คือ วางแผนและเตรียมการอย่ารอบคอบสู่อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษแห่งอนาคต ซึ่งอันที่จริงนั้นก็มาจากความผิดพลาดในอดีตที่ทำให้คุณกิตติ ต้องหนีออกจากประเทศ จึงส่งผลให้การดำเนินงานด้านต่างๆ เป็นไปด้วยความระมัดระวัง และรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เดิม
สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าในช่วง 3-4 ปีหลังมานี้ ดับเบิ้ลเอ ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเนื่องด้วยการใช้กลยุทธ์เชิงรุกด้านการตลาด ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังคงใช้กลยุทธ์เดิมอยู่ แต่ก็มีเสริมเพิ่มขึ้นมาบ้างพอสมควร แต่ก็เป็นเชิงรุกและสนับสนุน แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นจะแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ ในอดีตคือ เมื่อก่อนอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษเองนั้นมีการเติบโตอยู่ตลอดเวลา ตามสภาพเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น อีกทั้งอุตสาหกรรมด้านนี้ใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูงจึงมีคู่แข่งน้อยราย รวมถึงการแข่งขันในตลาดเยื่อกระดาษนั้น ในอดีตส่วนใหญ่แข่งขันกันด้วยราคาเป็นหลัก ไม่มีการส่งเสริมด้านแบรนด์ของสินค้าเท่าที่ควร แต่ดับเบิ้ลเอกลับฉีกแนวออกมาโดยการสร้างแบรนด์ของสินค้าออกมาสู่ตลาด อีกทั้งยังมีการสร้างฐานการผลิตที่ครบวงจรมาตั้งแต่ต้นจึงทำให้มีข้อได้เปรียบในด้านต้นทุนในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวัตถุดิบในการผลิต ถึงแม้ว่าจะประสบปัญหาบ้างแต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ ก็ยังคงส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชโตเร็วอยู่ดี อาจจะมีปัญหาบ้างในเรื่องของการที่กระเกษตรกรจะหันไปปลูกมันสัมปะรัง อ้อม มากว่าเนื่องจากกระแสน้ำมันแก็สโซฮอล แต่การปลูกยูคาก็ให้ผลประโยชน์ที่ดีด้วยเช่นกัน อาจจะปลูกควบคู่กันไป และส่งเสริมการรักสิ่งแวดล้อมเพิ่มเข้าไป เพื่อปลุกกระแสโลกร้อนให้คนหันมาปลูกป่าที่ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
ดังนั้นปัญหาที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่ดับเบิ้ลเอจะต้องแก้ไขนั้นก็คือเรื่องของวัตถุดิบที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิตนั้นจะต้องมีเพียงพอ ส่วนการตลาดนั้นก็ต้องเปิดตัวในเชิงรุกในตลาดประเทศ สร้างพันธมิตรทางการค้าให้มากขึ้น เพื่อจะได้กระจายสินค้าออกสู่ตลาดให้มากที่สุด ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ส่วนในตลาดต่างประเทศนั้น การจะแข่งขันกับตลาดโลกได้นั้นจะต้องเน้นในเรื่องของการสร้างแบรนด์ให้ติดตลาด และเป็นที่รู้จักในตลาดโลก
ผู้จัดทำ
นายชาญยุทธ สุรประภาพิชย์
วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550