ทนายอ้วนชวนเที่ยว ... เวลาเดินช้าที่ .. น่าน - วัดหัวข่วง สถานที่ท่องเที่ยว : วัดหัวข่วง อ.เมือง จ.น่าน, น่าน Thailand พิกัด GPS : 18° 46' 38.03" N 100° 46' 16.48" E สถานที่ท่องเที่ยวแห่งถัดไปที่จะพาไปเที่ยวกันเป็นวัดซึ่งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ครับ วัดหัวข่วง วัดหัวข่วง ตั้งอยู่บนถนนมหาพรหม ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน เป็นวัดที่มีความสำคัญในเขตหัวแหวนเมืองน่าน ตั้งอยู่ใกล้หอคำ หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ที่ได้ชื่อว่าวัดหัวข่วงคงเป็นเพราะตั้งอยู่ตอนต้นของสนามใหญ่ (ข่วง = สนามใหญ่) ที่กินเนื้อที่ตั้งแต่วัดหัวข่วง หอคำ หรือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน วัดพระธาตุช้างค้ำจนถึงลานหน้าวัดภูมินทร์ (เดิมหอคำจะมีกำแพงยาวอยู่ถัดเข้าไปจากบริเวณรั้วพิพิธภัณฑสถานในปัจจุบัน เลยทำให้มีพื้นที่ระหว่างกำแพงคุ้มกับวัดพระธาตช้างค้ำ) ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() มีเพียงหลักฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2060 โดยเจ้าผู้ครองนครน่านแต่ไม่ปรากฏว่าเป็นพระองค์ใด ได้รับการบูรณะในราว พ.ศ. 2454 โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าเมืองน่าน (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4) และต่อมาราวปี พ.ศ.2470 ในสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองน่านองค์สุดท้าย ซึ่งต่อมาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2533 กรมศิลปากรได้ส่งเจ้าหน้าที่มาบูรณะเจดีย์วัดหัวข่วงและได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 97 ตอนที่ 123 ลงวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2523 ก่อนที่จะเดินไปชมบริเวณวัดเราเข้าไปกราบพระประธานในพระอุโบสถก่อนนะครับ มีเรื่องราวที่หน้าสนใจทีเดียวจะเล่าให้ฟังครับ พระอุโบสถก่ออิฐถือปูน รูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนา มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันของพระวิหารเป็นเครื่องไม้ประดับลวดลายไม้จำหลักรูปพรรณพฤกษา เคยเห็นภาพบางภาพรูปจำหลักไม่ได้ทาสีทองนะครับ ที่บัวยอดเสาคู่หน้าประดับกระจกสีน้ำเงิน ![]() ![]() ![]() เคยเห็นรูปในเวบต่างๆบางรูปที่หน้าต่างมีการตกแต่งด้วยปูนปั้น แต่ตอนที่ไปไม่มีการตกแต่งปูนปั้นรอบกรอบหน้าต่างแล้วนะครับ เลยสงสัยว่าของเดิมมีหรือไม่มีลวดลายปูนปั้นรอบกรอบหน้าต่างกันแน่ !!!!! ![]() ![]() ![]() ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถมี 3 ประตู ประตูกลางทำเป็นทรงปราสาทแต่ยอดปรางค์ (น่าจะเป็นของใหม่สมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เพราะศิลปะล้านนาไม่มีการสร้างพระปรางค์ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ผู้ครองนครน่านก่อนเจ้ามหาพรหมสุรธาดา ได้บูรณะเจดีย์วัดสวนตาลจากเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นเจดีย์ยอดปรางค์ เจ้ามหาพรหมสุรธาดาคงนำเอายอดปรางค์มาใส่ไว้ที่ยอดซุ้มประตูกลางเมื่อคราวบูรณะวัดหัวข่วง - ความคิดเห็นของเจ้าของบล็อกเอง) ส่วนซุ้มประตูข้างทั้งสองเป็นยอดปราสาท ซุ้มประตูทั้งหมดตกแต่งด้วยปูนปั้นลายพรรณพฤกษา แต่ถ้าสังเกตดูดีๆจะเห็นว่ามี “ลายใบผักกาด” ลายนี้ถือว่าเป็นศิลปะแบบตะวันตก เพราะฉะนั้นเราคาดเดาได้ว่าน่าจะทำขึ้นเมื่อมีการบูรณะวัดหัวข่วง แต่ไม่ทราบแน่ว่าในสมัยใดเพราะในการบูรณะครั้งแรกในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชก็ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4-5 แล้ว ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาในภาคเหนือแล้วก็อาจจะเป็นสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชก็ได้ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เสาภายในพระอุโบสถไม่ได้ประดับตกแต่งด้วยปูนปั้นอย่างที่วัดเก่าในเมืองน่านนิยมกันครับ แต่ลงรักทั้งเสาแล้วทาสีแดง ตอนล่างของเสาทาสีดำ แล้วตกแต่งด้วยลายคำ (ลายทอง) ![]() เพดานพระอุโบสถประดับด้วยไม้แกะสลักสีทอง .... คล้ายๆการประดับตกแต่งเพดานสถานที่สำคัญของพม่าแถบเมืองมัณฑะเลย์เลยครับ ![]() ที่ขื่อภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปไม้แกะตั้งเรียงราย อันนี้เป็นความเชื่อของชาวน่านทีได้รับอิทธิพลมาจากหลวงพระบางครับ ![]() ![]() ![]() พระประธานประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีใหญ่ประดับลวดลายปูนปั้นสวยงาม ละเอียดยิบเลยครับ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลักษณะพุทธศิลป์แบบท้องถิ่นล้านนา สกุลช่างเมืองน่าน ฝีมือประณีตงดงาม ลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับพระเจ้าทองทิพย์ พระประธานในพระอุโบสถวัดสวนตาล จังหวัดน่าน เฉพาะพระพักตร์แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลผสมระหว่างศิลปะพระพุทธรูปปางมารวิชัย และพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ส่วนชายจีวรที่ยาวมาจรดบั้นพระองค์แลดูสั้นกว่าปกติ ถ้าสังเกตดีๆจะเห็นว่าพระประธานไม่ได้ตั้งอยู่กึ่งกลางของฐานชุกชีนะครับ เรื่องนี้มีที่มาครับ .... ตอนหาข้อมูลมาทำบล็อกได้ไปเจอเพจของคุณ คนดีมีวินัย ได้เล่าถึงเหตุที่พระประธานในพระวิหารวัดหัวข่วงตั้งอยู่เยื้องไปทางซ้ายนิดๆ จากคำบอกเล่าของเจ้าอาวาสวัดหัวข่วงครับ “สมัยก่อนชาวบ้าน ๒ คุ้ม ในละแวก วัดหัวข่วง มีเรื่องทะเลาะวิวาทกันกับ ชาวบ้านคุ้ม วัดภูมินทร์ ไม่สามารถจะปรองดองกันได้ ตีกันบาดเจ็บบ่อยครั้ง แก้อย่างไรเรื่องบาดหมางใจก็ไม่หายสักที จนในที่สุด ผู้ใหญ่ของทั้ง ๒ คุ้ม ได้เห็นว่าคงเป็นเพราะ พระประธานทั้ง ๒ วัดหันหน้าประชันกันนี่เอง ดังนั้นเพื่อความสงบสุข วัดหัวข่วงจึงยอมขยับพระประธานมาทางซ้าย เพื่อความสันติจะได้เกิดขึ้นชาวจะได้เข้าใจกัน และตั้งแต่นั้นมา ชาวบ้านทั้ง ๒ คุ้มก็อยู่กันสงบสุขเรื่อยมาจนบัดนี้ และเป็นเวลา ๕๙๘ ปีมาแล้ว” ![]() ![]() ![]() ด้านหลังข้างพระประธานมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปพระพุทธเจ้านั่งใต้ต้นโพธิ์ สกุลช่างเมืองน่าน ![]() ![]() ![]() ธรรมาสน์ศิลปะล้านนา สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2448 อุทิศแด่ เจ้าราชบุตร (เจ้าอนุรศรังสี) ![]() สัตตภัณฑ์ ![]() ข้างๆพระอุโบสถมีหอไตรเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุข ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นเครื่องไม้ ใต้ถุนก่อทึบ หน้าบันและฝาชั้นบน ประดับลายแกะสลักสวยงาม ใช้เป็นสถานที่เก็บ พระไตรปิฏก และคำภีร์โบราณ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ลองสังเกตดูดีๆจะพบว่า ลายแกะสลักที่บานหน้าต่างชั้นบนเป็นรูป “ต้นองุ่น” ครับ เป็นอิทธิพลจากชาติตะวันตกครับ ![]() เจดีย์ตั้งอยู่ด้านหลังของพระอุโบสถ ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงประสาท หรือเรือนทอง อิทธิพล ศิลปะล้านนา ฐานล่างทำเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยม รับฐานบัวลูกแก้ว 2 ชั้น มีชั้นหน้ากระดานคั่นกลาง ฐานบัวลูกแก้วชั้นบนย่อเก็จรับกับเรือนธาตไปจรดชั้นบัวถลาใต้องค์ระฆัง ส่วนเรือนธาตุมีซุ้มจรนัมด้านละซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริด ที่ข้างผนังทั้งสองข้างปั้นเป็นรูปแทวดาทรงเครื่องยืนพนมมือ เหนือชั้นอัสดงตอนสุดเรือนธาตุเป็นชั้นบัวถลาซ้อนกัน 3 ชั้น องค์ระฆังมีขนาดเล็กไม่มีบัลลังก์ ลักษณะของรูปทรงโดยส่วนรวมคล้ายกับเจดีย์วัดโลกโมลี อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นระหว่างรัชกาลพระเมืองเกษเกล้า ราว พ.ศ. 2071 แต่สวนฐานล่างและชั้นบัวถลาของเจดีย์นี้ยึดสูงขึ้นทำให้มีลักษณะเรียวสูงกว่าแสดงถึงพัฒนาการรูปแบบที่ช่างเมืองน่านดัดแปลงนำมาใช้ ซึ่งคงมีอายุไม่เก่าไปกว่าครึ่งแรกของพุทธศตวรรณที่ 22 ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ที่น่านวัดสวยงดงามเยอะแถมใกล้ชุมชน พ่ออุ้ยแม่อุ้ยสะดวกไปวัดทำบุญฟังธรรมดีค่ะ
![]() โดย: โอน่าจอมซ่าส์
![]() บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต กะว่าก๋า Literature Blog ดู Blog หอมกร Movie Blog ดู Blog tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog วลีลักษณา Literature Blog ดู Blog newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog ฟ้าใสวันใหม่ Home & Garden Blog ดู Blog kae+aoe Parenting Blog ดู Blog ทนายอ้วน Travel Blog ดู Blog พี่อุ้มตามมาเที่ยวก้วยคนจ้า โดย: อุ้มสี
![]() ![]() ไม่เคยไปภาคเหนือ ศิลปะแบบน่านจึงดูแปลกตา
ชอบพระพุทธรูปไม้ค่ะ สะดุดตาเพราะดูคล้ายกับพระไม้ทางอีสาน หอไตรแบบจตุรมุขดูไม่คุ้น คงเพราะชินกับหอไตรกลางน้ำของอุบลน่ะค่ะ ความคิดเรื่องการขยับพระเพื่อความสงบสุขของหมู่บ้านก็แปลกดี ถึงจะไม่ได้นั่งตรงกลางตามปกติ แต่ย้ายแล้วชาวบ้านเป็นสุขพระท่านก็คงพลอยยินดีแหละเนอะ ขอบคุณเรื่องราวดีๆ และภาพงามๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ โดย: เพรางาย
![]() น่าจะมีโหวต อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยนะคะ น้องบอลชนะเลิศค่ะ
หอไตร สมัยก่อนอยู่กลางน้ำ แต่ที่นี่ไม่ต้องเหรอคะ โดย: Sai Eeuu
![]() ![]() ตามมาเที่ยววัดหัวข่วงด้วยค่า
วัดที่ จ.น่าน สวย ๆ เยอะมาก วัดมีวัดเยอะไม่แพ้เชียงใหม่เลย โดย: JinnyTent
![]() ![]() สวัสดีมีสุขค่ะ
ตามมาเที่ยวน่าน เมืองสวยเนิบๆ ชอบค่ะ วัดนี้เคยไปแล้วแต่ ไม่มีภาพสวยๆแบบนี้เลยค่ะ วันนี้หมดตัว พรุ่งนี้มาใหม่ค่ะ โดย: ตะลีกีปัส
![]() ![]() น่านไปแล้วก็อยากไปอีก เสน่ห์น่านไง
มาไหว้พระ และ ชมโบราณสถานในวัดด้วยครับ ![]() โดย: สองแผ่นดิน
![]() ![]() ขอบคุณสำหรับกำลังใจด้วยค่ะ
น่านยังเป็นจังหวัดในดวงใจเสมอค่ะ แต่ถ้าไปอีกที ขอไม่ไปช่วงเทศกาล ไปเจอ นทท.มหาศาล แล้วเข็ดจริง ๆ ค่ะ โดย: JinnyTent
![]() ![]() merry christmas and happy new year 2020
![]() ![]() โดย: สมาชิกหมายเลข 5647490
![]() ดูภาพพร้อมคำบรรยายประวัติที่มา ทำให้ได้อรรถรสเพิ่มขึ้นนะคะ
![]() ![]() ![]() โดย: ฟ้าใสวันใหม่
![]() ![]() ภาพสวย ดูภาพวัดแล้วสีสดใส คงดูแลรักษาสภาพได้ดีเลยครับ
โดย: ไวน์กับสายน้ำ
![]() ![]() ตามมาเที่ยวน่านต่อค่า ชอบเพลงประกอบจัง เพราะค่ะ
![]() โดย: บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน
![]() ![]() เจ้าสัวเจริญ ได้ไปบูรณะวัดหัวข่วงเร็วๆนี้ครับ และได้งบจากทางกรมศิลปากรครับ
โดย: ทนายอ้วน
![]() ![]() |
บทความทั้งหมด
|