เทคโนโลยีการผลิตพืชในประเทศไต้หวัน ตอนที่ 1 In-Charm Orchid Laboratory เทคโนโลยีการผลิตพืชในประเทศไต้หวัน ตอนที่ 1 In-Charm Orchid Laboratory เป็นการทัศนศึกษาสวนเอกชน ชื่อ In-Charm Orchid Laboratory ตั้งอยู่ในเมือง Taichung อยู่ฝั่งตะวันตกเยื้องไปด้านบนของประเทศไต้หวัน เจ้านี้ผลิตรองเท้านารีส่งขายทั่วโลก ใครสนใจเพิ่มเติมก็เข้าไปชมในเวปนี้ได้เลยครับ //www.incharmorchids.com/ โรงเรือนเป็นโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิในระบบ evaporation ทั้งหมด ![]() เป็นสภาพโรงเรือนที่มีขนาดใหญ่ หากสังเกตให้ดี จะมีพัดลมติดอยู่ด้านข้างของโรงเรือนเพื่อทำให้มีอากาศถ่ายเทได้ดีอีกด้วย ![]() เค้าจะจัดโต๊ะเป็นสัดส่วน ต้นขนาดเล็กจะเลี้ยงในโรงเดียวกัน แล้วขยับขนาดเป็นอีกโรง สำหรับโรงเรือนสำหรับการผสมเกสร เค้าจะใช้อีกโรงเรือน ที่อุณหภูมิในโรงเรือนจะต่ำกว่าโรงปลูกเล็กน้อย ![]() ตอนเข้าไปดูไม่เห็นมีคนงานรดน้ำ แต่เห็นเจ้านี้ น่าจะเป็นระบบสปิงเกอร์นะครับ ![]() และที่สังเกต นอกจากมีพัดลมใหญ่อยู่ด้านข้างแล้ว ยังมีเจ้านี้อยู่ด้วย น่าจะเป็นพัดลมตัวเล็ก แต่ไม่ทราบว่าจะมีวัตถุประสงค์อย่างไร ![]() ดูอุณหภูมิในโรงเรือนนะครับ ช่วยดูนะครับว่า Max กับ Min มันอ่านค่าได้เท่าไร ![]() มาดูเครื่องปลูกกันครับ ผมเดานะครับ เนื่องจากการเข้าชม ไม่มีไกด์นำ ให้ดูตามอำเภอใจ มีคำถามไม่รู้จะถามใคร เนื่องจากไปกับคณะใหญ่จากงาน Taiwan International Orchid Show 2008 ใครเดาได้ว่ามันเป็นอะไรบ้าง ก็น่าจะดีนะครับ ![]() รู้แต่มีอัตราส่วนหลายอย่าง แล้วสุดท้ายที่ใช้ก็มีสภาพแบบนี้ละครับ ![]() คนงานมีน้อยมาก เห็นคุณป้าสองคนเอง และมีอีกไม่เกิน 10 คน ในโรงเรือนที่ใหญ่โตมากๆ ![]() ผลผลิตและการตั้งชื่อลูกผสม สังเกตง่ายๆ ว่าจะมี 'In-Charm' ต่อท้าย หรือมี In-Charm ประกอบไปด้วย เช่น Paph. Macabre 'In-Charm', Paph. In-Charm Mystique 'Daya' BM/TPS (Stone-Lovely x Quens Bay), Paph. delenatii fma. alba 'In-Charm' เป็นต้น หากดู Price List ของสวนนี้ จะมีทั้งแบบต้นและ flask ส่งขายไปทั่วโลก โดยผลผลิตส่วนใหญ่มีทั้งแบบลูกผสมและพันธุ์แท้ที่ได้รับการพัฒนาหรือปรับปรุงสายพันธุ์แล้ว ในส่วนของพันธุ์แท้ สังเกตว่ามีพันธุ์แท้ของไทยไม่มากก็น้อย เช่น Paph. concolor 'In-Charm', Paph. niveum 'Chao Chou', Paph. vilosum ' Naeshan' Bm/TPS, Paph. sukhakulii 'San Luis' BM/CSA, Paph. ang-thong 'In-Charm', Paph. ang-thong fma. alba 'Hsiao', Paph. bellatulum 'Hsiao', Paph. godefroyae 'In-Charm Dark' เป็นต้น มาดู product ในสวนนี้กันครับ ผมไม่รู้ชื่อนะครับ ดูกันเพลินๆ product 1 ![]() product 2 ![]() product 3 ![]() product 4 ![]() product 5 ![]() product 6 ![]() product 7 ![]() product 8 ![]() product 9 ![]() product 10 ![]() product 11 ![]() product 12 ![]() product 13 ![]() product 14 ![]() product 15 ![]() ไม่มีกล้วยไม้ชนิดอื่นใดในโรงเรือนที่ผลิตรองเท้านารีของที่นี้ แต่ก็อดไม่ได้เห็น Cymbidium ลูกผสมสีเหลือง.....สวยผมชอบ แต่ไม่รู้ประวัติครับ ![]() แล้วพบการปลูก Phalaenopsis lowii ซึ่งน่าจะนำเข้าจากประเทศไทยหรือเขตแนวชายแดนไทย-พม่า แน่นอน จะเห็นได้ว่าพวกไลเคนและมอสขึ้นบนเครื่องปลูกอย่างหนาแน่น แสดงว่าโรงเรือนรองเท้านารีของที่นี้ มีอุณหภูมิที่ต่ำและมีความชื้นสัมพัทธ์สูงทีเดียว ![]() มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การไปเยือนไต้หวันและต้องการเอากล้วยไม้ที่ผลิตจากที่นี้กลับเมืองไทย ดังนี้ 1. กล้วยไม้ทั้งหมดที่จะนำออกราชอาณาจักรของไต้หวันจะต้องดำเนินกระทำเอกสารในการขอใบที่แสดงว่ากล้วยไม้ชนิดนั้นปลอดจากโรค (Phytocertificate ducument) รวมถึง flask ก็ต้องทำเอกสารชนิดนี้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้ หากกระทำที่งาน Taiwan International Orchid Show 2008 หรือที่สนามบิน ไม่ต้องเสียเงิน 2. แต่ประเทศไต้หวันมีกฏหมายเกี่ยวกับ CITE ไม่ว่ากล้วยไม้ชนิดนั้นจะเป็นกล้วยไม้ปลูกเลี้ยง หรือเป็นพันธุ์แท้ จะต้องทำเอกสาร CITE ทั้งหมด (ยกเว้น flask ไม่ต้องทำ CITE ทำแต่ Phytocertificate ducument) 2.1 โดยหากเป็นรองเท้านารี จะเสียค่าทำเอกสาร CITE ฉบับละ 400 NT = 400 x 1.14 บาท 2.2 หากเป็นกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ จะต้องทำแยกประเภทชนิดออกไป ชนิดละ 100 NT = 100 x 1.14 บาท เป็นอันจบสำหรับตอนนี้ครับ ข้อมูลน่าสนใจมากรอตอนต่อไปอยู่นะครับ พอดีแก้เลี่ยนข่าวคนแก่เลี้ยงแกะ เหมือนผีเจาะปาก
โดย: สมพงษ์ IP: 222.123.218.214 วันที่: 31 มีนาคม 2551 เวลา:5:13:41 น.
ส่งฝักไปละนะคับ..เมื่อเช้า
เก็บนานมานแอบยิ้มไปฝักนึงอ่า..ลองฟอกดูเน้อไม่น่ายาก..อิอิอิ โดย: เสือเจ้าถิ่น
![]() เรื่องการเพาะฝักกล้วยไม้ที่แตกแล้ว ผมใช้วิธีนี้ครับ
1. ฝอกด้วย ไฮโดนเจน เพอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide Solution) ที่เค้าใช้เช็ดบาดแผลนั่นละครับ ใช้ 50 % นาน ครึ่งชั่วโมง 2. แล้วทำการพ่นเมล็ดในอาหารเพาะเลี้ยงตามปกติ หากฝักเป็นฝักที่สมบูรณ์ เพียงแต่เราเก็บไม่ทัน เมล็ดจะงอกได้ 50 % 3. ทั้งนี้ ยังขึ้นกับว่าฝักแตก ฝักเปิดมานานหรือยังด้วยครับ หากฝักเปิด 1 วันแล้ว อัตราส่วนการงอกจะเท่ากับข้อ 2 แต่ถ้าฝักเปิดนานแล้ว อันตราส่วนการงอกจะลดลงเรื่อยๆ ครับ ลองไปทำดูครับ โดย: appendiculata191
![]() ฟอกครึ่งชั่งโมง ก็แสดงว่าต้องเอาไปล้างน้ำก่อนพ่นในอาหารหรือคะ หรือแช่ในไฮโดรเจน ครึ่งชั่วโมงแล้วพ่นลงในอาหารพร้อมไฮโดรเจนเลยคะ
โดย: boat IP: 117.47.194.8 วันที่: 10 เมษายน 2551 เวลา:20:30:25 น.
พ่นต่อได้เลยครับ เทคนิคของผมคือน้ำที่ใช้ฟอกเป็น MS + ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (50 % ตั้งแต่ตอนแรกเลยครับ)
โดย: appendiculata191
![]() เข้ามาติดตาม แล้ว ดีมากๆเลยค่ะ
![]() โดย: ภัสสรา IP: 203.158.118.15 วันที่: 17 เมษายน 2551 เวลา:13:17:05 น.
อ่านทุกตอนเลยครับ หากมีคำถาม หรือมีเสริมข้อมูลได้เลยครับ ไม่ต้องเกรจใจนะครับ
โดย: appendiculata191
![]() ที่ไต้หวัน เขาดูดีมีมาตรฐานดีนะครับ จริง ๆ เมืองไทยก็มีหลาย ๆ สวนที่ดูเหมือนดูดีมีมาตรฐานผสมกันภูมิปัญญาลูกทุ่งบ้านเราเข้าไปบ้าง มันก็เลยออกมายังออกแนวจับฉ่าย ๆ ๆ ยังไงไม่รู้ครับ
โดย: บ้านค่าย IP: 202.57.155.137 วันที่: 22 เมษายน 2551 เวลา:13:22:51 น.
ภาครัฐของไต้หวันมีส่วนส่งเสริมการลงทุนด้วยครับ เค้าถือว่าประเทศเค้ามีพื้นที่น้อย ทรัพยากรธรรมชาติก็มีน้อย หากจะทำเรื่องใดให้เก่งแล้วประเทศอื่นๆ หันมามองหรือเอาเป็นเยี่ยงอย่าง.... ถือได้ว่าผลกำไรตกที่ประเทศของตน
โดย: appendiculata191
![]() จบเทคโนโลยีการผลิตพืชแล้วมีงานทำไหม
โดย: เก๋ IP: 192.168.212.194, 61.19.73.45 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:12:30:44 น.
|
บทความทั้งหมด
|