เทคโนโลยีการผลิตพืชในประเทศไต้หวัน ตอนที่ 7 National Chiayi University เทคโนโลยีการผลิตพืชในประเทศไต้หวัน ตอนที่ 7 National Chiayi University เป็นการเยี่ยมชมการวิจัยในส่วนของภาครัฐ โดยมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีหลายคณะ ลองเข้าไปดูกันครับ //www.ncyu.edu.tw และมีนักเรียนแลกเปลี่ยนจากเมืองไทยมากที่สุดที่นี้(ประมาณ 60 % ของนักเรียนไทยทั้งหมด) แต่ที่คณะเข้าไปเยี่ยมชม จะไปที่นี้ครับ College of Agriculture, Horticultural Technology Center ....น่าสนใจทีเดียว ที่คณะนี้จะมี current mission ไปที่ R & D for orchid industry เริ่มตั้งแต่ปี 2000 และเน้นระบุไปที่ R & D of Phalaenopsis เสียด้วย ดูหัวข้อที่ทีมของเค้าตั้งเป้าสำหรับงานวิจัย R & D ดังนี้ 1. Breeding 2. Cultivation 3. Micropapagation 4. Virus detection 5. Gene transformation 6. Administration ให้ภาพที่นักวิจัยที่นี้เริ่มจาก germplasm collection ที่อยู่ใน conservation greenhouse และ forcing greenhouse เพื่อใช้ในโปรแกรม tranditional breeding of Phalaenopsis ![]() ![]() ชมโรงเรือนภายนอกนะครับ ![]() ![]() ในภาพเป็นส่วนของการรวบรวมสายพันธุ์แท้ของ Phalaenopsis แต่ที่คณะฯ ไปชมทุกที่ไม่ว่าจากเอกชนหรือภาครัฐพบว่า เจ้าหน้าที่ไม่เคยให้ไปดูส่วนของ Doritis germplasm (ไม่เข้าใจเหมือนกัน) ![]() ![]() ภาพซ้ายเป็น Phalaenopsis amabilis var. formosana ภาพขวาเป็น Phalaenopsis equestris var. rosea (แต่ต้นนี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นลูกผสมน่ะครับ...ไม่แน่ใจ ![]() ![]() ![]() ลูกผสมใหม่ๆ ของที่นี้เกิดจากการใช้ germplasm ของพันธุ์แท้ (ภาพซ้าย) ส่วนภาพขวามีหลากชนิดของลูกผสม ขึ้นอยู่ที่เป้าหมายของลูกผสมใหม่ที่นักวิจัยต้องการจะเป็นทางใด แต่ที่แน่ๆ ลูกผสมใหม่ 1 สายพันธุ์ ใช้เวลาผลิตและตรวจสอบเป็นระยะเวลาประมาณ 5-6 ปี ต่อหนึ่งสายพันธุ์ ![]() ![]() ในส่วนของ virus detection laboratory จะมีด้วยกัน 3 วิธี เพื่อใช้ยืนยันผลซึ่งกันและกันด้งนี้ 1. Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (ELISA) 2. RT-PCR 3. Real-Time PCR ![]() ![]() ในส่วนของ molecular breeding ที่นี้จะเน้นไปที่ 1. Flower color modification (ยีนสี) 2. Fragrance manipulation (ยีนหอม) 3. Flower control 4. Disease and pest resistance แอบถามว่าเค้าทำสำเร็จหรือยังในเรื่องลูกผสมที่ดัดแปรยีนสี....ยังไม่สำเร็จครับท่าน (แอบเก็บเป็นความลับอีก) ![]() ![]() มาดูลูกผสมใหม่ๆ ของที่นี้อีกสักรอบครับ ![]() ![]() ภาพซ้ายลูกผสมต้นนี้หอมมากๆๆ ภาพขวาก็หอมสีม่วง ![]() ![]() ภาพซ้าย Dtps. Tzu Chiang Lilac # 1 (ไม้บูล) ภาพขวาสามปาก (ผมจะพูดถึงอีกครั้งในตอน 8 นะครับ) ![]() ![]() น่าไปเรียนมากครับ เนื่องจากรัฐบาลไต้หวันสนับสนุนนักศึกษาต่างชาติเข้าไปเรียนที่ไต้หวัน อันหมายถึงมหาวิทยาลัยได้เงินสนับสนุนงานวิจัยที่เพิ่มขึ้นด้วย ให้ข้อมูลเพิ่มเติม มหาวิทยาลัยที่นี้ ทันสมัยมากครับ เครื่องมือพร้อม สภาพแวดล้อมดีมาก เป็นเมืองมหาวิทยาลัย นักศึกษาที่นี้ขยันมากๆๆ ผมเชื่อว่านักศึกษาไทยสู้เค้าได้อยู่แล้ว.....สู้สู้ ![]() ![]() ![]() เป็นอันจบตอน 7 แล้วครับ ![]() ![]() ![]() ชอบฟาแลนภาพสุดท้าย ด้านซ้ายครับ
โดย: giant_muangsiri IP: 118.173.117.201 วันที่: 8 เมษายน 2551 เวลา:15:24:33 น.
โปรเจกฟาแลนสีบูลที่นี้ก็กำลังทำอยู่เช่นเดียวกันในหลายๆ ทีครับผม เมืองไทยก็น่ามีหน่วยงานของรัฐหลายแห่งให้ความสนใจเช่นเดียวกันครับ
โดย: appendiculata191
![]() ไปชมทุกที่ไม่ว่าจากเอกชนหรือภาครัฐพบว่า เจ้าหน้าที่ไม่เคยให้ไปดูส่วนของ Doritis germplasm
เรียนถามหน่อยครับ ส่วนที่ว่านี้ ทำหน้าที่อะไรรึครับ และสำคัญยังไง ขอบคุณครับ โดย: เด็กอยากรู้ IP: 222.123.177.72 วันที่: 9 เมษายน 2551 เวลา:10:27:09 น.
ลูกผสมใหม่ๆ มีการนำเอา Doritis ผสมเข้ากับ Phalaenopsis ได้ Doritaenopsis ที่ได้ลูกผสมแบบช่อตั้งและมีแขนง
แหล่งพันธุกรรมของ Doritis ที่พบในแถบเอเซีย โดยเฉพาะเมืองไทยพบถึง 4 ชนิด แน่นอนไต้หวันนำของไทยไปสร้างลูกผสมใหม่ของฟาแลนนอพซิสแน่นอน ผมจึงพยายามขอเยี่ยมชมส่วนที่ได้รวบรวม Doritis spp. ไว้ครับ โดย: appendiculata191
![]() สุด ๆ ๆ ไปเลยครับ
โดย: บ้านค่าย IP: 202.57.155.137 วันที่: 22 เมษายน 2551 เวลา:12:35:21 น.
พอดีผมจะได้ไปเรียนใน ปี 51 ที่เจี่ยอี้ พอดีครับ สาขาสัตวศาสตร์ อย่างสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนไว้เป็นประโยชน์หน่อยอ่ะครับ
โดย: mju person IP: 202.69.139.194 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:8:53:35 น.
แนะนะให้ดูลิงค์ข้างบนหรือไม่ก็ติดต่อที่แม่โจ้ได้เลยครับ คงมีรายละเอียดได้มากกว่าผม แต่ที่คณะเข้าไปเยี่ยมชมเป็นทางพืชครับ แต่คิดว่าทางสัตว์เค้าก็เยี่ยมมากครับ บรรยากาศของมหาวิทยาลัยน่าสนใจทีเดียว....สู้ๆๆ ครับ
โดย: appendiculata191
![]() กล้วยไม้กลียบดอกสีม่วงได้เห็นปี 07เป็นดอกที่เหลือจากปี 06ซึ่งในเกาหลี จะนำเข้าใหม่ตลอด ที่ผมเห็นนะมีเหลือประมาณ100กว่าต้นกล้วยไม้จำพวกนี้ดอกหนาครับอายุการเบ่งบานอยู่ที่อากาศด้วยครับ การให้น้ำ ปุ๋ย มีผลต่อายุของดอก ที่ผมเห็นดอกสีม่วงครานั้น 3 ชนิดครับ ใบใหญ่หนารูปใบก็ไม่เหมือนกันครับดูง่าย ของจริงสวยแปลกเหมาะแก่การสะสม
โดย: the_bbb555 IP: 222.98.62.212 วันที่: 20 ธันวาคม 2551 เวลา:11:21:13 น.
ขอบคุณนะคับคุณ the_bbb555 IP: 222.98.62.212 ที่แวะเข้ามาเพิ่มเติมข้อมูลครับ
ตกลงอยู่ที่เกาหลีใช่หรือไม่ครับ จะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลครับ โดย: appendiculata191
![]() |
บทความทั้งหมด
|