DNA fingerprint
จากข้อมูลเบื้องต้น สามารถแยกแถบดีเอ็นเอของกล้วยไม้ฟาแลนนอพซิสสายพันธุ์แท้ออกจากกัน และมีความสัมพันธุ์ใกล้ชิดตามการจัดทาง phenotype (taxonomy) และสามารถดูในระดับ subgenus ได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ใน Phal. equestris สามารถระบุได้ว่าเป็น rosea, aurea หรือ blue lip และที่น่าสนใจใน Phal. tetraspis สามารถระบุได้ว่าต้นนี้เป็น Phal. tetraspis หรือว่าเป็น Phal. tetraspic CI (speciosa) และยังมีลักษณะที่สามารถเชื่อมโยงระหว่าง genotype และ phenotype ได้อีกมาก แต่ยังต้องพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่ใช้ตรวจสอบอย่างแม่นยำมากกว่าที่ใช้อยู่ต่อไปครับ.........................สนุกมากครับแต่ได้นอนน้อยมาก



Create Date : 18 มีนาคม 2550
Last Update : 18 มีนาคม 2550 12:01:48 น.
Counter : 1262 Pageviews.

25 comments
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - ชัมบาลา : กะว่าก๋า
(11 ม.ค. 2568 05:42:07 น.)
BookWalker Taiwan ประกาศอันดับ BL e-Book ขายดี ประจำปี 2024 iamZEON
(12 ม.ค. 2568 18:59:46 น.)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (6) ผู้ชายในสายลมหนาว
(10 ม.ค. 2568 14:17:46 น.)
เก็บตกการเดินออกกำลัง... tanjira
(9 ม.ค. 2568 14:11:34 น.)
  
ทำ thesis เกี่ยงกับ phalaen เหรอค่ะ..น่าสนใจน่ะค่ะ

มีพี่ที่รู้จักก็ทำแต่เป็นการถ่ายยีนเข้าสู่ phalaen

โดย: aseptic วันที่: 18 มีนาคม 2550 เวลา:12:44:47 น.
  
การถ่ายยีนเข้าสู่กล้วยไม้มีรายงานทำใน Dendrobium และ Phalaenopsis บ้างครับ ยีนที่นิยมลองถ่ายน่าจะเป็น GUS gene ในช่วงแรกๆ เมื่อสัก 10-15 ปีที่แล้วเพื่อดูการ transformation ต่อมาเริ่มเป็นยีนตัวอื่นเช่น CP ยีน เพื่อให้ต้านไวรัส ( Cybidium mosaic virus) ต่อมาเมื่อสัก 8-12 ปี เริ่มมีความพยายามเปลี่ยนสีของดอกกล้วยไม้ เช่น ยีนที่เกี่ยวข้องกับกลไกการเกิดสีในกลีบกล้วยไม้ การนำยีนเข้าสู่กล้วยไม้ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินไป แต่กลไกการทำให้สีเปลี่ยน....ยากมากครับเพราะ pathway ถึงแม้นว่าจะรู้หมดแล้ว แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในกล้วยไม้สักรายงาน ในปัจจุบันเริ่มใช้ ยีนที่เกี่ยวข้องกับการเหี่ยวของกล้วยไม้ ซึ่งน่าจะง่ายกว่าการเปลี่ยนสีดอก โดยใช้เทคนิค siRNA เข้ามาเกี่ยวข้องครับ
โดย: appendiculata191 (appendiculata191 ) วันที่: 18 มีนาคม 2550 เวลา:12:57:16 น.
  
ทำงานวิจัยเกี่ยวกับ DNA fingerprint เหรอคะ ทำ genetic diversity ด้วยป่าว
โดย: fattyacid (deeny ) วันที่: 18 มีนาคม 2550 เวลา:23:20:26 น.
  
ขอ add ได้ป่ะคะ
โดย: fattyacid (deeny ) วันที่: 18 มีนาคม 2550 เวลา:23:22:07 น.
  
เบื้องต้นคือการหา diversity ของ Phalaenopsis สายพันธุ์แท้ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลชนิด AFLP ครับ แต่เป้าหมายจริงๆ คือการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่ link เข้ากับลักษณะที่เราสนใจ เป็น marker assisted selection เพื่อลดขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์แบบผสมเกสร (conventional breeding)
โดย: appendiculata191 (appendiculata191 ) วันที่: 19 มีนาคม 2550 เวลา:19:48:57 น.
  
โย่วๆๆๆ ดีครับพี่ ผมเองคร้าบ add link นะครับ
โดย: รัฐ (Bp_Ps_29 ) วันที่: 21 มีนาคม 2550 เวลา:23:38:58 น.
  
เจ๋งคับ....รับ advisy เพิ่มอีกสักคนมะคับ...อยากทำโมเลค..บ้างคับ..น่าสนุก..
โดย: เสือเจ้าถิ่น วันที่: 26 มีนาคม 2550 เวลา:20:28:59 น.
  
รับปรึกษาได้ครับ แต่ว่าจะทำอะไร เป้าหมายคืออะไร ต้องตอบให้ได้ก่อนครับ
โดย: appendiculata191 (appendiculata191 ) วันที่: 27 มีนาคม 2550 เวลา:15:51:19 น.
  
ดีครับ จะได้พัฒนาให้ศาสตร์ทางด้านอนุกรมวิธาน(Taxonomy)ก้าวหน้าไปอีกขั้น เพราะตอนนี้นักพฤกษศาสตร์มีสารพัด ทั้งพวกชอบแยก พวกชอบรวม วุ่นวายไปหมด ถ้าได้ความรู้ทางด้านนี้มาช่วยก็จะแยกได้ดีขึ้นและถูกต้องแม่นยำขึ้นด้วยครับ ยังไงก็ขอฝากความหวังในการปฏิรูปวงการเพื่อสิ่งที่ดีกว่าครับ
โดย: พลายจันทร์ วันที่: 2 เมษายน 2550 เวลา:13:58:33 น.
  
เข้ามาศึกษาข้อมูครับ
โดย: ตะวันสุริยา IP: 58.8.172.12 วันที่: 4 เมษายน 2550 เวลา:14:13:22 น.
  
อนุกรมวิธาน (phenotype) ยังสำคัญอยู่ครับ ข้อมูลระดับโมเลกุล (genotype) ช่วยให้การจัดถูกต้องแม่นยำเพิ่มขึ้นครับ แต่ประโยชน์จริงๆ ไม่ใช่ใช้บอกว่าของฉันถูก แต่เป็นการเอาไปใช้มากกว่าครับ ระดับโมเลกุลเป็นการชี้เฉพาะเหมือนเป็นลายพิมพ์ดีเอ็นเอว่าอันนี้เป็น A ไม่ใช่ B แล้วสามารถใช้เป็นเครื่องหมายโมเลกุลที่ link กับลักษณะที่เราสนใจโดยเฉพาะได้ครับ เช่น ถ้าพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลอย่างดีแล้วจะบอกได้เลยจากต้นเล็กๆ ไม่ต้องไปดูถึงระยะให้ผลว่า ต้นนี้ให้เม็ดสีบูล ให้กลิ่นหอม ให้ระดับน้ำตาลที่สูง เป็นต้น
โดย: appendiculata191 วันที่: 4 เมษายน 2550 เวลา:19:42:24 น.
  
สวัสดีครับ น่าสนใจมากๆเลยครับ ขอ add friend link นะครับ ได้ความรู้เยอะเลยครับ ขอบคุณครับ
โดย: Hexter IP: 203.185.133.1 วันที่: 10 เมษายน 2550 เวลา:18:43:06 น.
  
น่าสนใจสุด ๆ ได้ทำในสิ่งที่ชอบก็น่าสนุก ทำได้ทั้งวันทั้งคืน แทบไม่หลับไม่นอนก็ไม่เบื่อ
ส่วนผมไม่ได้ทำงานในสิ่งที่ชอบมากที่สุด แม้ว่าจะได้ทำในสิ่งที่ชอบในสมัยเรียนนะครับ แต่พอมาทำงานจริง ๆ ไปก็เริ่มเบื่อ ๆ แล้วล่ะ เริ่มมารู้ว่าตัวเองชอบกล้วยไม้จริงจังมากกว่า แต่ทำไงได้ล่ะครับ จะลาออกมาทำกล้วยไม้ก็ไม่ไหวครับ เพราะเราชอบ สนุกในการเลี้ยงในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับกล้วยไม้เท่านั้น ถ้าทำเป็นอาชีพเป็นธุรกิจจริง ๆ มันอาจจะมีปัญหาต่าง ๆ อีกมากมายนัก ก็เลยยังสรุปให้ตัวเองเป็นแค่ผู้ที่รักจะเลี้ยงกล้วยไม้เท่านั้น ยังไม่เป็นผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงกล้วยไม้ซะที และก็คงเป็นไม่ได้ในที่สุดครับ คงมีบ้างเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้นครับ
โดย: บ้านค่าย IP: 203.113.81.169 วันที่: 12 เมษายน 2550 เวลา:5:44:51 น.
  
ระบบการศึกษาบ้านเรายังไม่เปิดโอกาศว่าเราเรียนไปเพื่ออะไรมากกว่า ผมคนรุ่นสอบเอ็นทรานส์ สังเกตป่าวเราเรียนคณะที่เราสอบได้ ไม่ได้เข้าคณะที่เราชอบที่สุด แล้วเราอีกต่างหากที่ปรับให้เข้ากับคณะนั้น โดยไม่คิดว่าเราชอบหรือมองเห็นอาชีพในอนาคตได้เลย แล้วเราก็ชอบมันโดยไม่รู้ตัว (พรพรมลิขิต) ยิ่งเราอยากรู้ อยากรู้ว่าที่เค้าสอนจริงป่าว ทำให้เราอยากทำเอง ผมก็โง่สุดๆ อาศัยว่าเราอยากรู้ อยากทำได้เหมือนกับคนอื่นเค้าทำ อันนี้สำคัญที่สุดครับ
โดย: appendiculata191 วันที่: 12 เมษายน 2550 เวลา:18:59:23 น.
  
เข้ามาเยี่ยมชมและเรียนรู้ครับ

ขออนุญาติแอดไว้นะครับ
โดย: น้าหน่อย วันที่: 29 เมษายน 2550 เวลา:0:59:31 น.
  
ขอadd linkครับ ถ้าจะทำDNA ของรองเท้านารีผมพอมีพันท์แท้ของไทยและต่างประเทศให้ตัดใบครับ
โดย: asuorchid วันที่: 30 เมษายน 2550 เวลา:16:02:13 น.
  
ขอบคุณนะครับคุณ asuorchid ที่จะให้ตัวอย่างสำหรับรองเท้านารี ผมขอเวลาศึกษาอีกสักพักนะครับ
โดย: appendiculata191 IP: 58.8.133.104 วันที่: 2 พฤษภาคม 2550 เวลา:8:41:56 น.
  
จบมาคนละสายเลย แด่เคยช่วยอาจารย์ชีวะทำโปรเจ็ค Tissue Culture ก็เลยค่อนข้างสนใจเรื่องนี้ โดยเฉพาะ การถ่ายทอดลักษณะของกล้วยไม้ บางสายพันธ์ ลักณะบางอย่างเช่นสี และฟอร์มต้น ซึ่งอ่านมาจากเนท จะถ่ายทอดได้ดีจากทางต้นแม่ แต่ผมว่ามันน่าจะขึ้นอยู่กับ Specie นั้นๆ มากกว่า
อีกเืรื่องหนึ่งที่สนใจก็คือ Invitro Flowering คือจะทำยังไงให้กล้วยไม้ออกดอกขณะอยู่ในขวดเลย คืออันนี้ม้นจะช่วยร่นเวลาในการพัฒนาพันะ์กล้วยไม้ ก็คือ อันใหนดอกสวยก็ผสมดอกต่อไปเลย ไม่ต้องรอเป็นเวลาอย่างน้อยปีหรือสองปี เท่าที่เคยอ่านงานวิจัย ของ NUS ของสิงค์โปร์ แล้วก็อีก U หนึ่งของ อินเดีย รู้สึกทั้งสองเคส จะทดลองกับหวายตัดดอก หน้าตาคล้ายๆ บอม 17 แต่ตอนนี้หาอ่านไม่ได้แล้วรู้สึกต้องเสียเงินเป็นสมาชิก ก็เลยอยากขอคำแนะนำ ของคนที่แม่นๆ Boi-tech เช่นคุณ บอกตามตรงว่าอ่านบทความของคุณ แล้วทั้งืทึ่ง และชื่นชมจริงๆ


โดย: leekimjack@hotmail.com IP: 58.136.96.231 วันที่: 19 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:50:17 น.
  
อ้อลืมบอกไปครับในงานวิจัยของสิงคโปร์ น้้นเขาทดสอบกับฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างดอก ทดลองหาความเข้มข้นที่เหมาะสม และระยะเวลาในการ Applied สารเร่ง. ปกติ In-Vitro Flowering ก็เกิดอยู่ประปราย กับไม้บางพวก แต่จะหาสูตรให้ได้ชัวร์ๆ นี่มันก็ท้าทายอยู่เหมือนกัน!!
โดย: leekimjack@hotmail.com IP: 58.136.96.231 วันที่: 19 กรกฎาคม 2550 เวลา:21:01:56 น.
  
โหๆๆๆๆ เห็นชื่อพี่มานาน ไม่เคยเข้า บล๊อค พี่เลย

ผม ดีใจ ที่ได้อ่าน นะนี่ อุอุ สนใจ ตัวที่พี่ผสมจังคับ ที่เป็นม้ากะเข็มแสดงะคับ

โดย: inuyacha IP: 124.121.99.230 วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:10:22:12 น.
  
ผมก็ไม่ได้เก่งมาจากไหนครับ พยายามเข้าใจ หาคำตอบ สังเกตจากผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ที่เค้าได้ทำมาก่อน แล้วลองทำดู ไม่เข้าใจก็สอบถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผมว่าแบบนี้สบายใจดีครับ
โดย: appendiculata191 วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:22:33 น.
  
เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากๆ เลยครับ ขอชมเชย คิดว่าถ้ามีแบบนี้เยอะๆ การพัฒนาหรือการต่อยอดคงไปได้สวยเชียวครับ ขอบคุณมากครับ
โดย: สวนน้ำผึ้ง (สวนน้ำผึ้ง ) วันที่: 11 กันยายน 2550 เวลา:8:17:03 น.
  
เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มาก เลยครับ ขอadd linkครับ
โดย: voravan_mike IP: 203.146.213.20 วันที่: 14 กันยายน 2550 เวลา:9:56:12 น.
  
เป้นขอมูลที่ดีมากๆเลยค่ะ มีประโยชน์ในด้านการพัฒนาการเกษตรของไทยอออย่ามากเลยค่ะตอนนีกำลังทำรายงานการวิเคราะห์ประโยชน์และผลที่ตามมาของเทคโนโลยีชีวภาพกับการเกษตรค่ะขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ออนไลท์นะค่ะ
โดย: kandeantang_vi@hotmail.com IP: 222.123.209.25 วันที่: 9 ธันวาคม 2550 เวลา:20:11:49 น.
  
ขอบคุณข้อมูลที่ดีในการทำรายงานคั้งนี้
โดย: ging_dekbannok@hotmail.com IP: 222.123.242.14 วันที่: 4 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:27:38 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Appendiculata191.BlogGang.com

appendiculata191
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด