เทคโนโลยีการผลิตพืชในประเทศไต้หวัน ตอนที่ 8 National Pingtung University of Science & Technology
เทคโนโลยีการผลิตพืชในประเทศไต้หวัน ตอนที่ 8 National Pingtung University of Science & Technology

มหาวิทยาลัยนี้อยู่ทางตอนใต้ของประเทศไต้หวัน ที่ตั้งเรียกได้ว่าอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ด้านหลังติดอุทยานแห่งชาติ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้กิจกรรมเดินป่าที่นี้อย่างมาก เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของไต้หวัน และใหญ่ที่สุดอีกด้วย คณะฯ ได้พบผู้บริหารจากทั้งส่วนของ National Pingtung University of Science & Technology //www.npust.edu.tw และ National Chung Hsing University //www.nchu.edu.tw แต่คณะฯ ได้เข้าไปชมห้อง lab ของ ดร. Fure-Chyi Chen ซึ่งอยู่ภาควิชา Department of Plant Industry ของ Pingtung นะครับ

ท่านมีเวลาน้อยและได้คุยแลกเปลี่ยนกันเล็กน้อยเท่านั้น แต่ก็ได้นำชมห้อง Lab, greenhouse และงานวิจัยที่ดำเนินการอยู่ และได้พาไปชม Sogo Team Co., Ltd. ในช่วงบ่ายอีกด้วย

ห้อง Lab ของท่านจะทำ mass propagation ของกล้วยไม้บางชนิด แน่นอนมีเรื่อง Phalaenopsis เสียด้วย ทำ DNA fingerprint, gene transformation, mutant เพื่อหา gene function และ ศึกษา mycorrhiza ทีมีอิทธิต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วย



ชมเพลินๆ ไปก่อนนะครับ



ในโรงเรือนของที่นี้มีการรวบรวมสายพันธุแท้ไว้ด้วย (Phalaenopsis schilleriana ภาพซ้าย) และมีการศึกษาถึงยีนที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดสามปากในลูกผสมบางคู่ผสมด้วย (ภาพขวา เป็น Dtps. หมายความว่าโอกาสที่ลูกผสมจะให้สามปากเกิดจากเลือด Doritis แต่จะเป็น Doritis spp. ใด ....น่าสนใจทีเดียว ในภาพจะพบการเกิด splash แน่นอนน่าจะมาจาก Doritis pulcherrima var. choompornensis นั้นเอง)



มาดูสามปากในต้นอื่นๆ กันครับ



แล้วนักวิทยาศาสตร์มีแนวทางอย่างไรในการหายีนที่ควบคุมการเกิดลักษณะสามปาก...น่าสนใจทีเดียว



ท่านไม่ได้บอกผมนะครับ บอกแต่เพียงต้องเอาสามปาก (mutant) มาดู มาเทียบกับลักษณะปกติ

และนี้คือการตั้งสมมุติฐานในการวิจัย

1. ลูกผสมในคู่หนึ่งจะต้องนำต้นสามปาก (mutant) กับต้นปกติมาเทียบเพื่อหา polymorphism แล้วหา band ที่แตกต่าง ทำ candidate clone, DNA sequencing, gene mapping, gene fuction และ QTL

2. ข้อสังเกตต้นสามปากมักมีเลือด x Doritis (Dtps.) และลักษณะน่าจะเป็น QTL กับ splash ที่พบใน Doritis pulcherrima var. choompornensis (ยีนลักษณะสามปากจะ link หรือไปด้วยกันกับการมี splash)

3. โอกาสในลูกผสม Phalaenopsis x Phalaenopsis กับ Dtps. มีโอกาสให้สามปากที่เท่ากันหรือไม่

ใครมีข้อคิดเห็นก็เชิญได้เลยนะครับ...จะขอบคุณมากครับ

เป็นอันจบตอน 8 ด้วยคำถามครับผม




Create Date : 07 เมษายน 2551
Last Update : 7 เมษายน 2551 22:51:13 น.
Counter : 2282 Pageviews.

5 comments
เดซี่ เดฟ สะระแหน่ และ คุณนายตื่นสาย :) สุขใจพริ้ว
(5 ก.ค. 2568 15:26:50 น.)
บ้านครูช่วงสโลว์บาร์ คาเฟ่แนววินเทจสวย ๆ ที่พัทลุง sawkitty
(1 ก.ค. 2568 15:37:59 น.)
รีวิว Thana Residence กาญจนาภิเษก-พระราม 9 บ้านเดี่ยวหรู 4 ห้องนอน ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติ pizzpure
(20 มิ.ย. 2568 15:17:26 น.)
ทนายอ้วนเดินดูดอกไม้ในสวน - Little Star x Mem Helen Brown ทนายอ้วน
(11 มิ.ย. 2568 10:43:29 น.)
  
ข้อคิดเห็นไม่มีครับ แต่มีข้อสงสัย จะเรียนถามเป็นความรู้หน่อยครับ


วัน 2 วันก่อนผมซื้อไม้ขวดพันธ์รองเท้านารีมา เป็นขวดเหล้าวิสกี้วางนอน ก็สังเกตุ เกิดคำถามขึ้นครับว่า ตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ด จนถึง ต้นโตจนชนขวด รากแข็งแรงยาวมาก เค้าถ่ายขวดกันกี่ครั้งครับ เพราะดูแล้วการใช้ขวดลักษณะนี้ น่าจะทำได้ยากกว่าขวดที่ไต้หวันใช้นะครับ เพราะปากขวดค่อยข้างเล็ก การถ่ายแต่ละครั้งก็คงลำบากและลูกไม้คงจะเสียหายไม่น้อย ครั้นจะถ่ายน้อยครั้งลูกไม้ก็ไม่น่าจะโตจนชนขวดได้และรากก็สมบูรณ์ เนื่องจากคงต้องใช้เวลาพอควร อาหารในวุ้นน่าจะหมดก่อน


คิดไปคิดมา แลปของไทยเก่งกว่าไต้หวันอีกเนาะ...คริ..คริ


ช่วยตอบขอเป็นความรู้หน่อยครับ ขอบคุณครับ
โดย: เด็กอยากรู้ IP: 222.123.177.72 วันที่: 9 เมษายน 2551 เวลา:10:43:09 น.
  
แล้วแต่ประเภทของกล้วยไม้ ใน Lab เมืองไทยที่ทำกันมากคือ Dendrobium ซึ่งขวดวิสกี้ในเมืองไทยหาง่ายและราคาถูก และเทคนิคการ sub-culture และการเรียงขวดสามารถเรียงซ้อนกันได้มากชั้น ซึ่งเทคนิคแบบนี้หรือวิธีทำแบบนี้ถูกถ่ายทอดรุ่นต่อรุ่น ส่วนการเอาต้นไม้ออกจากขวดจะเป็นการทุบขวดเสียมากกว่าการใช้คีบหรือวัสดุหนีบต้นพืชออกจากขวด

ส่วนของไต้หวันใช้ขวดตั้ง กลมหรือกึ่งกลมที่มีลักษณะแบบชมพู่ปากกว้าง จึงสะดวกต่อการ sub-culture และการย้ายต้นพืชออกจากขวด (ขวดนำมาใช้ใหม่ได้) แต่จะใช้เนื้อที่ในการเรียงขวดมาก อันหมายถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นครับ

ส่วนใครเก่งกว่า..คงประเมินหรือเทียบกันไม่ได้ครับ

แต่ผมยังให้คะแนนคนไทยเก่งกว่าหรือเหนือกว่าเล็กน้อยครับ
โดย: appendiculata191 วันที่: 9 เมษายน 2551 เวลา:13:05:39 น.
  
ดอกตามรูปต้องตัดทิ้งก่อนรอดอกชุดใหม่สวยมาก ให้ดูที่กลีบดอกดอกสมบูรณ์ต้องบานแอ่นออก ไม่ใช่บานหุบ
โดย: the_bbb555 IP: 222.98.62.212 วันที่: 20 ธันวาคม 2551 เวลา:11:35:37 น.
  
ที่บานหุบเป็นเพราะมันเป็นลักษณะกลายพันธุ์ชนิดหนึ่งครับ ส่วนใหญ่เป็นพวกสามใบ และน่าจะเกี่ยวข้องกับยีนสามปากครับ

ขอบคุณนะครับคุณ the_bbb555 IP: 222.98.62.212 ที่มาแลกเปลี่ยนข้อมูลครับ
โดย: appendiculata191 วันที่: 21 ธันวาคม 2551 เวลา:22:34:11 น.
  
very nice
โดย: jjanorn@yahoo.com IP: 192.168.0.110, 58.11.231.240 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:15:16:00 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Appendiculata191.BlogGang.com

appendiculata191
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด