เรื่องเล่า 6 ปี ในคณะแพทยศาสตร์ ภาค 2

หลังจากผ่านปีแรกไปแบบงงๆ ที่ไม่ค่อยได้อะไรเท่าไหร่ ก็มาสู่

ปีที่ 2 ณ คณะแพทยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

ก็ไอ้ตรงที่อยู่แนวทะแยงกับรพ.รามาธิบดี แหล่ะครับ ณ ที่แห่งนี้ต้องใช้ชีวิตอยู่ถึง 5 ปี (ถ้านับเวลาที่อยู่จริงๆ มากกว่าอยู่บ้านซะอีกครับ 55)

การเรียนการสอนเมื่อขึ้นปีที่ 2 ถือได้ว่าหลุดโลกไปเลยครับ 55 เรื่องราวหลายๆอย่างที่เรียนมาก็ต้องโยนทิ้งไปครับ จนถึงทุกวันนี้ผมยังงงอยู่เลยครับ ว่าการศึกษาของเด็กไทยมันเรียนกันมากไปหรือเปล่า วิชาชีววิทยาที่สอนเด็กกันทุกวันนี้ แม้แต่ผมที่จบแพทย์มาเองหลายๆครั้งยังไม่รู้เลยครับ

มาเข้าเรื่องเลยดีกว่า

จุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology) เป็นวิชาที่เกี่ยวกับเซลล์ และเนื้อเยื่อ ก็อารมณ์ว่านั่งส่องกล้องจุลทรรศน์ดูว่าเซลล์เนื้อเยื่อไหนมีลักษณะแบบใด แล้วก็เรียนเกี่ยวกับอวัยวะภายในเซลล์ว่ามันใช้ทำหน้าที่อะไร การเรียนก็จะมีทั้งที่เป็นแบบเล็คเชอร์ นั่งส่องกล้องจุลทรรศน์ หรือแม้แต่บางรูปก็ดูจากหนังสือภาพเอา เวลาตอนสอบก็มีทั้งทฤษฎี (ก็เหมือนข้อสอบทั่วไปนะแหล่ะครับ มีทั้งช้อย เติมคำ ประมาณนี้) แต่ที่เซ็งที่สุด ก็คือ lab กริ๊ง คือจะมีข้อสอบวางแต่ละโต๊ะ บางโต๊ก็ตั้งกล้องจุลทรรศน์ บางโต๊ะก็เป็นภาพถ่าย แล้วก็มีคำถามสั้นๆ พอครบ 1 นาทีก็จะมีเสียงกริ๊งให้ลุกไปโต๊ะถัดไปครับ

เอ็มบริโอวิทยา (Embryology) อันนี้แค่ชื่อก็พอเดาได้ครับว่าเรียนเกี่ยวกับตัวอ่อน ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ จนกระทั่งเกือบจะคลอด คือเรียนทั้งหมดเกี่ยวกับตัวอ่อน ไม่ว่าจะเรื่องการแบ่งเซลล์ การพัฒนาของอวัยวะต่างๆ ฯลฯ ก็เรียนกันไปทั้งทฤษฎี แล้วก็ lab คือมีส่องกล้องจุลทรรศน์ดูเกี่ยวกับตัวอ่อน (ดูอวัยวะต่างๆ) เท่าที่จำได้ไม่ใช่ตัวอ่อนของคน แต่เป็นของสัตว์อะไรไม่รู้จำไม่ได้แล้ว เพราะอาจารย์บอกว่าตอนเป็นตัวอ่อนมันจะคล้ายๆกัน แต่ที่เรียนเกี่ยวกับตัวอ่อนของคนก็มี แต่ส่วนใหญ่จะเป็นจากรูปภาพในหนังสือครับ ก็เท่าที่ดูวิชานี้ไม่ค่อยมีช็อตตื่นเต้นสยองขวัญเท่าไหร่ครับ

สรีรวิทยา (Physiology) อันนี้จะเรียนเชิงกลไกการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ เช่น หัวใจทำงานได้อย่างไร ไตทำงานอย่างไร อะไรประมาณนี้ ซึ่งบางครั้งอาจต้องมีการทดลองในสัตว์เกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะต่างๆ หลังจากนั้นเจ้าสัตว์ทดลองก็ไปสู่สุขคติครับ อาเมน (ถึงจะสงสาร แต่ไม่ทำก็ไม่ได้เนอะ ก็มีทั้ง กบ กระต่าย หมา ฯลฯ ที่ต้องสังเวยชีวิตไปครับ)

มหกายวิภาคศาตร์ (Gross Anatomy) แฮะๆ วิชานี้เป็นวิชาที่มักได้รับการกล่าวขวัญถึงค่อนข้างมาก เป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับอวัยวะในร่างกายคน โดยเรียนกับอาจารย์ใหญ่ (ศพ ที่เจ้าของร่างอุทิศเพื่อการศึกษา)

  • สำหรับคนที่จะบริจาคร่างกาย (เผื่อมีคนสนใจ) ถ้าต้องการเป็น "อาจารย์ใหญ่"
    • ต้องบริจาคทั้งร่างกาย ดังนั้น หากใครที่ บริจาคดวงตา บริจาคไต ฯลฯ ให้กับองค์กรการกุศลใดๆแล้ว จะไม่สามารถมาเป็นอาจารย์ใหญ่ได้ครับ
    • ต้องไม่เคยได้รับการผ่าตัดใหญ่ๆ (กรณีผ่าตัดไส้ติ่งนี่ไม่แน่ใจ) แต่หากใครเคยตัดแขน ตัดขา ตัดม้าม ตัดไต จะไม่สามารถมาเป็นอาจารย์ใหญ่ได้นะครับ
    • ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการนำมาศึกษา อันนี้ผมจำได้ไม่ละเอียดนักครับ แต่เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ ฯลฯ
    • ส่วนกรณีอื่นๆคงต้องถามที่ภาควิชาฯโดยตรงครับ
  • พอมีผู้บริจาคร่างกายเพื่อเป็นอาจารย์ใหญ่แล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถนำมาเรียนได้เลยนะครับ ต้องผ่านกระบวนการรักษาสภาพศพก่อน ถ้าจำไม่ผิดจะรอเป็นปีครับกว่าที่จะนำมาเรียนได้
  • การเรียน เพื่อให้สมความตั้งใจของผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาครับ ก็แอบเหมือน Jack the Ripper คือ เลาะผิวหนังออก เลาะกล้ามเนื้อทีละมัดๆ เพื่อจะมาดูว่ากล้ามเนื้อไหนยึดจากตำแหน่งไหนไปยังตำแหน่งไหน แล้วก็เลาะกล้ามเนื้อออกมาจนเหลือแต่กระดูก ส่วนอวัยวะภายในก็ผ่าแล้วควักออกมานั่งดู นั่งศึกษากันทีละชิ้นๆ ช่วงแรกๆก็มีหลอนกันบ้าง เหมือนซีอุยเลยมั๊ง ประมาณว่าควักตับขึ้นมาแล้วก็มานั่งจิ้ม นั่งชี้กันว่าส่วนไหนคืออะไร จนสุดท้ายคือสมอง อันนี้ต้องใช้เลื่อยเพื่อเปิดกะโหลกศีรษะนำเอาสมองออกมา (แต่ยังไม่เรียนตอนนี้ ไว้เรียนในอีกวิชาหนึ่ง)
  • ส่วนตอนใกล้สอบ ก็จะมีพวกขยันนั่งอยู่กับอาจารย์ใหญ่เกือบทั้งคืน น่าจะเคยเห็นจากในหนังกันมาบ้าง ที่เป็นเตียงวางเรียงรายกันแล้วมีอาจารย์ใหญ่นอนอยู่ (โดยทั่วไปอาจารย์ใหญ่ 1 ท่าน ต่อนักศึกษา 4 คน ช่วงหลังนี่ไม่ทราบครับ) บางคนก็ฟุบหลับไปกับอาจารย์ใหญ่ก็มี (ไม่รู้ว่าหลับลงได้ไงเหมือนกัน)
  • ตอนเรียนเกี่ยวกับกระดูก (ช่วงท้ายๆแล้ว เพราะอย่างที่บอกว่าเวลาเรียนจะค่อยๆเลาะจากกล้ามเนื้อเข้าไปครับ) ก็จะหอบกระดูกอาจารย์ใหญ่กลับมาท่องกันที่หอ อย่างน้อยบรรยากาศก็ดีกว่านั่งที่ห้องแลปครับ ส่วนบางคนที่ขยันกว่านั้นก็หอบกระดูกอาจารย์ใหญ่กลับบ้านก็มีครับ เหอๆ

ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) ก็เรียนเกี่ยวกับระบบประสาท คือ สมองและไขสันหลัง ก็เอาสมองของอาจารย์ใหญ่นั่นแหล่ะครับมาเรียน มาดูว่าส่วนไหนทำหน้าที่อะไร มีเส้นเลือดมาเลี้ยงตรงไหนบ้าง เส้นประสาทมันโผล่จากตรงไหนไปไหน ทำให้แขนขาขยับได้ยังไง ฯลฯ แต่อันนี้จะไม่ค่อยหลอนเท่า Gross Anatomy เพราะอย่างน้อยก็ไม่เห็นทั้งตัว 55 แล้วก็มีแบบที่ต้องส่องกล้องจุลทรรศน์ดูเกี่ยวกับเส้นประสาทต่างๆ แต่โดยรวมแล้วก็ต้องยุ่งอยู่กับสมองของอาจารย์ใหญ่เป็นเดือนๆเลยครับ T^T




Create Date : 17 สิงหาคม 2555
Last Update : 22 สิงหาคม 2555 20:41:27 น.
Counter : 2451 Pageviews.

1 comments
  
ชอบเรื่องนี้มากค่ะ ขออนุญาตนำเนื้อหาบางส่วนไปประกอบในนิยายได้ไหมค่ะ ^^;
โดย: Tipanun IP: 1.47.139.2 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2560 เวลา:12:26:11 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

zenario
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]



สิงหาคม 2555

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
22
24
25
26
28
30
31