เรื่องเล่า 6 ปี ในคณะแพทยศาสตร์ ภาค 4

เมื่อจบระดับชั้น pre-clinic (ปี2-3) ก็มาขึ้นระดับ clinic (ปี4-6) ก็อีกแล้วชีวิตคนละเรื่องกันเลยอ่ะ เมื่อก่อนก็เป็นเหมือนเด็กๆเรียนเล็คเชอร์ ตอนนี้ก็จะเริ่มมีความรับผิดชอบมากขึ้น เหนื่อยมากขึ้น รู้ว่านรกมีจริงก็ตอนนี้แหล่ะ เหอๆ

ก็โดยทั่วไปการเรียนแต่ละวิชาก็จะคล้ายๆกันคือ เอาความรู้ที่เคยเรียนตอนปี2-3 มาผสานกับการเจอคนไข้จริงๆ แล้วก็เรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการรักษา การซักประวัติ และการตรวจร่างกายต่างๆ

วิชาอายุรศาสตร์ ตอนแรกจะบอกว่าเป็นโรคเกี่ยวกับคนแก่ แต่โรคที่ไม่เกี่ยวกับคนแก่ก็มีครับ ส่วนใหญ่ก็พวก เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต มะเร็ง ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาด้วยการใช้ยาเป็นหลัก

  • ตื่นเช้ามาก็ต้องมาถึงที่วอร์ด (หอผู้ป่วยใน) เพื่อมาดูคนไข้ที่ได้รับมอบหมาย (มาถึงก็ประมาณ 7 โมง) ซึ่งก็จะถามอาการทั่วไปว่า ดีขึ้น หรือแย่ลงอย่างไร ถ้าหากหายดีแล้วก็จะให้กลับบ้านได้ครับ หากยังไม่ดีขึ้นจะสั่งเจาะเลือด หรือตรวจอะไรเพิ่มเติมก็สั่งตอนเช้านี่แหล่ะ
  • ที่ต้องมาตั้งแต่ 7 โมง หรือบางทีอาจก่อนหน้านั้นด้วยครับ เพราะว่าช่วงประมาณ 7 โมงครึ่งอาจารย์จะมาดูผู้ป่วย แล้วก็มาสอนด้วยครับ ซึ่งก็จะมาดูว่านักศึกษาได้ตรวจคนไข้ละเอียดไหม มีอะไรที่ยังไม่ได้ถามไหม ส่งตรวจครบตามที่อาจารย์ต้องการไหม ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยครบหรอกครับ ก็โดนด่าตามประสา 55
  • พอดูคนไข้ตอนเช้าเสร็จก็แล้วแต่วัน บางวันก็มีเรียนเล็คเชอร์ (ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมอาจารย์แพทย์ถึงไม่ได้ตรวจทุกวัน เพราะมีงานหลากหลายครับ) ส่วนบางวันก็ไปนั่งตรวจ OPD กับอาจารย์ครับ
  • ส่วนตอนสอบก็จะมีทั้งที่ว่าสอบทฤษฎี (น้อยนิดมาก) เพราะอาจารย์มักบอกว่า การรักษาโรคไม่ยาก แค่รู้ว่าเป็นโรคอะไรก็เปิดตำรา เปิดอินเตอร์เน็ตก็ได้คำตอบแล้ว แต่ยากตรงการจะวินิจฉัยโรค ดังนั้นข้อสอบทฤษฎีจะมีไม่ค่อยเยอะ (แต่ก็เล่นเอาเหนื่อยครับ เหอๆ)
  • การสอบที่เหนื่อยสุดของวิชานี้น่าจะเป็นที่เรียกว่า long-case คือ อาจารย์จะไปหาคนไข้มาแล้วก็ให้ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย แล้วก็ถามว่าจะส่งตรวจเลือด หรือเอ็กซเรย์ หรืออะไรเพิ่มเติมไหม แล้วอาจารย์ก็จะถามว่าเป็นโรคอะไรจะรักษาอย่างไร แฮะๆ แต่ตอนสอบอันนี้จะมีทริคนิดนึง คือก่อนสอบ (แต่ละคนสอบไม่พร้อมกันครับ) ก็จะเดินตระเวนตามวอร์ดดูคนไข้ที่นอนวอร์ด (เพราะอาจารย์มักเอาคนไข้ที่นอนที่วอร์ดมากกว่าคนไข้ที่มี OPD เหอๆ) แล้วก็ดูว่าเคสไหนน่าเอามาออกสอบที่สุด เก็งเอาไว้ แล้วก็ดูว่าเป็นโรคอะไร ตรวจอะไรไปบ้าง แฮะๆ ก็ทำให้เอาตัวรอดมาได้ครับ 55

วิชาศัลยศาสตร์ ก็เป็นอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องผ่า เรื่องแผล ประมาณนั้นครับ

  • ตอนเรียนเนี่ยหน้าที่หลักเลยครับคือ "ทำแผล" มาถึงที่วอร์ดตั้งแต่ 6 โมง เพื่อมาทำแผล กว่าจะทำเสร็จก็ 7 โมงกว่าๆ อาจารย์มาพอดี ก็ได้เรียนตอนนั้นซึ่งพออาจารย์มาถึงก็จะถามว่า "เคสนี้เป็นยังไง" ไอ้เราก็มองหน้าคนไข้ แล้วก็งงสักพัก แบบว่าตอนทำแผลไม่ได้มองหน้าเท่าไหร่อ่ะครับ มองแต่แผล T^T จริงๆน๊า เพราะถ้าถามตอนเปิดแผลดูเนี่ยจำได้หมด 55
  • พอจบจากทำแผลตอนเช้าแล้วก็นั่งเรียนเล็คเชอร์ หรือไม่ก็ไปตรวจ OPD กับอาจารย์ หรือไม่ก็เข้าห้องผ่าตัด ถ้าต้องเข้าห้องผ่าตัดเนี่ยนักศึกษาปี 4 ก็มักจะได้แค่ช่วยอาจารย์ถือเครื่องมือ ช่วยตัดไหม ช่วยเย็บ หรือถ้าเป็นเคสใหญ่ๆก็จะได้แค่ยืนดูครับ 55 ส่วนปี 5-6 ก็จะมีพัฒนาการณ์หน่อยนึงครับ อาจารย์อาจให้ผ่าตัดอะไรเล็กๆได้เอง เช่น ไส้ติ่ง ตอนแรกก็ตื่นเต้นแย่งกันผ่าครับ แต่หลังๆเนี่ย ก็ "นายเอาไปผ่าเหอะ" แบบว่าผ่าตัดแต่ละครั้งเหมือนโดนดูดวิญญาณยังไงไม่รู้แฮะ แต่ถ้าเป็นกรณีเคสใหญ่ๆก็เหมือนเดิม ช่วยถือเครื่องมือ ช่วยตัดไหม 55
  • แล้วก็พวกอาจารย์เป็นอะไรกันก็ไม่รู้เป็นมนุษย์ที่ไม่รู้จักพักกินข้าว ถ้าห้องผ่าตัดว่างแปปนึงก็หาเคสเข้าผ่าจนได้ บางครั้งเคสก่อนหน้านั้นเลิกเร็ว อย่างตอนแรกกะว่าจะเสร็จเที่ยง แต่เอาเข้าจริงเสร็จตั้งแต่ 11 โมง ไอ้เราก็อุตส่าห์ดีใจว่าจะได้กินข้าวเร็ว สักพักอาจารย์หาเคสไหนมาผ่าก็ไม่รู้ เรากะเพื่อนก็เลยมองหน้ากันตาละห้อย T^T แต่ด้วยควมที่ว่าเป็นเคสใหญ่เลยไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมเท่าไหร่ เที่ยงกว่าๆก็เลยขออาจารย์ออกไปทานข้าว ยังจำคำตอบได้จนทุกวันนี้เลยครับ อาจารย์หันไปบอกกับพยาบาลว่า "รีบๆทำเข้า น้องๆ (หมายถึงผมกับเพื่อน) จะรีบไปกินหญ้า" T^T
  • แล้วก็ด้วยความที่ว่าภาคนี้เวลากินเวลานอน มักอยู่กับห้องผ่าตัดเพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจหากว่าอาจารย์มักมาไม่ค่อยตรงเวลา เพราะบางครั้งเวลาในห้องผ่าตัดกำหนดได้ยากอ่ะครับ แม้แต่อย่างผ่าตัดไส้ติ่งซึ่งน่าจะเป็นอะไรที่ไม่ยาก แต่ก็เคยเจอเคสยากๆอยู่ครั้งหนึ่งอาจารย์ผ่าตั้งแต่เที่ยงคืน เสร็จเอาตอน5กว่าๆ เหอๆ แล้วตอนเช้าก็ต้องมาดูคนไข้ที่วอร์ด + ออกตรวจ OPD อีกครับ T^T อันนี้ขอเพิ่มนิดนึง อาจารย์เคยบอกว่า ง่ายที่สุดของหมอศัลย์ก็ไส้ติ่ง ส่วนยากที่สุดก็ไส้ติ่งเหมือนกัน 55
  • ส่วนตอนสอบของภาคนี้ ไม่มีสอบผ่านะครับ เพราะเรื่องผ่าตัดเนี่ยตอนเรียนจะมีสมุดเล่มนึง (เรียกกันว่า "สมุดเด็กดี") คือจะมีบังคับอยู่ว่ต้องผ่าอะไรได้กี่ครั้ง แล้วก็ให้อาจารย์ที่คุมเป็นคนเซ็นต์รับรอง (คือถ้าทำได้ไม่ครบก็ไม่ผ่านครับ) เพราะฉะนั้นตอนสอบส่วนใหญ่จะเป็นสอบททฤษฎีซะมากกว่าครับ เรื่องการสอบ long-case ก็มีบ้างแล้วแต่อาจารย์จะหาคนไข้มาให้ครับ แต่อาจารย์ภาคนี้จะไม่ค่อยซีเรียสเท่าไหร่ครับ (ไม่ค่อยโดนด่ามากนัก)



Create Date : 21 สิงหาคม 2555
Last Update : 23 สิงหาคม 2555 15:16:52 น.
Counter : 2132 Pageviews.

4 comments
  
แวะมาเยี่ยมค่ะคุณหมอ แต่ละวันน่าสนุกนะ สนุกแบบเหนื่อยๆค่ะ
โดย: น้ำเคียงดิน วันที่: 21 สิงหาคม 2555 เวลา:14:09:12 น.
  
อ่านไปเหนื่อยไปค่ะ นับถือจริงๆค่ะคนที่เรียนจบหมอเนี่ยนะคะเวลาส่วนตัวคงน้อยมากเลยนะคะ
โดย: ahataia IP: 110.164.55.13 วันที่: 29 สิงหาคม 2555 เวลา:20:37:44 น.
  
แฮะๆ เรื่องของผมเนี่ยออกแนวอู้สุดฤทธิ์แล้วครับ คนขยันๆเค้าเหนื่อยกว่านี้อีก
โดย: zenario วันที่: 30 สิงหาคม 2555 เวลา:11:18:26 น.
  
น่าสนุกจังเลยค่ะ
เค้าจะตั้งใจอ่านมากๆยิ่งอ่านของพี่เเล้วยิ่งอยากสอบติด
ขอบคุณนะคะ
โดย: Ffffffad IP: 58.9.51.111 วันที่: 30 กันยายน 2555 เวลา:20:05:40 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

zenario
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]



สิงหาคม 2555

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
22
24
25
26
28
30
31