ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
27 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 
เทคนิคการปลูกกล้วยไข่ส่งออก

เทคนิคการปลูกกล้วยไข่ส่งออก




การปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ

สำหรับกล้วยไข่ตั้งแต่การเริ่มปลูก-การทำผลผลิตคุณภาพ

         
กล้วยไข่ เป็นผลไม้ที่นิยมผู้บริโภคกันทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี
ลักษณะการเรียงตัวของผลและสีผลสวยสะดุดตา
ปัจจุบันส่งออกจำหน่ายต่างประเทศมากขึ้น ตลาดที่สำคัญ คือ จีน และฮ่องกง













การบรรจุกล้วยไข่เพื่อส่งออก



         
กล้วยไข่เป็นพืชที่สามารถปลูกได้แทบทุกภาคของประเทศ
ในพื้นที่ปลูกที่มีการจัดการการผลิตเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณ
และผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพ ตลาดต้องการ
ปัญหาสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของผลผลิตคือ การปนเปื้อนของ
สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค
ตลอดจนการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมใน ระยะยาว ดังนั้น
กระบวนการผลิตจึงต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม



สภาพพื้นที่

1. พื้นที่ดอน หรือพื้นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง

2. ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร

3. มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรืออยู่ในเขตชลประทาน

4. การคมนาคมสะดวก

ลักษณะดิน

          ดินร่วน, ดิน
ร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย - มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี -
ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร - ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง
5.0-7.0

สภาพภูมิอากาศ

1. อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส

2. ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี

3. ไม่มีลมแรงพัดผ่านเป็นประจำ

4. มีแสงแดดจัด

แหล่งน้ำ

1. มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูปลูก

2. เป็นแหล่งน้ำสะอาด ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำระหว่าง 5.0-9.0

พันธุ์

         
กล้วยไข่มี 2 สายพันธุ์ คือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร
และกล้วยไข่พระตระบอง พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้าคือ
กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

1. กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

         
ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลหรือช๊อกโกแลต ร่องก้านใบเปิดและขอบก้านใบขยายออก
ใบมีสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล ก้านเครือมีขนขนาดเล็ก ผิวเปลือกผลบาง ผลเล็ก
เนื้อมีสีเหลือง รสชาติหวาน

2.กล้วยไข่พระตะบอง

         
ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลปนดำ สีของใบเข้มกว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร
รสชาดจะออกหวานอมเปรี้ยว และผลมีขนาดใหญ่กว่ากล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

การเตรียมดิน

1. วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน และความเป็นกรดด่างของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก

2. ไถพรวน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช คราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง

ฤดูปลูก

          ช่วงเวลาการปลูก ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประมาณเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน

วิธีการปลูก

1. ปลูกด้วยหน่อใบแคบที่มีความสมบูรณ์ดี

2. เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร

3. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับหน้าดินรองก้นหลุมปลูกถ้ามีการไว้หน่อ (Ratoon) เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปอีก 1-2 รุ่น ควรรองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต อัตรา 100-200 กรัม/หลุม

4. ระยะปลูก (1.5-1.75) x2 เมตร เป็นการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว แล้วรื้อปลูกใหม่ 2x2 เมตรเป็นการปลูกสำหรับไว้ตอหรือหน่อ (Ratoon) เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตของหน่อ (Ratoon) อีก 1-2 รุ่น

5. การ
ปลูก วางหน่อพันธุ์ที่หลุมปลูกให้ลึก 25-30 เซนติเมตร
โดยจัดวางหน่อพันธุ์ให้ด้านที่ติดกับต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน
กลบดินลงหลุมปลูกและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การปฏิบัติดูแลรักษา

          การพรวนดิน ภายหลังปลูกกล้วยไข่ประมาณ 1
เดือนควรรีบทำการพลิกดินให้ทั่วทั้งแปลงปลูก
เพื่อให้ดินเก็บความชื้นจากน้ำฝนไว้ให้มากที่สุด
และเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วย ขณะที่รากกล้วยยังขยายไปไม่มากนัก

การกำจัดวัชพืช

ควรกำจัดวัชพืชปีละ 3 ครั้ง ครั้งแรกพร้อม ๆ กับการพลิกดิน ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 ให้พิจารณา จากปริมาณวัชพืช แต่จะทำก่อนที่ต้นกล้วยตกเครือ

การให้ปุ๋ย

ครั้งแรก  ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อหลุม ก่อนปลูก

          ครั้งที่ 2 (หลังจากปลูก 1 เดือน) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 150 กรัมต่อต้น

          ครั้งที่ 3 (หลังจากปลูก 3 เดือน) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น

          ครั้งที่ 4 (หลังจากปลูก 5 เดือน) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น+ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 100 กรัมต่อต้น

          ครั้งที่ 5 (หลังจากปลูก 7 เดือน) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น+ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 100 กรัมต่อต้น










เครือของต้นที่ได้รับการบำรุงอย่างถูกวิธี




วิธีการใส่

          ใส่ปุ๋ยโดยโรยห่างจากต้นประมาณ 30 เซนติเมตร หรือใส่ลงในหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร 4 ด้าน แล้วพรวนดินกลบ

การให้น้ำ

- ในฤดูฝน เมื่อฝนทิ้งช่วง เมื่อสังเกตหน้าดินแห้งและเริ่มแตก ควรรีบให้น้ำ

- ในฤดูแล้ง เริ่มให้น้ำตั้งแต่หมดฝน ประมาณปลายเดือนมกราคม-พฤษภาคม

เทคนิคที่ควรทราบ

การพูนโคน

         
โดยการโกยดินเข้าสุมโคนกล้วย
ช่วยลดปัญหาการโค่นล้มของต้นกล้วยเมื่อมีลมแรง
โดยเฉพาะต้นตอที่เกิดขึ้นระยะหลังโคนจะลอยขึ้นทำให้กล้วยโค่นล้มลงได้ง่าย

การแต่งหน่อ

         
เครื่องมือที่ใช้ในการแต่งหน่อ คือ มีดยาวปลายขอ ชาวบ้านเรียกว่า มีดขอ
การแต่งหน่อทุกครั้ง โดยเฉือนเฉียงตัดขวางลำต้นเอียงทำมุม
45 องศากับลำต้นโดยครั้งแรก เฉือนให้รอบเฉือนด้านล่างอยู่สูงจากโคนต้นประมาณ 4-5 นิ้ว หลังจากนั้นอีกประมาณ20-30 วัน จึงเฉือนหน่อครั้งที่2 ให้รอบเฉือนครั้งใหม่อยู่ทิศทางตรงข้าม กับรอยเฉือนครั้งก่อน และให้รอยเฉือน มุมล่างสุดครั้งใหม่อยู่สูงจากรอยเฉือนมุมบนครั้งก่อน 4-5
นิ้ว ทำการแต่งหน่อเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่า จะถึงเวลาที่เหมาะสม
ก็จะปล่อยหน่อให้เจริญเติบโตเป็นกล้วยตอต่อไป
หรืออาจขุดหน่อไว้สำหรับปลูกใหม่หรือขายก็ตาม


พื้นที่มีจำกัดไม่สามารถลงได้หมด  กรุณา อ่านต่อคลิกที่นี่ครับ






Free TextEditor


Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2554 14:02:38 น. 0 comments
Counter : 2622 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.