Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
18 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 

ความเชื่อและประเพณีการตีกลอง

ประเพณีตีกลองของภาคอีสาน



ประเพณีตีกลองเดิก (ดึก)


.......... กลองดึก คือ กลองตีสัญญาตอนเวลาประมาณตี 3-4
เพื่อเป็นสัญญาณเตือนให้ประชาชนรู้ว่า
ถึงวันโกนวันพระ (ขึ้น แรม 7-8-14-15 ค่ำ) แล้ว
ให้งดเว้นสิ่งที่ควรงดตื่นขึ้นมาสมาทานศีล ไหว้พระสวดมนต์ เจริญภาวนา
กลองดึกนี้เป็นสัญญาณเตือนก่อนตื่นนอน เพื่อให้ลุกขึ้นประกอบกรรมดีแต่เช้า
กลางวันจะตั้งใจทำอะไรดีก็จะเตรียมตัวไว้แต่เช้า
และจะไปบำเพ็ญความดีทั้งวันในวันโกนวันพระทั้งสองวัน



ประเพณีตีกลองแลง


.......... กลองแลง คือ การตีสัญญาณในตอนเย็น
เพราะคำว่าแลงหมายถึงช่วงตอนเย็นเป็นเวลาระหว่างบ่าย 3-4 โมงครึ่ง
จะตีกันในวันโกนวันพระขึ้นและแรม
ความเป็นมาของกลองแลงมีเรื่องเล่าว่าเป็นการตีเพื่อตอกย้ำลูกศร
ที่พระอริยเจ้าท่านเสียบพระยายักษ์ไว้มิให้ฟื้นขึ้นมากินคน
ถ้าพระไม่ตีกลองแลงลูกศรจะค่อย ๆ คลายจากอกพระยายักษ์
และจะหลุดไปในที่สุด ยักษ์ก็จะฟื้นขึ้นมากินคน
การตีกลองแลงแต่ละครั้งเป็นการย้ำลูกศรให้ตรึงแน่นในอกยักษ์ตลอดไป
นั้นเป็นเพียงนิทานเล่าขานกันมา
แต่ความจริงแล้วเป็นการตีเพื่อรักษาประเพณีให้คนคิดถึงศาสนาเท่านั้น



ประเพณีตีกลองงัน


.......... กลองงันเป็นกลองที่ตีในเวลาค่ำคืนประมาณ 1-2 ทุ่ม
ซึ่งจะตีทุกวันในช่วงเข้าพรรษา จุดมุ่งหมายของการตี
นอกจากจะเป็นการรักษาประเพณีในช่วงเข้าพรรษาเอาไว้แล้ว
ยังเป็นการให้สัญญาแก่คนหนุ่มสาวไปร่วมกันที่บริเวณวัด
ซึ่งเรียกว่าลงวัดเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ดายหญ้า ฝึกร้องสารภัญ เป็นต้น



ประเพณีตีกลองเพล


.......... กลองเพลเป็นกลองที่ตีให้สัญญาณเพื่อบอก
ให้ญาติโยมนำอาหารไปถวายพระในเวลาเพล คือ เวลา 11.00-12.00 น.
การตีกลองเพลจะตีทุกวัน นอกจากเวลาใดพระไม่อยู่เท่านั้น
และบางวัดที่พระฉันข้าวเวลาเดียว (ตอนเช้า)
ถึงกระนั้นบางแห่งก็ยังมีการตีกลองเพลเพื่อเป็นการรักษาประเพณี



ข้อมูลจาก สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี



--------------------------------------------------------


.......... ครูบาอาจารย์สายวัดป่าทางภาคอีสานท่านได้ตีความ
อธิบายความหมายของ "พุทธทำนายอีสาน" ไว้ ขออนุญาตนำมาสรุปว่า
ก่อนสิ้นยุคพระพุทธศาสนา (หมายถึง แม้แต่คำสอนของพระพุทธเจ้าก็ไม่เหลือ
หรือเหลืออยู่แต่ฟั่นเฝือและเพี๊ยนไปแล้ว)
จะมีเหตุการณ์ต่างๆ ทำให้สังคมชาวพุทธระส่ำระสาย
การตีกลองไล่ผี ไล่ยักษ์ ในคำกลอนโบราณเปรียบว่า
กลองคือ ธรรมเภรี คือเสียงกึกก้องของธรรมของพระพุทธเจ้า
อย่าให้เว้นว่างจากการตีกลอง คือ อย่าเว้นว่างประกอบ ทาน ศีล ภาวนา
การได้ยินเสียงกลองนี้ ให้ระลึกว่าเวลานี้หนอ มีคนตื่นขึ้นมาทำความเพียร
พระคงกำลังสวดมนต์ น่าชื่นใจหนอ วันรุ่งได้ยินกลองเพล
ได้เวลาสร้างทานแล้วหนอ ชวนกันไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัดให้เป็นมงคล
ถึงวันพระ ได้ยินเสียงกลองตอนเย็นตีย้ำ
วันนี้ต้องสำรวมกาย วาจา ใจ ไม่ให้เกิดโทษแก่ตนและคนอื่นหนอ เป็นต้น

เสียงกลองในพุทธทำนายอีสาน บรรยายว่าไว้ไล่ผีจำพวกต่างๆ นับสิบชนิด
และมีคำแปลที่หมายถึงคนชั่วจำพวกต่างๆ

เสียงกลองที่ดังสม่ำเสมอ ป้องกันเปรตและยักษ์บุกกินคนในเมืองพุทธ
ทาน ศีล ภาวนา ต้องหมั่นทำไว้ให้มาก ไม่เช่นนั้น-
เมื่อคนจำพวกต่อไปนี้ครองเมือง หรือกลายเป็นคนส่วนมาก
แผ่นดินจะสิ้นคนทำดี ไม่มีปราชญ์ทางธรรม เป็นสังคมที่ไร้เสียงธรรม
จิตใจผู้คนจะวังเวง อ้างว้าง กลวงข้างใน มีชีวิตอยู่ไปเพื่อรอวันตายเท่านั้น
คนดีทำดีถูกว่า คนชั่วก็ชั่วยิ่งขึ้นและมากขึ้น
ในพุทธทำนายอีสานกล่าวว่า เมื่อไม่มีธรรมมาต้าน ผีและยักษ์เข้ามากินคนจนหมด
ก็หมายถึง คนเป็นๆ นี่แหละทำร้ายกันสารพัดวิธี ด้วยไม่รู้จัก ทาน ศีล ภาวนา กันแล้ว

ความมืดมิดทางปัญญานั้นจะพาให้โลกมนุษย์กลายเป็นเมืองของผีและยักษ์
มนุสสะยักโข - เป็นพวกใจพาล มักโกรธ ชอบความรุนแรง
มนุสสะเปโต - เปรตในร่างคน คือ โลภมาก โกงกิน ไม่รู้จักพอ

เสียงกลองยังช่วยป้องกัน "ผี" ไม่ให้ทำร้ายคนพุทธ
มี ผี ชนิดหนึ่ง ได้แก่ คนใน ที่มักสาวหาเรื่องไม่เป็นประโยชน์และเกิดผลเสีย
ที่แรงมาก คือ การลบหลู่องค์ของพระรัตนตรัย
ประหนึ่งไม่เคยได้ยินเรื่องกรรมของการลบหลู่พระรัตนตรัยมาเลย

เมื่อใด ผี เปรต และยักษ์ มีจำนวนมากขึ้นๆ กินคนส่วนมาก ศาสนาก็จะเข้าสู่ยุคมืด
คนโบราณรู้ภัยในอนาคต มีการป้องกัน โดยแทรกไว้ในพิธีกรรมพุทธศาสนาเช่นนี้หวังให้ลูกหลานช่วยกันสืบทอดประเพณีไปนานๆ
เราต้องช่วยกันทุกไม้ทุกมือเพื่อรักษา"ธรรมเภรี" นี้ไว้

นอกจากมีสติ ทำหน้าที่ชาวพุทธที่ดีเพื่อปราม ผี เปรต ยักษ์ ไม่ให้เขื่องเมือง
ลองทำใจให้ถึง พระรัตนตรัยซึ่งมีองค์สาม
หมั่นระลึกถึงบทไตรสรณคมน์ และทำความเข้าใจในความหมาย
(การปฏิญาณขอรับ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง)
ใจถึงไหม? สามารถเปล่งวาจาว่าเข้าถึงพระรัตนตรัยได้ทั้งหมดของใจหรือยัง

สวดบทสรรเสริญพระรัตนตรัย (อิติปิโส) และทำความเข้าใจในความหมาย
เราระลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัย อย่างที่กลาวได้จริงหรือไม่ และอย่างไร

ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของจริงแท้
เมื่อ "ใจถึง" พระรัตนตรัย "ปฏิบัติ"เอง จนเห็นผลดี ย่อมจะรู้ "พระคุณ"





ขออภัยที่ไม่สะดวก ไปเยี่ยมสมาชิก
อนุโมทนาที่แวะมา และได้ฟังเสียงกลอง (เสียงไม่ค่อยดัง แต่ยังตีอยู่)





 

Create Date : 18 ตุลาคม 2550
9 comments
Last Update : 18 ตุลาคม 2550 13:02:48 น.
Counter : 9631 Pageviews.

 

กลองเพล คุ้นเคยที่สุดเลยค่ะ

 

โดย: นางน่อยน้อย 18 ตุลาคม 2550 7:23:15 น.  

 

วัดทางภาคเหนือก้อมีประเพณีการตีกลองเหมือนกันเลยค่ะ

 

โดย: Geerorogunso 18 ตุลาคม 2550 9:47:27 น.  

 

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=roslita&group=43

บล็อกนิทานไทยภาคอิงของน้องยีนส์

 

โดย: เฉลียงหน้าบ้าน 19 ตุลาคม 2550 12:20:50 น.  

 

เคยได้ยินแต่มนุษย์สเปโต

ไม่เคยได้ยินมนุษย์สะยักโข

เลยคุณปรี ความรู้ดีจัง

หาอ่านได้ยาก

 

โดย: botanichuman 21 ตุลาคม 2550 8:38:05 น.  

 

จะว่าไป กลองเป็นเครื่องกำกับจังหวะ ที่ไปๆมาๆ ก็มีความสำคัญในเพลงหนึ่งๆทีเดียวนะ

หลายครั้งกลองก็ยังเอามาใช้ในการให้จังหวะของการแข่งขันกีฬา การสู้รบ หรืออะไรอีกหลายอย่างจริงจัง

 

โดย: cottonbook 21 ตุลาคม 2550 11:55:09 น.  

 

สวัสดัค่ะ พี่ปรี..
ยังรอฟังเพลงของพี่ปรีอยู่นะคะ..

ยังไงร้องแล้วบอกด้วยนะคะ..
ญ่าไม่สบายค่ะ..ลำไส้อักเสบ..อีก2-3วันจะเข้ามาใหม่
ยังไงรบกวนร้องให้ญ่าฟังด้วยนะคะ..
ขอบคุณมากค๊า...

 

โดย: ญ่า (kayook ) 22 ตุลาคม 2550 17:15:13 น.  

 

มาเยี่ยมค่ะ

สบายดีนะคะ


 

โดย: botanichuman 22 ตุลาคม 2550 20:18:35 น.  

 

แวะมาเตะปี๊บ..เอ๊ยยย.. ตีกลองครับ

 

โดย: aston27 24 ตุลาคม 2550 0:37:42 น.  

 

555 ตอนอยู่บ้านที่พิบูลฯ ได้ยินประจำค่ะ

 

โดย: จูหน่านพ 24 ตุลาคม 2550 21:19:15 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


woodchippath
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add woodchippath's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.