พวกเขามีความคิดว่า บรรพชนของพวกเขาได้ทำการเพาะปลูกในแบบที่มีความเคารพธรรมชาติ ดำรงชีวิตโดยไม่คุกคามธรรมชาติ จึงทำให้มีป่าอันอุดมสมบูรณ์ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม รายได้มีความจำเป็นมากขึ้นในปัจจุบัน เช่น ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรหลานเป็นรายจ่ายสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ไม่น่าแปลกที่คนในชุมชนลุ่มแม่จัน ต้องดิ้นรนหายได้มากขึ้น
รายได้ของพวกมาจาก การขายพริกเป็นหลัก ข้าวและงา เป็นรายได้รอง บางคนได้มาจากการขายวัวหรือควาย ในขณะที่ ผู้หันไปหาพืชเชิงเดี่ยวก็จะปลูกข้าวโพด ถั่วลิสง
ผลผลิตจากป่า เช่น มะอิ กระวาน ได้รับอนุญาตจากอุทยาน แต่ได้มาจากการต่อสู้ของพวกเขา จอวาโพ ผู้นำชาวบ้านที่กุยต๊ะ เสนอกับเจ้าหน้าที่อุทยานว่า พืชสมุนไพรหลายชนิดขึ้นในป่าดิบชื้น ถ้ายอมให้พวกเขานำพืชเหล่านี้ไปขาย ป่าก็จะได้รับการฟื้นฟู
การกลับไปสู่วิธีดั้งเดิมของพวกเขา จึงมีคำถามว่า จะหารายได้เพียงพอหรือไม่เช่นกัน บริษัท อภัยภูเบศร ก็ได้มาเติมเต็มในสิ่งนี้ ทำให้พวกเขามีรายได้เป็นกอบเป็นกำ อภัยภูเบศร สั่งซื้อขมิ้นขันแห้งบดจากกลุ่ม ต้นทะเล ปีละ 6 ตัน แน่นอนขมิ้นชันที่นี่มีคุณภาพ ปราศจากสารพิษ รายได้จากการจำหน่ายขมิ้นชันได้สร้างเข้มแข็งให้กลุ่มนี้ และท้าทายกับหนุนการปลูกเชิงเดี่ยว
อภัยภูเบศร เป็นตัวอย่างที่ดีมากของธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน ผู้ใช้สินค้าของ อภัยภูเบศร ควรภูมิใจเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน