Vision-Focus - สร้างวิจารณญาณเสียแต่วันนี้ เพื่อความสำเร็จที่คุณต้องการ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
21 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 
หลักนิติธรรมในประเทศไทย: มิติใหม่ฝีมือ คปค.

ในประเทศที่เจริญแล้ว ราษฎรมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย มิฉะนั้นจะต้องรับผิดชอบต่อผลของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยที่มาของกฎหมายก็คือสภานิติบัญญัติที่ในกรณีทั่วไปคือผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง บางครั้งบางคราวฝ่ายบริหารสามารถออกกฎหมายในลำดับรองลงมาได้หากมีสถานการณ์เร่งด่วน แต่ไม่ว่ากรณีใด การออกกฎหมายของฝ่ายบริหารจะต้องเป็นไปภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว


ในสังคมประเทศที่ยึดมั่นในหลักนิติธรรม ศาลจะพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามตัวบทกฎหมาย โดยไม่คำนึงถึงคำสั่งหรือคามประสงค์ของคณะบุคคลคณะหนึ่งคณะใด


ในประเทศไทย เมื่อ คปค. ออกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 3 กำหนดให้ศาลพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามตัวบทกฎหมายและตามคำสั่งของ คปค. ก็จะเกิดข้อสงสัยในใจว่าสถานะทางกฎหมายของคำสั่งของ คปค. นั้น เทียบเท่าหรืออยู่เหนือตัวบทกฎหมายหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อกฎหมายส่วนใหญ่ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติที่เป็นประชาธิปไตย แต่คำสั่ง คปค. หรือ คมช. เป็นคำสั่งของกลุ่มทหารผู้ทำการรัฐประหาร และยึดอำนาจมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ศาลยุติธรรมก็ยังต้องเชื่อฟัง “คำสั่ง” ดังกล่าวหรือ


ในประเทศที่ยึดมั่นในหลักนิติธรรม ศาลจะไม่มีวันนำกฎหมายที่เพิ่งมีการประกาศใช้บังคับขึ้นใหม่มาลงโทษราษฎรย้อนหลัง ศาลจะลงโทษราษฎรผู้กระทำความผิดที่กฎหมายในขณะนั้นเองบัญญัติว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ตามนั้น ในโลกที่เจริญแล้วการบัญญัติกฎหมายเพื่อเอาผิดหรือเอาโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งย้อนหลังเป็นเรื่องที่ไม่มีใครยอมรับ ไม่มีใครทำ แต่ในประเทศไทย เรื่องที่ขัดต่อหลักนิติธรรมดังกล่าวสามารถกระทำได้ (โปรดอ่านความเห็นกรณีคำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ)
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ความปรารถนาอันแรงกล้า ตามแผนการบันได 4 ขั้นของคณะรัฐประหาร ได้รับการตอบสนองด้วยดี ลองไปพลิกอ่านมาตรา 208 และมาตรา 300 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 ที่จัดร่างมาอย่างดีแล้ว ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า

อะไรคือสาเหตุที่ต้องมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญให้มีการต่ออายุ ทั้งประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครองสูงสุดในปัจจุบันให้ได้ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไปอีกเป็นเวลาถึง 9 ปี


ข้อสงสัยต่อไปก็คือ ทำไมจึงมีการต่ออายุราชการ ของผู้พิพากษาออกไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในศาลฎีกาอีก 10 ปี ทั้งๆ ที่เรื่องการต่ออายุราชการ 10 ปีของผู้พิพากษานั้นก็บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตุลาการอยู่ก่อนแล้ว เพียงแต่เป็นการต่ออายุราชการ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้พิพากษาอาวุโสช่วยดูแลพิจารณาอรรถคดีเป็นพี่เลี้ยงผู้พิพากษาที่อ่อนอาวุโสกว่าในศาลชั้นต้น แต่ทำไมร่างรัฐธรรมนูญฉบับทายาทเผด็จการจึงต้องเอาเรื่องการต่ออายุผู้พิพากษาเฉพาะศาลฎีกา หมกเม็ดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ


ทำไมไม่มีการนำเสนอประเด็นนี้เข้าสู่การพิจารณาในระหว่างที่มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน


ใครเป็นคนสอดไส้มาตรานี้เข้ามา!


ในประเทศที่ยึดมั่นในหลักนิติธรรม จะไม่มีการออกกฎหมายมาเพื่อเล่นงาน กลั่นแกล้งหรือจัดการกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและที่สำคัญที่สุดในประเทศที่เจริญแล้วและยึดมั่นในหลักนิติธรรม จะไม่ยอมให้มีการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ทางการเองหรือเพื่อการล้างแค้นของคนกลุ่มเดียว (ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30)



Create Date : 21 สิงหาคม 2550
Last Update : 24 สิงหาคม 2550 11:12:55 น. 1 comments
Counter : 694 Pageviews.

 
ระบบตุลาการที่เข้มแข็ง เที่ยงตรง กระบวนการยุติธรรมที่เข้มแข็ง เที่ยงตรง เชื่อถือได้เท่านั้น ที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยเบ่งบานและประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองสงบสุข

ผิดจากนี้ มันเป็นไปไม่ได้


โดย: thipch วันที่: 24 สิงหาคม 2550 เวลา:11:15:21 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

thipch
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add thipch's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.